Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ที่ , then ทิ่, ที่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ที่, 11018 found, display 2601-2650
  1. จับงูข้างหาง : (สํา) ก. ทําสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย.
  2. จับจด : ว. ลักษณะที่ทําไม่จริงจัง ชอบเปลี่ยนงานบ่อย ๆ.
  3. จับจิต, จับใจ : ว. ติดใจ, เป็นที่พอใจ.
  4. จับเจี๋ยว : น. หม้อดินเล็ก ๆ มีพวยและที่จับสําหรับต้มนํ้า. (จ.). (รูปภาพ จับเจี๋ยว)
  5. จับฉ่าย : น. ชื่ออาหารอย่างจีนชนิดหนึ่งที่ใส่ผักหลาย ๆ อย่าง. (ปาก) ของต่าง ๆ ที่ปะปนกันไม่เป็นสํารับ ไม่เป็นชุด. (จ.).
  6. จับตา ๑ : ว. ถูกตา, เหมาะตา, เป็นที่พอตา.
  7. จับปูใส่กระด้ง : (สำ) ก. ยากที่จะทำให้อยู่นิ่ง ๆ ได้.
  8. จับเปาะ : (สำ) ว. ตรงเป้า เช่น ต่อยจับเปาะเข้าที่ปลายคาง.
  9. จับโปง : (โบ) น. ลมที่ทําให้ปวดเมื่อยตามข้อต่าง ๆ.
  10. จับมือ : ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตาม ในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนา แหล่งน้ำ.
  11. จับยาม : ก. นับยามตามหลักยามสามตา (ตรีเนตร) โดยนับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยาม เป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับ ยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้ว ทำนายตามตำรา.
  12. จับลิงหัวค่ำ : น. การเล่นเรื่องเบ็ดเตล็ดก่อนจะเล่นเรื่องที่แสดงจริงเพื่อ เรียกคนดู เช่นในการเล่นหนังตะลุง หนังใหญ่ หรือโขน.
  13. จับเวลา : ก. ดูเวลาที่ใช้ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นในการแข่งขันกีฬา, ดูเวลาให้ตรงตามที่กําหนด.
  14. จับสั่น : น. ชื่อไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด มีอาการหนาวและสั่น, ไข้จับสั่น หรือ ไข้มาลาเรีย ก็เรียก. (อ. malaria fever, malaria, paludism).
  15. จับเส้น : ก. บีบนวดเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว; โดยปริยายหมายถึงรู้จักเอาใจ ผู้ที่จะให้ผลประโยชน์แก่ตน.
  16. จับหลัก : (สำ) ก. นิ่งอยู่กับที่, เช่น นกกระเต็นจับหลัก.
  17. จับหืด : ก. อาการที่คนกำลังหอบหายใจไม่ทันเนื่องจากหืดกำเริบ.
  18. จั่ว ๑ : น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคาสําหรับกันลมและแดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, หน้าจั่ว ก็ว่า.
  19. จากหลบ : น. ตับจากทำเป็นคู่ใช้ปิดหลังคาที่ตรงสันหลังคาให้มิดเพื่อ ไม่ให้ฝนรั่วได้.
  20. จ้าง ๑ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่น้ำด่างแล้วล้าง ให้สะอาด นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ. จัง).
  21. จาตุทสี : [-ทะสี] น. ดิถีที่ ๑๔ (คือ วัน ๑๔ คํ่า). (ป. จาตุทฺทสี; ส. จตุรฺทศี).
  22. จาตุมหาราช : น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือ จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราชิก หรือ จาตุมหาราชิกา ก็ว่า; เรียกหัวหน้าเทวดา ผู้มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ว่า ท้าวจาตุมหาราช คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก์ จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล หรือ จัตุโลกบาล ก็ว่า.
  23. จาน ๑ : น. ภาชนะรูปแบน ๆ สําหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ, ลักษณนามเรียกจานที่
  24. จาม ๒ : ก. อาการของลมที่พุ่งออกมาทางจมูกและปาก มักจะเป็นห้วง ๆ ใน ทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจ เพราะเกิดระคายเคืองในจมูก; ฟันลงไปเต็มที่ เช่น เอาขวานจามหัว.
  25. จามรี : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bos grunniens ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์จำพวก วัว ขนยาวมาก ละเอียดอ่อน สีนํ้าตาลเข้มจนถึงดำ เฉพาะบริเวณสวาบจะมี สีดําห้อยยาวลงมาเกือบถึงพื้น ช่วงเขากว้างมาก หางยาวเป็นพู่ อาศัยอยู่แถบ ภูเขาสูงในทิเบต, จมร จมรี หรือ จามจุรี ก็เรียก; เรียกแส้ที่ทําด้วยขนหาง จามรีว่า แส้จามรี.
  26. จ่ายตลาด : ก. ซื้อกับข้าวที่ตลาด.
  27. จารีต : [-รีด] น. ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน. (ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).
  28. จารีตประเพณี : น. ประเพณีที่นิยมและประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืน ถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว.
  29. จารึก ๒ : ก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะหรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นว่า ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.
  30. จาว ๑ : น. สิ่งที่งอกอยู่ภายในผลไม้บางอย่าง เช่น จาวมะพร้าว จาวตาล, (กลอน) โดยปริยายหมายถึงนมผู้หญิง เช่น พวงจาวเจิดแจ่มแก้ว จักรพรรดิ พี่เอย. (นิ. นรินทร์), ดวงจาววนิภาคย์พ้น เสาวบุษป์. (ทวาทศมาส).
  31. จ่าหน้า : ก. เขียนบอกไว้ข้างหน้า เช่น จ่าหน้าซอง, เขียนบอกไว้ที่ ต้นเรื่อง เช่น จ่าหน้าเรื่อง.
  32. จ้ำ ๑ : ก. พายเรือแจวถี่ ๆ เช่น เขาจ้ำเรือข้ามฟาก, ฟันหรือแทงถี่ ๆ เช่น ผู้ร้ายจ้ำแทง. ว. อาการที่ทำเร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น พายเรือจ้ำเอา ๆ เขียนหนังสือจ้ำเอา ๆ.
  33. จำ ๓ : ก. อาการที่ต้องฝืนใจทํา เช่น จำใจจากแม่เปลื้อง ปลิดอก อรเอย. (นิ. นรินทร์).
  34. จำกัดความรับผิดชอบ : น. บริษัทจำกัดซึ่งจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น ไว้ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่ารวมของหุ้นที่ตนถือ.
  35. จำคุก : (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้เอาตัวผู้ต้องโทษไปคุมขัง ไว้ในเรือนจำ.
  36. จ้ำจี้จ้ำไช : ว. อาการที่พร่ำพูดหรือสอน. ก. พร่ำพูดหรือสอน.
  37. จำนวน : น. ยอดรวมที่กําหนดนับไว้เป็นส่วน ๆ.
  38. จำนวนนับ : (คณิต) น. จํานวนที่เกิดจากการนับ จำนวนที่ใช้แทนการนับ ได้แก่ ๑, ๒, ๓, ๔ ... .
  39. จำนวนบวก : (คณิต) น. จำนวนเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์.
  40. จำนวนลบ : (คณิต) น. จำนวนเลขที่มีค่าต่ำกว่าศูนย์.
  41. จำนวนอตรรกยะ : (คณิต) น. จํานวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยม ไม่รู้จบประเภทไม่ซํ้าได้ เช่น รากที่ ๒ ของ ๒ (= ๑.๔๑๔๒๑๓๕...), p (= ๓.๑๔๑๕๙๒๖...).
  42. จำนับ : [จําหฺนับ] (กลอน) ก. จับ, อาการที่ใช้มือจับต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจน กําไว้ยึดไว้, ใช้ จําหนับ ก็มี.
  43. จำนำพรรษา : ว. เรียกผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จําพรรษาในวัดนั้น ๆ ว่า ผ้าจํานําพรรษา.
  44. จำเนียน : ก. ตัด ขริบ หรือเฉือนให้ไปตามแนวหรือให้ได้รูปตามที่ต้องการ. (แผลงมาจาก เจียน). (ข. เจียร ว่า ตัด, เล็ม).
  45. จำบ่ม : ว. ผลไม้ที่แก่ยังไม่ได้ที่ เก็บเอามาบ่มให้สุก เรียกว่า ผลไม้จําบ่ม เช่น มะม่วงจําบ่ม.
  46. จ้ำเบ้า : ว. อาการที่ก้นกระแทกพื้นลุกไม่ขึ้น เช่น หกล้มจํ้าเบ้า.
  47. จำแบ : น. ชื่อปลาแห้งชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นริ้ว, ตําแบ ก็ว่า. ก. แผ่ออก.
  48. จำปา : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  49. จำปาดะ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus integer (Thunb.) Merr. ในวงศ์ Moraceae คล้ายต้นขนุน เยื่อหุ้มเมล็ดเนื้อเหลว กลิ่นฉุน กินได้; เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีจําปา เนื้อนุ่ม ว่า ขนุนจําปาดะ. (ดู ขนุน๑).
  50. จำพรรษา : ก. อยู่ประจําที่วัด ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | [2601-2650] | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9600 | 9601-9650 | 9651-9700 | 9701-9750 | 9751-9800 | 9801-9850 | 9851-9900 | 9901-9950 | 9951-10000 | 10001-10050 | 10051-10100 | 10101-10150 | 10151-10200 | 10201-10250 | 10251-10300 | 10301-10350 | 10351-10400 | 10401-10450 | 10451-10500 | 10501-10550 | 10551-10600 | 10601-10650 | 10651-10700 | 10701-10750 | 10751-10800 | 10801-10850 | 10851-10900 | 10901-10950 | 10951-11000 | 11001-11018

(0.3163 sec)