Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มิได้ , then มด, มิได้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มิได้, 161 found, display 51-100
  1. พยานบอกเล่า : (กฎ) น. พยานบุคคลซึ่งให้การโดยตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้เรื่องมาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น. (อ. hearsay evidence).
  2. พระอันดับ : น. พระลูกวัด, พระอนุจร ก็เรียก, พระผู้มิได้เป็นประธาน หรือคู่สวดในสังฆกรรม เช่น พระอันดับนาค (พระอันดับในพิธีบวช นาค) พระอันดับแจง (พระอันดับในพิธีสวดแจง), โดยปริยายหมายถึง ผู้น้อยที่เข้าร่วมพิธีโดยมิได้มีบทบาทสําคัญอะไร.
  3. พูดสด : ก. พูดโดยมิได้เตรียมมาก่อน.
  4. ภวังค–, ภวังค์ : [พะวังคะ–] น. ส่วนที่สืบต่อระหว่างปฏิสนธิกับจุติ มิได้เสวยอารมณ์ ในทวารทั้ง ๖ มีจักษุทวารเป็นต้น. (ป.); ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว.
  5. มด ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือ ปล้องที่ ๑ และปล้องที่ ๒ ซึ่งติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังปล้องท้องดังกล่าวมีโหนกสูงขึ้น ซึ่งอาจจะโค้งมนหรือเป็นแผ่นแบน ลักษณะนี้ทําให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน และ ปลวก.
  6. มด ๒ : น. หมอเวทมนตร์, หมอผี, ถ้าเป็นผู้ชาย เรียกว่า พ่อมด, ถ้าเป็นผู้หญิง เรียกว่า แม่มด; ใช้เป็นคําประกอบกับคํา หมอ เป็น มดหมอ หมายความว่า หมอทั่ว ๆ ไป.
  7. มาฆบูชา : น. การทําบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญ เดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์ เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, (วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. ป. มาฆปูชา).
  8. มุขบาฐ, มุขปาฐะ : [มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา, การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร, เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ.
  9. มูลนิธิ : [มูนละ-, มูน-] (กฎ) น. ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสําหรับ วัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะการศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหา ผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์แล้ว. (ป. มูล + นิธิ).
  10. ไม่ทัน : ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทําให้ พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.
  11. ยาสมุนไพร : (กฎ) น. ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ.
  12. : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).
  13. รัชชูปการ : น. เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่ มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล.
  14. เร่ : ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้าง ขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปเดินมาอย่างไม่มี จุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและ เวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่น หมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้า ที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
  15. โรคระบบประสาท : น. โรคของสมองและไขสันหลัง มิได้เกี่ยวข้อง กับจิตใจ เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองตีบตันหรือแตก โรคเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะวิกลจริตได้ในบางครั้งบางคราว.
  16. ล้นกระเพาะ : ว. ลักษณะที่กินมากจนแน่น เช่น กินจนล้นกระเพาะ. ล้นเกล้าล้นกระหม่อม น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินโดยความเคารพ นับถือมาก เช่น ล้นเกล้าล้นกระหม่อมของปวงชนชาวไทย. ว. ใช้เป็น ราชาศัพท์ หมายความว่า มากล้นพ้นประมาณ, ใช้เขียนย่อว่าล้นเกล้าฯ ก็ได้ เช่น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้.
  17. ละเมิดลิขสิทธิ์ : (กฎ) ก. กระทําอย่างหนึ่งอย่างใดต่องานที่มีลิขสิทธิ์ ตามกฎหมาย ได้แก่ ทําซํ้าหรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์.
  18. ลาภมิควรได้ : (กฎ) น. ทรัพย์ที่บุคคลได้มาเพราะบุคคลอีกคนหนึ่ง กระทําเพื่อชําระหนี้ หรือได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้ มีมิได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว หรือได้มา เพราะประการอื่น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็น ทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ.
  19. ลูกขุน ณ ศาลหลวง : (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่าง ศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะ พิจารณาคดีแล้วขอคําตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.
  20. ลูกพรรค : น. สมาชิกที่มิได้เป็นหัวหน้าของพรรคการเมือง.
  21. ลูกหลง : น. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้าง อยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่น ซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับ เคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มี เจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไป หมอบกับพื้นเวที.
  22. เลิกทัพ : ก. ยกทัพกลับ เช่น ไพรีมิได้แจ้งแห่งยุบล ให้เลิกทัพกลับพล รีบหนีไป. (เพลงในละครเรื่องสามก๊ก).
  23. เลี้ยงไม่ขึ้น : ก. อบรมเลี้ยงดูคนบางคนอย่างดีแต่ก็มิได้ทำให้คนผู้นั้น เจริญรุ่งเรืองขึ้นเลย; เลี้ยงคนบางคนแล้วผู้นั้นยังไม่กตัญญูรู้คุณ.
  24. วัดราษฎร์ : น. วัดที่ได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมา แต่มิได้เข้า บัญชีเป็นพระอารามหลวง.
  25. วันทยหัตถ์ : น. ท่าเคารพด้วยมือของทหาร ตํารวจ ลูกเสือ เป็นต้น ที่แต่งเครื่องแบบ สวมหมวก มิได้ถืออาวุธ.
  26. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  27. ว่ากลอนสด : ก. กล่าวกลอนที่ผูกขึ้นอย่างปัจจุบันโดยมิได้คิด มาก่อน; โดยปริยายหมายถึงกล่าวข้อความที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน, พูดกลอนสด ก็ว่า.
  28. ว่าขาน : ก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลาย ที่โกรธา ฯ (อิเหนา).
  29. วาระจร : น. เรื่องที่มิได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระ แต่ได้นำเข้ามา พิจารณาเป็นพิเศษในการประชุมคราวนั้น.
  30. วิปัสสนายานิก : น. ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน, ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โดยมิได้เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใด ๆ มาก่อน.
  31. ศาลจังหวัด : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจําในแต่ละ จังหวัดหรือในบางอําเภอ มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง และคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ในเขตอํานาจศาลตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนั้น ได้กําหนดไว้.
  32. ศาลแพ่ง : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น.
  33. ศาลอาญา : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มี อำนาจพิจารณาคดีอาญาแล้วแต่กรณี.
  34. สมรัก : ก. ร่วมประเวณี เช่น ชายลอบลักสมรักทำชู้ด้วยลูกสาวท่าน ก็ดี สองลอบสมรักด้วยกัน มิได้สู่ขอมีขันหมากเปนคำนับ. (สามดวง).
  35. สวมหน้ากาก : (สำ) ก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัย ใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างสวมหน้ากาก เข้าหากัน, ใส่หน้ากาก ก็ว่า.
  36. ส่วย ๑ : น. ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บ ภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจาก ราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า.
  37. หญ้า ๑ : น. ชื่อเรียกไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) หญ้าตีนกา (Eleusine indica Gaertn.) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon Pers.); ใช้อนุโลมเรียกพรรณไม้บางชนิด ที่มิได้อยู่ในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าเกล็ดหอย หญ้างวงช้าง.
  38. หน้าป๋อหลอ : ว. อาการที่นั่งให้เห็นหน้าโดยมิได้มีความสลักสำคัญอะไร.
  39. หมดพุง, หมดไส้หมดพุง : ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.
  40. หมดไส้หมดพุง : ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่ เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้ สิ้นพุง ก็ว่า.
  41. อนรรฆ : [อะนัก] ว. หาค่ามิได้, เกินที่จะประมาณราคาได้. (ส. อนรฺฆ).
  42. อรูป, อรูป : [อะรูบ, อะรูบปะ] ว. ไม่มีรูป, ไม่ใช่รูป; ที่เป็นนามธรรม. (ป., ส.). อรูปฌาน [อะรูบปะชาน] น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).
  43. อวด : ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ เช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  44. อวดอ้าง : ก. พูดแสดงสรรพคุณหรือคุณวิเศษที่มิได้มีอยู่หรือให้เกิน ความเป็นจริง, พูดโดยยกหลักฐานซึ่งไม่มีอยู่จริงหรือที่บิดเบือนไป จากความจริงมาประกอบ.
  45. อาภัพเหมือนปูน : (สำ) ทำดีแต่มักถูกมองข้ามไปหรือไม่มีใคร มองเห็น คล้ายในการกินหมาก จะต้องมีหมาก พลู ปูน ๓ อย่าง ประกอบกัน แต่คนมักพูดว่า กินหมากกินพลู โดยมิได้พูดถึง ปูนเลย จะพูดถึงบ้างก็เป็นไปในทางที่ไม่ดีว่า ปูนกัดปาก.
  46. อำนรรฆ : [นัก] (กลอน) ว. หาค่ามิได้, เกินที่จะประเมินราคาได้. (แผลงมาจาก อนรรฆ).
  47. มดส้ม : ดู มดแดง ที่ มด๑.
  48. มดสัง : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อีเห็น. (ดู อีเห็น).
  49. มดหมอ : (ปาก) น. หมอทั่วไป.
  50. กระเช้าผีมด : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Aristolochia tagala Cham. ในวงศ์ Aristolochiaceae ผลเมื่อแก่ตอนโคนแยกออกเป็น ๖ สาย คล้ายสาแหรก รากใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Hydnophytum formicarium Jack ในวงศ์ Rubiaceae ชอบเกาะไม้ต้นในป่าดิบชื้นใกล้ฝั่งทะเล ลําต้นทรงกลมอวบน้ำ มีรูพรุนภายในเป็นที่อาศัยของมด ส่วนที่เป็นรูพรุนใช้ทํายาได้, หัวร้อยรู ก็เรียก.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-161

(0.0432 sec)