Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงแข็ง, เสียง, แข็ง , then ขง, แข็ง, สยง, เสียง, เสียงแข็ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงแข็ง, 1458 found, display 151-200
  1. กระ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคล้ำ เกือบดํา เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีน้ำตาลเข้ม ภายในมี เนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้ว กินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ, ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
  2. กระกรี๊ด : (กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  3. กระเกรอก : [-เกฺริก] (กลอน) ว. กระเกริก, เสียงดังอึกทึก, เช่น กระเกรอกทงงท้องธรณี. (สมุทรโฆษ).
  4. กระเกริก : (กลอน) ว. เสียงดังอึกทึก เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา. (อุเทน).
  5. กระเกรียว : (โบ; กลอน) ว. เสียงดังเกรียว ๆ เช่น ก็ร้องกระเกรียวเฉียวฉาว. (สุธน).
  6. กระเกรี้ยว : (โบ; กลอน) ว. เสียงขบฟันเกรี้ยว ๆ เช่น คุกคามขบฟันกระเกรี้ยว. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
  7. กระง่องกระแง่ง : ว. อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรง ทําให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระย่องกระแย่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า.
  8. กระจอกเทศ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Struthio camelus ในวงศ์ Struthionidae ขาใหญ่แข็งแรง ตีนมี ๒ นิ้ว วิ่งเร็ว แต่บินไม่ได้ มีถิ่นกําเนิด ในทวีปแอฟริกา.
  9. กระจองงอง, กระจองงอง ๆ : ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย.
  10. กระจองอแง : ว. เสียงเด็กที่ร้องไห้ ก่อให้เกิดความรําคาญ, ใช้เรียกลูกเด็กเล็ก แดงหรือที่ยังต้องอุ้มต้องจูงอยู่ว่า ลูกกระจองอแง.
  11. กระจับ ๑ : น. ชื่อไม้น้ำชนิด Trapa bicornis Osbeck ในวงศ์ Trapaceae ขึ้นลอยอยู่ในน้ำโดยอาศัยก้านใบเป็นทุ่น ฝักแก่สีดําแข็ง มี ๒ เขา คล้ายเขาควาย เนื้อในขาว รสหวานมัน; ชื่อขวากมีรูปคล้ายกระจับ; เรียกพานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรี ทําเป็นรูปกลีบบัวคลี่ออกคล้ายฝัก กระจับ ว่า พานปากกระจับ; วัตถุที่มีรูปอย่างฝักกระจับสําหรับยันคาง ศพที่บรรจุโกศ; นวมหรือวัตถุรูปร่างคล้ายฝักกระจับใช้ใส่ป้องกัน อวัยวะที่หว่างขาเวลาชกมวยไทย.
  12. กระจิบ ๑ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Sylviidae ร้องเสียงจิบ ๆ มีหลายชนิด เช่น กระจิบธรรมดา (Orthotomus sutorius) กระจิบคอดํา กระจิบหัวแดง (O. atrogularis) (O. sepium) กินแมลง.
  13. กระจุ๋งกระจิ๋ง : ก. พูดกันเบา ๆ ทําเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า. ก. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า.
  14. กระชอน ๒ : น. ชื่อแมลงชนิด Gryllotalpa orientalis ในวงศ์ Gryllotalpidae ลําตัวยาว ขนาดย่อมกว่านิ้วก้อยเล็กน้อย สีน้ำตาล ปีกสั้น บินได้ ในระยะใกล้ ขาคู่หน้าสั้นแบน รูปร่างคล้ายอุ้งมือ ปลายมีหนามแข็ง ใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ในดิน กินรากพืชและแมลงเล็ก ๆ.
  15. กระชั้น : ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้น เข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยม ใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น.
  16. กระชาก : ก. ฉุดโดยแรง, กระตุกโดยแรง, ชักเข้ามาโดยเร็วและแรง, โดยปริยายหมายความว่า พูดกระตุกเสียงดังห้วน ๆ เช่น พูดกระชากเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชาก.
  17. กระเชา : น. ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ชนิด Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch. ในวงศ์ Ulmaceae ขึ้นอยู่ทั่วไป ผลแบน บางเป็นปีกโดยรอบ เนื้อไม้สดสีเหลืองมะนาว เมื่อแห้งเป็นสีนวล แข็งพอประมาณ ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมากนัก ทําเครื่องเรือน แกนร่ม ก้านและกล่องไม้ขีดไฟ, บางทีเรียก กระเจา, พายัพและปักษ์ใต้เรียก กระเจ้า ขจาว หรือ ขเจา.
  18. กระโชก : ว. กระแทกเสียง เช่น พูดกระโชก เห่ากระโชก; ทําให้กลัว, ทําให้ตกใจ, เช่น ขู่กระโชก, กระแทก เช่น ม้าก็กระโชก วิ่งหนักเข้า. (ประวัติ. จุล), ลมกระโชกแรง. (ประพาสมลายู).
  19. กระโชกกระชั้น : ว. อาการพูดกระแทกเสียงถี่ ๆ.
  20. กระโชกกระชาก : ว. อาการพูดอย่างตวาดหรืออย่างกระแทกเสียง.
  21. กระโชกโฮกฮาก : ว. อาการพูดกระชากเสียงหรือพูดกระแทกเสียงซึ่ง ไม่น่าฟัง, โฮกฮาก ก็ว่า.
  22. กระซิบ : ก. พูดเสียงเบา ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้ยิน, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระซุบ เป็น กระซุบกระซิบ.
  23. กระซิบกระซาบ : ก. บอกความหรือคุยกันด้วยเสียงเบา ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้ยิน.
  24. กระดอง : น. ส่วนแข็งที่หุ้มตัวสัตว์บางชนิดเช่น เต่า ปู หรือแมงดาทะเล. (ทางเหนือว่า ออง).
  25. กระดังงาจีน : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Artabotrys hexapetalus (L.f.) Bhandari ในวงศ์ Annonaceae ดอกหอมจัด กลีบหนา มี ๖ กลีบ ก้านดอกเป็นขอ, สะบันงาจีน ก็เรียก.
  26. กระด้าง ๑ : น. (๑) ชื่อถั่วชนิด Vigna sinensis (L.) Savi ex Hassk. var. cylindrica (L.) Koern. ในวงศ์ Leguminosae เมล็ดคล้ายถั่วดํา แต่สีค่อนข้างแดง ใช้เป็นอาหารได้อย่างถั่วดํา, บางทีเรียก ถั่วนา. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Lasianthus hookeri C.B. Clarke ในวงศ์ Rubiaceae ต้นตรงเรียวและเป็นขนสาก ๆ ใบรูปหอก ปลายแหลม ดอกขาวเล็ก ๆ เป็นกระจุกติดกับลําต้นที่ง่ามใบ ตําราแพทย์แผนโบราณว่ารากใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กะด้าง. (๓) ชื่อเห็ดหลายชนิดในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ เนื้อเหนียว กินไม่ได้ เช่น ชนิด Daedaleaopsis confragosa (Bolt. ex Fr.) Schroet. ดอกเห็ดรูปพัด สีน้ำตาลแดงสลับ น้ำตาลอ่อน ผิวไม่เรียบ ด้านล่างมีรู เนื้อในเห็ดแข็ง.
  27. กระด้าง ๒ : น. ชื่องูน้ำชนิด Erpeton tentaculatum ในวงศ์ Colubridae ลําตัวสีน้ำตาลและดํา มีหนวดสั้นหุ้มด้วยเกล็ดเล็ก ๆ ๒ เส้น อาศัยตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป มีพิษอ่อนมาก ไม่ปรากฏว่าเป็น อันตรายต่อมนุษย์ ชอบทําตัวแข็งทื่อ จึงเรียกว่า งูกระด้าง.
  28. กระด้าง ๓ : ว. ค่อนข้างแข็ง หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะไม่อ่อน, ไม่นิ่มนวล, เช่น ลิ้นกระด้าง ข้าวกระด้าง; ขัดแข็ง หมายถึง กิริยาวาจา ไม่อ่อนตาม เช่น มีกิริยากระด้างขึ้น; เรียกน้ำที่ฟอกสบู่ ไม่เป็นฟองว่า น้ำกระด้าง.
  29. กระดาน ๒ : น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Thenus orientalis ในวงศ์ Scyllaridae หัวและลําตัวหุ้มด้วยเปลือกแข็งสีน้ำตาล ส่วนหัวและหนวดคู่ที่ ๒ แบน แพนหางแผ่ราบได้กว้าง ปรกติงอพับอยู่ใต้ส่วนท้อง อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล พบทั่วไปขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร มักเรียกกันทั่วไปว่า กั้งกระดาน.
  30. กระดิ่ง : น. เครื่องทําเสียงสัญญาณทําด้วยโลหะ มีรูปคล้ายระฆัง แต่ขนาดเล็กกว่า มีตุ้มเล็ก ๆ อยู่ข้างใน สําหรับทําให้เกิดเสียง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระดิ่งจักรยาน.
  31. กระดึง : น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, โปง ก็ว่า.
  32. กระดูก ๑ : น. โครงร่างกายมีลักษณะแข็ง, ส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงร่างกาย; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อน้อยเช่น มะปรางว่า มะปรางกระดูก.
  33. กระดูกไก่ดำ : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ชนิด J. gendarussa Burm.f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลําต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดํา ใช้ทํายาได้, กระดูกดําเฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก; และชนิด J. grossa C.B. Clarke ดอกสีขาว อมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว.
  34. กระเดาะปาก : ก. ทําให้เกิดเสียงดังด้วยการใช้ลิ้นดันเพดาน เป็นต้นแล้วสลัดลง.
  35. กระเดือก ๑ : น. ส่วนของกล่องเสียง มีลักษณะโปนออกมากลางลำคอเหนือท่อลม เห็นได้ชัดในผู้ชาย เรียกว่า ลูกกระเดือก.
  36. กระโดงแดง : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ลําต้นแดงคล้ำ ใบยาวปลายแหลม เลื่อมเป็นมัน, ประดงแดง กระบกคาย ชมัน ละโมก หรือ พรมคด ก็เรียก. ๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด (Chionanthus microstigma (Gagnep.) Kiew ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้ มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก; และชนิด C. sangda (Gagnep.) Kiew ลักษณะทั่วไปคล้ายชนิดแรก แต่ต้นมีขนาดย่อมกว่า ค่อนไปทางไม้พุ่ม.
  37. กระไดลิง ๒ : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่น้ำลําคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทํายาได้, กระไดวอก มะลืมดํา บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก.
  38. กระตรุม : (กลอน) น. นกตะกรุม เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์).
  39. กระเต็น : น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในวงศ์ Alcedinidae หัวโต คอสั้น ปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสด สะดุดตา หากินโดยวิธีพุ่งตัวลงจับปลาในน้ำ มีหลายชนิด เช่น กระเต็นปักหลักหรือ ปักหลัก (Ceryle rudis) กระเต็นน้อยธรรมดา (Alcedo atthis)กระเต็นอกขาว (Halcyon smyrnensis).
  40. กระเตาะกระแตะ : ว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินกระเตาะกระแตะ, เตาะแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; ป้อแป้, ไม่แข็งแรง, มักใช้แก่คนสูงอายุ เช่น คุณทวดเดินกระเตาะกระแตะ.
  41. กระแตไต่ไม้ ๒ : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Smith ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีน้ำตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึก เกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีน้ำตาล เข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีน้ำตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทําหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก.
  42. กระโตกกระตาก : ก. ส่งเสียงให้เขารู้อย่างไก่กำลังออกไข่, โดยปริยายหมายความว่า เปิดเผยข้อความที่ต้องการปิดบัง.
  43. กระทงลาย : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Celastrus paniculatus Willd. ในวงศ์ Celastraceae ใบรูปไข่ปลายแหลม ขอบจักถี่ ดอกเล็กขาว ๆ เหลือง ๆ ออกเป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อแก่แตก เป็น ๓ กลีบ น้ามันจากเมล็ดใช้ทํายา ตามไฟ หรือเคลือบกระดาษ กันน้ำซึม, กระทุงลาย หรือ มะแตก ก็เรียก.
  44. กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
  45. กระทิง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Calophyllum inophyllum L. ในวงศ์ Guttiferae ใบและผลคล้ายสารภี แต่ใบขึ้นสันมากและผลกลมกว่า เปลือกเมล็ดแข็ง ใช้ทําลูกฉลากหรือกระบวยของเล่น, สารภีทะเล กากะทิง หรือ กระทึง ก็เรียก.
  46. กระเทือน : ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิด ทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.
  47. กระเทื้อม : ก. กระเทือน เช่น เสียงดังโครมใหญ่ไม่กระเทื้อม. (อภัย).
  48. กระแทก : ก. กระทบโดยแรง, กระทุ้ง; พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติ แสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระแทก.
  49. กระแทกกระทั้น : ว. กระแทกเสียงหรือกระแทกสิ่งของให้รู้ว่าไม่พอใจหรือโกรธ.
  50. กระไน : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, ตระไน ก็ว่า เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1458

(0.1375 sec)