Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มั่นหมาย, หมาย, มั่น , then มน, มนหมาย, มั่น, มั่นหมาย, หมาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มั่นหมาย, 1098 found, display 851-900
  1. สันนิบาตเทศบาล : น. องค์กรของเทศบาลทั่วประเทศรวมทั้งเทศบาล เมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายช่วย เหลือสนับสนุน และติดต่อประสานงานเทศบาลทั่วประเทศ โดยไม่มี จุดประสงค์ทางการเมือง เรียกว่า สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย.
  2. สันหลัง : น. ส่วนของร่างกายด้านหลัง ซึ่งมีกระดูกเป็นแนวนูนลงมา ตลอดหลัง; โดยปริยายหมายความว่า ส่วนที่ตั้งมั่นของสิ่งใด ๆ.
  3. สับ ๑ : ก. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ เช่น สับกระดูกหมู สับมะละกอ, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลม เจาะลงไป เช่น เอาขอสับช้าง, เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้ เช่น สับขอ หน้าต่าง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สับด้วยสันมือ ถูกโขกถูกสับ; ทําเชือกให้เข้าเกลียวตั้งแต่ ๓ เกลียว ขึ้นไปให้เขม็งแน่น เรียกว่า สับเชือก; เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น วางของ สับที่ ใส่รองเท้าสับข้าง เต้นรำสับคู่ สับตัวจำเลย.
  4. สัมผัสใน : น. สัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเพื่อเพิ่มเสียงไพเราะ มีได้ทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร เช่น (รูปภาพ ถึงโคกฆ้องหนองสะพานบ้านกะเหรี่ยง เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา). (ขุนช้างขุนแผน), ในโคลงหมายรวม ถึงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรที่อยู่ระหว่างวรรคในบาทเดียวกันด้วย คือ คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำแรกของวรรคหลัง เช่น อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง เพ็ญแข. (ตะเลงพ่าย).
  5. สัมภเวสี : [สำพะ] น. ผู้แสวงหาที่เกิด ในคติของศาสนาพราหมณ์หมายถึงคน ที่ตายแล้ววิญญาณกำลังแสวงหาที่เกิด แต่ยังไม่ได้เกิดในกำเนิดใด กำเนิดหนึ่ง, ผู้ต้องเกิด, สัตว์โลก. (ป.; ส. สมฺภเวษินฺ).
  6. สา ๓ : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่องูหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น สาเหลือง หมายถึง งูลายสอบ้าน (Xenochrophis piscator) สาขาว หมายถึง งูทับสมิงคลา (Bungarus candidus) สาคอแดง หมายถึง งูลายสาบคอแดง (Rhabdophis subminiatus).
  7. สากล : ว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น สากลโลก สากลจักรวาล; เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญหมายถึงแบบซึ่งเดิมเรียกว่า ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, ใช้แทนคํา ''ระหว่างประเทศ'' ก็มี เช่น สภา กาชาดสากล น่านน้ำสากล. (ป., ส. สกล).
  8. สาคูวิลาด : น. สาคูที่มาจากต่างประเทศ หมายถึงแป้งสาคูเม็ดเล็ก ๆ.
  9. หกคว่ำ : ก. อาการที่ภาชนะเอียงคว่ำลง; ล้มคว่ำ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คะมำหงาย เป็น หกคว่ำคะมำหงาย ซึ่งมีความหมายคล้ายกับ ล้มคว่ำคะมำหงาย.
  10. หงส-, หงส์ ๑ : [หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูล สูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดิน ของหงส์. (ป., ส. หํส).
  11. หง่อง ๆ : ว. อาการที่เดินขย่มตัวหัวสั่นหัวคลอนไปตามลำพัง, โดยปริยายหมายถึง เดินอยู่ตามลำพัง; เสียงดังเช่นเสียงฆ้องกระแต.
  12. หด : ก. สั้นเข้า, ย่นเข้า, เช่น เสื้อหด, น้อยลง เช่น ทุนหายกำไรหด; ชักกลับ เช่น หดมือ หดเท้า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กลัวจนหัวหด.
  13. หน่วยคำ : น. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็น ส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำ อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และ หน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏ ร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).
  14. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  15. หนา ๒ : คําประกอบท้ายคําอื่นที่มีความหมายไปในเชิงบังคับหรืออ้อนวอน เช่น อยู่เถิดหนา.
  16. หน้าตัก : น. คำที่ใช้เรียกขนาดความกว้างของพระพุทธรูปแบบนั่งขัดสมาธิ โดยวัดจากสุดเข่าข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่ง ใช้วัดด้วยมาตราไทย เช่น พระพุทธรูปองค์นี้หน้าตัก ๑๐ นิ้ว พระประธานในโบสถ์ หน้าตัก ๑ วา ๒ ศอก ๕ นิ้ว; โดยปริยายหมายถึงเงินหรือเบี้ยพนันที่วางอยู่ตรงหน้าของ ผู้เล่นการพนัน เช่น สู้แค่หมดหน้าตัก
  17. หน้าท้อง : น. ส่วนหน้าของท้อง ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา เช่น ฉีดเซรุ่ม ป้องกันพิษสุนัขบ้าที่หน้าท้องหลังจากถูกสุนัขกัด; โดยปริยายหมายถึงท้อง ที่ยื่นเพราะมีไขมันมาก เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยดี เสียแต่มีหน้าท้อง.
  18. หน้าพาทย์แผลง : [-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อ เดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.
  19. หน้ามืด : ว. อาการที่เป็นลมหมดสติ; โดยปริยายหมายถึงมัวเมาจนขาดสติ ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ.
  20. หน้าหงาย : ว. อาการที่หน้าเงยแหงนขึ้น เช่น เขาถูกชกหน้าหงาย; โดย ปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไป ขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้อง หน้าหงายกลับมา; ที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้มาก เช่น เขาคุยว่าสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้แน่ ๆ แต่พอประกาศผลแล้วไม่ได้ ก็หน้าหงายกลับมา.
  21. หนี้ : น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ) นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรือ งดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึง การที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา.
  22. หนืด : ว. อาการของสิ่งของที่เหนียวจนดึงไม่ใคร่จะออก เรียกว่า เหนียวหนืด, โดยปริยายหมายถึงตระหนี่มาก. (ภูมิ) น. เรียกหินที่อยู่ในสภาพหนืด ใต้เปลือกโลกว่า หินหนืด. (อ. magma).
  23. หนู ๒ : (ปาก) สรรพนามบุรุษที่ ๑ ผู้น้อยใช้พูดกับผู้ใหญ่, สรรพนามบุรุษที่ ๒ ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย, คําสําหรับเรียกเด็ก มีความหมายไปในทางเอ็นดู เช่น หนูแดง หนูน้อย.
  24. หมองูตายเพราะงู : น. ผู้ที่ชำนาญในการเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นอาชีพก็อาจ ถูกงูเห่ากัดตายเพราะความประมาทได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความรู้ อาจตายหรือพลาดท่าเสียทีเพราะความรู้ของตนก็ได้.
  25. หมึก ๑ : น. นํ้าที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดําจัด จึงใช้เปรียบกับของดำว่า ดำเป็นหมึก, น้ำหมึก ก็ว่า. (จ.); โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ขีดเขียน หรือพิมพ์หนังสือเป็นต้น เช่น หมึกแดง หมึกแห้ง หมึกพิมพ์ หมึกพิมพ์ ลายมือ.
  26. หลอม : [หฺลอม] ก. ทําให้ละลายด้วยความร้อน เช่น เขาหลอมทองคำด้วยไฟพ่น จากเป่าแล่น, โดยปริยายหมายถึงอบรมบ่มนิสัยให้มีจิตใจโน้มน้าวไป ทางใดทางหนึ่ง เช่น หลอมความคิด หลอมจิตใจ, หล่อหลอม ก็ว่า.
  27. หลัก ๑ : น. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมาย เช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดํารงชีวิต, เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลัก กฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.
  28. หลัก ๒ : น. ตําแหน่งของตัวเลขซึ่งแสดงจํานวน คือ ถ้าเป็นเลขตัวเดียว เรียกว่า จํานวนหน่วย เลข ๒ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนสิบ เลข ๓ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนร้อย เลข ๔ ตัวเรียงกัน เรียกว่าจํานวนพัน เลข ๕ ตัว เรียงกัน เรียกว่า จํานวนหมื่น เลข ๖ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนแสน เลข ๗ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนล้าน เช่น ๙๘๗ เป็นจํานวนร้อย ๙ เป็นเลขหลักร้อย หมายถึง ๙๐๐ ส่วน ๘ เป็นเลขหลักสิบ หมายถึง ๘๐ และ ๗ เป็นเลขหลักหน่วย หมายถึง ๗.
  29. หลักชัย ๑ : น. หลักที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าแข่งขันที่ไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ, โดย ปริยายหมายถึงบุคคลที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวเพื่อชัยชนะ เช่น พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นหลักชัยของชาติ; จุดที่หมายแห่งความสำเร็จ เช่น เมื่อศึกษาจบ ปริญญาตรีก็เท่ากับบรรลุหลักชัยไปขั้นหนึ่งแล้ว.
  30. หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน : (สำ) ว. ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึง ชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้อง ก้มลงดิน.
  31. หลั่งไหล : ก. ไหลมาเทมา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผู้คนหลั่งไหลกันมามืดฟ้ามัวดิน.
  32. หลับตา : ก. ปิดกลีบตา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อย่างง่าย ๆ เพราะมีความเคยชินหรือมีความชำนาญมาก เช่น เรื่องอย่างนี้ หลับตาทำก็ได้; อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ ไม่เรียบร้อย เช่น ทำรายงานอย่างกับหลับตาทำ, เดา เช่น หลับตาพูด.
  33. หลิ่วตา : ก. หรี่ตาลงข้างหนึ่ง เพื่อเล็งดูด้วยตาอีกข้างหนึ่ง, โดยปริยาย หมายถึงให้สัญญาณด้วยอาการเช่นนั้นเพื่อให้ลงมือทําการหรือไม่ทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อแสดงอาการล้อเลียนหยอกล้อ.
  34. หวัง : ก. คาดว่าจะได้, ปองไว้, หมายไว้.
  35. หอบังคับการ : น. ที่ซึ่งผู้บังคับการเรือและนายทหารเรือร่วมกันปฏิบัติงาน ควบคุมและสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจําเรือแผนกต่าง ๆ ปฏิบัติภารกิจตาม ที่ได้รับมอบหมาย.
  36. หัวกระเด็น : น. สิ่งของที่โตและเด่นกว่าเพื่อนในหมู่หนึ่งหรือกองหนึ่ง, โดยมากมักใช้แก่ผลไม้บางชนิด เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง, โดยปริยาย หมายถึงผู้ที่มีความสามารถดีเด่นเป็นพิเศษ เช่น นักเรียนห้องนี้ล้วนแต่ หัวกระเด็นทั้งนั้น.
  37. หัวกระไดไม่แห้ง : (สํา) ว. มีแขกมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ (มักใช้หมายถึงบ้าน ที่มีลูกสาวสวย หรือบ้านผู้มีอํานาจวาสนา).
  38. หัวโขน ๑ : น. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยาย หมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน.
  39. หัวเงื่อน : น. ปมที่ทำไว้สำหรับกระตุกหรือชักออกเมื่อเวลาแก้, โดยปริยาย หมายถึงข้อความตรงที่จะต้องไขความให้กระจ่าง.
  40. หัวซุน : ว. อาการที่ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน คือ ใช้เสียจนโงหัว ไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.
  41. หัวแถว : น. คนที่อยู่ต้นของแถว, โดยปริยายหมายถึงหัวหน้าหรือผู้นำ.
  42. หัวหงอก : [-หฺงอก] น. หัวที่มีผมเปลี่ยนจากสีเดิมเป็นสีขาว, โดยปริยาย หมายถึงคนแก่, เมื่อใช้เข้าคู่กับคำ หัวดำ เป็น หัวหงอกหัวดำ หมายถึง ทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย.
  43. หัวหาด : น. ชายฝั่งทะเลที่อยู่ในความครอบครองของข้าศึก ซึ่งถ้ายึดได้แล้ว จะทําให้สะดวกในการยกพลขึ้นบก เรียกว่า ยึดหัวหาด, โดยปริยายหมายถึง จุดสำคัญหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นซึ่งถ้ายึดไว้ได้ก็จะสามารถทำให้แผนการ ขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ.
  44. หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
  45. หางแถว : น. คนที่อยู่ท้ายแถว, โดยปริยายหมายถึงผู้น้อย, ผู้ไม่มีความ สำคัญ, ปลายแถว ก็ว่า.
  46. หางเลข : น. เครื่องหมายย่อแทนตัวเลขสําหรับทําเลขอย่างเก่า; (ปาก) เลข ท้ายสลากกินแบ่งที่ได้รางวัล, โดยปริยายหมายถึงพลอยถูกผู้ใหญ่ดุหรือ ตำหนิไปด้วย เช่น หัวหน้าถูกผู้ใหญ่ดุ ลูกน้องก็เลยพลอยถูกหางเลขไปด้วย.
  47. หิรัญ, หิรัญ- : [หิรัน, หิรันยะ-] น. เงิน, บางแห่งว่า ทอง ก็มี แต่โดยทั่วไปหมายถึง เงิน. (ป. หิร?ฺ?; ส. หิรณฺย).
  48. หิว : ก. อยากกิน, อยากดื่ม, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หิวเงิน.
  49. หุงข้าว : ก. เอาข้าวสารและน้ำใส่หม้อตั้งบนเตาไฟให้ร้อนจนเดือดแล้ว ปลงลงเช็ดน้ำ จากนั้นยกขึ้นดงบนเตาไฟจนสุก เรียกว่า หุงเช็ดน้ำ ถ้าเคี่ยว จนน้ำแห้งไปเองโดยไม่ต้องเช็ดน้ำ เรียกว่า หุงไม่ต้องเช็ดน้ำ, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า.
  50. หุน : น. ชื่อมาตราวัดหรือชั่งของจีน ในมาตราวัด ๑ หุน หมายถึง เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ ใน ๑๖ ของนิ้ว ในมาตราชั่ง ๕ หุน เท่ากับ ๑ เฟื้อง. (จ.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | [851-900] | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1098

(0.1032 sec)