Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ที่ , then ทิ่, ที่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ที่, 11018 found, display 7101-7150
  1. ไม้ยืนต้น : น. ต้นไม้ใหญ่ที่มีผลและมีอายุยืนนาน, ไม้ต้น ก็เรียก.
  2. ไม่แยแส : ก. ไม่เป็นธุระ, ไม่เกี่ยวข้อง. ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง (สํา) ก. ทําสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะมีภัยแก่ตัว.
  3. ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ : (สํา) ก. ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น, นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น.
  4. ไม้ล้มขอนนอนไพร : น. ไม้ในป่าที่ล้มตายเอง.
  5. ไม้ล้มเงาหาย : (สํา) น. คนที่เคยมีวาสนาเมื่อตกตํ่าลงผู้ที่มาพึ่งบารมีก็หายหน้าไป.
  6. ไม้ล้มลุก ๑ : น. ไม้ ๒ ขาสำหรับกว้านของหนักขึ้นไปไว้บนที่สูง เช่น เอาไม้ล้มลุกกว้าน พระบรมโกศขึ้นบนเกริน.
  7. ไม้ล้มลุก ๒ : น. พืชที่มีอายุชั่วคราว.
  8. ไม้ลื่น : น. กระดานที่ตั้งสูงทอดต่ำลงไปด้านหนึ่ง ให้เด็กเล่นโดยนั่งไถลตัวลง, กระดานลื่น ก็เรียก.
  9. ไม้สั้นไม้ยาว : น. เรียกวิธีเสี่ยงทายแบบหนึ่งว่าจับไม้สั้นไม้ยาว คือ ใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดสั้นยาวลดหลั่นกันไป จํานวนเท่าคนที่จะจับ กําปลายไม้ให้โผล่เสมอกัน มักตกลงกันว่า ผู้จับได้ไม้สั้นที่สุดเป็นผู้แพ้.
  10. ไม้สามอัน : น. ชื่อเครื่องมือเล่นการพนันชนิดหนึ่งใช้ไม้กลม ๆ ๓ อัน ผูกเชือกไว้ อันหนึ่ง เจ้ามือกําไม้ ๓ อันไว้ให้ผู้เล่นจับ ถ้าจับได้อันที่ผูกเชือกไว้ เจ้ามือแพ้.
  11. ไม้สีฟัน : น. ไม้ที่ทุบปลายแล้วใช้สีฟันแทนแปรงสีฟัน โดยมากจะเป็นกิ่งข่อย หรือกิ่งไม้สีฟันคนทา.
  12. ไม้สูง : น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกาว่า เล่นไม้สูง; เรียกเพลงกระบี่กระบองซึ่งเป็นเพลงชั้นสูง; โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยม ฉลาดเกินตัว เช่น เขามาไม้สูง.
  13. ไม้เสียบหนู ๑ : น. ไม้ที่เสียบขัดกับไม้ข้างควายที่ขนาบจากหลบหลังคาเรือน.
  14. ไม้หกเหียน : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา.
  15. ไม้หมุน : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่งทําเป็นไม้แป้นกลม ๆ เขียนแบ่งเป็นช่อง มีเข็มชี้วางตามแบน ใช้หมุน เมื่อเข็มชี้ไปหยุดตรงช่องที่แทง ก็ถูก; เรียก ไม้กลม ๆ สําหรับปาดปากสัดข้าวว่า ไม้หมุน.
  16. ไม่หยุดหย่อน : ว. อาการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม่เว้นระยะ, เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน.
  17. ไม้หึ่ง : น. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้อง วิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน.
  18. ไม่เห็นจะ : ว. ใช้ประกอบแสดงความเห็นหรือความรู้สึกในลักษณะที่ว่าไม่ สมควรที่จะ ไม่น่าจะ รู้สึกว่าไม่ เช่น ไม่เห็นจะน่ารักเลย ไม่เห็นจะน่ากลัวเลย.
  19. ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ : (สํา) ว. ด่วนทําไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร.
  20. ไม้เหลี่ยม : น. ไม้ท่อนที่เลื่อยด้านข้างออกทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปสี่เหลี่ยม.
  21. ไม่เหลือบ่ากว่าแรง : (สํา) ว. ไม่เกินความสามารถที่จะทําได้.
  22. ไม้อัด : น. ไม้ที่ทําขึ้นโดยเอาไม้แผ่นบาง ๆ หลายแผ่นมาผนึกเข้าด้วยกัน.
  23. ไม้เอนชาย : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีต้นเอนไปข้างใดข้างหนึ่ง เหมือนไม้ที่อยู่ริมน้ำ.
  24. : พยัญชนะตัวที่ ๓๔ เป็นพวกอักษรตํ่า เป็นได้ทั้งตัวต้นและตัวสะกดใน แม่เกย.
  25. ยก ๑ : ก. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคําสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. น. เรียกผ้าไหม ชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลาย เด่นขึ้นว่า ผ้ายก.
  26. ยก ๒ : น. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กําหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจํานวนหนึ่ง เช่น มวย ยกหนึ่งกำหนด ๒๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษ แผ่น หนึ่งขนาด ๓๑ x ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กําหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น.
  27. ยกกระบัตร : (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับ อรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงาน รักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียน เป็น ยุกกระบัตร ก็มี.
  28. ยกทรง : น. เสื้อชั้นในหญิงที่ยกเต้านมเพื่อให้ได้รูปทรง.
  29. ยกภูเขาออกจากอก : (สํา) ก. โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่ หนักอกหนักใจให้หมดไป.
  30. ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
  31. ยกยอด : ก. ทําพิธีเอายอดเมรุยอดปราสาทขึ้น; เก็บเอาสิ่งที่ทําค้างไว้ ไปทําให้เสร็จในคราวเดียวกัน; เก็บเอาความเจ็บแค้นไว้แก้แค้นใน คราวเดียว; โอนจํานวนเงินจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง.
  32. ยกหยิบ : (กลอน) ก. หยิบยก เช่น จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง. (นิ. ภูเขาทอง).
  33. ยงโย่ : ก. กิริยาที่นั่งยอง ๆ หรือยืนขยับตัวขึ้น ๆ ลง ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ไม่เป็น ระเบียบ, โยงโย่ ก็เรียก.
  34. ยงโย่ยงหยก : ก. กิริยาที่จะยืนก็ไม่ใช่จะนั่งก็ไม่เชิง.
  35. ยชุรเวท : [ยะชุระ] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ ของพระเวท กล่าวถึงพิธีบูชาสำคัญหลายพิธี เช่น พิธีราชสูยะ พิธีอัศวเมธ รายละเอียดในการประกอบพิธีและเรื่องเล่า แต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทสวดเป็นฉันท์นำมาจากฤคเวท. (ส.). (ดู เวท, เวท ประกอบ).
  36. ยติภังค์ : น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คําไม่หมดตรงที่กําหนดไว้ตาม ข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธ ศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับ พยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคําเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ใน บรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.
  37. ยนต์, ยนตร์ : น. เครื่องกลไก, เครื่องจักรที่ให้กําเนิดพลังงานหรือทําให้วัตถุเคลื่อนที่. (ป. ยนฺต; ส. ยนฺตฺร).
  38. ยม ๒, ยม : [ยม, ยมมะ] น. เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ประจําโลกของคนตาย; ชื่อดาวเคราะห์ ดวงที่ ๙ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕,๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒,๕๘๐ ถึง ๓,๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทําให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวง โคจรของดาวเนปจูน, ดาวพลูโต ก็เรียก. (ป., ส.).
  39. ยมกปาฏิหาริย์ : น. ปาฏิหาริย์ที่แสดงเป็นคู่ ๆ เป็นปาฏิหาริย์ที่พระพุทธเจ้า ทรงกระทําที่ต้นมะม่วงซึ่งเรียกว่าคัณฑามพพฤกษ์ คือ ทรงบันดาลท่อนํ้า ท่อไฟออกจากส่วนของพระกายเป็นคู่ ๆ กัน. (ป.).
  40. ยมขันธ์ : น. ชื่อยามที่เป็นอัปมงคล.
  41. ยมบาล : น. เจ้าพนักงานเมืองนรก มีหน้าที่ลงโทษทรมานคนที่ตกนรก ตามคําสั่งของพญายม. (ป. ยมปาล ว่า ผู้รักษานรก).
  42. ยวง : น. เนื้อในของขนุนที่หุ้มเมล็ด เรียกว่า ยวงขนุน, ลักษณนามเรียกเนื้อใน ของขนุนว่า ขนุนยวงหนึ่ง ขนุน ๒ ยวง; เรียกลักษณะของเงินบริสุทธิ์ที่ ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ ว่า เงินยวง, โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะย้อยยืดลงมาเป็นแนวยาว ๆ เช่น ฝีถอนยวง ขี้มูกเป็น ยวง. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า ว่า สีเงินยวง.
  43. ยวนยี : ก. เคล้าคลึงชวนให้กําเริบรัก, คลึงเคล้าให้เป็นที่พอใจ; ก่อกวน ให้เกิดกิเลสโทสะ, ยียวน ก็ว่า.
  44. ยวบ : ก. อาการที่ไหวจะยุบลง เช่น นอกชานยวบ.
  45. ยวบยาบ : ว. อาการเดินหนัก ๆ ช้า ๆ ทําให้พื้นไหวเยือก ๆ, อาการ ที่พื้น ยุบขึ้นยุบลง เช่น เดินบนพื้นฟากยวบยาบ.
  46. ยศ : [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่ พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูง ต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).
  47. ยศช้างขุนนางพระ : (สำ) น. ยศที่ไม่สำคัญ ไม่จริงจัง และไม่สามารถให้ คุณให้โทษแก่ใครได้.
  48. ยอก : ก. ตำฝังอยู่ในเนื้อ เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง, รู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมี อะไรมาเสียดแทง เช่น รู้สึกยอกอก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น หนามยอกอก.
  49. ย็อกแย็ก, ย็อกแย็ก ๆ, ย็อก ๆ แย็ก ๆ : ว. อาการที่ทำอย่างไม่เอาจริงเอาจัง ไม่เข้าท่าเข้าทาง ไม่ถูกแบบถูกแผน หรือไม่ได้เรื่องได้ราว เป็นต้น เช่น ทำงานย็อกแย็ก เต้นย็อกแย็ก ๆ ทำ ย็อก ๆ แย็ก ๆ.
  50. ยอง ๑, ยอง ๆ : ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ โดยก้นไม่ถึงพื้น เช่น นั่งยองอยู่ในท้องแม่. (ไตรภูมิ), หย่อง ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | [7101-7150] | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9600 | 9601-9650 | 9651-9700 | 9701-9750 | 9751-9800 | 9801-9850 | 9851-9900 | 9901-9950 | 9951-10000 | 10001-10050 | 10051-10100 | 10101-10150 | 10151-10200 | 10201-10250 | 10251-10300 | 10301-10350 | 10351-10400 | 10401-10450 | 10451-10500 | 10501-10550 | 10551-10600 | 10601-10650 | 10651-10700 | 10701-10750 | 10751-10800 | 10801-10850 | 10851-10900 | 10901-10950 | 10951-11000 | 11001-11018

(0.3559 sec)