Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มั่นหมาย, หมาย, มั่น , then มน, มนหมาย, มั่น, มั่นหมาย, หมาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มั่นหมาย, 1098 found, display 601-650
  1. ไฟ : น. ชื่อธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม; ผลจาก ปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่าง และเปลว คือ กลุ่มแก๊สที่กําลังลุกไหม้ ทําให้ไหม้สิ่งต่าง ๆ ได้; ผ่านการอยู่ไฟมาแล้ว เช่น สามไฟ คือ อยู่ไฟมาแล้ว ๓ ครั้ง; ไฟฟ้า เช่น ไฟสว่าง, โดยปริยายหมายถึงความเดือดร้อน เช่น ตอนนี้บ้านเมืองกำลังเป็นไฟ.
  2. ไฟสุมขอน : น. ไฟที่คุกรุ่นอยู่ในขอนไม้ขนาดใหญ่ ดับยาก, โดยปริยายหมายถึงอารมณ์รัก โกรธ หรือแค้นเป็นต้นที่ร้อนรุ่ม อยู่ในใจ.
  3. ภาษาคำติดต่อ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำ บางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยว เนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี. (อ. agglutinative language).
  4. ภาษาธรรม : น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมาย ที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาว บ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
  5. ภาษาศาสตร์ : น. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมาย โดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.
  6. ภาษิต : น. ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็น คติ เช่น กงเกวียนกําเกวียน. (ส.).
  7. ภูตบดี : [พูตะบอดี] น. เจ้าแห่งผี, เจ้าแห่งสรรพสัตว์, (หมายถึง พระศิวะ). (ส. ภูตปติ).
  8. มณี : น. แก้วหินมีค่าสีแดง ในจําพวกนพรัตน์ มักหมายถึงทับทิม. (ป., ส. มณิ).
  9. มน ๒ : ว. กลม ๆ, โค้ง ๆ, ไม่เป็นเหลี่ยม, เช่น ทองหลางใบมน ขอบโต๊ะมน ปกเสื้อมน.
  10. มยุรอาสน์ : น. ''พระผู้มีนกยูงเป็นอาสนะ'' หมายถึง พระขันทกุมาร หรือพระสกันทกุมาร เพราะพระขันทกุมารทรงมีนกยูงเป็นพาหนะ.
  11. มรสุม : [มอระสุม] น. คราว; คราวลม, คราวพายุ; ลมฝน; ชื่อพายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก, โดยปริยาย หมายถึงความยุ่งยากเดือดร้อนที่เกิดในบางช่วงชีวิต เช่น มรสุมชีวิต. (เทียบอาหรับ mausim).
  12. มวยล้ม : น. การชกมวยบนเวทีที่คู่ต่อสู้ฝ่ายหนึ่งแกล้งยอมเป็นฝ่ายแพ้ เพื่อหวังผลในการพนัน, โดยปริยายหมายถึงการต่อสู้หรือเรื่องราวที่ดูเหมือนเอาจริงเอาจัง แต่กลับไม่จริงหรือเลิกล้มไป.
  13. มหาไถ่ : น. ผู้โปรดให้พ้นบาป หมายถึง พระเยซู.
  14. มหิศร, มหิศวร : [มะหิด, มะหิดสอน, มะหิสวน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง, เลือนมาจาก มเหศวร หมายถึง พระศิวะ หรือ พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
  15. มอเตอร์ : น. กลอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับแปลงพลังงานรูปอื่นให้เป็นพลังงานกล โดยทั่วไปมักหมายถึง กลอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับแปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล. (อ. motor).
  16. มอบอำนาจ : (กฎ) ก. มอบหมายให้มีอํานาจจัดการหรือทําการแทน.
  17. มะงุมมะงาหรา : [-หฺรา] ก. เที่ยวป่า เช่น ก็จะพาดวงใจไคลคลา ไปมะงุมมะงาหรา สำราญ. (อิเหนา). (ช.); (ปาก) ก. อาการที่ดั้นด้นไปโดยไม่รู้ทิศทาง, โดยปริยายหมายถึงงุ่มง่าม.
  18. มักกะสัน : น. ชื่อชนชาติชาวอินโดนีเซียในมากัสซาร์ตอนใต้เกาะเซเลบีส, โดยปริยายหมาย ความว่า มีรูปร่างใหญ่โต ดุร้าย น่าเกลียดน่ากลัว เช่น รูปร่างอย่างกับยักษ์มักกะสัน.
  19. มัชฌิมชนบท : น. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของ ประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุม ของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
  20. มัชฌิมประเทศ : [มัดชิมะ-, มัดชิม-] น. ประเทศอินเดีย, ตามแบบ หมายถึงอินเดียตอนกลาง.
  21. มัชฌิมภูมิ : [-พูม] น. ภูมิหรือชั้นของคนชั้นกลาง, ในคณะสงฆ์ หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕, ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ, และชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
  22. มัสมั่น : [มัดสะหฺมั่น] น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง นํ้าแกงข้น เป็นแกงอย่างมุสลิม ใช้เนื้อหรือไก่เป็นต้นชิ้นโต ๆ ปรุงด้วยเครื่องเทศ มีรสเค็ม หวาน และออกเปรี้ยวเล็กน้อย.
  23. มาฆบูชา : น. การทําบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญ เดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์ เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, (วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. ป. มาฆปูชา).
  24. มาด ๓ : ก. มุ่ง, หมายไว้, คาดไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา มุ่ง เป็น มุ่งมาด.
  25. ม้ามืด : น. ม้าแข่งที่ชนะโดยไม่มีใครนึกคาดไว้, โดยปริยายหมายถึง เรื่องอื่นในอาการเช่นนั้น.
  26. ม่าย : ก. มองผ่านเลยไป. ว. ไร้คู่ครองเพราะผัวหรือเมียตายจากไปและยัง ไม่ได้แต่งงานใหม่ และหมายรวมถึงเพราะหย่าขาดจากกันด้วย, ถ้าเป็นชายเรียกว่า พ่อม่าย, ถ้าเป็นหญิงเรียกว่า แม่ม่าย, โดยปริยาย เรียกหญิงที่เลิกกับผัวว่า แม่ม่ายผัวร้าง หรือ แม่ร้าง, (โบ) ไร้คู่ผัวเมีย เช่น อนึ่งหญิงใดหาผัวมิได้เปนม่ายถือกำนัลอยู่ในวัง. (สามดวง), เขียนเป็น หม้าย ก็มี.
  27. มาร, มาร- : [มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจําพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอย กีดกันไม่ให้ทําบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยาย หมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).
  28. มาเหนือเมฆ : (สํา) ก. มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น; มาหรือ ปรากฏขึ้นโดยไม่คาดหมาย.
  29. มิด : ว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิด จมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด; ใช้เป็นกริยาหมายถึง อาการอย่างนั้น เช่น มิดนํ้า มิดหัว.
  30. มื้อ : น. เวลา, คราว, (ใช้เกี่ยวกับการกินอาหาร) เช่น อาหารมื้อเช้า อาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น กินอาหารให้เป็นมื้อเป็นคราว, ลักษณนามหมายถึง คราว, ครั้ง, หน, เช่น กินอาหารวันละ ๓ มื้อ.
  31. มุ่งหน้า : ก. ตรงไปสู่จุดหมาย เช่น เขามุ่งหน้าไปโรงเรียน.
  32. มุตตา : [มุด-] น. ไข่มุก, โบราณหมายถึงแก้วชนิดหนึ่ง สีหมอกอ่อน ๆ คล้ายสีไข่มุก. (ป.; ส. มุกฺตา).
  33. มุม : น. จุดที่เส้น ๒ เส้นมาบรรจบกัน เช่น เดินชนมุมโต๊ะ, เนื้อที่ตรงด้านยาว กับด้านสกัดมาบรรจบกัน เช่น วางตู้ไว้ที่มุมห้อง, ที่ว่างซึ่งเกิดจาก เส้นตรง ๒ เส้น แยกออกจากกัน โดยปลายข้างหนึ่งของแต่ละเส้นอยู่ร่วม จุดเดียวกัน เช่น มุมฉาก มุมแหลม, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถูกต้อนเข้ามุม จนมุม.
  34. เมือง : น. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว; (โบ) จังหวัด เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตราด; เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัดต่อมาถูกลดฐานะเป็น อำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขัน์; เขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็น ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ซึ่งในครั้งก่อน ถ้าเป็นเมืองใหญ่ หมายถึงเขตภายใน กําแพงเมือง.
  35. เมืองนอก : (ปาก) น. ประเทศอื่น ๆ, ต่างประเทศ มักหมายถึงประเทศใน ทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา.
  36. แม่พิมพ์ : น. สิ่งที่เป็นต้นแบบ เช่น แม่พิมพ์ตัวหนังสือ, โดยปริยายหมายถึง ครูอาจารย์ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างความประพฤติของศิษย์.
  37. แม่แรง : น. เครื่องสําหรับดีดงัดหรือยกของหนัก, โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นกําลัง สําคัญในการงาน.
  38. โมกษะพยาน : (กฎ) น. พยานที่พ้นแล้ว ได้แก่ พระภิกษุหรือสามเณรใน พระพุทธศาสนาซึ่งไม่จําต้องไปศาลตามหมายเรียก และแม้มาเป็นพยาน ก็ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความและจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบ คําถามใด ๆ ก็ได้.
  39. โม่ง : ว. หัวหรือท้ายโตผิดส่วน, ใหญ่โตผิดธรรมดา, เช่น ปลาหัวโม่ง, เรียกผู้ที่เอา ผ้าคลุมหัวในการเล่นของเด็กว่า อ้ายโม่ง, โดยปริยายหมายถึงคนที่คลุมหัวปิดหน้า เพื่อไม่ให้คนจำหน้าได้.
  40. ไม่ : ว. มิ, คําปฏิเสธความหมายของคําที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคํา ต้องมีคํา หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.
  41. ไม้เด็ด, ไม้ตาย : น. ท่าสําคัญในการต่อสู้กระบี่กระบองหรือมวยซึ่งทําให้ฝ่ายปรปักษ์ ไม่สามารถจะสู้ได้อีก, ตรงข้ามกับ ไม้เป็น, โดยปริยายหมายถึงวิธีการที่จะเอาชนะ ศัตรูได้ เช่น เขาใช้ไม้ตาย เขามีไม้ตาย.
  42. ไม้ทัณฑฆาต : น. เครื่องหมายสําหรับฆ่าอักษรตัวที่ไม่ต้องออกเสียง รูปดังนี้ ?.
  43. ไม่เป็นอัน : ว. ใช้นำหน้ากริยามีความหมายไปในลักษณะที่ไม่สะดวก เช่น ไม่เป็นอันกิน ไม่เป็นอันนอน.
  44. ยศ : [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่ พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูง ต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).
  45. ยอก : ก. ตำฝังอยู่ในเนื้อ เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง, รู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมี อะไรมาเสียดแทง เช่น รู้สึกยอกอก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น หนามยอกอก.
  46. ยัด : ก. บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้า ห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง; (ปาก) ใช้ แทนคําว่า กิน (ใช้ในลักษณะกินอย่างตะกรุมตะกราม ถือว่าเป็นคำหยาบ).
  47. ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
  48. ยาแผนโบราณ : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรค ศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ.
  49. ยาแผนปัจจุบัน : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์.
  50. ยี่ห้อ : น. เครื่องหมายสําหรับร้านค้าหรือการค้า, ชื่อร้านค้า; เครื่องหมาย เช่น สินค้ายี่ห้อนี้รับประกันได้; (ปาก) ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอก ยี่ห้อโกง; ชื่อเสียง เช่น ต้องรักษายี่ห้อให้ดี อย่าทำให้เสียยี่ห้อ. (จ.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1098

(0.0978 sec)