Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเที่ยง, เที่ยง, ความ , then ความ, ความทยง, ความเที่ยง, ทยง, เที่ยง .

Budhism Thai-Thai Dict : ความเที่ยง, 1097 found, display 251-300
  1. วิหิงสาวิตก : ความตรึกในทางเบียด, ความคิดในทางทำลายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น (ข้อ ๓ ใน อกุศลวิตก ๓)
  2. วุฒิ : ความเจริญ, ความงอกงาม, ความเป็นผู้ใหญ่; ธรรมให้ถึงความเจริญ ดู วุฑฒิ
  3. เวทนา : ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ ๑.สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย ๒.ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย ๓.อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา; อีกหมวดหนึ่งจัดเป็น เวทนา ๕ คือ ๑.สุข สบายกาย ๒.ทุกข์ ไม่สบายกาย ๓.โสมนัส สบายใจ ๔.โทมนัส ไม่สบายใจ ๕.อุเบกขา เฉยๆ; ในภาษาไทย ใช้หมายความว่าเจ็บปวดบ้าง สงสารบ้าง ก็มี
  4. เวปุลละ : ความไพบูลย์, ความเต็มเปี่ยม, ความเจริญเต็มที่ มี ๒ อย่าง คือ ๑.อามิสเวปุลละ อามิสไพบูลย์ หรือความไพบูลย์แห่งอามิส หมายถึง ความมากมายพรั่งพร้อมด้วยปัจจัย ๔ ตลอดจนวัตถุอำนวยความสุดความสะดวกสบายต่างๆ ๒.ธัมมเวปุลละ ธรรมไพบูลย์หรือความไพบูลย์แห่งธรรม หมายถึง ความเจริญเต็มเปี่ยมเพียบพร้อมแห่งธรรม ด้วยการฝึกอบรมปลูกฝังให้มีในตนจนเต็มบริบูรณ์ หรือด้วยการประพฤติปฏิบัติกันในสังคมจนแพร่หลายทั่วไปทั้งหมด
  5. เวร : ความแค้นเคือง, ความปองร้ายกัน, ความแก้เผ็ด, ความคิดร้ายตอบแก่ผู้ทำร้าย; ในภาษาไทยใช้อีกความหมายหนึ่งด้วยว่าคราว, รอบ, การผลักกันเป็นคราวๆ, ตรงกับ วาร หรือวาระ ในภาษาบาลี
  6. ศรัทธา : ความเชื่อ, ความเชื่อถือ; ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ดู สัทธา
  7. ศีล : ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ; มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา
  8. ศีลธรรม : ความประพฤติดีงามทางกาย วาจา, ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีวะ; โดยทางศัพท์ ศีลธรรม แปลว่า ธรรมคือศีล หมายถึง ธรรมขั้นศีล หรือธรรมในระดับศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ในบรรดาธรรมภาคปฏิบัติ ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นต่อจากธรรมขั้นศีล จึงมีธรรมขั้นสมาธิ และธรรมขั้นปัญญา; ได้มีผู้พยายามแปลศีลธรรม อีกอย่างหนึ่งว่า ศีลและธรรม (ถ้าแปลให้ถูกต้องจริงต้องว่าศีลและธรรมอื่นๆ คือศีลและธรรมอื่นๆ นอกจากศีล เช่น สมาธิ และปัญญา เป็นต้น เพราะศีลก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง) ถ้าแปลอย่างนี้ จะต้องเข้าใจว่า ศีลธรรม มิใช่เป็นเพียงความประพฤติดีงามเท่านั้น แต่รวมถึง สมถะวิปัสสนา ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ เป็นต้นด้วย
  9. โศก : ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, ความแห้งใจ
  10. โศกาลัย : ความเศร้าเหี่ยวแห้งใจและความห่วงใย, ทั้งโศกเศร้าทั้งอาลัยหรือโศกเศร้าด้วยอาลัย, ร้องไห้สะอึกสะอื้น (เป็นคำกวีไทยผูกขึ้น)
  11. สกสัญญา : ความสำคัญว่าเป็นของตน, นึกว่าเป็นของตนเอง
  12. สติ : ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้ (ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒, ข้อ ๓ ในพละ ๕, ข้อ ๑ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๙ ในนาถกรณธรรม ๑๐)
  13. สทารสันโดษ : ความพอใจด้วยภรรยาของตน, ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม), จัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง
  14. สนฺนิปาติกา อาพาธา : ความเจ็บไข้เกิดจากสันนิบาต (คือประชุมกันแห่งสมุฏฐานทั้ง ๓), ไข้สันนิบาต คือความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแต่ดี เสมหะ และลม ทั้ง ๓ เจือกัน
  15. สภาพ : ความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเอง, ธรรมดา
  16. สภาวะ : ความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเอง, ธรรมดา
  17. สมณสัญญา : ความสำคัญว่าเป็นสมณะ, ความกำหนดใจไว้ว่าตนเป็นสมณะ, ความสำนึกในความเป็นสมณะของตน
  18. สมณสารูป : ความประพฤติอันสมควรของสมณะ
  19. สมบัติ๒ : ความถึงพร้อม, ความสมบูรณ์, ความครบถ้วนของสังฆกรรม เช่น อุปสมบท เป็นต้น ที่จะทำให้สังฆกรรมนั้นถูกต้อง ใช้ได้ มีผลสมบูรณ์ มี ๔ คือ ๑.วัตถุสมบัติ วัตถุถึงพร้อม เช่น ผู้อุปสมบทเป็นชายอายุครบ ๒๐ ปี ๒.ปริสสมบัติ บริษัทคือที่ประชุมถึงพร้อม สงฆ์ครบองค์กำหนด ๓.สีมาสมบัติ เขตชุมนุมถึงพร้อม เช่น สีมามีนิมิตถูกต้องตามพระวินัย และประชุมทำในเขตสีมา ๔.กรรมวาจาสมบัติ กรรมวาจาถึงพร้อม สวดประกาศถูกต้องครบถ้วน (ข้อ ๔ อาจแยกเป็น ๒ ข้อ คือเป็น ๔ ญัตติสมบัติ ญัตติถึงพร้อม คือคำเผดียงสงฆ์ถูกต้อง ๕.อนุสาวนาสมบัติ อนุสาวนาถึงพร้อมคำหารือตกลงถูกต้อง รวมเป็นสมบัติ ๕); เทียบ วิบัติ
  20. สมาจาร : ความประพฤติที่ดี; มักใช้ในความหมายที่เป็นกลาง ๆ ว่าความประพฤติ โดยมีคำอื่นประกอบขยายความ เช่น กายสมาจาร วจีสมาจาร ปาปสมาจาร เป็นต้น
  21. สมาธิ : ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ มักใช้เป็นคำเรียกง่าย ๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา; ดู เอกัคคตา, อธิจิตตสิกขา
  22. สมานัตตตา : ความเป็นผู้มีตนเสมอ หมายถึง การทำตนให้เข้ากันได้ ด้วยการร่วมสุขร่วมทุกข์ ไม่ถือตัว มีความเสมอภาค และวางตัวเหมาะสม (ข้อ ๔ ในสังคหวัตถุ ๔)
  23. สวัสดิ์ : ความดีความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง, ความปลอดโปร่ง, ความปลอดภัยไร้อันตราย
  24. สวัสดี : ความดีความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง, ความปลอดโปร่ง, ความปลอดภัยไร้อันตราย
  25. สักกายทิฏฐิ : ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)
  26. สังฆเภท : ความแตกแห่งสงฆ์, การทำสงฆ์ให้แตกจากกัน (ข้อ ๕ ในอนันตริยกรรม ๕), กำหนดด้วยไม่ทำอุโบสถปวารณา และสังฆกรรมด้วยกัน
  27. สังฆราชี : ความร้าวรานแห่งสงฆ์ คือ จะแตกแยกกัน แต่ยังไม่ถึงกับแยกทำอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมต่างหากกัน เทียบ สังฆเภท
  28. สังฆสัมมุขตา : ความเป็นต่อหน้าสงฆ์ หมายความว่า การระงับอธิกรณ์นั้นกระทำในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ซึ่งภิกษุผู้เข้าประชุมมีจำนวนครบองค์เป็นสงฆ์ ได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมาแล้ว และผู้อยู่พร้อมหน้ากันนั้นไม่คัดค้าน
  29. สังฆสามัคคี : ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์
  30. สังวร : ความสำรวม, การระวังปิดกั้นบาป อกุศล มี ๕ อย่าง คือ ๑.ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในปาฏิโมกข์ (บางแห่งเรียก สีลสังวร สำรวมในศีล) ๒.สติสังวร สำรวมด้วยสติ ๓.ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ ๔.ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ ๕.วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร
  31. สังวรปาริสุทธิ : ความบริสุทธิ์ด้วยสังวร, ความสำรวมที่เป็นความบริสุทธิ์ หรือเป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์ หมายถึง ศีลที่ประพฤติถูกต้อง เป็นไปเพื่อความไม่มีวิปฏิสาร เป็นต้น ตามลำดับจนถึงพระนิพพาน จัดเป็น อธิศีล
  32. สังวรสุทธิ : ความบริสุทธิ์ด้วยสังวร, ความสำรวมที่เป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์ หมายถึง อินทรียสังวร
  33. สังเวช : ความสลดใจ, ความกระตุ้นให้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึก; ในทางธรรมความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้ ทำให้จิตใจหันมานึกถึงสิ่งที่ดีงาม เกิดความไม่ประมาท เพียรพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อไป จึงจะเรียกว่า สังเวช ความสลดใจ แล้วหงอยหรอหดหู่เสีย ไม่เรียกว่าเป็นความสังเวช
  34. สังสารสุทธิ : ความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่ายตายเกิด คือ ลัทธิของมักขลิโคสาล ซึ่งถือว่า สัตว์ทั้งหลาย ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อย ๆ ก็จะค่อยบริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ไปเอง การปฏิบัติธรรม ไร้ประโยชน์ ไม่อาจช่วยอะไรได้
  35. สัญเจตนา : ความจงใจ, ความแสวงหาอารมณ์, เจตนาที่แต่งกรรม, ความคิดอ่าน; มี ๓ คือ กายสัญเจตนา วจีสัญเจตนา และมโนสัญเจตนา; ดู สังขาร๓; มี ๖ คือ รูปสัญเจตนา สัทท- คันธ- รส- โผฏฐัพพ- และธัมมสัญเจตนา, ดู ปิยรูปสาตรูป
  36. สัตย์ : ความจริง, ความซื่อตรง, ความจริงใจ
  37. สัทธา : ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดงสืบ ๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ ๑.กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๒.วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๓.กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๔.ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต; เขียนอย่างสันสกฤตเป็นศรัทธา
  38. สันดาน : ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา; ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด, อัธยาศัยที่มีติดต่อมา
  39. สันโดษ : ความยินดี, ความพอใจ, ยินดีด้วยปัจจัย ๔ คือ ผ้านุ่งผ้าห่ม อาหารที่นอนที่นั่ง และยา ตามมีตามได้, ยินดีของของตน, การมีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ด้วยความเพียรพยายามอันชอบธรรมของตน ไม่โลภ ไม่ริษยาใคร; สันโดษ ๓ คือ ๑.ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ คือได้สิ่งใดมาด้วยความเพียรของตน ก็พอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่เดือดร้อนเพราะของที่ไม่ได้ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่นไม่ริษยาเขา ๒.ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง คือพอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและขอบเขตการใช้สอยของตน ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดายไม่เก็บไว้ให้เสียเปล่า หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน ๓.ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร คือ พอใจตามที่สมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนว ทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน เช่นภิกษุพอใจแต่ของอันเหมาะกับสมณภาวะ หรือได้ของใช้ที่ไม่เหมาะกับตนแต่จะมีประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็นำไปมอบให้แก่เขา เป็นต้น; สันโดษ ๓ นี้เป็นไปในปัจจัย ๔ แต่ละอย่าง จึงรวมเรียกว่า สันโดษ ๑๒
  40. สันติ : ความสงบ
  41. สันติภาพ : ความสงบ
  42. สันนิษฐาน : ความตกลงใจ, ลงความเห็นในที่สุด; ไทยใช้ในความหมายว่าลงความเห็นเป็นการคาดคะเนไว้ก่อน
  43. สัมปชัญญะ : ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้; มักมาคู่กับ สติ (ข้อ ๒ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒)
  44. สัมปัตตวิรัติ : ความเว้นจากวัตถุอันถึงเข้า, การเว้นเมื่อประสบซึ่งหน้าคือไม่ได้สมาทานศีล หรือตั้งใจละเว้นมาก่อนแต่เมื่อประสบเหตุอันจะทำให้ทำความชั่ว หรือละเมิดศีลเข้าเฉพาะหน้า ก็ละเว้นได้ในขณะนั้นเอง ไม่ล่วงละเมิดศีล (ข้อ ๑ ในวิรัติ ๓)
  45. สัมผัส : ความกระทบ, การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก, ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ มี ๖ เริ่มแต่ จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน ๖); ผัสสะ ก็เรียก
  46. สัมมัตตะ : ความเป็นถูก, ภาวะที่ถูกมี ๑๐ อย่าง ๘ ข้อต้น ตรงกับองค์มรรคทั้ง ๘ ข้อ เพิ่ม ๒ ข้อท้าย คือ ๙.สัมมาญาณ รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ ๑๐.สัมมาวิมุตติ พ้นชอบได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ; เรียกอีกอย่างว่า อเสขธรรม ๑๐, ตรงข้ามกับ มิจฉัตตะ ๑๐
  47. สัมฤทธิ์ : ความสำเร็จ
  48. สัสสเมธะ : ความฉลาดในการบำรุงข้าวกล้า, พระปรีชาในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์ เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่งที่พระราชาจะพึงทรงบำเพ็ญ
  49. สิกขาสมมติ : ความตกลงยินยอมของภิกษุณีสงฆ์ที่จะให้สามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ ปีเต็มแล้ว เริ่มรักษาสิกขาบท ๖ ประการ ตลอดเวลา ๒ ปี ก่อนที่จะได้อุปสมบท, เมื่อภิกษุณีสงฆ์ให้สิกขาสมมติแล้ว สามเณรีนั้นได้ชื่อว่าเป็น สิกขมานา
  50. สีมาวิบัติ : ความเสียโดยสีมา, เสียเพราะเขตชุมนุม (ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์), สีมาใช้ไม่ได้ ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำ ณ ที่นั้นวิบัติคือเสียหรือใช้ไม่ได้ (เป็นโมฆะ) ไปด้วย, คัมภีร์ปริวารแสดงเหตุให้กรรมเสียโดยสีมา ๑๑ อย่าง เช่น ๑.สมมติสีมาใหญ่เกินกำหนด (เกิน ๓ โยชน์) ๒.สมมติสีมาเล็กเกินกำหนด (จุไม่พอภิกษุ ๒๑ รูปนั่งเข้าหัตถบาสกัน) ๓.สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔.สมมติสีมามีฉายาเป็นนิมิต ๕.สมมติสีมาไม่มีนิมิต ฯลฯ, สังฆกรรมที่ทำในที่เช่นนี้ก็เท่ากับทำในที่มิใช่สีมานั่นเอง จึงย่อมใช้ไม่ได้ ดู วิบัติ(ของสังฆกรรม)
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1097

(0.0535 sec)