Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเกี่ยวเนื่อง, เนื่อง, เกี่ยว, ความ .

Budhism Thai-Thai Dict : ความเกี่ยวเนื่อง, 1138 found, display 351-400
  1. อวิทยา : ความไม่รู้, อวิชชา
  2. อวิหิงสาวิตก : ความตริตรึกในทางไม่เบียดเบียน, ความตรึกด้วยอำนาจกรุณา ไม่คิดทำความลำบากเดือดร้อน แก่ผู้อื่น คิดแต่จะช่วยเหลือเขาให้พ้นจากทุกข์ (ข้อ ๓ ในกุศลวิตก ๓)
  3. อเหตุกทิฏฐิ : ความเห็นว่าไม่มีเหตุ คือ ความเห็นผิดว่า คนเราจะได้ดีหรือชั่วตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดี ก็ดีเอง ถึงคราวจะร้าย ก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุอื่นจะทำให้คนดีคนชั่วได้ (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๓)
  4. อัชฌาจาร : ความประพฤติชั่ว, การละเมิดศีล, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี
  5. อัตตภาพ : ความเป็นตัวตน, ชีวิต, เบญจขันธ์, บัดนี้เขียน อัตภาพ
  6. อัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักตน เช่น รู้ว่า เรามีความรู้ ความถนัด คุณธรรม ความสามารถ และฐานะ เป็นต้น แค่ไหนเพียงไร แล้วประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลดี (ข้อ ๓ ในสัปปุริสธรรม ๗)
  7. อัตตัตถสมบัติ : ความถึงพร้อมด้วยประโยชน์ตน เป็นพุทธคุณอย่างหนึ่ง คือ การที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีธรรม กำจัดอาสวกิเลสทั้งปวงและทำศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์ สมบูรณ์ด้วยพระญาณทั้งหลาย เพียบพร้อมด้วยพระคุณสมบัติมากมาย เป็นทีพึ่งของพระองค์เองได้ และเป็นผู้พรั่งพร้อมที่จะบำเพ็ญกิจเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกต่อไป มักเขียนเป็น อัตตหิตสัมบัติ ซึ่งแปลเหมือนกัน; เป็นคู่กันกับ ปรัตถปฏิบัติ หรือ ปรหิตปฏิบัติ
  8. อัตตาธิปไตย : ความถือตนเป็นใหญ่ จะทำอะไรก็นึกถึงตน คำนึงถึงฐานะเกียรติศักดิ์ศรี หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ, พึงใช้แต่ในขอบเขตที่เป็นความดี คือ เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน (ข้อ ๑ ในอธิปไตย ๓)
  9. อัตตานุทิฏฐิ : ความตามเห็นว่าเป็นตัวตน
  10. อัตถัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักผล เช่น รู้จักว่า สุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้ ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันนี้, รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล; ตามบาลีว่า รู้ความหมาย เช่นว่า ธรรมข้อนี้ๆ มีความหมายอย่างนี้ๆ หลักข้อนี้ๆ มีเนื้อความอย่างนี้ๆ (ข้อ ๒ ในสัปปุริสธรรม ๗)
  11. อันตคาหิกทิฏฐิ : ความเห็นที่ยึดเอาที่สุด คือ แล่นไปถึงที่สุดในเรื่องหนึ่งๆ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) โลกเที่ยง ๒) โลกไม่เที่ยง ๓) โลกมีที่สุด ๔) โลกไม่มีที่สุด ๕) ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ๖) ชีพก็อย่าง สรีระก็อย่าง ๗) สัตว์ตายแล้วยังมีอยู่ ๘) สัตว์ตายแล้ว ย่อมไม่มี ๙) สัตว์ตายแล้วทั้งมีอยู่ ทั้งไม่มี ๑๐) สัตว์ตายแล้วจะมีอยู่ ก็ไม่ใช่ ไม่มีอยู่ ก็ไม่ใช่
  12. อัปปณิหิตวิโมกข์ : ความหลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา คือ พิจารณาเห็นนามรูปเป็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาเสียได้ (ข้อ ๓ ในวิโมกข์ ๓)
  13. อัปปมาท : ความไม่ประมาท, ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ, ความไม่เผลอ, ความไม่เลินเล่อเผลอสติ, ความไม่ปล่อยปละละเลย, ความระมัดระวังที่จะไม่ทำเหตุแห่งความผิดพลาดเสียหาย และไม่ละเลยโอกาสที่จะทำเหตุแห่งความดีงามและความเจรญ, ความมีสติรอบคอบ
  14. อัสสาทะ : ความยินดี, ความพึงพอใจ, รสอร่อย เช่น รสอร่อยของกาม, ส่วนดี, ส่วนที่น่าชื่นชม
  15. อาการ : ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, ท่าทาง, ท่วงที, ทำนอง, กิริยา, กิริยาที่ทำ, ลักษณะของการกระทำหรือความเป็นไป
  16. อาจาระ : ความประพฤติดี, มรรยาทดีงาม, จรรยา
  17. อาจิณณจริยา : ความประพฤติเนืองๆ, ความประพฤติประจำ, ความประพฤติที่เคยชิน
  18. อาชีวปาริสุทธิ : ความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ คือ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบไม่ประกอบอเนสนา เช่น ไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต เป็นต้น (ข้อ ๓ ในปาริสุทธิศีล ๔)
  19. อาณาปวัติ : ความเป็นไปแห่งอาณา, ขอบเขตที่อำนาจปกครองแผ่ไป; เป็นไปในอำนาจปกครอง, อยู่ในอำนาจปกครอง
  20. อาทร : ความเอื้อเฟื้อ, ความเอาใจใส่
  21. อาพาธ : ความเจ็บป่วย, โรค (ใช้เฉพาะพระภิกษุสามเณร)
  22. อามัย : ความป่วยไข้, โรค, ความไม่สบาย; ตรังกันข้ามกับ อนามัย คือความสบาย, ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
  23. อายุวัฒนะ : ความเจริญอายุ, ยืดอายุ, อายุยืน
  24. อารยวัฒิ : ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน มี ๕ คือ ๑) ศรัทธา ความเชื่อความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริงความดีงามอันมีเหตุผลและในการที่จะทำความดีงาม ๒) ศีล ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต ๓) สุตะ การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้ ๔) จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละน้ำใจและในกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว ๕) ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง
  25. อาลยสมุคฺฆาโต : ความถอนขึ้นด้วยดี ซึ่งอาลัย, การถอนอาลัยคือตัณหาได้เด็ดขาด (เป็นไวพจน์แห่งวิราคะ)
  26. อาโลกสัญญา : ความสำคัญในแสงสว่าง, กำหนดหมายแสงสว่างคือ ตั้งความกำหนดหมายว่ากลางวันไว้ในใจ ให้เหมือนกันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เป็นวิธีแก้ง่วงอย่างหนึ่ง
  27. อาวัชนาการ : ความรำพึง, การรำลึก, นึกถึง
  28. อาสวักขยญาณ : ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ, ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย, ความตรัสรู้ (เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ในยามสุดท้ายแห่งราตรี วันตรัสรู้) (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓, ข้อ ๖ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๘ ในวิชชา ๘, ข้อ ๑๐ ในทศพลญาณ)
  29. อาสา : ความหวัง, ความต้องการ; ไทยว่า รับทำโดยเต็มใจ, สมัคร, แสดงตัวขอรับทำการนั้นๆ
  30. อิจฉา : ความปรารถนา, ความอยากได้; ไทยมักใช้ในความหมายว่าริษยา
  31. อิตถีภาวะ : ความเป็นหญิง, สภาวะที่ทำให้ปรากฏลักษณะอาการต่างๆ อันแสดงถึงความเป็นเพศหญิง เป็นภาวรูปอย่างหนึ่ง คู่กับ ปุริสภาวะ ดู อุปาทายรูป
  32. อินทรีย์ : ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น 1) อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 2) อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่าเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างคือความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ
  33. อิสรภาพ : ความเป็นอิสระ
  34. อิสสา : ความริษยา, ความรู้สึกไม่พอใจเมื่อเห็นเขาไดดี, เห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้, ไม่อยากให้ใครดีกว่าตน, ความคิดตัดรอนผู้ที่ดีกว่าตน; ความหึงหวง (ข้อ ๓ ในมละ ๙, ข้อ ๗ ในอุปกิเลส ๑๖)
  35. อุจเฉททิฏฐิ : ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้ แล้วขาดสูญ (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๒)
  36. อุตสาหะ : ความบากบั่น, ความพยายาม, ความขยัน, ความอดทน
  37. อุตุปริณามชา อาพาธา : ความเจ็บไข้เกิดแต่ฤดูแปรปรวน, เจ็บป่วยเพราะดินฟ้าอากาศผันแปร
  38. อุทธัจจกุกกุจจะ : ความฟุ้งซ่านและรำคาญ, ความฟุ้งซ่านและความเดือดร้อนใจ (ข้อ ๔ ในนิวรณ์ ๕)
  39. อุทธัจจะ : ความฟุ้งซ่าน, จิตส่าย, ใจวอกแวก (พจนานุกรมเขียน อุทธัจ)
  40. อุปการะ : ความเกื้อหนุน, ความอุดหนุน, การช่วยเหลือ
  41. อุปนิสัย : ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน, ความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในจิต, ธรรมที่เป็นเครื่องอุดหนุน
  42. อุปสมะ : ความสงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ, การทำใจให้สงบ, สภาวะอันเป็นที่สงบ คือ นิพพาน (ข้อ ๔ ใน อธิษฐานธรรม ๔)
  43. อุปสรรค : ความขัดข้อง, สิ่งที่เข้าไปขัดข้อง, เครื่องกีดกั้น, สิ่งขัดขวาง
  44. อุปาทาน : ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ ๑) กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม ๒) ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ ๓) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต ๔) อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน
  45. อุปายาส : ความคับแค้นใจ, ความสิ้นหวัง
  46. เอกัคคตา : ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ (พจนานุกรมเขียน เอกัคตา) ดู ฌาน
  47. โอตตัปปะ : ความกลัวบาป, ความเกรงกลัวต่อทุจริต, ความเกรงกลัวความชั่ว เหมือนกลัวอสรพิษ ไม่อยากเข้าใกล้ พยายามหลีกให้ห่างไกล (ข้อ ๒ ในธรรมคุ้มครองโลก ๒, ข้อ ๔ ในอริยทรัพย์ ๗, ข้อ ๓ ในสัทธรรม ๗)
  48. โอปกฺกมิกา อาพาธา : ความเจ็บไข้เกิดจากความพยายามหรือจากคนทำให้, เจ็บป่วยเพราะการกระทำของคนคือ ตนเองเพียงเกินกำลัง หรือถูกเขากระทำ เช่น ถูกจองจำ ใส่ขื่อคา เป็นต้น
  49. กฐิน : ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร; ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ) ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔); ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ); สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป; ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
  50. กตัญญูกตเวที : ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน แยกออกเป็น ๒ คือ กตัญญู รู้คุณท่าน กตเวที ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน; ความกตัญญูกตเวทีว่าโดยขอบเขต แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้มีคุณความดีหรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว อย่างหนึ่ง กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์หรือมีคุณความดีเกื้อกูลแก่ส่วนรวม เช่นที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าโดยฐานที่ได้ทรงประกาศธรรมยังหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในกุศลกัลยาณธรรม เป็นต้น อย่างหนึ่ง (ข้อ ๒ ในบุคคลหาได้ยาก ๒) - one who is thankful for benefits received and reciprocates them.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1138

(0.0431 sec)