Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นประจำ, ประจำ, เป็น , then ปน, ประจำ, เป็น, เป็นประจำ .

Budhism Thai-Thai Dict : เป็นประจำ, 1608 found, display 951-1000
  1. โลกิยวิมุตติ : วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกุตตรวิมุตติ
  2. โลกิยสุข : ความสุขอย่างโลกีย์, ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก, ความสุขที่ยังประกอบด้วยอาสวะ เช่น กามสุข มนุษยสุข ทิพยสุข ตลอดถึงฌานสุขและวิปัสสนาสุข
  3. โลกิยะ : เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, เนื่องในโลก, เรื่องของชาวโลก, ยังอยู่ในภพ ๓, ยังเป็นกามาวจร รูปาวจร หรืออรูปาวจร; คู่กับ โลกุตตระ
  4. โลกีย์ : เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, เนื่องในโลก, เรื่องของชาวโลก, ยังอยู่ในภพ ๓, ยังเป็นกามาวจร รูปาวจร หรืออรูปาวจร; คู่กับ โลกุตตระ
  5. โลกุตตรวิมุตติ : วิมุตติที่เป็นโลกุตตระ คือ ความหลุดพ้นที่เหนือวิสัยโลก ซึ่งกิเลสและความทุกข์ที่ละได้แล้ว ไม่กลับคืนมาอีก ไม่กลับกลาย ได้แก่ วิมุตติ ๓ อย่างหลัง คือ สมุจเฉทวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวุมุตติ และนิสสรณะวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกิยวิมุตติ
  6. โลณเภสัช : เกลือเป็นยา เช่น เกลือทะเล เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เป็นต้น
  7. ไล่เบี้ย : เรียกร้องเอาค่าเสียหายเป็นลำดับไปจนถึงคนที่สุด
  8. วปลาส : กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้; ก.วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ ๑.วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า “สัญญาวิปลาส” ๒.วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า “จิตตวิปลาส” ๓.วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า “ทิฏฐิวิปลาส” ข.วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ ๑.วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ๒.วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๓.วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน ๔.วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม
  9. วรรค : หมวด, หมู่, ตอน, พวก ; กำหนด จำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์ หมวดหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะทำสังฆกรรมอย่างนั้นๆ ได้ มี ๔ พวก คือ ๑.สงฆ์จตุรวรรค (สงฆ์พวก ๔ คือ ต้องมีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นปวารณาให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน) ๒.สงฆ์ปัญจวรรค (สงฆ์พวก ๕ คือ ต้องมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในปัจจันตชนบท) ๓.สงฆ์ทสวรรค (สงฆ์พวก ๑๐ คือต้องมีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป ให้อุปสมบทในมัธยมชนบทได้) ๔.สงฆ์วีสติวรรค (สงฆ์พวก ๒๐ คือต้องมีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป ทำอัพภานได้)
  10. วรรณนา : คำพรรณนา, คำอธิบายความ คล้ายกับคำว่าอรรถกถา แต่คำว่าอรรถกถา ใช้หมายความทั้งคัมภีร์ คำว่าวรรณนาใช้เฉพาะคำอธิบายเป็นตอนๆ
  11. วสวัดดี : ชื่อพระยามาร เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไม่ให้ล่วงพ้นจากแดนกาม ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน ดู มาร 2เทวปุตตมาร
  12. วสวัตดี : ชื่อพระยามาร เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไม่ให้ล่วงพ้นจากแดนกาม ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน ดู มาร 2เทวปุตตมาร
  13. วักกลิ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชาวพระนครสาวัตถีเรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ บวชในพระพุทธศาสนา ด้วยความอยากเห็นพระรูปพระโฉมของพระศาสดา ครั้นบวชแล้วก็คอยติดตามดูพระองค์ตลอดเวลา จนไม่เป็นอันเจริญภาวนา พระพุทธเจ้าทรงรอเวลาให้ญาณของเธอสุกงอม ครั้นแล้วก็ตรัสเตือนเธอว่า “จะมีประโยชน์อะไรที่ได้เห็นกายเปื่อยเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ดังนี้เป็นต้น และทรงสอนต่อไปด้วยอุบายวิธีจนในที่สุดพระวักกลิก็ได้สำเร็จพระอรหัต และต่อมาได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุต คือ หลุดพ้นด้วยศรัทธา
  14. วังคันตะ : ชื่อพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของพระสารีบุตร
  15. วังคีตะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี ได้ศึกษาไตรเพทจนมีความชำนาญเป็นที่พอใจของอาจารย์ จึงได้เรียนมนตร์พิเศษชื่อฉวสีสมนตร์ สำหรับพิสูจน์ศีรษะซากศพ เอานิ้วเคาะหัวศพก็ทราบว่าผู้นั้นตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร ที่ไหน ท่านมีความชำนาญในมนตร์นี้มาก ต่อมาได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้แสดงความสามารถของตน แต่เมื่อเคาะศีรษะของผู้ปรินิพพานแล้วไม่สามารถบากคติได้ ด้วยความอยากเรียนมนตร์เพิ่มอีก จึงขอบวชในพระพุทธศาสนา ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปฏิภาณ
  16. วังสะ : ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ในเขตมัชฌิมชนบท ทางทิศใต้ของแคว้นโกศล ทางทิศตะวันตกของแคว้นกาสี และทางทิศเหนือของแคว้นอวันตี นครหลวงชื่อโกสัมพี บัดนี้เรียกว่าโกสัม (Kosam) อยู่บนฝั่งใต้ของแม่น้ำยมุนา ในสมัยพุทธกาล วังสะเป็นแคว้นที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมากแคว้นหนึ่ง มีราชาปกครองพระนามว่า พระเจ้าอุเทน
  17. วัจกุฎีวัตร : ข้อปฏิบัติอันภิกษุพึงกระทำในวัจกุฎี, ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้ใช้ส้วม โดยย่อมี ๗ ข้อ คือ ใช้ตามลำดับผู้ไปถึง, รักษากิริยาในการจะเข้าจะออกให้สุภาพเรียบร้อยและไม่ทำเสียงดัง, รักษาบริขารคือจีวรของตน, รักษาตัวเช่นไม่เบ่งแรง ไม่ใช้สิ่งที่จะเป็นอันตราย, ไม่ทำกิจอื่นไปพลาง, ระวังไม่ทำสกปรก, ช่วยรักษาความสะอาด
  18. วัชชี : ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่ชมพูทวีป ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำคันธกะอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมัลละ ทางทิศเหนือของแคว้นมคธ นครหลวงชื่อเวสาลี แคว้นวัชชีปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรม พวกกษัตริย์ที่ปกครองเรียกว่า กษัตริย์ลิจฉวี (นอกจากพวกลิจฉวีแล้วยังมีพวกวิเทหะซึ่งปกครองอยู่ที่เมืองมิถิลา แต่ในสมัยพุทธกาลมีอำนาจน้อย) แคว้นวัชชีรุ่งเรืองเข้มแข็งและมีอำนาจมากตอนปลายพุทธกาลได้กลายเป็นคู่แข่งกับแคว้นมคธ แต่หลังพุทธกาลไม่นานก็เสียอำนาจแก่มคธเพราะอุบายทำลายสามัคคี ของวัสสการพราหมณ์
  19. วัฏฏคามณีอภัย : ชื่อพระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกาพระองค์หนึ่ง ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๕๑๕-๕๒๗ ถูกพวกทมิฬแย่งชิงราชสมบัติ เสด็จไปซ่อนพระองค์อยู่ในป่า และได้รบความช่วยเหลือจากพระเถระรูปหนึ่ง ต่อมาพระองค์กู้ราชสมบัติคืนมา ได้ทรงสร้างอภัยคีรีวิหารและอาราธนาพระเถระรูปนั้นมาอยู่ครอง กับทั้งได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมาก การสังคายนาครั้งที่ ๕ ที่จารึกพุทธพจน์ลงในใบลาน ก็จัดทำในรัชกาลนี้
  20. วัฏฏูปัจเฉท : ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ (เป็นไวพจน์ของวิราคะ)
  21. วัตถุ : เรื่อง, สิ่ง, ข้อความ, ที่ดิน; ที่ตั้งของเรื่อง หมายถึงบุคคลผู้เป็นที่ตั้งแห่งการทำกรรมของสงฆ์ เช่น ในการให้อุปสมบท คนที่จะบวชเป็นวัตถุแห่งการให้อุปสมบท
  22. วัตถุ ๑๐ : เรื่องที่เป็นต้นเหตุ, ข้อซึ่งเป็นที่ตั้งหรือเป็นจุดเริ่มเรื่อง, ข้อปฏิบัติ ๑๐ ประการของพวกภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี ที่ผิดเพี้ยนย่อหย่อนทางพระวินัย แปลจากสงฆ์พวกอื่นเป็นเหตุปรารภให้มีการสังคายนาครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๑๐๐
  23. วัตถุวิบัติ : วิบัติโดยวัตถุ คือ บุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสังฆกรรมเสีย ใช้ไม่ได้ เช่น ในการอุปสมบท ผู้อุปสมบทอายุไม่ครบ ๒๐ ปี หรือมีเรื่องที่เป็นความผิดอย่างร้ายแรง เช่น ฆ่าบิดามารดา หรือเป็นปาราชิกเมื่อบวชเป็นภิกษุคราวก่อน หรือไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ หรือเป็นสตรีดังนี้เป็นต้น
  24. วัตถุสมบัติ : ความถึงพร้อมแห่งวัตถุ, ความสมบูรณ์โดยบุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำสังฆกรรมนั้นๆ มีคุณสมบัติถูกต้อง ทำให้สังฆกรรมใช้ได้ไม่บกพร่องในด้านนี้ เช่น ในการอุปสมบท ผู้ขอบวชเป็นชายมีอายุครบ ๒๐ ปี ไม่เป็นมนุษย์วิบัติเช่นถูกตอน ไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงเช่นฆ่าบิดามารดา ไม่ใช่คนทำความเสียหายในพระพุทธศาสนาอย่างหนัก เช่น ปาราชิก เมื่อบวชคราวก่อน ดังนี้เป็นต้น
  25. วัตร : กิจพึงกระทำ, หน้าที่, ธรรมเนียม, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ จำแนกออกเป็น กิจวัตร วาด้วยกิจที่ควรทำ (เช่น อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาคันตุกวัตร) ๑.จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ (เช่น ไม่ทิ้งขยะทางหน้าต่างหรือทิ้งลงนอกฝานอกกำแพง ไม่จับวัตถุอนามาส) ๑.วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่างที่พึงกระทำ (เช่น วิธีเก็บบาตร วิธีพับจีวร วิธีเปิดปิดหน้าต่างตามฤดู วิธีเดินเป็นหมู่), วัตรส่วนมากมาในวัตตขันธกะ
  26. วัน : ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งจนถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำรุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน การที่เรียกว่า วัน นั้นเพราะแต่โบราณถือเอากำหนดพระอาทิตย์ ซึ่งเรียกตะวันขึ้นจนถึงตะวันตกเป็นกำหนด จึงเรียกว่าวัน คือมาจากคำว่าตะวันนั่นเอง
  27. วัปปมงคล : พิธีแรกนาขวัญ คือพิธีเริ่มไถนาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา
  28. วัปปะ : ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์ เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก
  29. วัย : ส่วนแห่งอายุ, ระยะของอายุ, เขตอายุ นิยมแบ่งเป็น ๓ วัย คัมภีร์วิสุทธิมรรคจัดดังนี้ ๑.ปฐมวัย วัยต้น ๓๓ ปี คือ อายุ ๑ ถึง ๓๓ ปี ๒.มัชฌิมวัย วัยกลาง ๓๔ ปี คือ อายุ ๓๔ ถึง ๖๗ ปี ๓.ปัจฉิมวัย วัยปลาย ๓๓ ปี คือ อายุ ๖๘ ถึง ๑๐๐ ปี
  30. วาชเปยะ : “วาจาดูดดื่มใจ”, “น้ำคำควรดื่ม”, ความรู้จักพูด รู้จักทักทายปราศรัย มีถ้อยคำสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ (ข้อ ๔ ในราชสังคหวัตถุ ๔)
  31. วาชไปยะ : “วาจาดูดดื่มใจ”, “น้ำคำควรดื่ม”, ความรู้จักพูด รู้จักทักทายปราศรัย มีถ้อยคำสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ (ข้อ ๔ ในราชสังคหวัตถุ ๔)
  32. วาตสมุฏฺฐานา อาพาธา : ความเจ็บไข้ที่มีลมเป็นสมุฏฐาน
  33. วานปรัสถ์ : ผู้อยู่ป่า, เป็นธรรมเนียมของพราหมณ์ว่าผู้ที่ครองเรือน มีครอบครัวเป็นหลักฐาน ครั้นลูกหลานเติบโตก็จัดแจงให้มีครอบครัว ตนเองชราลงก็มุ่งแสวงบุญกุศล เข้าป่าจำศีลถือพรตบำเพ็ญตบะต่อไป ดู อาศรม
  34. วาโยธาตุ : ธาตุลม คือธาตุที่มีลักษณะพัดไปมา, ภาวะสั่นไหว เคร่งตึง ค้ำจุน; ในร่างกายนี้ ส่วนที่ใช้กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ (ตามสภาวะ วาโยธาตุ คือ สภาพสั่นไหว หรือค้ำจุน) ดู ธาตุ
  35. วาลิการาม : ชื่อวัดหนึ่งในเมืองเวสาลี แคว้นวัชชีเป็นที่ประชุมทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ชำระวัตถุ ๑๐ ประการที่เป็นเสี้ยนหนามพระธรรมวินัย
  36. วิกขัมภนวิมุตติ : พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้ ได้แก่ ความพ้นจากกิเลสและอกุศลธรรมได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้นานกว่าตทังควิมุตติ แต่เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก จัดเป็นโลกิยวิมุตติ (ข้อ ๒ ในวิมุตติ ๕; ในบาลีเป็นข้อ ๑ ถึงชั้นอรรถกถา จึงกลายมาเป็นข้อ ๒)
  37. วิกติกา : เครื่องลาดที่เป็นรูปสัตว์ร้าย เช่น ราชสีห์ เสือ เป็นต้น
  38. วิกัป : ทำให้เป็นของ ๒ เจ้าของคือ ขอให้ภิกษุสามเณรอื่นร่วมเป็นเจ้าของบาตรหรือจีวรนั้นๆ ด้วย ทำให้ไม่ต้องอาบัติเพราะเก็บอติเรกบาตร หรืออติเรกจีวรไว้เกินกำหนด เช่น วิกัปจีวรผืนหนึ่งต่อหน้าในหัตถบาสว่า “อิมํ จีวรํ ตุยฺหํ วิกปฺเปมิ” ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน
  39. วิกัปป์ : ทำให้เป็นของ ๒ เจ้าของคือ ขอให้ภิกษุสามเณรอื่นร่วมเป็นเจ้าของบาตรหรือจีวรนั้นๆ ด้วย ทำให้ไม่ต้องอาบัติเพราะเก็บอติเรกบาตร หรืออติเรกจีวรไว้เกินกำหนด เช่น วิกัปจีวรผืนหนึ่งต่อหน้าในหัตถบาสว่า อิมํ จีวรํ ตุยฺหํ วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน
  40. วิกัปปิตจีวร : จีวรที่วิกัปป์ไว้, จีวรที่ทำให้เป็นของ ๒ เจ้าของ
  41. วิกาล : ผิดเวลา, ในวิกาลโภชนสิกขาบท (ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล) หมายถึง ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงก่อนอรุณวันใหม่; ส่วนในอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ ในภิกขุนีวิภังค์ (ห้ามภิกษุณีเข้าสู่ตระกูลในเวลาวิกาล เอาที่นอนปูลาดนั่งนอนทับโดยไม่บอกกล่าวขออนุญาตเจ้าบ้าน) หมายถึงตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงก่อนอรุณวันใหม่; ในสิงคาลกสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สุตตันตปิฎก กล่าวถึงการเที่ยวซอกแซกในเวลาวิกาลว่าเป็นอบายมุขนั้น ก็หมายถึงเวลาค่ำ
  42. วิกุพพนฤทธิ์ : ฤทธิ์คือการแผลง, ฤทธิ์บิดผัน, ฤทธิ์ผันแผลง คือ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติ แปลงเป็นเด็ก เป็นครุฑ เป็นเทวดา เป็นเสือ เป็นงู เป็นต้น (ต้องห้ามทางพระวินัย)
  43. วิกุพพนาอิทธิ : ฤทธิ์คือการแผลง, ฤทธิ์บิดผัน, ฤทธิ์ผันแผลง คือ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติ แปลงเป็นเด็ก เป็นครุฑ เป็นเทวดา เป็นเสือ เป็นงู เป็นต้น (ต้องห้ามทางพระวินัย)
  44. วิจิกิจฉา : ความลังเลไม่ตกลงได้, ความไม่แน่ใจ, ความสงสัย, ความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย, ความลังเลเป็นเหตุไม่แน่ใจในปฏิปทาเครื่องดำเนินของตน (ข้อ ๕ ในนิวรณ์ ๕)
  45. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน : ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ประกอบด้วยวิชชา ๓ หรือวิชชา ๘ และจรณะ ๑๕ อันเป็นปฏิปทาเครื่องบรรลุวิชชานั้น, มีความรู้ประเสริฐ ความประพฤติประเสริฐ (ข้อ ๓ ในพุทธคุณ ๙)
  46. วิญญาณ : ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่น รูปอารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยินเป็นอาทิ; วิญญาณ ๖ คือ ๑.จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา(เห็น) ๒.โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน) ๓.ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก(ได้กลิ่น) ๔.ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น(รู้รส) ๕.กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย) ๖.มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)
  47. วิญญาณฐิติ : ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ มี ๗ คือ ๑.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกวินิปาติกะ บางหมู่ ๒.สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน ๓.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ ๔.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ ๕.สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ๖.สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ๗.สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจายตนะ
  48. วิญญาณัญจายตนะ : ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (ข้อ ๒ ในอรูป ๔)
  49. วิญญาณาหาร : อาหารคือวิญญาณ, วิญญาณเป็นอาหารคือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป (ข้อ ๔ ในอาหาร ๔)
  50. วิตก : ความตรึก, ตริ, การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์ (ข้อ ๑ ในองค์ฌาน ๕), การคิด, ความดำริ; ไทยใช้ว่าเป็นห่วงกังวล
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | [951-1000] | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1608

(0.0877 sec)