Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หลังเต่า, เต่า, หลัง , then ตา, เต่า, หลง, หลงตา, หลํ, หลัง, หลังเต่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หลังเต่า, 1524 found, display 151-200
  1. ต้อยตีวิด : น. ชื่อนกชนิด Vanellus indicus ในวงศ์ Charadriidae ตัวขนาดนก เขาใหญ่ หัวสีดําขนบริเวณหูสีขาว มีติ่งเนื้อสีแดงพาดทางด้านหน้าจากขอบ ตาหนึ่งไปอีกขอบตาหนึ่ง ปากยาว ขายาวสีเหลือง ตีนมี ๔ นิ้ว นิ้วหลังเป็นติ่ง เล็ก ร้องเสียงแหลม ''แตแต้แว้ด'' กินสัตว์ขนาดเล็ก วางไข่ในแอ่งตื้น ๆ บนพื้นดิน, กระต้อยตีวิด กระแตแต้แว้ด หรือ แต้แว้ด ก็เรียก.
  2. ทรายขาว : [ซาย-] น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Scolopsis วงศ์ Nemipteridae ลำตัวสั้น รูปไข่ แบนข้าง ปากเล็ก ไม่มีฟันเขี้ยว มีหนามแหลม อยู่บริเวณใต้ตา ปลายชี้ไปทางด้านหลัง เช่น ชนิด S. cancellatus, S. dubiosus.
  3. ทะเลิ่กทะลั่ก : ว. อาการที่ทำหน้าตาตื่น เหลียวหน้าเหลียวหลัง เช่น เขาวิ่ง หน้าตาทะเลิ่กทะลั่กเข้ามา.
  4. ทำไพ่ : ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินแต่ละตาแล้ว การทําไพ่อาจทําให้เป็นประโยชน์แก่ มือใดมือหนึ่งก็ได้.
  5. นวลจันทร์ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cirrhinus microlepis ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัว ยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ตํ่าที่ปลายหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะในแนวเส้นข้างตัวมีประมาณ ๖๐ เกล็ด ลําตัวด้านหลัง สีนํ้าตาลเทา ข้างท้องสีขาว ปลายครีบหลังและครีบท้องสีชมพู อาศัย ตามลํานํ้าในเขตที่ลุ่มภาคกลางไปจนถึงแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร.
  6. นักระ : [นักกฺระ] (แบบ) น. จระเข้. (ส.; ป. นกฺก). นักษัตร ๑, นักษัตร [นักสัด, นักสัดตฺระ] น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมีดาว ปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิร, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่าดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะ เนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา, อทระ (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสําเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสําเภา ดาวสําเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาว งูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัว ตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจําฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชฏฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ,บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาว ราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. (ส.; ป. นกฺขตฺต).
  7. ใบขนุน : น. (๑) ชื่อปลาทะเลชนิด Lactarius lactarius ในวงศ์ Lactariidae ลําตัวป้อม แบนข้าง หัวโตปากกว้างและเชิดขึ้น เกล็ดหลุดง่าย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่ง อยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย ลําตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบน ของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดําเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน พบ ตลอดชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ขนุน ญวน ซับขนุน หรือ สาบขนุน ก็เรียก. (๒) ชื่อหนึ่งของปลาตาเดียวโดยเฉพาะ ทุกชนิดในสกุล Pseudorhombus วงศ์ Bothidae เป็นปลาทะเล ที่มีตาทั้งคู่อยู่บนด้านซ้ายของหัว. (ดู ตาเดียว).
  8. ปล้องอ้อย : น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acanthophthalmus kuhlii ในวงศ์ Cobitidae ตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่ ปากเล็กอยู่ตํ่า ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นลําตัวสีเหลืองอ่อน หรือส้ม มีแถบกว้างสีดําหรือนํ้าตาลเข้มพาดขวางเป็นปล้อง ๆ โดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามท้องน้ำที่เป็นกรวดเป็นทรายตามลําธาร เขตภูเขา เคลื่อนไหวรวดเร็วคล้ายงูเลื้อย ขนาดยาวเพียงไม่เกิน ๘ เซนติเมตร, ปลางู ก็เรียก.
  9. ปะการัง : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จําพวกเดียวกับดอกไม้ทะเล แต่ละตัวมีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็น กระจุก สร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็นโครงรูปร่างต่าง ๆ อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลตื้นเขตร้อน ที่พบมากในน่านนํ้าไทย คือ ชนิด Porites lutea และ ปะการังเขากวาง ในสกุล Acropora, โครงสร้างของตัวปะการังที่เกาะติดอยู่กับที่และมีซากปะการังตาย ทับถมเพิ่มพูนขึ้นตามลําดับ เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด เกาะ หรือ เทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือ เทือก ปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง.
  10. ปาทังกา : น. ชื่อตั๊กแตนชนิด Patanga succincta ในวงศ์ Acrididae ตัวยาว ๖-๗ เซนติเมตร กว้าง ๗-๘ มิลลิเมตร สีแตกต่างกันไป เป็นสีนํ้าตาล นํ้าตาลแก่ แดงอมเขียว มีแถบสีครีมทอดจากหน้า ไปสันหลังปล้องอกจนถึงปีก ใต้ตามีแถบสีครีมยาวเรียวรูปดาบ ปีกมีรอยจุดและรอยด่างกระจายทั่วไป อาจพบอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นฝูง ทําลายพืชต่าง ๆ.
  11. ผีเสื้อเงิน : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Monodactylus argenteus ในวงศ์ Monodactylidae ลำตัวสั้นมาก รูปไข่แบนข้าง ครีบหลังและ ครีบก้นยาวพื้นลําตัวและครีบสีเทาเงิน มีแถบสีดําพาดขวาง ผ่านตา ๑ แถบและอีกแถบโค้งผ่านแผ่นปิดเหงือกไปยังขอบ หน้าของครีบหลังและครีบก้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร อยู่ในนํ้าจืดได้, โสร่งแขก ก็เรียก.
  12. ผึ้ง ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Apidae มีปีกบางใส ๒ คู่ ปีกคู่หลัง เล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากใช้ทั้งกัดอาหารและดูดกินของเหลวได้ ท้องปล้องแรกที่ติดกับอกเล็กมาก ปล้องที่ ๒ มีขนาดไล่เลี่ยกัน ปล้องที่เหลือมีขนาดไล่เลี่ยกับอก ยกเว้นปล้องสุดท้ายที่มีขนาด เล็กกว่ามีขนปกคลุมตามลําตัว รวมตัวอยู่เป็นฝูง แบ่งชั้นวรรณะ เก็บเกสรและนํ้าหวานดอกไม้มาทํานํ้าผึ้ง เช่น ผึ้งหลวง (Apis dorsata) ผึ้งโพรง (A. cerana) ผึ้งมิ้ม (A. florea) ผึ้งเลี้ยง (A. mellifera) ผึ้งหอยโข่ง (Trigona spp.) และหลายชนิดในวงศ์ Megachilidae ซึ่งเป็นผึ้งที่อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่รวมตัวเป็นฝูง ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ได้แก่ ผึ้งกรวย เช่น ชนิด Megachile griseopicta และผึ้งหลอด เช่น ชนิด Chalicodoma atrata, เผิ้ง ก็เรียก.
  13. มน ๑ : ก. อยู่กับที่ (ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ ซึ่งปรากฏแก่ตาเป็น ๓ ทาง คือ เสริด ว่า ไปข้างหน้า, พักร ว่า ถอยหลัง, มน ว่า อยู่กับที่).
  14. แมวน้ำ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในวงศ์ Phocidae ซึ่งไม่มีใบหู และวงศ์ Otaliidae ซึ่งมีใบหู รูปร่างอ้วนใหญ่ มีหนวดคล้ายแมว ขาคล้ายพาย คู่หน้าสั้น คู่หลังลู่ไปตามลําตัว อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง หากินในนํ้าเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Phoca vitulina.
  15. ล้างไพ่ : ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันคนให้ทั่วหลาย ๆ หนแล้ว รวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินกันหลาย ๆ ตาแล้ว.
  16. หนวดพราหมณ์ ๒ : [หฺนวดพฺราม] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Polynemus longipectoralis ในวงศ์ Polynemidae ลําตัวยาว แบนข้าง หัวแหลมมน ปากอยู่ตํ่า ตาเล็ก เกล็ดเล็ก สากมือ ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สําคัญคือตรงส่วนล่างของครีบอกมีก้านครีบแยกเป็นเส้นยาวมากรวม ๗ เส้นยาวไม่เท่ากัน ลําตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและ ครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร พบบ้างใน นํ้ากร่อยหรือทะเล.
  17. หน่วย : [หฺน่วย] น. ตัวเลขหลังสุดของเลขจํานวนเต็มที่เรียงกันเรียกว่า เลขหลัก หน่วย เช่น ๑๔๓ เลข ๓ เป็นเลขหลักหน่วย; จํานวนหรือหมู่ที่นับเป็น หนึ่ง เช่น หน่วยอนุสภากาชาด; ลูกตา ในคําว่า นํ้าตาคลอหน่วย นํ้าตา ล่อหน่วย; ลูก, ผล, เช่น มะม่วง ๓ หน่วย. ว. หนึ่ง (ใช้แก่การพนันถั่ว และโป).
  18. หมี : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Ursidae ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปาก ยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาท การดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินพืชและสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ หมีควาย (Selenarctos thibetanus) ตัวใหญ่ ขนยาวดํา อกมีขน สีขาว รูปง่าม และ หมีหมา หรือ หมีคน (Helarctos malayanus) ตัวเล็ก กว่าหมีควาย ขนสั้นดํา ที่อกมีขนสีขาวรูปคล้ายเกือกม้า.
  19. หวานลิ้นกินตาย : (สำ) ก. หลงเชื่อคำพูดเพราะ ๆ หรือคำสรรเสริญเยินยอ จะได้รับความลำบากในภายหลัง.
  20. เหลือง ๕ : [เหฺลือง] น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Caesio วงศ์ Pomadasyidae รูปร่างคล้ายปลากะพง ลําตัว ครีบ และหางสีเหลือง ครีบหางเป็นแฉกลึก มีเกล็ดถึงโคนครีบหลังและหาง เช่น ชนิด C. erythrogaster, C. chrysozonus. (๒) ชื่อปลาทะเลชนิด Halichoeres nigrescens ในวงศ์ Labridae ลําตัว แบนข้างค่อนข้างหนา สีเขียว ไม่มีเกล็ดที่แก้ม มีเส้นสีม่วงระหว่างตา พาดเฉียงจากตาไปที่แก้ม ๒-๓ เส้น ขนาดยาวประมาณ ๑๔ เซนติเมตร, เหลืองหิน ก็เรียก.
  21. อันโด๊ก : น. เต่า, ตะพาบนํ้า. (ต.).
  22. กก ๖ : น. ซอกด้านในหรือซอกด้านหลังของบานประตูหรือหน้าต่าง, ถ้าเป็นด้านหลังของแผ่นบานประตู เรียกว่า กกประตู, ถ้าเป็น ด้านหลังของแผ่นบานหน้าต่าง เรียกว่า กกหน้าต่าง.
  23. กกหู : น. บริเวณหลังใบหู.
  24. กงโก้ : (ปาก) ว. โก่ง ๆ โค้ง ๆ เช่น ยืนกงโก้, หลังโกงไม่น่าดู เช่น ผอมกงโก้, เกะกะไม่เรียบร้อย เช่น กงโก้ กงกก, โกงโก้ ก็ว่า.
  25. กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
  26. กด ๒ : น. (๑) ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลัง ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตน้ำกร่อย เช่น กดแดง หรือ กดหัวโม่ง (A. caelatus) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเล หรือ ริวกิว (A. thalassinus), ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต (K. typus), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ (H. borneensis). (๒) ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Mystus วงศ์ Bagriidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกด (๑) เช่น กดเหลือง ชงโลง หรือ กดขาว (M. nemurus) กดคัง (M. wyckii).
  27. กดเหลือง : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Mystus nemurus ในวงศ์ Bagriidae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไปแม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก.
  28. ก้นกบ : น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.
  29. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  30. ก้ม : ก. ทําให้ต่าลงโดยอาการน้อม (ใช้เฉพาะ หัว หน้า และหลัง) เช่น ก้มหัว ก้มหน้า ก้มหลัง.
  31. กร ๑ : [กอน] น. ผู้ทํา, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น กรรมกร เกษตรกร. (ป.).
  32. กร ๓ : [กอน] น. แสง, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น รัชนีกร. (ป.).
  33. กรอก ๒ : น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทา อมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
  34. กระคน : (กลอน) น. ประโคน คือ สายรัดจากใต้สัปคับไปที่อกช้างหลัง ขาหน้าแล้วลอดมาบรรจบกัน โยงใต้ท้องช้างและที่หน้าขาหน้า ไปจากสายชนักที่คอช้าง. (รูปภาพ กระคน)
  35. กระจกเงา : น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้า เป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อน กลับได้.
  36. กระจัง ๑ : น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง ใช้เป็นลวดลายสําหรับเครื่องประดับที่อยู่ บนชั้นหรือตามขอบของสิ่งบางอย่าง เช่น ชั้นฐานธรรมาสน์ กระจังมีหลายแบบ เช่น กระจังตาอ้อย กระจังเจิม กระจังปฏิญาณ, เครื่องประดับที่มีลวดลายชนิดนี้ เรียกว่า ตัวกระจัง ใช้ประดับหลัง เฟี้ยมลับแลและอื่น ๆ.
  37. กระจับปี่ : น. พิณ ๔ สาย. (ช. จาก ส. กจฺฉปี, อธิบายว่า มีรูปคล้ายเต่า).
  38. กระโจมทอง : น. เครื่องกันแดดและฝนเปิดโล่ง ๔ ด้าน อยู่บนสัปคับ หลังช้างพระที่นั่ง เขียนลายปิดทองรดน้ำ.
  39. กระแชง : น. เครื่องบังแดดฝน โดยนําใบเตยหรือใบจากเป็นต้นมาเย็บเป็นแผง, ลักษณนามว่า ผืน (เทียบมลายู กระชัง = แผงสำหรับคลุมเรือหรือ รถ เย็บด้วยใบไม้); เชือกหนังสําหรับติดกับสายรัดประโคนของช้าง แต่มักติดเบื้องท้ายสันหลัง เพื่อควาญช้างจับในเวลาคับขัน; เชือกบาศสําหรับคล้องช้าง; ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่า เรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทําเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง.
  40. กระแซง : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้างผูก กับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้างจับ เมื่อเวลาคับขัน, กระแอก หรือ ประแอก ก็เรียก.
  41. กระดานพิง : น. แผ่นสําหรับรับหมอนพิงหลังเช่นใช้ที่ธรรมาสน์.
  42. กระโดง ๑ : น. ใบเรือ เช่น เสากระโดง คือ เสาใบเรือ; ส่วนที่อยู่บนหลังปลา บางชนิด เช่น ปลากัด ปลาฉลาม มีลักษณะเป็นแผ่นตั้งคล้ายใบเรือ. (ข. โกฺฎง ว่า ใบเรือ).
  43. กระโดน : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Careya sphaerica Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จํานวนมาก เป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ผลค่อนข้างกลม เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก.
  44. กระทิง ๓ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้าย ปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำลําคลอง และที่ลุ่ม มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด M. armatus, M. favus และกระทิงไฟ (M. erythrotaenia) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
  45. กระน่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไป ถึงส้นเท้า, กระหน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.
  46. กระบอก ๒ : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยและทะเลในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลําตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ (L. vaigiensis) กระบอกดํา (L. parsia) กระบอกขาว (V. seheli), กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สําหรับ ปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก ยมก หรือ มก.
  47. กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
  48. กระเบน : น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้าย เกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้าง ออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัว เป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจาก ส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับ โพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอน ใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทง จะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่นผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
  49. กระเบนเหน็บ : น. ส่วนของร่างกายด้านหลังระดับบั้นเอว ตรงที่เหน็บชายกระเบน.
  50. กระโปรง : [-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์ หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าว เป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สําหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. (นพมาศ); กะโปรง ก็ใช้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1524

(0.1263 sec)