Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หลังเต่า, เต่า, หลัง , then ตา, เต่า, หลง, หลงตา, หลํ, หลัง, หลังเต่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หลังเต่า, 1524 found, display 1451-1500
  1. หมากแยก : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ใช้ตัวหมากเดินบนกระดานสี่เหลี่ยม จัตุรัสแบ่งเป็น ๖๔ ตาเท่า ๆ กันอย่างกระดานหมากรุก.
  2. หมากรุก : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ใช้ตัวหมากซึ่งมีรูปและชื่อต่างกันได้แก่ ขุน เรือ ม้า โคน เม็ด และเบี้ย เดินบนกระดานสี่เหลี่ยมจัตุรัส แบ่งเป็น ๖๔ ตาเท่า ๆ กันเรียกว่า กระดานหมากรุก.
  3. หมากฮอส : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ใช้ตัวหมากเดินบนกระดานสี่เหลี่ยม จัตุรัสแบ่งเป็น ๖๔ ตาเท่า ๆ กันเหมือนกระดานหมากรุก แต่ระบายสี ๒ สีสลับกันทุกตา เดินหมากตามตาทแยง.
  4. หมาจิ้งจอก : น. ชื่อหมาชนิด Canis aureus ในวงศ์ Canidae ขนตามลําตัว สีเทาอมนํ้าตาล มีขนลักษณะคล้ายอานม้าบริเวณไหล่ ปากแหลม หูตั้ง แหลมตรง หางเป็นพวง เขี้ยวและฟันคมมาก กลางวันมักนอนอยู่ใน โพรงดิน ออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์.
  5. หมู ๓ : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลําตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด มีเขี้ยวพับเก็บได้ ในร่องบริเวณด้านหน้าของตา เช่น หมูขาว (B. modesta) หมูลาย (B. hymenophysa). (๒) ดู ซ่อนทราย(๑).
  6. หมูสี ๒ : น. เรียกตาไม้เสาเรือนที่สูงจากพื้นดินประมาณศอกหนึ่ง ถือว่าเป็นเสามี ลักษณะไม่ดี; เรียกจอมปลวกขนาดย่อมที่ขึ้นใต้ถุนบ้านว่า ปลวกหมูสี.
  7. หยี ๑ : ก. หรี่ (ใช้แก่ตา) ในคำว่า หยีตา. ว. หรี่, ที่แคบเรียวเล็ก, ในคำว่า ตาหยี.
  8. หรัสว- : [หะรัดสะวะ-] ว. สั้น; เล็ก, น้อย; ตํ่า, เตี้ย. (ส.; ป. รสฺส).
  9. หรี่ : [หฺรี่] ก. ลดให้น้อยลงหรือเบาลง เช่น หรี่ไฟ หรี่วิทยุ. ว. แคบ ในคำว่า ตาหรี่.
  10. หลงลม, หลงลมปาก : (ปาก) ก. หลงเชื่อถ้อยคำ เช่น อย่าหลงลมปากคน ชวนไปหาลาภทางไกล.
  11. หลอ : ว. ใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือหลอ หมายความว่า หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือหลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ หมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจนไม่มีอะไรเหลือหลอ; เรียกฟัน ที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟัน เป็นต้น ว่า ฟันหลอ.
  12. หล็อน, หล็อน ๆ : ว. น้อยไป, เล็กไป, เช่น ของนี้หล็อนมือ, ไม่สมส่วน เช่น แจกันใบใหญ่ มีดอกไม้ปักอยู่ ๒-๓ ดอก ดูแล้วหล็อนตา; รู้สึกว่าไม่เป็นไปตามที่ควร จะมีจะเป็น เช่น เคยสวมนาฬิกาข้อมือทุกวัน แต่วันนี้ลืมสวม เลยรู้สึก หล็อน ๆ มือ.
  13. หลับตา : ก. ปิดกลีบตา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อย่างง่าย ๆ เพราะมีความเคยชินหรือมีความชำนาญมาก เช่น เรื่องอย่างนี้ หลับตาทำก็ได้; อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ ไม่เรียบร้อย เช่น ทำรายงานอย่างกับหลับตาทำ, เดา เช่น หลับตาพูด.
  14. หลับใน : ก. หลับในใจ. ว. อาการที่คล้าย ๆ กับหลับ แต่ตายังลืมอยู่.
  15. หลุบ : [หฺลุบ] ก. ลู่ลงมา, ปกลงมา, เช่น ผมหลุบหน้า หนังตาหลุบ.
  16. หวี่ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Drosophilidae ตัวยาว ๓-๔ มิลลิเมตร มักมีสีนํ้าตาลอมแดง ตาสีแดง มีปีกใสคู่เดียว มักตอมผลไม้ หรือผักเน่าเปื่อย ที่พบมากที่สุดเป็นชนิด Drosophila melanogaster นิยมใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาทางพันธุศาสตร์ของสัตว์. ว. มีเสียงอย่างเสียงแมลงหวี่กระพือปีก.
  17. หัก : ก. พับงอ, พับงอหรือทําให้พับให้งอเพื่อให้ขาดหรือหลุดออกจากกัน; เอาออกจากจํานวนที่มีอยู่ เช่น หักจํานวนเงิน; ถูกตีอย่างแรงจนงงม่อยไป (ใช้แก่ไก่); เลี้ยวอย่างกะทันหัน เช่น หักหัวเรือ หักพวงมาลัย; เรียกแต้ม ลูกเต๋า ๓ ลูก ที่ขึ้นแต้ม ๑ ๒ ๓ ตามลําดับ ถือว่าเป็นแต้มเลวที่สุด.
  18. หัตถานึก : น. กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพ โบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป.).
  19. หัวปักหัวปำ : ว. อาการที่หัวถลำไปข้างหน้าเพราะเมาเหล้าเมารถเป็นต้น เช่น คนเมาเดินหัวปักหัวปำ, โดยปริยายหมายความว่า โงหัวไม่ขึ้น เช่น ถูกใช้ทำงานจนหัวปักหัวปำ หลงผู้หญิงจนหัวปักหัวปำ.
  20. ห่าง, ห่าง ๆ : ว. ไกล เช่น ห่างหูห่างตา บ้านอยู่ห่างถนนมาก, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น ห่างไกล; ไม่ชิด เช่น ญาติห่าง ๆ, ไม่ถี่ เช่น มีลูกห่าง.
  21. หายหน้า : ก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น ตั้งแต่ยืมเงินไปแล้ว เขาก็หายหน้าไปเลย, หายตัว ก็ว่า; บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา, หายหัว ก็ว่า.
  22. หีตา : น. รูเล็กที่หัวตา.
  23. หูกว้างตากว้าง : ว. รอบรู้ทันเหตุการณ์, มองเห็นการณ์ไกล, หูยาวตายาว ก็ว่า.
  24. หูหนู : น. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบน ขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดํา กินได้ เช่น ชนิด A. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิด A. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น, ชนิด A. fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดํา เนื้อกรอบกรุบ. (๒) จอกหูหนู.
  25. เห็น : ก. อาการของตาที่ประสบรูป, ปรากฏแก่ตา, ปรากฏแก่ใจ, คิดรู้.
  26. เหน็บชา : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากขาดวิตามินบี ๑ ทําให้มีอาการชา ปลายมือปลายเท้าเป็นต้น.
  27. เหล่ : ว. เขมาก (ใช้แก่ตา).
  28. เหลอหลา : [-หฺลา] ว. มีหน้าตาเซ่ออย่างคนงงไม่รู้เรื่อง.
  29. เหลิง : [เหฺลิง] ก. ลืมตัว เช่น พ่อแม่ตามใจเสียจนเหลิง มีคนชมมาก ๆ เลยชักเหลิง.
  30. เหลือก : [เหฺลือก] ก. ทําให้ลูกตาดําอยู่ข้างบน ในคําว่า เหลือกตา. ว. กลอกขึ้น, เบิกกว้าง, (ใช้แก่ตา), ลูกตาดําอยู่ข้างบน ในคําว่า ตาเหลือก.
  31. เหลือบ ๑ : [เหฺลือบ] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Tabanidae รูปร่างคล้ายแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียวซึ่งมักใส แต่บางชนิดเป็นลายสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นํ้าเงิน รวมทั้งสีเลื่อมพราย จึงเรียกว่า ตัวเหลือบ หนวดปล้องปลายมี ลักษณะเรียวโค้งงอคล้ายเคียว ตาโต ตัวผู้ตาชิดกัน ตัวเมียตาห่าง ปากมี อวัยวะเป็นแผ่นคมคล้ายใบมีดตัดเนื้อให้ขาด และมีอวัยวะเป็นท่อดูด ของเหลวกินได้ ตัวเมียดูดเลือดมนุษย์และสัตว์ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Tabanus และ Chrysops. ว. สีเลื่อมพรายเวลากระทบแสงเป็นหลายสี คล้ายสีตัวเหลือบ.
  32. เหลือบ ๒ : [เหฺลือบ] ก. ใช้ประกอบกับคำอื่นหมายความว่า ชำเลือง เช่น เหลือบตา เหลือบแล เหลือบดู เหลือบเห็น.
  33. เหลือหลอ : [-หฺลอ] ว. หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือ หลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจน ไม่มีอะไรเหลือหลอ.
  34. เหา ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ส่วนใหญ่ตัวยาวไม่เกิน ๕ มิลลิเมตร ตัวแบน หัวแคบกว่าอกและยื่นไปข้างหน้าเห็นได้ชัด ตาเล็กมาก แต่บางชนิดไม่มีตา อกไม่แยกเป็นปล้องให้เห็นชัด ขามี หนามตรงข้ามกับเล็บช่วยในการยึดขนหรือผม ปากเป็นชนิดดูดกิน อาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีขนหรือผม ดูดเลือดคนและสัตว์ ที่อยู่บนศีรษะ ของคนได้แก่ ชนิด Pediculus humanus ในวงศ์ Pediculidae.
  35. แหน ๓ : [แหฺน] น. ชื่อไม้นํ้าหลายชนิดในวงศ์ Lemnaceae ใบกลมเล็ก ๆ ลอยอยู่ ตามนํ้านิ่ง เช่น แหนเล็ก (Lemna minor L., L. perpusilla Torr.) แหนใหญ่ [Spirodela oligorrhiza (Kurz) Hegelm. และ S. polyrrhiza (L.) Schleid.].
  36. แหลม : [แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญา แหลม; ชํานาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง เป็นต้น เช่น ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม. น. แผ่นดิน หรือภูเขาที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.
  37. โหรง, โหรงเหรง : [โหฺรง, โหฺรงเหฺรง] ว. มีน้อย, บางตา, เช่น โหรงตา, คนดูโหรงเหรง, โกร๋งเกร๋ง หรือ โกร๋นเกร๋น ก็ว่า.
  38. โหล ๓ : [โหฺล] ว. ดูลึกลงไป ในคําว่า ตาโหล.
  39. ให้หน้า : ก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้ สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.
  40. ไห้ : (วรรณ) ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่น ไห้รํ่า รักลูกไท้ ไห้บ่รู้กี่ไห้ ลูกแก้วกับตน แม่เอย. (ลอ), มักใช้เข้าคู่กับคํา ร้อง เป็น ร้องไห้.
  41. อ้น ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Rhizomyidae ลําตัวกลมอ้วนป้อม สีนํ้าตาล ตาและหูเล็กมาก ขาและหางสั้น อาศัยอยู่ใต้ดินหรือโพรงไม้ ฟันแทะคู่หน้ามีขนาดใหญ่เห็นได้ชัด ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ อ้นใหญ่ (Rhizomys sumatrensis) อ้นกลาง (R. pruinosus) และอ้นเล็ก (Cannomys badius).
  42. อนีก, อนีกะ, อนึก : [อะนีกะ, อะนึก] น. กองทัพในสมัยโบราณ, เมื่อใช้เป็นส่วนท้าย ของสมาสใช้ว่า อนีกะ บ้าง อนึก บ้าง เช่น ปัตตานีกะ ปัตตานึก = กองทัพเหล่าราบ กองทัพทหารเดินเท้า, อัศวานีกะ อัศวานึก = กองทัพม้า เหล่าทหารม้า. (ป., ส.).
  43. อนุโลม : ก. ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (กฎ) นำมาใช้ โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ ตามควรแก่กรณี. ว. ตามลําดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลําดับ. (ป., ส.).
  44. อภิญญา, อภิญญาณ : [อะพินยา, อะพินยาน] น. ''ความรู้ยิ่ง'' ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกําหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทําอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺ?า, อภิชฺ?าน).
  45. อเวจี : น. ชื่อนรกขุม ๑ ในนรก ๘ ขุม ได้แก่ ๑. สัญชีวนรก ๒. กาฬสุตตนรก ๓. สังฆาฏนรก ๔. โรรุวนรก ๕. มหาโรรุวนรก ๖. ตาปนรก ๗. มหาตาปนรก ๘. อเวจีมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมลึกที่สุดสําหรับลงโทษ แก่ผู้ที่มีบาปหนักที่สุด, ใช้เป็น อวิจี หรือ อวีจิ ก็มี.
  46. อสัญแดหวา : [อะสันยะแดหฺวา] น. เทวดาต้นตระกูลของกษัตริย์ ๔ นครในบท ละครเรื่องอิเหนา คือ องค์ปะตาระกาหลา, ชื่อวงศ์กษัตริย์ผู้ครอง ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา ได้แก่ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และ สิงหัดส่าหรี. (ช.).
  47. อะมีบา : น. ชื่อสัตว์เซลล์เดียวพวกหนึ่ง ขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่า ไม่เห็น มีรูปร่างไม่แน่นอน ขยายพันธุ์ได้โดยการแบ่งตัวเอง. (อ. amoeba).
  48. อัก : น. เครื่องสําหรับคัดด้ายหรือไหม มีรูปคล้ายระวิง สําหรับพันด้าย หรือไหมเป็นตอน ๆ ตามลําดับเส้นใหญ่และเล็ก.
  49. อักโขภิณี, อักโขเภณี : น. จํานวนนับอย่างสูง คือ ๑ มีศูนย์ตาม ๔๒ ตัว; กองทัพอินเดีย โบราณที่มีกระบวนรบพร้อมมูลตามกําหนด; ใช้ว่า อักเษาหิณี ก็มี. (ป.; ส. อกฺเษาหิณี).
  50. อักเษาหิณี : น. จํานวนนับอย่างสูง คือ ๑ มีศูนย์ตาม ๔๒ ตัว; กองทัพอินเดีย โบราณที่มีกระบวนรบพร้อมมูลตามกําหนด; อักโขภิณี หรือ อักโขเภณี ก็ว่า. (ส.; ป. อกฺโขภิณี).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | [1451-1500] | 1501-1524

(0.1234 sec)