Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เตียนโล่ง, เตียน, โล่ง , then ตยนลง, เตียน, เตียนโล่ง, ลง, โล่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เตียนโล่ง, 1298 found, display 901-950
  1. ไม้คอสอง : น. ไม้กำกับปลายเสาเรือนอยู่ถัดจากอเสลงมา.
  2. ไมโครฟิล์ม : [-โคฺรฟิม] น. ฟิล์มถ่ายรูปขนาดเล็กมากใช้สําหรับถ่ายบันทึกภาพของสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดย่อส่วนลงมาก ๆ เพื่อสะดวกแก่การเก็บรักษาไว้ และสามารถนํามาฉาย เป็นภาพนิ่งขนาดขยายบนจอได้. (อ. microfilm).
  3. ไม้จำปา : น. ลำไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วใส่กะลาลงไปเพื่อให้ ปลายบาน, ใช้สอยผลไม้, ถ้าเอามะพร้าวลูกเล็ก ๆ ใส่ลงไปแล้วมีชิ้นไม้ขัดทแยง สกัดลูกมะพร้าวไว้ใช้สำหรับขุดดินจากหลุมที่ขุดไว้ลึกประมาณ ๑ แขน.
  4. ไม้ดำไม้แดง : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และสีขาว เจ้ามือกำไม้ ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลงในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ อีดำอีแดง ก็เรียก.
  5. ไม้เบื่อไม้เมา : ว. ไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกันเป็นประจำ.
  6. ไม้ล้มเงาหาย : (สํา) น. คนที่เคยมีวาสนาเมื่อตกตํ่าลงผู้ที่มาพึ่งบารมีก็หายหน้าไป.
  7. ไม้ลื่น : น. กระดานที่ตั้งสูงทอดต่ำลงไปด้านหนึ่ง ให้เด็กเล่นโดยนั่งไถลตัวลง, กระดานลื่น ก็เรียก.
  8. ไม้หกเหียน : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา.
  9. ไม้หึ่ง : น. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้อง วิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน.
  10. ยวง : น. เนื้อในของขนุนที่หุ้มเมล็ด เรียกว่า ยวงขนุน, ลักษณนามเรียกเนื้อใน ของขนุนว่า ขนุนยวงหนึ่ง ขนุน ๒ ยวง; เรียกลักษณะของเงินบริสุทธิ์ที่ ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ ว่า เงินยวง, โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะย้อยยืดลงมาเป็นแนวยาว ๆ เช่น ฝีถอนยวง ขี้มูกเป็น ยวง. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า ว่า สีเงินยวง.
  11. ยวบ : ก. อาการที่ไหวจะยุบลง เช่น นอกชานยวบ.
  12. ยวบ ๆ : ว. อาการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามแนวนอน เช่น สะพานยวบ ๆ.
  13. ยวบยาบ : ว. อาการเดินหนัก ๆ ช้า ๆ ทําให้พื้นไหวเยือก ๆ, อาการ ที่พื้น ยุบขึ้นยุบลง เช่น เดินบนพื้นฟากยวบยาบ.
  14. ย่อ : ก. ยอบลง เช่น ย่อตัว ย่อเข่า, ลดให้สั้นหรือเล็กลง เช่น ย่อความ ย่อส่วน; ทำให้ยุบเข้าไป, ทำให้จมลึกเข้าไป, เช่น ย่อเก็จ ย่อมุม.
  15. ย่อง ๑ : ก. เดินอย่างใช้ปลายเท้าจดลงเบา ๆ.
  16. ยอบ : ก. ทรุดลง, ย่อลง, หมอบ, ฟุบ, เช่น ยอบกาย ยอบตัวลง. ว. พร่อง.
  17. ย้อม : ก. ชุบด้วยสี, อาบด้วยสี, ทำให้ด้าย ไหม หรือผ้าเป็นต้นเป็นสีต่าง ๆ ด้วย การชุบลงไปในน้ำสี.
  18. ย่อม ๒ : ว. มีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ใหญ่กว่า เช่น นี่ขนาดใหญ่ นั่นขนาดย่อม, เบา (ใช้แก่ราคา); ลดลง, หย่อน.
  19. ย้อย : ก. ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อย ลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมาก ย้อย น้ำตาย้อย; คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำหินปูน มีลักษณะ เป็นท่อน เป็นกรวย หรือเป็นแผ่นม่าน เรียกว่า หินย้อย.
  20. ย่อส่วน : ก. จำลองแบบให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่าต้นแบบตามส่วน เช่น จงย่อส่วนแผนที่นี้. น. แบบที่จำลองให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่า ต้นแบบตามส่วนอย่างหุ่นจำลอง เช่น นี่เป็นย่อส่วนของแผนที่ฉบับนั้น.
  21. ย่อหย่อน : ว. ไม่เคร่งครัด เช่น ระเบียบวินัยย่อหย่อน, ลดน้อยถอยลง เช่น กำลังย่อหย่อน.
  22. ยัก ๑ : ก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทําให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของ บางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้าง ไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุก ยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไป ลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่ง เรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตน ไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.
  23. ยักเงี่ยง : ก. หมอบลงและขยับศอกไปมา เป็นท่าหนึ่งของการเล่นเสือ ข้ามห้วย.
  24. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  25. ยัดพลุ : ก. ใส่ดินพลุลงในกระบอกพลุแล้วตอกให้แน่น.
  26. ยันต์ : น. ตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระหรือรูปภาพที่เขียน สัก หรือ แกะสลักลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น ถือว่าเป็นของขลัง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์, เรียกเสื้อหรือผ้าเป็นต้น ที่มีลวดลายเช่นนั้นว่า เสื้อยันต์ ผ้ายันต์, เรียกกิริยาที่ทำเช่นนั้นว่า ลงเลข ลงยันต์.
  27. ยับยั้งชั่งใจ : ก. คิดทบทวนดูผลดีผลเสียให้รอบคอบก่อนที่จะทำอะไรลงไป.
  28. ยับยาบ : ก. โบกหรือกระพือขึ้นลงไปมาช้า ๆ, ยาบ ๆ ก็ใช้.
  29. ยาซัด : น. เรียกสิ่งที่ใส่ลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น กำมะถัน ว่า ยาซัด, เรียกอาการเช่นนั้นว่า ซัดยา.
  30. ยาน ๒ : ว. อาการที่หย่อนลงหรือห้อยลงกว่าระดับที่ควรมีควรเป็นตามปรกติ.
  31. ย่าน ๒ : น. เครือเถา เช่น ย่านวันยอ ย่านลิเภา, เรียกรากไทรที่ห้อยย้อยลงมาว่า ย่านไทร.
  32. ยาบ ๒, ยาบ ๆ : ว. อาการที่โบกหรือกระพือขึ้นลงช้า ๆ, อาการที่สูงขึ้นและยุบลงช้า ๆ, ใช้ว่า เยิบยาบ ก็มี.
  33. ยาวยืด : ว. อาการที่ของเหลวและเหนียวไหลย้อยยาวลงมา, ยาวมากไม่รู้ จักจบ (มักใช้แก่ข้อความหรือเรื่องราวที่ยาวเกินไป) เช่น เรื่องนี้ยาวยืด เล่าไม่รู้จักจบ.
  34. ยาเสพติดให้โทษ : (กฎ) น. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้า สู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทําให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสําคัญ เช่นต้องเพิ่ม ขนาดการเสพขึ้นเป็นลําดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการ เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดย ทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือ ให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่ หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอยู่.
  35. ยาอุทัย : น. ยาสำหรับหยดลงน้ำ มีสีชมพูทำให้น้ำมีกลิ่นหอมชื่นใจ.
  36. ย้ำหัวเห็ด : ก. สอดนอตที่ปลายข้างหนึ่งบานลงในรูแผ่นโลหะ ๒ แผ่นที่ ซ้อนให้รูตรงกัน ทำให้นอตร้อนจัดแล้วตอกย้ำให้ปลายบานอย่างดอกเห็ด ซึ่งเมื่อปล่อยให้เย็น นอตจะหดตัวรัดโลหะ ๒ แผ่นนี้ให้แนบกันสนิท.
  37. ยุบ : ก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัว ให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบ ตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไล ทำแหวน.
  38. ยุบยอบ : ก. น้อยลง, จนลง, ขัดสนลง, เช่น ใช้เท่าไร ๆ เงินก็ไม่ยุบยอบ.
  39. เย้ : ว. เอียงจนเสียรูปโดยมีอาการทําท่าจะทลายลง เช่น ห้องแถวเย้จวน จะพัง, เฉ, ไม่ตรง, เบนหรือเอียงไป, เช่น เขียนหนังสือแถวเย้.
  40. เย็บ : ก. ทําให้ติดกันโดยใช้เข็มร้อยด้ายหรือเชือกเป็นต้นแทงขึ้นแทงลง เช่น เย็บผ้า เย็บกระสอบ, ใช้ตอกหรือหวายเป็นต้นที่มีปลายแหลมแทงขึ้นลง เพื่อร้อยสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ติดกัน เช่น เย็บจาก, ใช้เครื่องอุปกรณ์กดทำให้ กระดาษติดกันด้วยลวดเย็บ เช่น เย็บกระดาษ, กลัดให้ติดกันด้วยไม้กลัด เป็นต้น เช่น เย็บกระทง.
  41. เย็บล้มตะเข็บ : ก. เรียกวิธีเย็บผ้าแบบหนึ่ง โดยเย็บ ๒ ครั้ง เมื่อเย็บครั้ง หนึ่งแล้วจับตะเข็บให้ราบลง แล้วเย็บลงไปบนตะเข็บนั้นอีกครั้งหนึ่ง.
  42. เยิบ, เยิบ ๆ : ว. อาการของสิ่งที่แบนและยาวเมื่อรับน้ำหนักมาก ๆ จะไหวตัวขึ้นลง เป็นจังหวะเนิบ ๆ เช่น กระดานนอกชานอ่อนเยิบ หาบของมาเยิบ ๆ.
  43. เยี่ยมวิมาน : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  44. แย่ : ก. แบะขาและย่อลง, ย่อลง. ว. เต็มที, หนัก, เช่น ปลายเดือนการเงินแย่ อาการไข้แย่เพียบลงทุกวัน.
  45. แย้ ๒ : ก. ถ่วงหนักลง เช่น ก้นแย้ ท้องแย้.
  46. แยกแย้ง : ก. แยกไปคนละทาง, ไม่ลงรอยกัน.
  47. แย้ง : ก. ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน เช่น ความเห็นแย้งกัน ข้อความแย้งกัน; ต้านไว้, ทานไว้.
  48. แยงแย่ : ว. อาการที่นั่งยอง ๆ แต่ถ่างขากว้าง เช่น นรสิงห์นั่งแยงแย่, อาการที่ยืน แบะขาและย่อเข่าลง เช่น ยักษ์วัดพระแก้วยืนแยงแย่.
  49. แย่แต้ : ว. หนักจนต้องย่อลง.
  50. โยคาพจร, โยคาวจร : [โยคาพะจอน, วะจอน] น. ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้มีความเพียร, (มักใช้เรียกพระภิกษุผู้เรียนสมถะและวิปัสสนา). (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | [901-950] | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1298

(0.1163 sec)