Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าเจ้า, เจ้า, เข้า , then ขา, เข้, เข้า, เข้าเจ้า, จา, เจ้, เจ้า .

Budhism Thai-Thai Dict : เข้าเจ้า, 391 found, display 251-300
  1. สัญญมะ : การยับยั้ง, การงดเว้น (จากบาป หรือจากการเบียดเบียน), การบังคับควบคุมตน; ท่านมักอธิบายว่า สัญญมะ ได้แก่ ศีล, บางทีแปลว่า สำรวม เหมือนอย่าง “สังวร”; เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเบื้องต้น พึงเทียบความหมายระหว่างข้อธรรม ๓ อย่าง คือ สังวร เน้นความระวังในการรับเข้า คือปิดกั้นสิ่งเสียหายที่จะเข้ามาจากภายนอก สัญญมะ ควบคุมตนในการแสดงออก มิให้เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน เป็นต้น ทมะ ฝึกฝนแก้ไขปรับปรุงตน ข่มกำจัดส่วนร้ายและเสริมส่วนที่ดีงามให้ยิ่งขึ้นไป; สังยมะ ก็เขียน
  2. สัญญา : การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่น ทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้น ๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕) มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น; ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้น ๆ, ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น
  3. สัญญา ๑๐ : ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ความกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร ๒.อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง ๓.อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย ๔.อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือมีอาพาธต่าง ๆ ๕.ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม ๖.วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะ คืออริยมรรคว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต ๗.นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธ คืออริยผล ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต ๘.สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ๙.สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาใน สังขารทั้งปวง ๑๐.อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
  4. สัตตาวาส : ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์ มี ๙ เหมือนกับ วิญญาณัฏฐิติ ๗ ต่างแต่เพิ่มข้อ ๕ เข้ามาเป็น ๕.สัตว์เหล่าหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่มีการเสวยเวทนา เช่นพวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์, เลื่อนข้อ ๕-๖-๗ ออกไปเป็นข้อ ๖-๗-๘ แล้วเติมข้อ ๙.สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ
  5. สัมปัตตวิรัติ : ความเว้นจากวัตถุอันถึงเข้า, การเว้นเมื่อประสบซึ่งหน้าคือไม่ได้สมาทานศีล หรือตั้งใจละเว้นมาก่อนแต่เมื่อประสบเหตุอันจะทำให้ทำความชั่ว หรือละเมิดศีลเข้าเฉพาะหน้า ก็ละเว้นได้ในขณะนั้นเอง ไม่ล่วงละเมิดศีล (ข้อ ๑ ในวิรัติ ๓)
  6. สัมภาระ : สิ่งของต่าง ๆ, วัตถุ, วัสดุ, เครื่องใช้, องค์, ส่วนประกอบ; การประชุมเข้า
  7. สัมโภถนาสนา : ให้ฉิบหายเสียจากการกินร่วม, เป็นศัพท์ผูกใหม่ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ว่าน่าจะใช้แทนคำว่า ทัณฑกรรมนาสนา (การให้ฉิบหายด้วยทัณฑกรรม คือ ลงโทษสามเณร ผู้กล่าวตู่พระธรรมเทศนาโดยไล่จากสำนัก และไม่ให้ภิกษุทั้งหลายคบด้วย ตามสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)
  8. สัมมาสัมพุทธเจดีย์ : เจดีย์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, เจดีย์ที่เป็นเครื่องเตือนจิตให้ระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดู เจดีย์
  9. สามเณรเปสกะ : ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้สามเณร (เป็นเจ้าอธิการแห่งอารามประเภทหนึ่ง))
  10. สามัคคีอุโบสถ : อุโบสถที่ทำขึ้นเป็นกรณีพิเศษเมื่อสงฆ์ ๒ ฝ่ายซึ่งแตกกันกลับมาปรองดองสมานกันเข้าได้สามัคคีอุโบสถไม่กำหนดด้วยวันที่ตายตัว สงฆ์พร้อมเพรียงกันเมื่อใด ก็ทำเมื่อนั้น เรียกวันนั้นว่า วันสามัคคี
  11. สารูป : เหมาะ, สมควร, ธรรมเนียมควรประพฤติในเวลาเข้าบ้าน, เป็นหมวดที่ ๑ แห่งเสขิยวัตร มี ๒๖ สิกขาบท
  12. สิง : อยู่, เข้าอยู่
  13. สิทธัตถกุมาร : พระนามเดิมของพระพุทธเจ้า ก่อนเสด็จออกบรรพชา ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา คำว่า สิทธัตถะ แปลว่า มีความต้องการสำเร็จหรือสำเร็จตามที่ต้องการ คือสมประสงค์ จะต้องการอะไรได้หมด ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา เมื่อพระชนมายุ ๑๖ ปี เสด็จออกบรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๒๙ ปี ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ ๓๕ ปี ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ ปี
  14. สีมามีฉายาเป็นนิมิต : สีมาที่ทำเงาอย่างใดอย่างหนึ่ง มีเงาภูเขาเป็นต้นเป็นนิมิต (มติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า สีมาที่ถือเงาเป็นแนวนิมิต) จัดเป็นสีมาวิบัติอย่างหนึ่ง
  15. สีมาวิบัติ : ความเสียโดยสีมา, เสียเพราะเขตชุมนุม (ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์), สีมาใช้ไม่ได้ ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำ ณ ที่นั้นวิบัติคือเสียหรือใช้ไม่ได้ (เป็นโมฆะ) ไปด้วย, คัมภีร์ปริวารแสดงเหตุให้กรรมเสียโดยสีมา ๑๑ อย่าง เช่น ๑.สมมติสีมาใหญ่เกินกำหนด (เกิน ๓ โยชน์) ๒.สมมติสีมาเล็กเกินกำหนด (จุไม่พอภิกษุ ๒๑ รูปนั่งเข้าหัตถบาสกัน) ๓.สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔.สมมติสีมามีฉายาเป็นนิมิต ๕.สมมติสีมาไม่มีนิมิต ฯลฯ, สังฆกรรมที่ทำในที่เช่นนี้ก็เท่ากับทำในที่มิใช่สีมานั่นเอง จึงย่อมใช้ไม่ได้ ดู วิบัติ(ของสังฆกรรม)
  16. สีหหนุ : กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรของพระเจ้าชยเสนะ เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระอัยยกาของพระพุทธเจ้า
  17. สุกโกทนะ : กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระบิดาของพระอานนท์
  18. สุทธันตปริวาส : ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องการจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสอยู่ไปจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์ หมายความว่า ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปิดไว้หลายคราวจนจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ปิดไม่ได้ หรือจำได้แต่บางจำนวน ท่านให้ขอปริวาสประมวลจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ปิดเข้าด้วยกันแล้วอยู่ใช้ไปจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์ มี ๒ อย่างคือ จูฬสุทธันตปริวาสและมหาสุทธันตปริวาส
  19. สุทโธทนะ : กษัตริย์ศากยวงศ์ซึ่งเป็นราชาผู้ครองแคว้นศากยะ หรือสักกชนบท ณ นครกบิลพัสดุ์ มีพระมเหสีพระนามว่าพระนางสิริมหามายา หรือเรียกสั้น ๆ ว่ามายา เมื่อพระนางมายาสวรรคตแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้เป็นพระมเหสีต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๑ ของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระราชบิดาของพระสิทธัตถะ เป็นพระอัยกาของพระราหุล และเป็นพระพุทธบิดา พระองค์สวรรคตในปีที่ ๕ แห่งพุทธกิจก่อนสวรรคต พระพุทธเจ้าไดเสด็จไปแสดงธรรมโปรดให้ได้ทรงบรรลุอรหัตตผล และได้เสวยวิมุตติสุข ๗ วันก่อนปรินิพพาน
  20. เสนาสนปัญญาปกะ : ผู้แต่งตั้งเสนาสนะหมายถึงภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดแจงแต่งตั้งดูแลความเรียบร้อยแห่งเสนาสนะสำหรับภิกษุทั้งหลายจะได้เข้าพักอาศัย
  21. เสละ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในอังคุตตราปะเรียนจบไตรเพท เป็นคณาจารย์สอนศิษย์ ๓๐๐ คน ได้พบพระพุทธเจ้าที่อาปณนิคม เห็นว่าพระองค์สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะครบถ้วนและได้ทูลถามปัญหาต่าง ๆ เมื่อฟังพระดำรัสตอบแล้ว มีความเลื่อมใส ขอบวชต่อมาไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต
  22. โสณโกฬิวิสะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นกุลบุตรชื่อโสณะ ตระกูลโกฬิวิสะ เป็นบุตรของอุสภเศรษฐีแห่งวรรณะแพศย์ ในเมืองกาฬจัมปากแคว้นอังคะ โสณกุลบุตรมีลักษณะพิเศษในร่างกาย คือ มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม และมีขนอ่อนขึ้นภายใน อีกทั้งมีความเป็นอยู่อย่างดี ได้รับการบำรุงบำเรอทุกประการ อยู่ในปราสาท ๓ ฤดู จึงได้สมญาว่าเป็น สุขุมาลโสณะ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับกิตติศัพท์ จึงรับสั่งให้โสณะเดินทางไปเฝ้าและให้แสดงขนฝ่ามือฝ่าเท้าให้ทอดพระเนตร คราวนั้นโสณะมีโอกาสได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้สดับพระธรรมเทศนา เกิดความเลื่อมใสขอบวช ท่านทำความเพียรอย่างแรงกล้าจนเท้าแตกและเริ่มท้อใจ พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานโอวาทด้วยข้ออุปมาเรื่องพิณ๓สาย ท่านปฏิบัติตาม ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปรารภความเพียร
  23. โสณทัณฑพราหมณ์ : พราหมณ์ชื่อโสณทัณฑะ เป็นผู้ที่พระเจ้าพิมพิสารให้ปกครองนครจัมปา
  24. องค์ฌาน : (บาลี ว่า ฌานงฺค) องค์ประกอบของฌาน, องค์ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเข้าเป็นฌานขั้นหนึ่งๆ เช่น ปีติ สุข เอกัคคตา รวมกันเรียกว่า ฌานที่ ๒ หรือทุติยฌาน; องค์ฌานทั้งหมดในฌานต่างๆ นับแยกเป็นหน่วยๆ ไม่ซ้ำกัน มีทั้งหมด ๖ อย่าง คือ วิตก ความตรึก วิจาร ความตรอง ปีติ ความอิ่มใจ สุข ความสุข อุเบกขา ความมีจิตเรียบสมดุลเป็นกลาง และ เอกัคคตา ความมีอารมณ์หนึ่งเดียว ดู ฌาน
  25. องค์มรรค : (บาลีว่า มคฺคงฺค) องค์ประกอบของมรรค, องค์ธรรม ๘ อย่าง มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ที่ประกอบกันเข้าเป็นมรรค หรือที่เรียกชื่อเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค ดู มรรค 1
  26. อติเรกจีวร : จีวรเหลือเฟือ, ผ้าส่วนเกิน หมายถึง ผ้าที่เขาถวายภิกษุเพิ่มเข้ามานอกจากผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร
  27. อติเรกบาตร : บาตรของภิกษุที่เขาถวายเพิ่มเข้ามา นอกจากบาตรอธิษฐานพระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุมีบาตรไว้ใช้ใบเดียว ซึ่งเรียกว่าบาตรอธิษฐานหากมีหลายใบ ตั้งแต่ใบที่ ๒ ขึ้นไป เรียกว่าอติเรกบาตร
  28. อถัพพนเพท : ชื่อคัมภีร์พระเวทลำดับที่ ๔ ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ การปลุกเสกต่างๆ เป็นส่วนเพิ่มเข้ามาต่อจาก ไตรเพท, อาถัพพนเวท อถรรพเวท อาถรรพณเวท ก็เขียน
  29. อธิกรณ์ : เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ, เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ ๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ ๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ ๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน, ในภาษาไทยอธิกรณ์มีความหมายเลือนลางลงและแคบเข้า กลายเป็น คดีความ โทษ เป็นต้น
  30. อธิกสุรทิน : วันทางสุริยคติที่เพิ่มขึ้น (คือเพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีกวันหนึ่ง เป็น ๒๙ วัน)
  31. อธิการ : 1) เรื่อง, ตอน เช่น ในอธิการนี้ หมายความว่า ในเรื่องนี้ ในตอนนี้ 2) อำนาจ, การปกครอง, บังคับบัญชา, ตำแหน่ง, หน้าที่, กิจการ, ภาระ, สิทธิ, เคยเรียกเจ้าอาวาสที่ไม่เป็นเปรียญและไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า พระอธิการ และเรียกเจ้าอาวาสเช่นนั้นที่เป็นเจ้าคณะตำบลว่า เจ้าอธิการ
  32. อนัตตลักษณะ : ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑) เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ ๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง ๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ ๕) โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา
  33. อนุปิยอัมพวัน : ชื่อส่วน อยู่ในเขตอนุปิยนิคม แขวงมัลลชนบท เป็นที่พระมหาบุรุษเสด็จพักแรม ๗ วัน หลังจากเสด็จออกบรรพชาใหม่ๆ ก่อนเสด็จต่อไปสู่เมืองราชคฤห์ ในแคว้นมคธ และต่อมาเป็นที่เจ้าศากยะ มี อนุรุทธ และอานนท์ เป็นต้น พร้อมด้วยอุบาลี ออกบวช
  34. อนุพยัญชนะ : ลักษณะน้อยๆ, พระลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒) อีก ๘๐ ประการ คือ ๑) มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม, ๒) นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไป โดยลำดับแต่ต้นจนปลาย, ๓) นิ้วพระหัตถ์ แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี, ๔) พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง, ๕) พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง, ๖) พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลม สนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๗) ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก, ๘) พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา, ๙) พระดำเนินงานดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ, ๑๐) พระดำเนินงามดุจสีหราช, ๑๑) พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์, ๑๒) พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน, ๑๓) ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน, ๑๔) พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก, ๑๕) มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี ๑๖) พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง, ๑๗) พระอุทรมีสัณฐานอันลึก, ๑๘) ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ, ๑๙) ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี, ๒๐) ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี, ๒๑) พระอังคาพยใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้, ๒๒) พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งประสรีรกาย, ๒๓) พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง ๒๔) พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง, ๒๕) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง, ๒๖) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง, ๒๗) ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ, ๒๘) มีพระนาสิกอันสูง, ๒๙) สัณฐานนาสิกงามแฉล้ม ๓๐) มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก, ๓๑) พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน, ๓๒) พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์, ๓๓) พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๓๔) พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น, ๓๕) พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์, ๓๖) ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย ๓๗) พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน, ๓๘) ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก, ๓๙) ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว ๔๐) ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด ๔๑) ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง, ๔๒) รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ ๔๓) กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์ ๔๔) กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน ๔๕) ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๔๖) ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด ๔๗) พระชิวหามีสัณฐานอันงาม ๔๘) พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรณอันแดงเข้ม ๔๙) พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ ๕๐) ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม ๕๑) ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง ๕๒) แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง ๕๓) พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว ๕๔) ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน ๕๕) พระนลาฏมีสัณฐานอันงาม ๕๖) พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้ ๕๗) พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด ๕๘) เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ ๕๙) พระโขนงนั้นใหญ่ ๖๐) พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร ๖๑) ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๒) พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ ๖๓) พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ๖๔) พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ ๖๕) พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย ๖๖) กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา ๖๗) พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น ๖๘) พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๙) ลมอัสสาสะและปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด ๗๐) พระโอษฐมีสัณฐานอันงามดุจแย้ม ๗๑) กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล ๗๒) พระเกสาดำเป็นแสง ๗๓) กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ ๗๔) พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ ๗๕) พระเกสามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น ๗๖) พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น ๗๗) พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด ๗๘) เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง ๗๙) เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏทุกๆ เส้น ๘๐) วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ นิยมเรียกว่า อสีตยานุพยัญชนะ; ดู มหาบุรุษลักษณะ
  35. อนุพุทธ : ผู้ตรัสรู้ตาม คือ ตรัสรู้ด้วยได้สดับเล่าเรียนและปฏิบัติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ได้แก่ พระอรหันตสาวกทั้งหลาย ดู พุทธะ
  36. อนุพุทธปวัตติ : ประวัติของพระสาวก ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า; เขียนสามัญเป็น อนุพุทธประวัติ
  37. อนุรุทธะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ และเป็นอนุชาของเจ้ามหานามะ ภายหลังออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอานนท์ เป็นต้น เรียนกรรมฐานในสำนักของพระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหัตที่ป่าปาจีนวังสทายวัน ในแคว้นเจตี พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทิพยจักษุ
  38. อนุโลม : เป็นไปตาม, คล้อยตาม, ตามลำดับ เช่น ว่าตจปัญจกรรมฐานไปตามลำดับอย่างนี้ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ (ตรงข้ามกับปฏิโลม คือ ทวนลำดับว่า ตโจ ทันตา นขา โมลา เกสา) ; สาวออกไปตามลำดับจากเหตุไปหาผลข้างหน้า เช่น อวิชชาเป็นเหตุสังขารเป็นผล, สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเป็นผล เป็นต้น; จัดเข้าได้, นับได้ว่าเป็นอย่างนั้น เช่น อนุโลมนุสา
  39. อภยคิริวิหาร : ชื่อวัดที่พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย ได้สร้างถวายพระติสสเถระในเกาะลังกา ซึ่งได้กลายเป็นเหตุให้สงฆ์ลังกาแตกแยกกัน แบ่งเป็นคณะมหาวิหารเดิมฝ่ายหนึ่ง คณะอภยคิริวิหารฝ่ายหนึ่ง มักเรียกว่า อภัยคีรี
  40. อมิโตทนะ : กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระอนุชาองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า มีโอรสชื่อมหานามะ และอนุรุทธะ
  41. อรหันตขีณาสพ : พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ใช้สำหรับพระสาวก, สำหรับพระพุทธเจ้า ใช้คำว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง
  42. อริยกะ : คนเจริญ, คนประเสริฐ, คนได้รับการศึกษาอบรมดี, เป็นชื่อเรียกชนชาติหนึ่งที่อพยพจากทางเหนือเข้าไปในอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ และเหยียดพวกเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นมิลักขะ คือ พวกคนป่าคนดอย, พวกอริยกะอพยพเข้าไปในยุโรปด้วย คือ พวกที่เรียกว่า อารยัน
  43. อรูป : ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถืออรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ ๑) อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒) วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓) อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์) ๔) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)
  44. อรูปพรหม : พรหมผู้เข้าถึงอรูปฌาน, พรหมไม่มีรูป, พรหมในอรูปภพ มี ๔ ดู อรูป
  45. อวันตี : ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางเหนือของภูเขาวินธัย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นวังสะ มีนครหลวงชื่อ อุชเชนี ราชาผู้ครองอวันตีในพุทธกาล มีพระนามว่าพระเจ้าจัณฑปัชโชต
  46. อสิตดาบส : ดาบสผู้คุ้นเคย และเป็นที่นับถือของศากยราชสกุล อาศัยอยู่ข้างเขาหิมพานต์ ได้ทราบข่าวว่าพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติใหม่ จึงเข้าไปเยี่ยม ได้เห็นพระราชโอรสนั้นมีลักษณะต้องด้วยตำรับมหาปุริสลักษณะ จึงกราบลงที่พระบาททั้ง ๒ ของพระราชโอรสแล้วกล่าวคำทำนายว่า ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกทรงผนวช จักได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาเอกในโลก; มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า กาฬเทวิลดาบส
  47. อสูร : สัตว์กึ่งเทพหรือเทพชั้นต่ำพวกหนึ่ง ตำนานกล่าวว่า เดิมเป็นเทวดาเก่า (บุพเทวา) เป็นเจ้าถิ่นครอบครองดาวดึงสเทวโลก ต่อมาถูกเทวดาพวกใหม่ มีท้าวสักกะเป็นหัวหน้าแย่งถิ่นไป โดยถูกเทพพวกใหม่นั้นจับเหวี่ยงลงมาในระหว่างพิธีเลี้ยงเมื่อพวกตนดื่มสุราจนเมามาย ได้ชื่อใหม่ว่าอสูร เพราะเมื่อฟื้นคืนสติขึ้นระหว่างทางที่ตกจากดาวดึงส์นั้น ได้กล่าวกันว่า “พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว” (อสูรจึงแปลว่าผู้ไม่ดืมสุรา) พวกอสูรได้ครองพิภพใหม่ที่เชิงเขาสิเนรุ หรือเขาพระสุเมรุ และมีสภาพความเป็นอยู่ มีอายุ วรรณะ ยศ อิสริยสมบัติ คล้ายกันกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ พวกอสูรเป็นศัตรูโดยตรงกับเทวดา และมีเรื่องราวขัดแย้งทำสงครามกันบ่อยๆ พวกอสูรออกจะเจ้าโทสะ จึงมักถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นพวกมีนิสัยพาลหรือเป็นฝ่ายผิด
  48. อัคฆสโมธาน : การประมวลโดยค่า, เป็นชื่อปริวาสที่ภิกษุผู้ปวารณาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสซึ่งต้องหลายคราว มีจำนวนวันปิดไม่เท่ากัน ประมวลอาบัติและวันเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่มากที่สุด เช่น ต้องอาบัติ ๓ คราว คราวหนึ่งปิดไว้ ๓ วัน คราวหนึ่งปิดไว้ ๕ วัน คราวหนึ่งปิดไว้ ๗ วัน อยู่ปริวาสเท่าจำนวนมากที่สุด คือ ๗ วัน ดู สโมธานปริวาส
  49. อังคุตตรนิกาย : ชื่อนิกายที่ ๔ ในบรรดานิกาย ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก เป็นที่ชุมนุมพระสูตรซึ่งจัดเข้าลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรม เป็นหมวด ๑ (เอกนิบาต) หมวด ๒ (ทุกนิบาต) เป็นต้น จนถึงหมวด ๑๑ (เอกาทสนิบาต)
  50. อัญญสมานาเจตสิก : เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้รับกับจิตทุกฝ่ายทั้งกุสลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น ก) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์) เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ) ข) ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือ วิตก (ความตรึกอารมณ์) วิจาร (ความตรองอารมณ์) อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์) วิริยะ ปีติ ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-391

(0.0636 sec)