Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ที่ , then ทิ่, ที่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ที่, 11018 found, display 601-650
  1. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  2. กระหมิบ : ก. ทําปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). ว. บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ.
  3. กระหมุบกระหมิบ : ก. หมุบหมิบ, อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและ หุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง, เช่น ทำปากกระหมุบกระหมิบ สวดมนต์กระหมุบกระหมิบ. (แผลงมาจาก ขมุบขมิบ).
  4. กระหย่ง ๑ : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่ง หรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระหย่งฟาง, กระโหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
  5. กระหย่ง ๒ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอา ปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  6. กระหริ่ง : น. บ่วงหวายสําหรับดักสัตว์ที่กระโดดเช่นเนื้อและกวาง เช่น จับกระหริ่งบ่วงข่ายถือ แบกหอกปืนลงจากเรือน. (สุบิน), กะริง ก็ว่า.
  7. กระหัง : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชาย ที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้ง ต่างปีก สากตําข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้. (สามดวง).
  8. กระเหม่น : [-เหฺม่น] ก. เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ เช่น กระเหม่นตา; เขม้น เช่น กระเหม่นตรับตัว. (เสือโค). (แผลงมาจาก เขม่น).
  9. กระเหม่า : [-เหฺม่า] น. เขม่า, ละอองขึ้นที่ลิ้นเด็กอ่อน โบราณเรียกว่า กระเหม่าซาง. (แผลงมาจาก เขม่า).
  10. กระแหนบ : [-แหฺนบ] (กลอน) ก. แหนบ, ถอน, เช่น แนบนิทรลวดแลบ ก็กระแหนบที่หนวดเครา. (บุณโณวาท).
  11. กระโห้ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Catlocarpio siamensis ในวงศ์ Cyprinidae หัวโต เกล็ดใหญ่ ลําตัวด้านหลัง สีเทาดํา หางและครีบสีแดงคล้ำหรือส้ม พบใน แม่น้ำใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบ ขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร นับเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่มากในจําพวกปลามีเกล็ดด้วยกัน, กระมัน หรือ หัวมัน ก็เรียก.
  12. กระโหย่ง ๑ : [-โหฺย่ง] ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง, กระหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
  13. กระโหย่ง ๒ : [-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  14. กระอ้อกระแอ้ : ว. อ้อแอ้, อาการออกเสียงของเด็กที่เริ่มหัดพูด, อาการที่พูดไม่ชัดอย่างคนเมา.
  15. กระออดกระแอด : ว. ออดแอด, อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ, อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ.
  16. กระอิดกระเอื้อน : ก. อิดเอื้อน, ไม่กล้าที่จะพูด, กล่าวไม่เต็มปาก; แสดงอาการไม่สู้เต็มใจ.
  17. กระอึกกระอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัว หรือประหม่าเป็นต้น, อึกอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า.
  18. กระแอม ๒ : น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูนคล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สําหรับอุด หรือปิดช่องไฟระหว่างลายกระหนกเครือวัลย์ เรียกว่า ลูกกระแอม, ตัวที่บอกให้รู้ว่าได้ทําอะไรแปลกไปจาก การประดิษฐ์ แสดงเป็นตัวลูกไม้เพิ่มขึ้น เรียกว่า ตัวกระแอม.
  19. กระไอ ๑ : น. กลิ่น (ใช้เฉพาะกลิ่นของสิ่งที่จวนจะบูด) เช่น แกงมีกระไอจวนจะบูดแล้ว, สะไอ ก็ว่า. ว. มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจวนจะบูด เช่น ข้าวเหม็นกระไอ, สะไอ ก็ว่า.
  20. กรัก : [กฺรัก] น. แก่นขนุนใช้ย้อมผ้า; (โบ) โรงกรัก คือ โรงที่ต้มกรักในวัด. (ตะเลง ว่า แก่นไม้; ข. กราก่ ว่า แก่นขนุน).
  21. กรัชกาย : [กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย). [ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ (น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่ ในน้ำอสุจิ), ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ (บาฬีลิปิกรม), ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีที่ น่ารังเกียจ, กร (การกระทำ) + ช (เกิด) + กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดากระทำแล้ว].
  22. กรับเสภา : น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่นเช่นไม้ชิงชัน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕ เซนติเมตร ลบเหลี่ยมเล็กน้อยเพื่อมิให้บาดมือและให้ สามารถกลิ้งตัวกระทบกันได้สะดวก ใช้ประกอบในการขับเสภา โดยผู้ขับเสภาจะต้องใช้กรับ ๒ คู่ ถือไว้ข้างละคู่ ขณะที่ขับ เสภาก็ขยับกรับแต่ละคู่ให้กระทบกันเข้าจังหวะกับเสียงขับ, กรับขยับ ก็เรียก.
  23. กราก : [กฺราก] ก. ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าไป. ว. รวดเร็ว เช่น น้ำไหลเชี่ยวกราก; เรียกสิ่งที่หุงหรือนึ่งสวยมากเกินไปว่า สวยกราก เช่น ข้าวสวยกราก ถั่วสวยกราก, แข็งอย่างผ้าลาย ที่ยังไม่ได้ซักหรือผ้าที่ลงแป้งจนแข็ง; เสียงอย่างเสียงลากกิ่งไม้.
  24. กร่าง : [กฺร่าง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Ficus altissima Blume ในวงศ์ Moraceae เปลือกเรียบสีเทา ใบกว้างหนารูปไข่ ปลายมน ไม่มีขน ผลกลม เมื่อสุกสีส้มออกแดง, ลุง ฮ่างหลวง หรือ ไทรทอง ก็เรียก. (ปาก) ว. อาการที่ทำท่าทางหรือพูดจาวางโต เช่น เขาชอบทำกร่างอยู่เรื่อย.
  25. กราง ๒ : [กฺราง] (โบ; กลอน) ว. เสียงอย่างเสียงใบตาลแห้งที่ถูกลมพัด กระทบกัน เช่น ด่งงไม้รงงรจิตร อันอยู่ชชิดทางเทา ร่มเย็นเอาใจโลกย์ ลําโล้โบกใบกราง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  26. กราด ๑ : [กฺราด] น. ไม้กวาดที่ทําเป็นซี่ยาว ๆ ห่าง ๆ มีด้ามยาวสําหรับ ใช้กวาดที่ลานวัดเป็นต้น. (ข. จฺราศ). ก. กวาดด้วยกราด.
  27. กราดวง : [กฺรา-] น. ลูกมะพร้าวทุยที่ตัดครึ่งท่อน สําหรับถูพื้นบ้าน หรือหวีด้ายทอหูก, เสียงที่พูดกันเป็นกระดวง.
  28. กราน ๒ : [กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคําอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า ค้ำ, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลําพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
  29. กรานกฐิน : [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึง ที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้า ให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทํา พินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
  30. กราบ ๑ : [กฺราบ] น. ไม้เสริมแคมเรือให้สูงขึ้น, ส่วนของเรือตอนที่มีไม้เสริม, ไม้กระดานที่ติดตรงแคมเรือไปตามแนวนอนสําหรับเดิน, เรียกส่วนด้านข้างของเรือรบว่า กราบ.
  31. กราบ ๒ : [กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็น กราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบ ติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็น คําแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. กราบพระ (โบ) น. ผ้ากราบ.
  32. กราฟ : น. แผนภูมิที่ใช้เส้น จุด หรือภาพเป็นต้น เพื่อแสดงความ เปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรตัวหนึ่งเทียบกับความเปลี่ยนแปลง ค่าของตัวแปรตัวอื่น; (คณิต) เซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบ ตามที่กําหนดขึ้นด้วยสมการหรืออสมการ. (อ. graph).
  33. กราม : [กฺราม] น. ฟันที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร.
  34. กรามช้าง ๑ : น. ตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทําให้ขากรรไตรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง.
  35. กร่าย : [กฺร่าย] น. ผ้าคาดที่ถักเป็นตาข่าย เช่น คาดกร่ายชายทองวาง ร่วงรุ้ง. (กาพย์ห่อโคลง).
  36. กราว ๒ : [กฺราว] ว. เสียงดังคล้ายเช่นนั้น เช่น เสียงของแข็งจํานวนมาก ๆ ร่วงลงกระทบพื้นหรือหลังคาพร้อม ๆ กัน หรือเสียงที่คน จํานวนมากตบมือพร้อม ๆ กัน.
  37. กร่ำ ๑ : [กฺร่ำ] น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่น้ำ เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับก็เอาเฝือกหรืออวนล้อม แล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, เขียนเป็น กล่ำ ก็มี.
  38. กร่ำ ๒ : [กฺร่ำ] ก. เอาพร้าหวดตัดตอหญ้าที่เหลืออยู่ให้เตียน.
  39. กร่ำ ๓ : [กฺร่ำ] (โบ) น. ไม้ปักที่หมายร่องน้ำที่ทะเล. (ปรัดเล).
  40. กริ่ง ๑ : [กฺริ่ง] น. เครื่องบอกสัญญาณมีเสียงดังเช่นนั้น; เรียกพระเครื่องที่ทําด้วยโลหะ ข้างในกลวง มีก้อนโลหะ คลอนเขย่าดังกริ่ง ๆ ว่า พระกริ่ง.
  41. กรินทร์ : น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุ ผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร = กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).
  42. กริม : [กฺริม] น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล Trichopsis วงศ์ Anabantidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลากัด ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่า และสีไม่สดสวย มักมีแถบสีเข้มพาดตลอดข้างตัว ๒-๓ แถบ ที่พบมากได้แก่ กริมข้างลาย (T. vittatus), กัดป่า ก็เรียก.
  43. กริ่ม : [กฺริ่ม] ก. กระหยิ่ม, ครึ้มใจ, อิ่มใจ. ว. อาการที่เมาเหล้าอย่างใจดี เรียกว่า เมากริ่ม.
  44. กริยา : [กฺริยา, กะริยา] (ไว) น. คําที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม. (ส. กฺริยา; ป. กิริยา).
  45. กริยานุเคราะห์ : (ไว) น. กริยาที่ใช้ช่วยกริยาอื่น เช่น คง จะ ถูก น่า, กริยาช่วย ก็ว่า.
  46. กริยาวิเศษณ์วลี : (ไว) น. ท่อนความที่มีคํากริยาวิเศษณ์ ที่พ่วงบุรพบทเข้าขยายกริยา เช่น ม้าวิ่งไปข้างโน้น ความที่ขีดสัญประกาศนั้นเป็นกริยาวิเศษณ์วลี.
  47. กริยาวิเศษณานุประโยค : [-วิเสสะนานุปฺระโหฺยก] (ไว) น. อนุประโยคที่ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ในสังกรประโยค, ประโยควิเศษณ์ ก็ว่า.
  48. กริ้ว : [กฺริ้ว] (ราชา) ก. โกรธ, เคือง, ในบทกลอนโบราณใช้ในที่สามัญก็มี เช่น ฝูงมหาชนท้งงหลายกริ้วโกรธ. (ม. คําหลวง ชูชก).
  49. กริว ๑ : [กฺริว] น. เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ. (ขุนช้างขุนแผน), จริว หรือ ตริว ก็ว่า. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้ำ).
  50. กรี ๓ : [กฺรี] น. โครงแข็งแหลมที่หัวกุ้ง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9600 | 9601-9650 | 9651-9700 | 9701-9750 | 9751-9800 | 9801-9850 | 9851-9900 | 9901-9950 | 9951-10000 | 10001-10050 | 10051-10100 | 10101-10150 | 10151-10200 | 10201-10250 | 10251-10300 | 10301-10350 | 10351-10400 | 10401-10450 | 10451-10500 | 10501-10550 | 10551-10600 | 10601-10650 | 10651-10700 | 10701-10750 | 10751-10800 | 10801-10850 | 10851-10900 | 10901-10950 | 10951-11000 | 11001-11018

(0.1775 sec)