Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงสั่น, เสียง, สั่น , then สน, สยง, สยงสน, สั่น, เสียง, เสียงสั่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงสั่น, 1071 found, display 451-500
  1. ถ่ายทอด : ก. กระจายเสียงหรือแพร่ภาพรายการที่รับจากสถานีอื่น หรือสถานที่อื่น (ใช้แก่วิทยุและโทรทัศน์), โดยปริยายหมายความว่า นําเรื่องที่รู้ไปเล่าต่อ.
  2. ถุย : ก. ถ่ม เช่น ถุยของในปากออกมา, ถ่มนํ้าลายมีเสียงดังเช่นนั้น; ออกเสียง ดังเช่นนั้นแสดงกิริยาดูถูกดูหมิ่น.
  3. แถบบันทึกเสียง : น. แถบเคลือบสารแม่เหล็ก ใช้บันทึกสัญญาณเสียง.
  4. ท ๒ : ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคําบางคํา เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคําบางคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
  5. ทรหึง : [ทอระ-] (กลอน) ว. นาน; เสียงเอ็ดอึง.
  6. ทรหึงทรหวล : [ทอระหึงทอระหวน] (กลอน) ว. เสียงดังปั่นป่วน เช่น ทรหึงทรหวลพะ พานพัด หาวแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  7. ทรอ : [ซอ] (โบ) น. ซอ เช่น เสียงสารสังคีตขับทรอท่อ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  8. ทรอมโบน : [ทฺรอม-] น. ชื่อแตรประเภทหนึ่ง มีท่อลมสวมซ้อนกันและ บังคับเสียงโดยวิธีชักท่อลมเลื่อนเข้าออก, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. trombone).
  9. ทรัมเป็ต : [ทฺรํา-] น. ชื่อแตรประเภทหนึ่ง มีเสียงแหลม, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. trumpet).
  10. ท่วมท้น : ว. มากมายเหลือล้น เช่น ได้คะแนนเสียงท่วมท้น.
  11. ท่อ ๓ : ก. โต้ตอบ, ประสาน, เช่น นกท่อเสียงกัน.
  12. ท่อลม : น. ทางเดินอากาศหายใจส่วนล่างที่อยู่ระหว่างกล่องเสียง กับหลอดลม. (อ. trachea; windpipe).
  13. ท่อไอเสีย : น. ท่อที่ต่อจากห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เพื่อระบาย แก๊สและช่วยลดเสียงระเบิดที่เกิดจากการเผาไหม้.
  14. ทะลึ่งตึงตัง : ก. มีกิริยามารยาทไม่เรียบร้อย ส่งเสียงเอะอะ.
  15. ทะเลาะ : ก. ทุ่มเถียงกันด้วยความโกรธ, โต้เถียงกัน, เป็นปากเป็นเสียงกัน.
  16. ทัก ๑ : ก. กล่าวเป็นเชิงเตือน, พูดโอภาปราศรัยด้วยอัธยาศัยไมตรีเมื่อพบ หน้ากัน, กล่าวหรือออกเสียงให้ระวังหรือสังเกตว่าจะเป็นภัยตาม ลัทธิที่ถือกัน เช่น จิ้งจกทัก.
  17. ทั้ง : ว. ทั่ว เช่น ทั้งโลก ทั้งห้อง ทั้งตัว, รวมหมด เช่น ปลาทั้งตัว, พร้อม ด้วย เช่น ต้มทั้งกระดูก นอนทั้งรองเท้า, ตลอด เช่น ทั้งคืน ทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี, ครบตามที่กําหนด เช่น โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง และโกฐจุฬาลัมพา, ชุมเห็ดทั้ง ๕ ได้แก่ ต้น ราก เปลือก ใบ และดอก ของต้นชุมเห็ด; ทั้งที่ เช่น ทําทั้งรู้ ๆ กินทั้งจืด ๆ ล้มทั้งยืน; มิหนําซํ้า เช่น ของนี้คุณภาพตํ่า ทั้งราคาก็แพง ยานี้จะทําให้ท้องผูกทั้งจะทําให้ใจสั่นอีกด้วย.
  18. ทัณฑฆาต : [ทันทะ-] น. ชื่อเครื่องหมายสําหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการ ออกเสียง มีรูปดังนี้ ?.
  19. ทันตชะ : [ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มี เสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).
  20. ทับศัพท์ : ว. ที่รับเอาคําของภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยวิธี ถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์ แปลทับศัพท์.
  21. ทางเก็บ : น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้น กว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, ลูกเก็บ ก็ว่า.
  22. ทาบทาม : ว. หยั่งใจเขาดู, ลองหยั่งเสียงดู. ก. ติดต่อสอบถาม เพื่อฟังความเห็นก่อนที่จะตกลงกัน.
  23. ท้าว ๒ : (กลอน) ว. อาการสั่นรัว ๆ เช่น ความกลัวตัวสั่นอยู่ท้าวท้าว. (สังข์ทอง).
  24. ทำซ้ำ : (กฎ) ก. คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำ งานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  25. ทำนอง : น. ทาง, แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทํานองคลองธรรม ทํานองเดียวกัน; ระเบียบเสียงสูงตํ่าซึ่งมีจังหวะสั้นยาว เช่น ทํานองสวด ทํานองเทศน์ ทํานองเพลง.
  26. ทำนองเสนาะ : น. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของ บทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.
  27. ทำลาย : ก. อาการที่ทําให้สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย, ทําให้พัง เช่น ทําลายกําแพง, ทําให้ฉิบหาย เช่น ทําลายวงศ์ตระกูล, ทําให้หมดสิ้นไป เช่น ทําลายชื่อเสียง ทําลายหลักฐาน. (แผลงมาจากทลาย).
  28. ทิศาปาโมกข์ : น. อาจารย์ผู้มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง.
  29. ทีฆสระ : น. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทย ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.
  30. ทุ้ม : ว. ไม่แหลม, ตํ่าแต่มีความนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าว, (ใช้แก่เสียง). น. เรียกระนาดที่มีเสียงตํ่ากว่าระนาดเอก แต่มีเสียงนุ่มนวลกว่า มีไม้นวม ๒ อันสําหรับตีว่า ระนาดทุ้ม.
  31. เทา ๔ : ก. ยอบตัวลง, หมอบลง, คุกเข่า. ว. มีอาการสั่นรัว ๆ อย่างคน เป็นไข้ เรียกว่า สั่นเทา.
  32. เทิงบอง, เทิ้งบอง : น. เสียงเถิดเทิง, กลองยาว.
  33. เทิ้ม : ว. มีอาการสั่นไปทั้งตัว.
  34. โทโทษ : น. คําที่ใช้ไม้เอกโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ไม้โทเสียงเดียวกัน ในบทนิพนธ์ที่บังคับให้ใช้ไม้โท เช่น ง่าย เป็น หง้าย, พลั่ง เป็น ผลั้ง.
  35. โทรทัศน์ : น. กระบวนการถ่ายทอดเสียงและภาพได้พร้อมกันจาก ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นเสียงและภาพให้เป็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่ดังกล่าวว่า เครื่องส่งโทรทัศน์ และเรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่ได้รับจากเครื่องส่งโทรทัศน์ให้กลับเป็นคลื่นเสียงและภาพ ตามเดิมว่า เครื่องรับโทรทัศน์. (อ. television).
  36. โทรศัพท์ : น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเป็น เครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนํา โยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอํานาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสําคัญ. (อ. telephone), คำว่าโทรศัพท์ที่อยู่หน้าหมายเลขโทรศัพท์มักเขียน ย่อว่า โทร. ออกเสียงว่า [โท]. (ปาก) ก. พูดติดต่อกันทางโทรศัพท์.
  37. ธนิต : ว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค. (ป.).
  38. นกหวีด : น. เครื่องสําหรับใช้เป่าให้มีเสียงดังหวีด.
  39. นางแอ่น. : (ดู อี). น. คําเรียกหญิง มักกล่าวเป็นเชิงเหยียดหยามเป็นต้น, พูดเป็นเสียงสั้นว่า นัง ก็มี.
  40. นาท : น. ความบันลือ; เสียงบันลือ, เสียงร้อง. (ป., ส.).
  41. นิคหิต : [นิกคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ? ในภาษาบาลีและสันสกฤต มีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน ชุํนุํ อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ป. นิคฺคหีต; ส. นิคฺฤหีต).
  42. นิ่ง, นิ่ง ๆ : ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
  43. นิรโฆษ : [ระโคด] (แบบ) น. เสียงดัง, เสียงกึกก้อง. ว. ไม่มีเสียง, เงียบ, สงบ, สงัด. (ส.).
  44. เน้น : ก. ทําให้หนักแน่นเพื่อให้เห็นความสําคัญ (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น เน้น ถ้อยเน้นคํา, ลงเสียงหนัก เช่น เน้นเสียง, กดให้แน่น เช่น เน้นเหงือก
  45. เน้อ : ว. คําทอดเสียงลงท้ายบอกให้รู้ เช่น ขนมเน้อ ไปก่อนเน้อ.
  46. เนียง ๑ : น. นาง (ออกเสียงตามเขมรที่เขียนว่า นาง).
  47. เนียรนาท : [เนียระนาด] ก. กึกก้อง เช่น เสียงฆ้องกลองประนังเนียรนาท สะเทือนท้องวนาวาสหิมวันต์. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์), นีรนาท ก็ใช้.
  48. แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
  49. โน้ต ๑, โน้ตเพลง : น. เครื่องหมายกําหนดเสียงดนตรี. (อ. note).
  50. บ๊งเบ๊ง : (ปาก) ว. ทําเสียงเอะอะ, ทําเสียงเอะอะจนฟังแทบไม่ได้ศัพท์.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1071

(0.1264 sec)