Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เฉพาะเรื่อง, เรื่อง, เฉพาะ , then ฉพา, ฉพารอง, เฉพาะ, เฉพาะเรื่อง, รอง, เรื่อง .

Budhism Thai-Thai Dict : เฉพาะเรื่อง, 230 found, display 151-200
  1. สทารสันโดษ : ความพอใจด้วยภรรยาของตน, ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม), จัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง
  2. สมผุส : เป็นคำเฉพาะในโหราศาสตร์ หมายถึงการคำนวณชนิดหนึ่ง เกี่ยวกับโลกและดาวนพเคราะห์เล็งร่วมกัน และ ดู มัธยม
  3. สมภพ : การร่วมกัน, การตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน; การที่สงฆ์ ประชุมกันตกลงมอบหมายหรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณีสมมติภิกษุเป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น; ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า
  4. สมาธิ : ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ มักใช้เป็นคำเรียกง่าย ๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา; ดู เอกัคคตา, อธิจิตตสิกขา
  5. สมุจจยขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๓ ในจุลวรรคแห่งพระวินัยปิฏก ว่าด้วยวุฏฐานวิธีบางเรื่อง
  6. สหธรรมิก : ผู้มีธรรมร่วมกัน, ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน แสดงไว้ในคัมภีร์มหานิทเทส แห่งพระสุตตันตปิฏก มี ๗ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา; ในสัตตาหกรณียะ สหธรรมิก ๕ (คัมภีร์ฝ่ายวินัยทั่วไปก็มักหมายเฉพาะจำนวน ๕)
  7. สหธรรมิกวรรค : ตอนที่ว่าด้วยเรื่องภิกษุถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม เป็นต้น เป็นวรรคที่ ๘ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ มี ๑๒ สิกขาบท
  8. สังคีติกถา : ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องสังคายนา, แถลงความเรื่องสังคายนา
  9. สังคีติปริยาย : บรรยายเรื่องการสังคายนา, การเล่าเรื่องการสังคายนา
  10. สังฆเภทขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๗ แห่งจุลวรรคในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องพระเทวทัตทำลายสงฆ์และเรื่องควรทราบเกี่ยวกับสังฆเภท สังฆสามัคคี
  11. สัทธัมมัสสวนะ : ฟังสัทธรรม, ฟังคำสั่งสอนของสัตบุรุษ, ฟังคำสั่งสอนของท่านที่ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ, สดับเล่าเรียนอ่านคำสอนเรื่องราวที่แสดงหลักความจริงความดีงาม (ข้อ ๒ ในวุฑฒิ ๔)
  12. สัทธิวิหารินี : สัทธิวิหาริกผู้หญิง คือสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุณี แต่ตามปกติไม่เรียกอย่างนี้ เพราะมีคำเฉพาะเรียกว่า สหชีวินี
  13. สันทัสสนา : การให้เห็นชัดแจ้ง หรือชี้ให้ชัด คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัดเจน มองเห็นเรื่องราวและเหตุผลต่าง ๆ แจ่มแจ้งเหมือนจูงมือไปดูเห็นประจักษ์กับตา; เป็นลักษณะอย่างแรกของการสอนที่ดีตามแนวพุทธจริยา (ข้อต่อไป คือสมาทปนา)
  14. สัปปาณกวรรค : ตอนที่ว่าด้วยเรื่องสัตว์มีชีวิตเป็นต้น, เป็นวรรคที่ ๗ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก
  15. สัปปุรุษ : เป็นคำเลือนปะปนระหว่าง สัปปุริส ที่เขียนอย่างบาลี กับ สัตบุรุษ ที่เขียนอย่างสันสกฤต มีความหมายอย่างเดียวกัน (ดู สัตบุรุษ)แต่ในภาษาไทยเป็นคำอยู่ข้างโบราณ ใช้กันในความหมายว่า คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา เฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไปร่วมกิจกรรมทางบุญทางกุศล รักษาศีลฟังธรรมเป็นประจำที่วัดใดวัดหนึ่งบางทีเรียกตามความผูกพันกับวัดว่า สัปปุรุษวัดนั้น สัปปุรุษวัดนี้
  16. สัมปัตตวิรัติ : ความเว้นจากวัตถุอันถึงเข้า, การเว้นเมื่อประสบซึ่งหน้าคือไม่ได้สมาทานศีล หรือตั้งใจละเว้นมาก่อนแต่เมื่อประสบเหตุอันจะทำให้ทำความชั่ว หรือละเมิดศีลเข้าเฉพาะหน้า ก็ละเว้นได้ในขณะนั้นเอง ไม่ล่วงละเมิดศีล (ข้อ ๑ ในวิรัติ ๓)
  17. สัมมุขาวินัย : ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า, วิธีระงับต่อหน้า ได้แก่การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ (สังฆสัมมุขตา คือภิกษุเข้าประชุมครบองค์สงฆ์), ในที่พร้อมหน้าบุคคล ( ปุคคลสัมมุขตา คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้ากัน), ในที่พร้อมหน้าวัตถุ ( วัตถุสัมมุขตา คือยกเรื่องที่เกิดนั้นขึ้นวินิจฉัย), ในที่พร้อมหน้าธรรมวินัย ( ธัมมสัมมุขตา และ วินยสัมมุขตา คือนำเอาหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามพระธรรมวินัยมาใช้ปฏิบัติ ได้แก่วินิจฉันถูกธรรม ถูกวินัย); สัมมุขาวินัย ใช้เป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ได้ทุกอย่าง
  18. สาธารณ์ : ทั่วไป, ทั่วไปแก่หมู่, ของส่วนรวม ไม่ใช่ของใครโดยเฉพาะ
  19. สามุกกังสิกา : แปลตามอรรถกถาว่า พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นถือเอาเอง คือ ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ (ตรัสรู้เอง) ได้แก่อริยสัจจเทศนา, ตามแบบเรียน แปลว่า ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง คือไม่ต้องปรารภคำถามเป็นต้นของผู้ฟัง ได้แก่เทศนาเรื่องอริยสัจ
  20. สิกขา : การศึกษา, การสำเหนียก, ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรม มี ๓ อย่างคือ ๑.อธิสีลสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องศีล ๒.อธิจิตตสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องจิต เรียกง่าย ๆ ว่า สมาธิ ๓.อธิปัญญาสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องปัญญา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา
  21. สิคาลมาตา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่งเป็นธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์เจริญวัยแล้ว แต่งงาน มีบุตรคนหนึ่งชื่อ สิงคาลกุมาร วันหนึ่งได้ฟังธรรมีกถาของพระศาสดา มีความเลื่อมใส (คัมภีร์อปทานว่า ได้ฟังสิงคาลกสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บุตรของนาง ซึ่งว่าด้วยเรื่องอบายมุข มิตรแท้ มิตรเทียม ทิศ ๖ เป็น และได้บรรลุโสดาปัตติผล) ขอบวชเป็นภิกษุณีต่อมาได้ไปฟังธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง นางคอยตั้งตาดูพระพุทธสิริสมบัติด้วยศรัทธาอันแรงกล้าพระพุทธองค์ทรงทราบกับอัธยาศัยของนาง นางส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาธิมุต, สิคาลกมาตา หรือ สิงคาลมาตา ก็เรียก
  22. สุขของคฤหัสก์ : สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี และควรขวนขวายให้มีอยู่เสมอ มี ๔ อย่างคือ ๑.สุขเกิดจากความมีทรัพย์ (ที่ได้มาด้วยเรี่ยวแรงของตน โดยทางชอบธรรม) ๒.สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ (เลี้ยงตนเลี้ยงคนควรเลี้ยง และทำประโยชน์) ๓.สุขเกิดความประพฤติไม่มีโทษ (มีสุจริตทั้ง กาย วาจา และใจ), เฉพาะข้อ ๔ ตามแบบเรียนว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ
  23. สุญญตา : “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง 1.ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ 2.ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน 3.โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์ 4.ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย; สุญตา ก็เขียน
  24. สุธรรมภิกษุ : ชื่อภิกษุรูปหนึ่งมีความมักใหญ่ ได้ด่าจิตตคฤหบดีและถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม ให้ไปขอขมาคฤหบดีนั้น นับเป็นต้นบัญญัติในเรื่องนี้
  25. สุราปานวรรค : ตอนที่ว่าด้วยเรื่องดื่มน้ำเมา เป็นต้น เป็นวรรคที่ ๖ ในปาจิตติยกัณฑ์
  26. สูตร : พระธรรมเทศนาหรือธรรมกถาเรื่องหนึ่ง ๆ ในพระสุตตันตปิฎก แสดงเจือด้วยบุคคลาธิษฐาน, ถ้าพูดว่าพระสูตร มักหมายถึงพระสุตตันตปิฏกทั้งหมด
  27. เสนาสนขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๖ แห่งจุลวรรคในพระวินัยปิฏก ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ
  28. แส่โทษ : หาความผิดใส่, หาเรื่องผิดให้
  29. โสณโกฬิวิสะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นกุลบุตรชื่อโสณะ ตระกูลโกฬิวิสะ เป็นบุตรของอุสภเศรษฐีแห่งวรรณะแพศย์ ในเมืองกาฬจัมปากแคว้นอังคะ โสณกุลบุตรมีลักษณะพิเศษในร่างกาย คือ มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม และมีขนอ่อนขึ้นภายใน อีกทั้งมีความเป็นอยู่อย่างดี ได้รับการบำรุงบำเรอทุกประการ อยู่ในปราสาท ๓ ฤดู จึงได้สมญาว่าเป็น สุขุมาลโสณะ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับกิตติศัพท์ จึงรับสั่งให้โสณะเดินทางไปเฝ้าและให้แสดงขนฝ่ามือฝ่าเท้าให้ทอดพระเนตร คราวนั้นโสณะมีโอกาสได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้สดับพระธรรมเทศนา เกิดความเลื่อมใสขอบวช ท่านทำความเพียรอย่างแรงกล้าจนเท้าแตกและเริ่มท้อใจ พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานโอวาทด้วยข้ออุปมาเรื่องพิณ๓สาย ท่านปฏิบัติตาม ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปรารภความเพียร
  30. เหตุ : สิ่งที่ให้เกิดผล, เค้ามูล, เรื่องราว, สิ่งที่ก่อเรื่อง
  31. อเจลกวรรค : ตอนที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับชีเปลือย เป็นต้น, เป็นชื่อหมวดอาบัติปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕
  32. อตีตานาคตังสญาณ : ญาณเป็นเครื่องรู้ถึงเรื่องที่ล่วงมาแล้ว และเรื่องที่ยังไม่มาถึง, ญาณหยั่งรู้ทั้งอดีตและอนาคต
  33. อนาคต : ยังไม่มาถึง, เรื่องที่ยังไม่มาถึง, เวลาที่ยังไม่มาถึง
  34. อนาณัตติกะ : อาบัติที่ต้องเฉพาะทำเองไม่ต้องเพราะสั่ง คือสั่งให้ผู้อื่นทำไม่ต้องอาบัติ เช่น สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑ (แต่สั่งให้ทำแก่ตน ไม่พ้นอาบัติ)
  35. อนาวรณญาณ : ปรีชาหยั่งรู้ที่ไม่มีอะไรๆ มากั้นได้ หมายความว่า รู้ตลอด, รู้ทะลุปรุโปร่ง เป็นพระปรีชาญาณเฉพาะของพระพุทธเจ้า ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก
  36. อนุวาทาธิกรณ์ : การโจทที่จัดเป็นอธิกรณ์ คือ การโจทกันด้วยอาบัติ, เรื่องการกล่าวหากัน ดู อธิกรณ์
  37. อนุสนธิ : การติดต่อ, การสืบเนื่อง, ความ หรือเรื่องที่ติดต่อหรือสืบเนื่องกันมา
  38. อปรกาล : เวลาช่วงหลัง, ระยะเวลาของเรื่องที่มีขึ้นในภายหลัง คือ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้แก่ เรื่องถวายพระเพลิง และแจกพระบรมสารีริกธาตุ
  39. อภิณหปัจจเวกขณ์ : ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ, เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ ๑) ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒) ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๓) ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๔) ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๕) ว่าเรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว; อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ อย่าง (ปัพพชิตอภิรหปัจจเวกขณ์) คือ ๑) บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว ๒) ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓) ว่าเรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ ๔) ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๕) ว่าเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๖) ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๗) ว่าเรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว ๘) ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๙) ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่ ๑๐) ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมือถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง (ข้อ ๑ ท่านเติมท้ายว่าอาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒) เติมว่าเราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๗) ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้น ไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)
  40. อรรถศาสน์ : คำสอนว่าด้วยเรื่องประโยชน์ ๓ อย่าง คือ ๑) ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๒) สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ที่จะได้ในภายหน้า ๓) ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน
  41. อสาธารณสิกขาบท : สิกขาบทที่ไม่ทั่วไป หมายถึงสิกขาบทเฉพาะของภิกษุณี ที่แผกออกไปจากสิกขาบทของภิกษุ เทียบ สาธารณสิกขาบท
  42. อสุภ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
  43. อสุภะ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
  44. อสูร : สัตว์กึ่งเทพหรือเทพชั้นต่ำพวกหนึ่ง ตำนานกล่าวว่า เดิมเป็นเทวดาเก่า (บุพเทวา) เป็นเจ้าถิ่นครอบครองดาวดึงสเทวโลก ต่อมาถูกเทวดาพวกใหม่ มีท้าวสักกะเป็นหัวหน้าแย่งถิ่นไป โดยถูกเทพพวกใหม่นั้นจับเหวี่ยงลงมาในระหว่างพิธีเลี้ยงเมื่อพวกตนดื่มสุราจนเมามาย ได้ชื่อใหม่ว่าอสูร เพราะเมื่อฟื้นคืนสติขึ้นระหว่างทางที่ตกจากดาวดึงส์นั้น ได้กล่าวกันว่า “พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว” (อสูรจึงแปลว่าผู้ไม่ดืมสุรา) พวกอสูรได้ครองพิภพใหม่ที่เชิงเขาสิเนรุ หรือเขาพระสุเมรุ และมีสภาพความเป็นอยู่ มีอายุ วรรณะ ยศ อิสริยสมบัติ คล้ายกันกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ พวกอสูรเป็นศัตรูโดยตรงกับเทวดา และมีเรื่องราวขัดแย้งทำสงครามกันบ่อยๆ พวกอสูรออกจะเจ้าโทสะ จึงมักถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นพวกมีนิสัยพาลหรือเป็นฝ่ายผิด
  45. อัคคัญญสูตร : ชื่อสูตรที่ ๔ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก ทรงแสดงแก่สามเณรวาเสฏฐะ และสามเณรภารัทวาชะ ผู้ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ ทรงคัดค้านคำกล่าวอ้างของพวกพราหมณ์ ที่ถือว่าพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด และถือว่าชาติกำเนิดเป็นเครื่องตัดสินความประเสริฐ และความต่ำทรามของมนุษย์ ทรงแสดงให้เห็นว่าความประเสริฐหรือต่ำทรามนั้นอยู่ที่ความประพฤติ โดยมีธรรมเป็นเครื่องตัดสิน คนวรรณะต่างๆ ออกบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เกิดจากธรรมเสมอกันหมด แล้วทรงแสดงความเป็นมาของสังคมมนุษย์ เริ่มแต่เกิดมีสัตว์ขึ้นในโลกแล้วเปลี่ยนแปลงตามลำดับ จนเกิดมีมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวก เกิดความจำเป็นต้องมีการปกครอง และมีการประกอบอาชีพ การงานต่างๆ กัน วรรณะทั้ง ๔ ก็เกิดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องของพรหมสร้างสรรค์ แต่เกิดจากธรรม (ธรรมดา, กฎธรรมชาติ) ทุกวรรณะประพฤติชั่วก็ไปอบายได้ ปฏิบัติธรรมก็บรรลุนิพพานได้ ธรรมเป็นเครื่องตัดสิน และธรรมเป็นของประเสริฐสูงสุด ผู้ที่สิ้นอาสวกิเลสแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุดในวรรณะทั้ง ๔ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุดในบรรดาเทวะ และมนุษย์ทั้งปวง
  46. อัตถุปปัตติ : เหตุที่ให้มีเรื่องขึ้น, เหตุให้เกิดเรื่อง
  47. อันตคาหิกทิฏฐิ : ความเห็นที่ยึดเอาที่สุด คือ แล่นไปถึงที่สุดในเรื่องหนึ่งๆ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) โลกเที่ยง ๒) โลกไม่เที่ยง ๓) โลกมีที่สุด ๔) โลกไม่มีที่สุด ๕) ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ๖) ชีพก็อย่าง สรีระก็อย่าง ๗) สัตว์ตายแล้วยังมีอยู่ ๘) สัตว์ตายแล้ว ย่อมไม่มี ๙) สัตว์ตายแล้วทั้งมีอยู่ ทั้งไม่มี ๑๐) สัตว์ตายแล้วจะมีอยู่ ก็ไม่ใช่ ไม่มีอยู่ ก็ไม่ใช่
  48. อัพโภกาสิกังคะ : องค์แห่งผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร คือ อยู่เฉพาะกลางแจ้ง ไม่อยู่ในที่มุงบัง หรือแม้แต่โคนไม้ (ห้ามถือในฤดูฝน) (ข้อ ๑๐ ในธุดงค์ ๑๓)
  49. อาคันตุกภัต : อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาคันตุกะ คือผู้จรมาจากต่างถิ่น
  50. อาปัตตาธิกรณ์ : อธิกรณ์คืออาบัติ หมายความว่า การต้องอาบัติและการถูกปรับอาบัติ เป็นอธิกรณ์โดยฐานเป็นเรื่องที่จะต้องจัดทำ คือระงับด้วยการแก้ไขปลดเปลื้องออกจากอาบัตินั้นเสีย มีการปลงอาบัติ หรือการอยู่กรรมเป็นต้น ตามวิธีที่ท่านบัญญัติไว้
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-230

(0.0586 sec)