Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ที่ , then ทิ่, ที่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ที่, 11018 found, display 7201-7250
  1. ยางมะตูม : น. เรียกไข่ที่ต้มหรือทอดยังไม่สุกดี ไข่แดงมีลักษณะเป็น ยางเหนียว ๆ คล้ายยางมะตูม (ยางที่หล่อเม็ด).
  2. ยางลบ : น. ยางไม้หรือพลาสติกบางประเภทที่ทําเป็นแท่งหรือเป็นก้อน ใช้ลบรอยดินสอรอยหมึกเป็นต้น.
  3. ยางสน : น. ยางไม้ที่ได้จากต้นสนเขาในสกุล Pinus วงศ์ Pinaceae เป็น ของแข็งมีลักษณะโปร่งแสง สีคล้ายอำพัน, ชันสน ก็เรียก.
  4. ยางหนังสติ๊ก : น. แถบยางยาว ๆ มักทำจากยางในรถจักรยาน เวลานำมา ผูกกับง่ามหนังสติ๊กจะใช้ยางเพียง ๒ เส้น โดยผูกปลายด้านหนึ่งของ แต่ละเส้นกับปลายสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ แล้วเอาปลายอีกด้านหนึ่ง ของแต่ละเส้นผูกกับแผ่นหนังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงกลาง สำหรับรองรับลูกกระสุนที่ใช้ยิง.
  5. ยางหัวล้าน : น. ยางนอกที่สึกจนไม่มีดอก.
  6. ยาจืด : น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เป็นเส้นละเอียด มีรสจืด สีเหลือง นวล ใช้เช็ดปากเช็ดฟันในเวลากินหมากแล้วม้วนเป็นก้อนเล็ก ๆ จุกไว้ ที่มุมปาก, ยาฝอย ก็เรียก.
  7. ยาใจ : ว. เป็นที่บํารุงหัวใจ, เป็นที่ชื่นใจ.
  8. ยาชกะ : [ชะกะ] น. ผู้ที่ทําพิธีบูชาหรือพิธีบวงสรวงแทนผู้อื่น. (ป., ส.).
  9. ยาชา : น. ยาที่ทาหรือฉีดให้ประสาทชา มักใช้ในการผ่าตัดหรือถอนฟัน เป็นต้น.
  10. ยาซัด : น. เรียกสิ่งที่ใส่ลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น กำมะถัน ว่า ยาซัด, เรียกอาการเช่นนั้นว่า ซัดยา.
  11. ยาซับ : น. สิ่งที่รองในกระเปาะหัวแหวนหรือเครื่องประดับเพื่อหนุน เพชรพลอยให้มีสีสันงามขึ้น.
  12. ยาดอง : น. ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกาย หรือแก้โรค.
  13. ยาดา : น. หญิงที่เป็นสะใภ้ด้วยกัน เช่น หนึ่งคือนางศิริมหามายา ยาดานารถบพิตร ก็ดี. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส. ยาตา).
  14. ยาดำ : น. ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากนํ้ายางซึ่งได้จากการกรีดโคนใบตาม ขวางของพืชหลายชนิดในสกุล Aloe วงศ์ Liliaceae นําไปเคี่ยวให้งวด แล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นก้อน มีสีนํ้าตาลเข้ม กลิ่นไม่ชวนดม รสขม ใช้เป็นยาได้ ส่วนมากได้จากชนิด A. barbadensis Miller; โดยปริยาย หมายความว่า แทรกปนอยู่ทั่วไป.
  15. ยาตั้ง : น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง ที่ทําเป็นตั้ง.
  16. ยาถ่าย : น. ยาที่กินเพื่อให้ถ่ายอุจจาระ.
  17. ย่าน ๑ : น. แถว, ถิ่น, เช่น เขาเป็นคนย่านนี้, บริเวณ เช่น ย่านบางลำพู ย่านสำเพ็ง, ระยะทางตามกว้างหรือยาวจากตําบลหนึ่งไปยังอีกตําบลหนึ่ง; ของที่ตรง และยาว.
  18. ยาน ๒ : ว. อาการที่หย่อนลงหรือห้อยลงกว่าระดับที่ควรมีควรเป็นตามปรกติ.
  19. ย่าน ๒ : น. เครือเถา เช่น ย่านวันยอ ย่านลิเภา, เรียกรากไทรที่ห้อยย้อยลงมาว่า ย่านไทร.
  20. ยานเกราะ : น. พาหนะล้อหรือสายพานที่สร้างขึ้นด้วยวัสดุที่สามารถ ป้องกันตนเองจากอาวุธยิงเล็งตรงหรืออาวุธยิงเล็งจำลอง และป้องกัน อันตรายจากวัตถุระเบิดหรือป้องกันอันตรายจากนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี ในระดับหนึ่ง.
  21. ยานคาง : ว. อาการที่พูดลากเสียง.
  22. ย่านซื่อ : น. ระยะที่นํ้าไหลพุ่งตรง.
  23. ยานมาศ, ยานุมาศ : [ยานนะมาด, ยานุมาด] น. พระราชยานคานหามสําหรับพระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นพระแท่นราชบัลลังก์ทรงสูง หรือ พระแท่นราชบัลลังก์ทรง ราบ มีทั้งที่มีพนักกงและไม่มีพนักกง ปิดทองทั้งองค์ ประกอบเข้ากับคาน หาม ใช้หามหรือหิ้วถวายเป็นพระที่นั่งราชยานในโอกาสเสด็จพระราช ดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางบก.
  24. ย่านยาว : น. แถบแม่นํ้าที่ยาวตรงไปไกล.
  25. ยานอวกาศ : น. ยานที่ส่งขึ้นไปเดินทางในอวกาศ.
  26. ยานัตถุ์ : น. ผงละเอียดที่ปรุงขึ้นจากใบยาสูบหรือวัตถุใด ๆ สําหรับนัด โดยเป่าหรือสูดเข้าจมูก, เรียกกิริยาเช่นนั้นว่า นัดยานัตถุ์.
  27. ย่านาง ๑ : น. ผีผู้หญิงที่ประจํารักษาเรือ เรียกว่า แม่ย่านางเรือ.
  28. ยาบ ๑ : น. เส้นปอ, เปลือกของต้นไม้บางชนิดที่มีปอหรือเส้นใย ใช้ปูรองขากูบ กันไม่ให้กัดหนังช้างเป็นต้น.
  29. ยาบ ๒, ยาบ ๆ : ว. อาการที่โบกหรือกระพือขึ้นลงช้า ๆ, อาการที่สูงขึ้นและยุบลงช้า ๆ, ใช้ว่า เยิบยาบ ก็มี.
  30. ยาเบื่อ : น. ยาพิษเป็นต้นที่กินแล้วทำให้เมาหรือตาย.
  31. ยาปนมัต : น. อาหารที่พอจะให้ร่างกายดํารงอยู่ได้. ว. สักว่ายังชีวิต ให้เป็นไป, พอเลี้ยงชีพ, พอเยียวยาชีวิต, ภาษาตลาดมักพูดว่า ยาปรมัดไส้. (ป. ยาปนมตฺต).
  32. ยาประสะ : น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็น ตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อ ตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่อง ยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึง ครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.
  33. ยาแผนโบราณ : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรค ศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ.
  34. ยาแผนปัจจุบัน : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์.
  35. ยาแฝด : น. ยาหรือสิ่งที่ผู้หญิงให้ผัวกินเพื่อให้หลงรักตัวคนเดียว.
  36. ยาพิษ : น. สิ่งที่มีพิษมาก กินหรือฉีดเข้าร่างกายเป็นต้นแล้วอาจทำให้ ถึงตายได้.
  37. ยามกาลิก : [ยามะ] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่ง กับคืนหนึ่ง ได้แก่ นํ้าอัฐบาน. (ป.). (ดู กาลิก).
  38. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  39. ยามโยค : น. เวลาที่ประกอบด้วยฤกษ์.
  40. ยามสามตา : น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับตามหลัก๓หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ และอังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวัน จับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและ จันทร์ แล้วทำนายตามตำรายามสามตาหรือตรีเนตร.
  41. ยามะ : น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓, เทวดาในชั้นนี้เรียกว่า ยามเทวบุตร. (ป.).
  42. ยามา : น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุ มหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง.
  43. ยาย : น. แม่ของแม่, เมียของตา, หญิงที่เป็นญาติชั้นเดียวกับแม่ของแม่หรือ ที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับยาย, (ปาก) คําเรียกหญิงสูงอายุอย่างไม่ค่อย เคารพนับถือ เช่น ยายป้า ยายแก่ ยายคุณหญิง หรือเรียกหญิงรุ่นราว คราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ยายปุก ยายกุ้ง หรือเรียกเด็กหญิงที่ ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายหนู.
  44. ย้าย : ก. เปลี่ยนที่ เช่น ย้ายเก้าอี้ไปไว้มุมห้อง. ว. อาการที่ร่างกายบางส่วนเช่น พุง เอว เคลื่อนไหวไปมาข้างโน้นทีข้างนี้ทีตามจังหวะขณะเดินเป็นต้น (มักใช้แก่คนอ้วน) เช่น เดินย้ายพุง เดินย้ายเอว.
  45. ยาลูกกลอน : น. ยาที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน.
  46. ยาว : ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยาย ออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะ ส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่ง ไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อน กลางวันยาวกว่ากลางคืน.
  47. ยาวกาลิก : [ยาวะ] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร. (ดู กาลิก). (ป.).
  48. ยาวชีวิก : [ยาวะ] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้เสมอไป ไม่มีจํากัดกาล, ตาม วินัยบัญญัติได้แก่ของที่ใช้ประกอบเป็นยาสงเคราะห์เข้าในคิลานปัจจัย. (ดู กาลิก). (ป.).
  49. ยาวเฟื้อย : ว. ยาวมาก (มักใช้แก่สิ่งที่เป็นเส้นอย่างผมหรือหางไก่เป็นต้น) เช่น ผมยาวเฟื้อย ไก่ฟ้าหางยาวเฟื้อย.
  50. ยาวยืด : ว. อาการที่ของเหลวและเหนียวไหลย้อยยาวลงมา, ยาวมากไม่รู้ จักจบ (มักใช้แก่ข้อความหรือเรื่องราวที่ยาวเกินไป) เช่น เรื่องนี้ยาวยืด เล่าไม่รู้จักจบ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | [7201-7250] | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9600 | 9601-9650 | 9651-9700 | 9701-9750 | 9751-9800 | 9801-9850 | 9851-9900 | 9901-9950 | 9951-10000 | 10001-10050 | 10051-10100 | 10101-10150 | 10151-10200 | 10201-10250 | 10251-10300 | 10301-10350 | 10351-10400 | 10401-10450 | 10451-10500 | 10501-10550 | 10551-10600 | 10601-10650 | 10651-10700 | 10701-10750 | 10751-10800 | 10801-10850 | 10851-10900 | 10901-10950 | 10951-11000 | 11001-11018

(0.2975 sec)