Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หมาย .

ETipitaka Pali-Thai Dict : หมาย, 231 found, display 201-231
  1. อภิสิทฺธิ : (อิต.) ความเจริญยิ่ง, ความสำเร็จยิ่ง, ความสำเร็จ, ไทยใช้อภิสิทธิ์.ในความหมายว่าทำอะไรได้เหนือคนอื่นเหนือกฏ-หมายถ้ามีคนใช้อภิสิทธิ์ในความหมายนี้สังคมก็วุ่นวาย ประเทศชาติก็วุ่นวาย.
  2. อสงฺเกต : นป., ป. การไม่สังเกต, การไม่กำหนด, การไม่ได้นัดหมาย
  3. อสงฺข : ค. ไม่ได้กำหนด, ไม่ได้นัดหมาย
  4. อสลฺลกฺขณ : ค. ไม่ได้กำหนดหมาย
  5. อสุภนิมิตฺต : นป. อสุภนิมิต, เครื่องกำหนดหมายที่ทำให้เห็นว่าไม่สวยงาม
  6. อาณตฺติ : (อิต.) การบังคับ, ความบังคับ, ข้อบังคับ, ข้อบังคับที่นัดหมายกันไว้, คำบังคัง, คำสั่ง, กฏ.อาณฺธาตุติปัจ.แปลงติเป็นตฺติ.ส. อาชฺญปฺติ.
  7. อิตฺถาคาร : (ปุ. นปุ.) เรือนคือหญิง, เรือนของ หญิง, พระราชวังชั้นใน, ที่อยู่สำหรับ ฝ่ายใน, ห้องพระมเหสี. วิ. ราชิตฺถีน มคารํ อิตฺถาคารํ. โดยอุปจารโวหาร หมายเอา นางสนม กำนัล ก็ได้.
  8. อิทฺธ : (อิต.) ความเจริญ, ความงอกงาม, ความสำเร็จ, คุณเครื่องให้สำเร็จกิจนั้น ๆ, ฤทธิ์, เดช. อิธฺ วุฑฺฒิยํ, อิ, ทฺสํโยโค. คำฤทธิ์ ไทยใช้ในความหมายว่า อำนาจศักดิ์สิทธิ์ หรือการทำอะไร ๆ ได้พิเศษกว่าคนอื่น. ส. ฤทฺธิ.
  9. อิทฺธิปาท : (ปุ.) ธรรมอันยังผู้ปฏิบัติให้ถึง ความสำเร็จ, คุณเครื่องให้สำเร็จ, คุณ เครื่องให้สำเร็จความประสงค์ตามเป้า หมาย, ปฏิปทาแห่งความสำเร็จ.
  10. อิสฺสา : (อิต.) ความเกียดกัน, ความชิงชัง, ความหึงหวง, ความริษยา (นิสัยที่เห็นเขา ได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้ คิดตัดรอนเขา คิด ทำลายเขา). วิ. อิสฺสติ สตฺเตสุปิ คุเณสุ วจสา มนสา วา โทสาโรปนํ กโรตีติ อิสฺสา. อิสฺส อิสฺสายํ, อ. อิสฺ อิสฺสายํ วา, โส. ไทยนำคำ อิจฉา ซึ่งแปลว่าความหวัง เป็นต้น มาใช้ในความหมายว่าริษยา ดังคำ ว่า อิจฉาตาร้อน. ส. อีรฺษยา.
  11. อุ : อ. เป็นอุปสรรค ใช้ต่อหน้าศัพท์มีความหมายว่า ขึ้น, นอก, เหนือ, บน
  12. อุตฺตร : (วิ.) ยิ่ง, กว่า, ประเสริฐ, สูงสุด (อุตตโร อุตฺตมสทิโส), แข้น (พ้นจาก แห้งจวนแข็ง หรือหมายถึงแข็งก็ได้), กล้าแข็ง, กวน, คน (กวนของให้กระจาย หรือให้เข้ากัน), คม (ไม่ทื่อ), ต่อไป, ซ้าย, เหนือ, หลัง, บน, เบื้องบน, ข้างบน, พ้น, อื่น.
  13. อุตฺตริ : (วิ.) ยิ่ง, ยอดเยี่ยม, ชั้นเยี่ยม, แปลก, มากขึ้น, อุตริ. คำ อุตริ ที่นำมาใช้ใน ภาษาไทยออกเสียงว่า อุดตะหริ ใช้ใน ความหมายว่า แปลกออกไป นอกแบบ นอกทาง.
  14. อุทฺทิสติ : ก. ชี้แจง, แสดง, นัดหมาย, แต่งตั้ง, บัญญัติ, ประกาศ, เสนอ, อุทิศ
  15. อุทฺทิสฺส : กิต. อุทิศ, เจาะจง, เพ่งเล็งถึง, มุ่งหมาย
  16. อุทฺทิสฺสกต : ค. อันอุทิศ, อันเจาะจง, มุ่งหมายเฉพาะ
  17. อุทฺทิสฺสน : นป. การอุทิศ, การเจาะจง, การมุ่งหมายให้
  18. อุทฺธรณ : (นปุ.) การยกขึ้น, การรื้อขึ้น, ความยกขึ้น, ความรื้อขึ้น. ไทยใช้คำ อุทธรณ์ หมายถึงการฟ้องร้องต่อศาลที่สอง (ศาล อุทธรณ์) เพื่อขอร้องให้ศาลรื้อฟื้นเรื่องขึ้น พิจารณาและตัดสินใหม่. อุปุพฺโพ, หรฺ หรเณ, ยุ. แปลง ห เป็น ธ ซ้อน ทฺ. ส. อุทฺธรณ.
  19. อุปตฺติเหตุ อุปฺปตฺติเหตุ : (ปุ.) เหตุแห่งการบังเกิด, ฯลฯ. อุบัติเหตุ ไทยใช้ในความหมายว่า เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด.
  20. อุปนิสฺสย : (ปุ.) ธรรมเป็นที่เข้าไปอาศัย, ธรรมเป็นอุปนิสัย, ฉันทะเป็นที่เข้าไป อาศัย, อุปนิสสัย อุปนิสัย คือความประพฤติเคยชิน เป็นพื้นมาแต่อดีตชาติ คุณ ความดีที่ฝังอยู่ใน สันดาน ซึ่งจะเป็นฐาน รองรับผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป หรือแววของจิต. ในอภิธรรม หมายเอา คุณความดีอย่างเดียว ส่วนคำนิสสัย นิสัย หมายเอาทั้งทางดีทางชั่ว. อุป นิ ปุพฺโพ, สิ สี วา สเย, อ.
  21. อุปลกฺขณา : อิต. การเข้าไปกำหนดหมาย, ปัญญาเครื่องกำหนดความแตกต่าง
  22. อุปาทาย : กิต. ถือแล้ว, หมายเอา, เพราะอาศัย
  23. เอก : (วิ.) หนึ่ง, อย่างหนึ่ง, เดียว, ผู้เดียว, คนเดียว, ไม่มีเพื่อน, โดดเดียว, โดดเดี่ยว, วังเวง, เยี่ยม, ยอด, ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, สูงสุด, นอกนี้, ต่างหาก, เดียวกัน, เช่น เดียวกัน, แนวเดียวกัน, เป็นหนึ่ง, อื่น (คือ อีกคนหนึ่ง อีกพวกหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่ง). อิ คมเน, ณฺวุ, อิสฺเส. วิ. เอติ ปวตฺตตีติ เอโก. เอกศัพท์นี้เป็นปกติสังขยาและวิเสสนสัพพ นามที่เป็นสังขยา (การนับ) เป็นเอกวจนะ อย่างเดียวที่เป็นวิเสสนสัพพนาม เป็น เอก. และ พหุ. เมื่อต้องการเป็นพหุ. พึงใช้ เป็นวิเสสนสัพพนาม และแปลว่าคนหนึ่ง, คนเดียว คนเดียวกัน พวกหนึ่ง ฯลฯ พึงยัก เยื้องให้เหมาะสมกับนามนาม. เอกศัพท์ ใช้เป็นวิเสสนะของนามนามใด เวลาแปล พึงเหน็บลักษณนามของนามนั้นลงไปด้วย เช่น เอกา ธมฺมเทสนา อ. ธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์. คำว่าไม้เอก (วรรณยุกต์ที่ ๑) มา จากเอกศัพท์นี้. เอกศัพท์ที่นำมาใช้ใน ภาษาไทยมีความหมายว่า ตัวคนเดียว ลำพังตัว โดดเดี่ยว เปลี่ยว เฉพาะ เด่น ดีเลิศ ยิ่งใหญ่ สำคัญ ที่หนึ่ง (ไม่มีสอง). ส. เอก.
  24. เอกฉนฺท : (วิ.) มีความพอใจอย่างเดียวกัน, มี ความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน, มีความเห็น เป็นอย่างเดียวกัน.
  25. เอกภาว : (ปุ.) ความเป็นหนึ่ง, ความเป็นอัน เดียวกัน. เอกภาว ไทยนำมาใช้ว่าเอกภาพ (แปลง ว เป็น พ) และออกเสียงว่า เอกกะภาพ ในความหมายว่า ความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ความสอดคล้อง กลมกลืนกัน.
  26. เอกลกฺขณ : (นปุ.) เครื่องหมายว่าเป็นหนึ่ง, ลักษณะว่าเป็นหนึ่ง. เอก + อิติ + ลกฺขณ. เครื่องหมายอันเป็นหนึ่ง, ลักษณะอันเป็น หนึ่ง, ลักษณะอันเป็นเอก. เอก + ลักฺขณ. เครื่องหมายแห่งความเป็นหนึ่ง, เครื่องหมายแห่ง ความเป็นเอก, ลักษณะแห่ง ความเป็นหนึ่ง, ลักษณะแห่งความเป็น เอก. เอกภาว + ลกฺขณ. เครื่องหมายอันแสดงถึงความเป็นหนึ่ง, ลักษณะ อันแสดงถึงความเป็นหนึ่ง, ลักษณะอันแสดงถึง ความเป็นเอก, ลักษณะที่แสดงความเป็น เอก (ของสิ่งนั้น ๆ). เอกภาว + เทสน + ลกฺขณ. ลบศัพท์ในท่ามกลาง. ส. เอก ลกฺษณ. ไทยใช้ เอกลักษณ์ ตามสันสกฤต ออกเสียงว่า เอกกะลักษณ์ ในความหมาย ว่า ลักษณะที่เหมือนกันหรือมีร่วมกัน.
  27. โอกาส : (ปุ.) ช่อง, ช่องเป็นที่ไถลง, ที่แจ้ง, ที่ว่าง, เหตุ, การณะ, เวลา, สถานที่, เทสะ, เอกเทศ, ทาง, ทนทาง. อวปุพฺโพ, กสฺ วิเลขเน, โณ. ไทย โอกาส (โอกาด) ใช้ ในความหมายว่า เวลาที่เหมาะสม เวลาที่เหมาะ ช่องที่เหมาะ อุ. ได้โอกาส การอนุญาต อุ. ให้โอกาส. ส. อวกาศ.
  28. โองฺการ : (ปุ.) คำเปล่ง, โองการ (คำศักดิ์ สิทธิ์). อุจฺ สทฺเท, อาโร. พฤทธิ์ อุ เป็น โอ นิคคหิตอาคม แปลง จฺ เป็น ก ทาง พราหมณ์ (ฮินดู) หมายเอกพระเจ้าทั้ง ๓ คือ พระพรหม พระวิษณุ และ พระศิวะ.
  29. โอปายิก : (อัพ. นิบาต) ชอบด้วยกฏหมาย, ควร, สมควร.
  30. โอวาทปาฏิโมกฺข โอวาทปาติโมกฺข : (ปุ.) คำสั่งสอนอัน เป็นประธานโดยความเป็นใหญ่, โอวาทปาฏิโมกข์, โอวาทปาติโมกข์ ชื่อ โอวาทซึ่งประพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระอรหันต์ ๑๒๕๐ องค์ เป็น เอหิภิกขุอุป สัมปทา ทั้งสิ้น ซึ่งมาประชุมกันโดยมิได้ นัดหมาย ณ วันเพ็ญมาฆบูชาหลังตรัสรู้ แล้วได้ ๙ เดือน เป็นหลักสำคัญ (หัวใจ) ของพระพุทธศาสนา มหาปธานสูตร ที. มหา. ไตร. ๑๐/๕๔.
  31. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-231]

(0.0404 sec)