Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องทำความเย็น, เครื่อง, ทำความ, เย็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องทำความเย็น, 1625 found, display 101-150
  1. เลือดเย็น : น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถปรับอุณหภูมิของ ร่างกายให้เหมาะสมกับอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่นปลา กบ เรียกว่า สัตว์เลือดเย็น.
  2. ศีต : [สีตะ] ว. หนาว, เย็น, เย็นเยือก. (ส.; ป. สีต).
  3. ศีตละ : [สีตะละ] ว. หนาว, เย็น, เยือกเย็น. (ส.; ป. สีตล).
  4. หวานเย็น : น. ของกินเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ทำด้วยน้ำหวานหรือน้ำกะทิ เป็นต้น แล้วทำให้แข็งด้วยความเย็น. (ปาก) ว. ที่แล่นไปช้า ๆ อย่างไม่ รีบร้อน (มักใช้แก่รถไฟ รถประจำทาง) เช่น รถไฟขบวนหวานเย็น.
  5. ห้องเครื่อง : (ราชา; ปาก) น. ครัว, เรียกเต็มว่าห้องเครื่องวิเสท, ห้องสำหรับ เก็บเครื่องราชูปโภค, เรียกเต็มว่า ห้องเครื่องราชูปโภค; ห้องเครื่องยนต์เรือ เป็นต้น.
  6. อุ่นเครื่อง : ก. เดินเครื่องยนต์ไว้จนถึงระดับที่เครื่องจะทํางานได้ดี; ออกกําลังกายหรือฝึกซ้อมชั่วขณะก่อนเริ่มการแข่งขัน, ฝึกซ้อม ก่อนแข่งขันจริง.
  7. ข้าวเย็นใต้ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Smilax glabra Roxb. ในวงศ์ Smilacaceae เหง้าใช้ทํายาได้.
  8. ข้าวเย็นเหนือ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Smilax china L. ในวงศ์ Smilacaceae เหง้าใช้ทํายาได้.
  9. เดือนเย็น : น. หน้าหนาว.
  10. โถเครื่องแป้ง : น. โถที่ทําด้วยแก้วเจียระไนเป็นต้น มีรูปและสีต่าง ๆ ใช้ใส่แป้งนวล.
  11. ทรงเครื่องใหญ่, ทรงพระเครื่องใหญ่ : (ราชา) ก. ตัดผม (ใช้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน). ทรงเจ้า ก. ทําพิธีเชิญเจ้าเข้าสิงคนทรง. น. เรียกคนสําหรับทรงเจ้า ว่า คนทรงเจ้า.
  12. นารายณ์ทรงเครื่อง, นารายณ์ประลองศิลป์ : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  13. น้ำมันเครื่อง : น. นํ้ามันประเภทหนึ่ง มีลักษณะค่อนข้างข้น ใช้สําหรับ หล่อลื่นเพื่อลดความเสียดทานระหว่างผิวโลหะ, ใช้ผสมกับนํ้ามัน เบนซินเป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงสําหรับเครื่องยนต์เบนซินชนิด ๒ จังหวะ ก็ได้, นํ้ามันหล่อลื่น ก็เรียก.
  14. น้ำเย็นปลาตาย : (สํา) น. คําพูดที่ไพเราะอ่อนหวานทำให้ตายใจ อาจเป็น โทษเป็นภัยได้,มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าร้อนปลาเป็น.
  15. เป็นน้ำยาเย็น : ว. จืดชืด.
  16. เปลื้องเครื่องสุกำศพ : ก. เปลื้องผ้าขาวที่ห่อศพออกแล้วนําผ้าขาว นั้นและสิ่งปฏิกูลภายในโกศ เช่น กระดาษฟางไปเผาพร้อมบุพโพ แล้วเอาผ้าขาวอีกผืนหนึ่งห่อศพให้ใหม่.
  17. ฟิตเครื่อง : ก. ปรับเครื่องยนต์ให้กระชับหรืออยู่ในสภาพปรกติ, เรียกช่างแก้เครื่องยนต์ว่า ช่างฟิต.
  18. แม่ม่ายทรงเครื่อง : น. แม่ม่ายที่มั่งมี.
  19. ยกเครื่อง : (ปาก) ก. ซ่อมใหญ่เครื่องยนต์ของรถยนต์หรือเรือยนต์เป็นต้น.
  20. เย็นตาโฟ, เย็นเตาโฟ : น. อาหารแบบจีนอย่างหนึ่งคล้ายก๋วยเตี๋ยว แต่ใส่ผักบุ้ง ปลาหมึกแช่ด่าง เต้าหู้ เลือดหมู ลูกชิ้นปลา แมงกะพรุน และน้ำเต้าหู้ยี้หรือซอสมะเขือเทศ. (จ.).
  21. รถเครื่อง : (ปาก) น. จักรยานยนต์, รถที่มีล้อ ๒ ล้อเหมือนกับรถจักรยาน ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์, มอเตอร์ไซค์ ก็ว่า.
  22. เร่งเครื่อง : ก. เพิ่มความเร็วของเครื่องจักรให้สูงขึ้น, เหยียบคันเร่งรถยนต์ เพื่อให้รถแล่นเร็วขึ้น.
  23. ลองเครื่อง : ก. ทดสอบการทำงานของเครื่องยนต์ว่าทำงานเป็น ปรกติหรือไม่.
  24. สงครามเย็น : น. การต่อสู้ระหว่างประเทศต่อประเทศโดยไม่ใช้อาวุธ แต่ใช้อํานาจอื่นแทน เช่น อำนาจทางการเมือง อำนาจทางเศรษฐกิจ.
  25. หนีร้อนมาพึ่งเย็น : (สำ) ก. หนีจากที่ที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่ มีความสงบสุข.
  26. หางเครื่อง : น. เพลงที่ออกต่อท้ายจากเพลง ๓ ชั้น หรือ เพลงเถา; กลุ่มบุคคล ที่ออกมาเต้นประกอบจังหวะในการร้องเพลงประเภทลูกทุ่ง.
  27. เอาน้ำเย็นเข้าลูบ : (สํา) ก. ใช้คําพูดอ่อนหวานหว่านล้อม.
  28. ฉาก : น. เครื่องบังหรือเครื่องกั้น มีหลายชนิด ใช้ตั้ง แขวน หรือพับได้, เครื่อง ประกอบเวทีละครเพื่อให้ดูสมจริงตามเนื้อเรื่อง เช่น ฉากป่า ฉากเมือง; เครื่องสําหรับวัดมุมซึ่งมี ๙๐ องศา, มุมซึ่งกางได้ ๙๐ องศา เรียกว่า มุมฉาก, ลักษณนามเรียกตอนย่อยของละครในองก์หนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่งของละคร ที่เปิดม่านหน้าเวทีครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ละคร ๓ ฉาก.
  29. พวงมาลัย : น. ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำ ดอกไม้ กลีบดอกไม้และใบไม้ มาร้อยด้วยเข็ม แล้วรูดออกมาใส่ ด้ายผูกเป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กัน, มาลัย ก็เรียก; เครื่องสําหรับ บังคับเรือไฟหรือเรือยนต์ รถยนต์ ให้ไปตามทางที่ต้องการ; เครื่อง สําหรับช่วยพยุงคนตกนํ้า มีรูปคล้ายพวงมาลัย; ชื่อการเล่นของ ชาวบ้านชนิดหนึ่งเรียกว่า เพลงพวงมาลัย.
  30. อลงกรณ์ : [อะลงกอน] น. การตกแต่ง, การประดับ; เครื่องตกแต่ง, เครื่อง ประดับ. (ป., ส.).
  31. อลงการ : [อะลงกาน] น. การตกแต่ง, การประดับ; เครื่องตกแต่ง, เครื่อง ประดับ. ว. งามด้วยเครื่องประดับตกแต่ง. (ป., ส. อลงฺการ).
  32. อุปกรณ์ : [อุปะกอน, อุบปะกอน] น. เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่อง ประกอบ; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดย เจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจําอยู่ กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นํามา สู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนํามาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำ โดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็น ประธานนั้น. (ป., ส.).
  33. อุปสรรค : [อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่อง ขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้า คำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมาย แผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิม เป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตาม ปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
  34. คอนเดนเซอร์ : (ไฟฟ้า) น. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้สําหรับเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้เป็น ปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนําธรรมดาที่มีขนาดเท่ากัน. (อ. condenser). (ดู เครื่องควบแน่น ที่ เครื่อง).
  35. ตระจัก : [ตฺระ-] ว. ตระชัก, เย็น. (ข. ตรฺชาก่).
  36. ตรีกาล : น. กาลทั้ง ๓ คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต, เวลาทั้ง ๓ คือ เช้า กลางวัน เย็น.
  37. มงกุฎ : น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่อง สวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความ เป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล มงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.
  38. เยียบ : ก. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น, มักใช้ควบกับ คํา เย็น เป็น เย็นเยียบ หรือ เยียบเย็น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึก เย็นเยียบ.
  39. เลียง ๒ : ว. เย็น เช่น นํ้าล้นเลียงเอมโอช. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  40. วาบ : ว. อาการที่รู้สึกร้อน เย็น กลัว ตกใจ เสียวใจ เป็นต้น ขึ้นทันทีแล้ว หายไปดับไป เช่น เย็นวาบ ใจหายวาบ เสียววาบ; วับ.
  41. หลบหลังคา : ก. ปิดหลังคาที่ตรงสันหลังคาให้มิดไม่ให้ฝนรั่วได้. น. เครื่อง มุงที่ใช้ปิดสันหลังคาให้มิดไม่ให้ฝนรั่วได้; วิธีสอยชายผ้าอย่างหนึ่ง.
  42. อาภรณ์ : [พอน] น. เครื่องประดับ, บางทีก็ใช้เป็นส่วนท้ายของคําสมาส เช่น พัสตราภรณ์ = เครื่องประดับคือเสื้อผ้า สิราภรณ์ = เครื่อง ประดับศีรษะ คชาภรณ์ = เครื่องประดับช้าง พิมพาภรณ์ = เครื่อง ประดับร่างกาย ในคําว่า ถนิมพิมพาภรณ์ ธรรมาภรณ์ = มีธรรมะ เป็นเครื่องประดับ. (ป., ส.).
  43. วัญจนะ : เครื่องลวง, เครื่องหลอก, ของไม่จริง. (ป., ส.).
  44. กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
  45. กงฉาก : น. เครื่องยึดมุมฉาก.
  46. กงพัด ๑ : น. กงสําหรับพัด เป็นรูปใบพัดที่หมุนได้ เช่น กงพัดสีลม กงพัดเครื่องสีฝัด กงพัดเครื่องระหัด; ประตูหมุน; เครื่องมือชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สําหรับ พัดด้าย.
  47. กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
  48. กฏุก, กฏุก- : [กะตุก, กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).
  49. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  50. ก็ตาม : นิ. ใช้อย่าง ก็ดี, แต่บางแห่งมีแววความหมายเท่ากับ ก็ตามใจ ก็ตามที ก็ตามเรื่อง แล้วแต่กรณีที่ใช้ โดยอาศัย พฤติการณ์ของเรื่องเป็นเครื่องแวดล้อม.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1625

(0.0647 sec)