Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ้นเรื่อง, เรื่อง, สิ้น , then รอง, เรื่อง, สน, สนรอง, สิ้น, สิ้นเรื่อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ้นเรื่อง, 1057 found, display 651-700
  1. วัตถุดิบ : น. สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นสินค้า สําเร็จรูป; โดยปริยายหมายถึงเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น ที่นักเขียนเสาะหาหรือตระเตรียมสะสมไว้เพื่อแต่งหนังสือ.
  2. วันจม : (โหร) น. วันเคราะห์ร้ายในเดือนทางจันทรคติ เป็นวันห้าม ทํากิจการใด ๆ ทั้งสิ้น, คู่กับ วันฟู หรือ วันลอย.
  3. วันดับ : น. วันสิ้นเดือนทางจันทรคติ ซึ่งตรงกับวันแรม ๑๔ คํ่า หรือแรม ๑๕ คํ่า.
  4. วันดีคืนดี : (ปาก) น. โอกาสเหมาะ, มักใช้พูดแสดงเวลาที่ไม่ แน่นอน เช่น หายหน้าไปนาน วันดีคืนดีก็มา. วันตรุษ น. วันสิ้นปีซึ่งกำหนดตามจันทรคติ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔.
  5. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  6. วันสารท : น. วันทำบุญสิ้นเดือน ๑๐.
  7. วันออกพรรษา : น. วันที่สิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก. วันอัฐมี [อัดถะ] น. วันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖.
  8. วับ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งมีรูปร่าง ซึ่งปรากฏให้เห็น แล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น แสงหายวับ พูดขาดคําก็หายตัววับลับตาไป, บางทีก็เป็นคําซ้อน เพื่อเน้นหรือเพื่อความไพเราะ เป็น หายวับ ไปฉับพลัน หายวับไปกับตา เป็นต้น.
  9. วัวหายล้อมคอก : (สํา) น. ของหายแล้วจึงจะเริ่มป้องกัน, เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงคิดแก้ไข.
  10. ว่าเข้านั่น : (ปาก) เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่แสดงว่าเรื่อง ที่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวนั้นไม่น่าเชื่อถือเป็นต้น.
  11. วางวาย : ก. ตาย เช่น นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์. (กฤษณา), วายวาง ก็ว่า.
  12. ว่าด้วย : บ. เกี่ยวกับ เช่น วารสารชุดนี้ว่าด้วยเรื่องวัฒนธรรม กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์.
  13. ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง : (สำ) ก. ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำ ในเรื่องนั้นเสียเอง.
  14. วาย ๑ : ก. ค่อยสิ้นไปตามคราวหรือกําหนดอายุเวลา เช่น มะม่วงวาย ตลาดวาย หัวใจวาย.
  15. วายวอด : ก. หมดสิ้นไม่เหลือหลอ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ฉิบหาย เป็น ฉิบหายวายวอด.
  16. วาระจร : น. เรื่องที่มิได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระ แต่ได้นำเข้ามา พิจารณาเป็นพิเศษในการประชุมคราวนั้น.
  17. ว่าเอาเอง : ก. พูดแต่งเรื่องขึ้นมาเอง.
  18. วิจัย ๒ : น. การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น วิจัยเรื่อง ปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร. ก. ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูล อย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น เขากำลังวิจัยเรื่องมลพิษทางอากาศอยู่. ว. ที่ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น งานวิจัย. (อ. research).
  19. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  20. วิชชา : [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  21. วิทยากร : น. ผู้ทรงความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาแขนงต่าง ๆ เช่น วิทยากรในการสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจ. (ส.).
  22. วิทยานิพนธ์ : น. บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่อง หนึ่งขึ้นวิจัยหรือพรรณนาขยายความ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาเพื่อเสนอรับปริญญา.
  23. วิทยาศาสตร์กายภาพ : น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ของ สิ่งไม่มีชีวิต เช่น เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์.
  24. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ : น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ของ สิ่งมีชีวิต เช่น สัตววิทยา พฤกษศาสตร์.
  25. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ : น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ที่มุ่งประโยชน์ในทางปฏิบัติยิ่งกว่าทางทฤษฎี เช่น แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์.
  26. วินิจฉัย : ก. ตัดสิน, ชี้ขาด, เช่น เรื่องนี้วินิจฉัยได้ ๒ ทาง; ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, เช่น คณะกรรมการขอเลื่อนเวลาออกไปอีกเพื่อวินิจฉัย ปัญหาให้รอบคอบยิ่งขึ้น. (ป.).
  27. วิพากษ์วิจารณ์ : ก. วิจารณ์, ติชม, เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  28. วิวาห, วิวาห์, วิวาหะ : [วิวาหะ] น. ''การพาออกไป'' หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ ฝ่ายชายจะต้องถูกนําไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้, การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลําพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น. (ป., ส.).
  29. วิสย, วิสัย : [วิสะยะ, วิไส] น. ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตร ภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).
  30. วิสัญญี : ว. หมดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ, เช่น นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้า ฉานปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาด (ม. ร่ายยาว มัทรี). (ป.).
  31. วิสัญญีภาพ : น. ความหมดความรู้สึก, ความสิ้นสติ, เช่น ถึงซึ่งวิสัญญีภาพ.
  32. วิสามัญ : ว. ไม่ใช่ธรรมดา, ไม่ใช่สามัญ, เช่น ข้าราชการวิสามัญ สมาชิกวิสามัญ ประชุมสมัยวิสามัญ, พิเศษเฉพาะเรื่อง เช่น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
  33. วุ่น : ก. ยุ่ง, ก้าวก่าย, เช่น คุณไม่ควรไปวุ่นกับเรื่องของคนอื่นเขา, สับสน เช่น งานมากทําให้สมองวุ่นไปหมด, อาการที่ต้องทําอะไรหลาย ๆ อย่างในขณะเดียวกัน เช่น เขาต้องวุ่นอยู่กับงานสารพัดตลอดเวลา, ชุลมุน เช่น มีแขกมามากทําให้วุ่นกันไปทั้งบ้าน. วุ่นเป็นจุลกฐิน [จุนละกะถิน] (สํา) ก. อาการที่ต้องทํางานอย่าง ชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
  34. วุ่นวาย : ก. เอาเป็นธุระมากเกินไป เช่น เขาชอบเข้าไปวุ่นวายกับ เรื่องของคนอื่นไม่ต้องเตรียมอะไรมากหรอก อย่าวุ่นวายไปเลย; ไม่สงบ เช่น บ้านเมืองวุ่นวายเกิดจลาจลไปทุกหนทุกแห่ง. น. ความไม่สงบ เช่น เกิดวุ่นวายไปทั่วบ้านทั่วเมือง.
  35. วุบ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งที่มีรูปร่าง ที่ปรากฏให้เห็นแล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น หายวุบ.
  36. โวย : (ปาก) ก. ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเกินกว่าเหตุ เช่น เรื่องเล็กนิด เดียวก็โวยเสียเป็นเรื่องใหญ่โต, ประท้วงด้วยการส่งเสียงเอะอะ เช่น เขาโวยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม; เปิดเผยให้รู้ทั่วไป เช่น อย่าโวย เรื่องนี้ให้ใคร ๆ รู้เดี๋ยวเขาเสียหาย.
  37. โว้เว้ : ก. พูดเสียงเอ็ดอึง, พูดหาเรื่อง, พูดเหลวไหล; ทําเหลวไหล.
  38. ไว้ธุระ : ก. รับทำงานเอง เช่น เรื่องนี้ไว้ธุระฉันเถอะ จะจัดการให้เอง, มอบงานให้ผู้อื่นทำ เช่น เรื่องอาหารไว้ธุระคุณนะ.
  39. ศรัทธา : [สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาใน ความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสา ทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขา ศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผน โบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).
  40. ศฤงคารรส : [สะหฺริงคานระรด] (วรรณ) น. รส ๑ ใน ๙ รสของ วรรณคดี มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรัก เช่น เรื่องลิลิตพระลอมี เนื้อเรื่องเป็นศฤงคารรส.
  41. ศัพท์บัญญัติ : น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะ เป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ. ศัพทมูลวิทยา [สับทะมูนละ, สับทะมูน] น. วิชาว่าด้วยที่มา และประวัติของคํา. (อ. etymology).
  42. ศัพท์แสง : (ปาก) น. คำยากที่ต้องแปล เช่น เขาชอบพูดจาเล่น ศัพท์แสงฟังไม่รู้เรื่อง.
  43. ศารท : [สาด] ว. เกี่ยวกับหรือเกิดในฤดูใบไม้ร่วง; เทศกาลทําบุญสิ้น เดือน ๑๐. (ส.; ป. สารท).
  44. ศูนย, ศูนย์ : [สูนยะ, สูน] ว. ว่างเปล่า. ก. หายสิ้นไป. น. ตัวเลข ๐; จุดกลาง, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม, เช่น ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์หนังสือ ศูนย์รวมข่าว. (ส. ศูนฺย; ป. สุญฺ?).
  45. เศรษฐศาสตร์ : [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของ ประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
  46. เศร้า : [เส้า] ก. สลด, ระทด, หมอง, ไม่เบิกบาน, เป็นทุกข์, เหี่ยวแห้ง, เช่น หน้าเศร้า ใจเศร้า ตามีแววเศร้า เรื่องเศร้า.
  47. โศก ๑, โศก : [โสกะ, โสกกะ] น. ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (อภัย). ก. ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. ว. เศร้า เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง. (ส.; ป.โสก).
  48. โศกนาฏกรรม : [โสกะนาดตะกํา, โสกกะนาดตะกํา] น. วรรณกรรม โดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น เรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอจูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.
  49. สกล, สกล : [สะกน, สะกนละ] ว. สากล. (ป., ส.). สกลโลก น. ทั้งโลก, โลกทั้งสิ้น, ทั่วโลก.
  50. ส่งพระเคราะห์ : (โหร) ก. ทำพิธีส่งเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวง ที่กำลังจะสิ้นสุดการเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทาง โหราศาสตร์.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1057

(0.1253 sec)