Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นจังหวะ, จังหวะ, เป็น , then จังหวะ, ปน, เป็น, เป็นจังหวะ .

Budhism Thai-Thai Dict : เป็นจังหวะ, 1598 found, display 901-950
  1. รูปพรรณ : เงินทองที่ทำเป็นเครื่องใช้หรือเครื่องประดับ, ลักษณะ, รูปร่าง และสี
  2. รูปภพ : โลกเป็นที่อยู่ของพวกรูปพรหม ดู พรหมโลก
  3. รูปัปมาณิกา : ผู้ถือรูปเป็นประมาณ คือ พอใจในรูป ชอบรูปร่างสวยสง่างาม ผิวพรรณหมดจดผ่องใส เป็นต้น
  4. รูปาวจร : ซึ่งท่องเที่ยวไปในรูป, อยู่ในระดับจิตชั้นรูปฌาน, ระดับที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์, เนื่องในภพ
  5. เรวต ขทิรวนิยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นบุตรพราหมณ์ชื่อวังคันตะมารดาชื่อนางสารี เป็นน้องชายคนสุดท้องของพระสารีบุตร บวชอยู่ในสำนักของภิกษุพวกอยู่ป่า (อรัญวาสี) บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าไม้ตะเคียนประมาณ ๓ เดือนเศษ ก็ได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางอยู่ป่า
  6. แรกนาขวัญ : พิธีเริ่มไถนาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา
  7. โรหิณี : 1.เจ้าหญิงองค์หนึ่งแห่งศากยวงศ์เป็นพระธิดาของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า เป็นกนิษฐภคินี คือน้องสาวของพระอนุรุทธ ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน 2.ชื่อแม่น้ำที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ระหว่างแคว้นศากยะกับแคว้นโกลิยะ การแย่งกันใช้น้ำในการเกษตรเคยเป็นมูลเหตุให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างแคว้นทั้ง ๒ จนจวนเจียนจะเกิดสงคราม ระหว่างพระญาติ ๒ ฝ่าย พระพุทธเจ้าเสด็จมาระงับศึก จึงสงบลงได้ สันนิษฐานกันว่า เป็นเหตุการณ์ในพรรษาที่ ๕ (บางท่านว่า ๑๔ หรือ ๑๕) แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ และเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ปัจจุบันเรียก Rowai หรือ Rohwaini
  8. ฤกษ์ : คราวหรือเวลาซึ่งถือว่าเหมาะเป็นชัยมงคล
  9. ฤดู : คราว, สมัย, ส่วนของปีซึ่งแบ่งเป็น ๓ คราวขึ้นไป เช่น ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน ดู มาตรา
  10. ฤทธิ์ : อำนาจศักดิ์สิทธิ์, ความเจริญ, ความสำเร็จ, ความงอกงาม, เป็นรูปสันสกฤตของ อิทธิ; ฤทธิ์ หรือ อิทธิ คือความสำเร็จ ความรุ่งเรือง มี ๒ คือ ๑.อามิสฤทธิ์ อามิสเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางวัตถุ ๒.ธรรมฤทธิ์ ธรรมเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางธรรม
  11. ลกุณฏก ภัททิยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรในตระกูลมั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาที่พระเชตวันมีความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา ท่านมีรูปร่างเตี้ยค่อมจนบางคนเห็นท่านแล้วหัวเราะจนเห็นฟัน ท่านกำหนดฟันนั้นเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้สำเร็จอนาคามิผล ต่อมาท่านได้บรรลุพระอรหัตในสำนักพระสารีบุตร แต่เพราะความที่มีรูปร่างเล็กเตี้ยค่อม ท่านมักถูกเข้าใจผิดเป็นสามเณรบ้าง ถูกพระหนุ่มเณรน้อยล้อเลียนบ้าง ถูกเพื่อนพระดูแคลนบ้าง แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสยกย่องว่าถึงท่านจะร่างเล็ก แต่มีคุณธรรมฤทธานุภาพมาก ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีเสียงไพเราะ
  12. ลักเพศ : แต่งตัวปลอมเพศ เช่นไม่เป็นภิกษุ แต่นุ่งห่มผ้าเหลือง แสดงตัวเป็นภิกษุ (อ่าน ลัก-กะ-เพด)
  13. ลักษณะ ๓ : ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ดู ไตรลักษณ์
  14. ลัชชินี : หญิงผู้มีความละอายต่อบาป เป็นอิตถีลิงค์ ถ้าเป็นปุงลิงค์ เป็นลัชชี
  15. ลัฏฐิวัน : สวนตาลหนุ่ม (ลัฏฐิ แปลว่าไม้ตะพดก็ได้ บางท่านจึงแปลว่าป่าไม้รวก) อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่นั่น พระเจ้าพิมพิสารไปเฝ้าพร้อมด้วยราชบริพารจำนวนมาก ทรงสดับพระธรรมเทศนา ได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอุบาสกที่นั่น
  16. ลาสิกขา : ปฏิญญาตนเป็นผู้อื่นจากภิกษุต่อหน้าภิกษุด้วยกัน หรือต่อหน้าบุคคลอื่นผู้เข้าใจความ แล้วละเพศภิกษุเสีย ถือเพศที่ปฏิญญานั้น, ละเพศภิกษุสามเณร, สึก ; คำลาสิกขาที่ใช้ในบัดนี้ คือ ตั้ง “นโม ฯลฯ” ๓ จบ แล้วกล่าวว่า “สิกขัง ปัจจักขามิ. คิหีติ มัง ธาเรถะ” (ว่า ๓ ครั้ง) แปลว่า “กระผมลาสิกขา, ขอท่านทั้งหลายจงทรงจำกระผมไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์” (คิหีติ ออกเสียงเป็น คิฮีติ)
  17. ลุมพินีวัน : ชื่อสวนเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นสังเวชนียสถานหนึ่งใน ๔ แห่ง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ บัดนี้เรียก รุมมินเด อยู่ที่ปาเดเรีย ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดียไปทางเหนือ ประมาณ ๖ กิโลเมตรครึ่ง พระสิทธัตถะประสูติที่สวนนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี (มีปราชญ์คำนวณว่าตรงกับวันศุกร์ ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง) ดู สังเวชนียสถาน
  18. ลูกหมู่ : คนที่ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการเป็นกำลังงานของเจ้านายสมัยโบราณ
  19. ลูขัปปมาณิกา : ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ ชอบผู้ที่ประพฤติปอน ครองผ้าเก่า อยู่เรียบๆ ง่ายๆ
  20. เลขทาส : ชายฉกรรจ์ที่เป็นทาสรบทำงานด้วย
  21. เลขสม : คนที่ยินยอมเป็นกำลังงานของผู้มีอำนาจคนใดคนหนึ่งด้วยความสมัครใจในสมัยโบราณ
  22. โลก : แผ่นดินเป็นที่อาศัย, หมู่สัตว์ผู้อาศัย; โลก ๓ คือ ๑.สังขารโลก โลกคือสังขาร ๒.สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ ๓.โอกาสโลก โลกคือแผ่นดิน; อีกนัยหนึ่ง ๑.มนุษยโลก โลกมนุษย์ ๒.เทวโลก โลกสวรรค์ ทั้ง ๖ ชั้น ๓.พรหมโลก โลกของพระพรหม
  23. โลกธรรม : ธรรมที่มีประจำโลก, ธรรมดาของโลก, ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลก และสัตว์โลกก็เป็นไปตามมัน มี ๘ อย่าง คือ มีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์
  24. โลกนาถ : ผู้เป็นที่พึ่งของโลก หมายถึง พระพุทธเจ้า
  25. โลกวัชชะ : อาบัติที่เป็นโทษทางโลก คือ คนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิดความเสียหาย เช่น โจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทุบตีกัน ด่ากัน เป็นต้น; บางทีว่าเป็นข้อเสียหายที่ชาวโลกเขาติเตียน ถือว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น
  26. โลกวิทู : ทรงรู้แจ้งโลก คือทรงรู้แจ้งสภาวะแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงทราบอัธยาศัยสันดานของสัตว์โลกที่เป็นไปตางๆ ทำให้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้ผลดี (ข้อ ๕ ในพุทธคุณ ๙)
  27. โลกัตถจริยา : พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่โลก, ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก คือ ทรงอาศัยพระมหากรุณา เสด็จไปประกาศพระศาสนาเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนในถิ่นฐานแว่นแคว้นต่างๆ เป็นอันมาก และประดิษฐานพระศาสนาไว้เพื่อประโยชน์สุขแก่ชุมชนภายหลังตลอดกาลนาน ดู พุทธจริยา
  28. โลกาธิปไตย : ความถือโลกเป็นใหญ่ คือ ถือความนิยมหรือเสียงกล่าวว่า ของชาวโลกเป็นสำคัญ หวั่นไหวไปตามเสียงนินทาและสรรเสริญ จะทำอะไรก็มุ่งจะเอาใจหมู่ชน หาความนิยม ทำตามที่เขานิยมกัน หรือคอยแต่หวั่นกลัวเสียงกล่าวว่า, พึงใช้แต่ในทางดีหรือในขอบเขตที่เป็นความดี คือ เคารพเสียงหมู่ชน (ข้อ ๒ ในอธิปไตย ๓)
  29. โลกิยฌาน : ฌานโลกีย์, ฌานอันเป็นวิสัยของโลก, ฌานของผู้มีจิตยังไม่เป็นโลกุตตระ, ฌานที่ปุถุชนได้
  30. โลกิยธรรม : ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ ๕ ที่ยังมีอาสวะทั้งหมด; คู่กับ โลกุตตรธรรม
  31. โลกิยวิมุตติ : วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกุตตรวิมุตติ
  32. โลกิยสุข : ความสุขอย่างโลกีย์, ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก, ความสุขที่ยังประกอบด้วยอาสวะ เช่น กามสุข มนุษยสุข ทิพยสุข ตลอดถึงฌานสุขและวิปัสสนาสุข
  33. โลกิยะ : เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, เนื่องในโลก, เรื่องของชาวโลก, ยังอยู่ในภพ ๓, ยังเป็นกามาวจร รูปาวจร หรืออรูปาวจร; คู่กับ โลกุตตระ
  34. โลกีย์ : เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, เนื่องในโลก, เรื่องของชาวโลก, ยังอยู่ในภพ ๓, ยังเป็นกามาวจร รูปาวจร หรืออรูปาวจร; คู่กับ โลกุตตระ
  35. โลกุตตรวิมุตติ : วิมุตติที่เป็นโลกุตตระ คือ ความหลุดพ้นที่เหนือวิสัยโลก ซึ่งกิเลสและความทุกข์ที่ละได้แล้ว ไม่กลับคืนมาอีก ไม่กลับกลาย ได้แก่ วิมุตติ ๓ อย่างหลัง คือ สมุจเฉทวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวุมุตติ และนิสสรณะวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกิยวิมุตติ
  36. โลณเภสัช : เกลือเป็นยา เช่น เกลือทะเล เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เป็นต้น
  37. ไล่เบี้ย : เรียกร้องเอาค่าเสียหายเป็นลำดับไปจนถึงคนที่สุด
  38. วปลาส : กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้; ก.วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ ๑.วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า “สัญญาวิปลาส” ๒.วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า “จิตตวิปลาส” ๓.วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า “ทิฏฐิวิปลาส” ข.วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ ๑.วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ๒.วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๓.วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน ๔.วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม
  39. วรรค : หมวด, หมู่, ตอน, พวก ; กำหนด จำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์ หมวดหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะทำสังฆกรรมอย่างนั้นๆ ได้ มี ๔ พวก คือ ๑.สงฆ์จตุรวรรค (สงฆ์พวก ๔ คือ ต้องมีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นปวารณาให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน) ๒.สงฆ์ปัญจวรรค (สงฆ์พวก ๕ คือ ต้องมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในปัจจันตชนบท) ๓.สงฆ์ทสวรรค (สงฆ์พวก ๑๐ คือต้องมีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป ให้อุปสมบทในมัธยมชนบทได้) ๔.สงฆ์วีสติวรรค (สงฆ์พวก ๒๐ คือต้องมีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป ทำอัพภานได้)
  40. วรรณนา : คำพรรณนา, คำอธิบายความ คล้ายกับคำว่าอรรถกถา แต่คำว่าอรรถกถา ใช้หมายความทั้งคัมภีร์ คำว่าวรรณนาใช้เฉพาะคำอธิบายเป็นตอนๆ
  41. วสวัดดี : ชื่อพระยามาร เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไม่ให้ล่วงพ้นจากแดนกาม ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน ดู มาร 2เทวปุตตมาร
  42. วสวัตดี : ชื่อพระยามาร เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไม่ให้ล่วงพ้นจากแดนกาม ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน ดู มาร 2เทวปุตตมาร
  43. วักกลิ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชาวพระนครสาวัตถีเรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ บวชในพระพุทธศาสนา ด้วยความอยากเห็นพระรูปพระโฉมของพระศาสดา ครั้นบวชแล้วก็คอยติดตามดูพระองค์ตลอดเวลา จนไม่เป็นอันเจริญภาวนา พระพุทธเจ้าทรงรอเวลาให้ญาณของเธอสุกงอม ครั้นแล้วก็ตรัสเตือนเธอว่า “จะมีประโยชน์อะไรที่ได้เห็นกายเปื่อยเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ดังนี้เป็นต้น และทรงสอนต่อไปด้วยอุบายวิธีจนในที่สุดพระวักกลิก็ได้สำเร็จพระอรหัต และต่อมาได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุต คือ หลุดพ้นด้วยศรัทธา
  44. วังคันตะ : ชื่อพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของพระสารีบุตร
  45. วังคีตะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี ได้ศึกษาไตรเพทจนมีความชำนาญเป็นที่พอใจของอาจารย์ จึงได้เรียนมนตร์พิเศษชื่อฉวสีสมนตร์ สำหรับพิสูจน์ศีรษะซากศพ เอานิ้วเคาะหัวศพก็ทราบว่าผู้นั้นตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร ที่ไหน ท่านมีความชำนาญในมนตร์นี้มาก ต่อมาได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้แสดงความสามารถของตน แต่เมื่อเคาะศีรษะของผู้ปรินิพพานแล้วไม่สามารถบากคติได้ ด้วยความอยากเรียนมนตร์เพิ่มอีก จึงขอบวชในพระพุทธศาสนา ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปฏิภาณ
  46. วังสะ : ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ในเขตมัชฌิมชนบท ทางทิศใต้ของแคว้นโกศล ทางทิศตะวันตกของแคว้นกาสี และทางทิศเหนือของแคว้นอวันตี นครหลวงชื่อโกสัมพี บัดนี้เรียกว่าโกสัม (Kosam) อยู่บนฝั่งใต้ของแม่น้ำยมุนา ในสมัยพุทธกาล วังสะเป็นแคว้นที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมากแคว้นหนึ่ง มีราชาปกครองพระนามว่า พระเจ้าอุเทน
  47. วัจกุฎีวัตร : ข้อปฏิบัติอันภิกษุพึงกระทำในวัจกุฎี, ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้ใช้ส้วม โดยย่อมี ๗ ข้อ คือ ใช้ตามลำดับผู้ไปถึง, รักษากิริยาในการจะเข้าจะออกให้สุภาพเรียบร้อยและไม่ทำเสียงดัง, รักษาบริขารคือจีวรของตน, รักษาตัวเช่นไม่เบ่งแรง ไม่ใช้สิ่งที่จะเป็นอันตราย, ไม่ทำกิจอื่นไปพลาง, ระวังไม่ทำสกปรก, ช่วยรักษาความสะอาด
  48. วัชชี : ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่ชมพูทวีป ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำคันธกะอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมัลละ ทางทิศเหนือของแคว้นมคธ นครหลวงชื่อเวสาลี แคว้นวัชชีปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรม พวกกษัตริย์ที่ปกครองเรียกว่า กษัตริย์ลิจฉวี (นอกจากพวกลิจฉวีแล้วยังมีพวกวิเทหะซึ่งปกครองอยู่ที่เมืองมิถิลา แต่ในสมัยพุทธกาลมีอำนาจน้อย) แคว้นวัชชีรุ่งเรืองเข้มแข็งและมีอำนาจมากตอนปลายพุทธกาลได้กลายเป็นคู่แข่งกับแคว้นมคธ แต่หลังพุทธกาลไม่นานก็เสียอำนาจแก่มคธเพราะอุบายทำลายสามัคคี ของวัสสการพราหมณ์
  49. วัฏฏคามณีอภัย : ชื่อพระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกาพระองค์หนึ่ง ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๕๑๕-๕๒๗ ถูกพวกทมิฬแย่งชิงราชสมบัติ เสด็จไปซ่อนพระองค์อยู่ในป่า และได้รบความช่วยเหลือจากพระเถระรูปหนึ่ง ต่อมาพระองค์กู้ราชสมบัติคืนมา ได้ทรงสร้างอภัยคีรีวิหารและอาราธนาพระเถระรูปนั้นมาอยู่ครอง กับทั้งได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมาก การสังคายนาครั้งที่ ๕ ที่จารึกพุทธพจน์ลงในใบลาน ก็จัดทำในรัชกาลนี้
  50. วัฏฏูปัจเฉท : ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ (เป็นไวพจน์ของวิราคะ)
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | [901-950] | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1598

(0.0837 sec)