Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ประตูรั้ว, ประตู, รั้ว , then ปรต, ประตู, ประตูรั้ว, รว, รั้ว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ประตูรั้ว, 187 found, display 151-187
  1. ลูกบิด : น. อุปกรณ์สําหรับจับบิดเพื่อปิด เปิดประตูหน้าต่าง เดิม ทําเป็นลูกกลม ๆ; อุปกรณ์เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์สําหรับปิดเปิด ให้ของเหลวเป็นต้นหยุดผ่านหรือไหลผ่าน; อุปกรณ์สําหรับบิดเร่ง หรือลดสายเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดหรือเครื่องสีให้ตึงหรือ หย่อน มักทําด้วยไม้หรืองา.
  2. ลูกฟัก : น. แผ่นกระดานที่ใส่ในกรอบบานประตูหน้าต่างเป็นต้น ของเรือนฝากระดานแบบทรงไทย.
  3. เลาะ : ก. ชิดแนว เช่น พายเรือเลาะตลิ่ง เดินเลาะรั้ว; ลิด เช่น เลาะตาไม้; ทำให้ด้ายเป็นต้นที่เย็บหลุด เช่น เลาะตะเข็บ เลาะผ้า.
  4. วงกบ : น. กรอบประตูหรือหน้าต่าง, กรอบเช็ดหน้า หรือ เช็ดหน้า ก็เรียก.
  5. วงพาด : น. รั้วสี่เหลี่ยมภายในเพนียด ใช้ล้อมช้าง ทําด้วยซุง เป็นต้น ๆ ปักเรียงรายเว้นระยะพอให้คนลอดเข้าออกได้ มีไม้ตี พาดเสาเหล่านั้นให้ยึดติดกันโดยรอบ. (รูปภาพ วงพาด)
  6. วดี ๑ : น. รั้ว, กําแพง. (ป. วติ; ส. วฺฤติ).
  7. ว่าจ้าง : ก. จ้าง, ตกลงให้ทําการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น เขาว่าจ้างช่างให้มาทำรั้วบ้าน, ว่า ก็ว่า.
  8. ศูนย์หน้า : น. ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งกลางของแถวหน้าในการเล่น ฟุตบอลทำหน้าที่ยิงประตูเป็นสำคัญ บางครั้งอาจลงมาช่วย เซนเตอร์ฮาล์ฟซึ่งอยู่ในตำแหน่งกลางของแถวกลางและพาลูก ขึ้นไปในแดนฝ่ายตรงข้ามด้วย.
  9. สนิท : [สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขา สนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็น เนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิท เป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้ สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).
  10. สมุก ๑ : [สะหฺมุก] น. ถ่านทําจากใบตองแห้งใบหญ้าคาเป็นต้นป่นให้เป็น ผงประสมกับรักนํ้าเกลี้ยง สําหรับทารองพื้นบนสิ่งต่าง ๆ เช่นบาน ประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารก่อนที่จะเขียนลายรดนํ้าปิดทอง.
  11. สลัก ๑ : [สะหฺลัก] ก. สกัดกั้น เช่น สลักโจรไว้อย่าให้หนีไปได้. น. เครื่องกั้น หรือกลอนประตูหน้าต่างเป็นต้นแบบเรือนไทยที่ลงไว้เพื่อไม่ให้เลื่อน หรือผลักเข้าไปได้ เช่น ลงสลักประตู.
  12. สลักเพชร : น. ไม้หรือเหล็กสําหรับสอดขัดกลอนประตูหน้าต่างแบบ เรือนไทยเพื่อไม่ให้เคลื่อนที่; วิธีเข้าปากไม้แบบหนึ่ง บากปากไม้และ เดือยเป็นรูปหางเหยี่ยว ใช้ลิ่มสอดเข้าไปที่หัวเดือยซึ่งบากไว้ เมื่อสอด เดือยเข้าไปในปากไม้แล้วตอกอัด ลิ่มจะดันให้ปลายเดือยขยายออกอัด แน่นกับปากไม้; กล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ระหว่างขอบกระดูกเชิงกรานตรง ตะโพกกับหัวกระดูกต้นขาทําให้ขากางออกได้.
  13. สอด : ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอด จดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับ เพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลัง พูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น.
  14. สังกะสี : น. ธาตุลําดับที่ ๓๐ สัญลักษณ์ Zn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว แกมนํ้าเงินหลอมละลายที่ ๔๑๙ ? ซ. ใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันสนิม. (อ. zinc); เหล็กชุบสังกะสีบาง ๆ เป็นแผ่นเรียบหรือเป็นลอนอย่างลูกฟูก ใช้มุง หลังคาเป็นต้น เช่น หลังคาสังกะสี รั้วสังกะสี.
  15. สั่งเสีย : ก. เตือน, กําชับ, บอกให้เข้าใจ, เช่น พอแม่จะออกจากบ้าน ก็สั่งเสียลูกให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย; บอกไว้อาลัยในการที่ จะจากไป, บอกเป็นการอำลา, เช่น เขาตายโดยไม่ได้สั่งเสียลูกเมีย.
  16. ห่วง : น. เครื่องคล้อง เช่น ห่วงประตู, ของที่เป็นวง. ก. ผูกพัน, กังวลถึง, มีใจ พะวงอยู่.
  17. หับ : ก. ปิด, งับ, เช่น เข้าห้องแล้วหับประตูเสีย.
  18. เหม็ง : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงเหม็งประตูใด โปออกประตูนั้น เจ้ามือ ใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกข้างเคียงซ้ายหรือขวา เป็นเจ๊า ถ้าออกประตูตรงข้าม เจ้ามือกิน เช่น เหม็ง ๒ ถ้าออก ๒ เป็นถูก ออกหน่วย ออก ๓ เป็นเจ๊า ออกครบ เจ้ามือกิน.
  19. อกเลา : น. ไม้ที่เป็นสันทาบอยู่ที่บานประตูหรือหน้าต่างแบบโบราณ เพื่อบังช่องที่บานประตูหรือหน้าต่างทั้ง ๒ บานประกับกัน.
  20. ออ ๑ : ก. รวมกันเป็นกลุ่ม, คั่งกันอยู่, เช่น คนอออยู่หน้าประตู.
  21. อ๊อดแอ๊ด, อ๊อด ๆ แอ๊ด ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงเปิดปิดประตูที่บานพับฝืดเป็นต้น.
  22. อ้าซ่า : ว. อาการที่นั่งหรือนอนถ่างขาอย่างเปิดเผย ในความว่า นั่งถ่างขา อ้าซ่า นอนถ่างขาอ้าซ่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เปิดอกอ้าซ่า, ลักษณะที่ประตูหรือหน้าต่างเปิดแบะออกเต็มที่ เช่น เปิดประตูอ้าซ่า.
  23. อินทขีล : [ทะขีน] น. เสาหรือหลักหน้าประตูเมือง, หลักเมือง, เสาเขื่อน. (ป.; ส. อินฺทฺร + กีล).
  24. แอด, แอด ๆ, แอ๊ด, แอ๊ด ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงเปิดหรือปิดประตูฝืด ๆ.
  25. ปรตยักษ์ : [ปฺรดตะยัก] (กลอน) ก. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
  26. รั่ว ๑ : ก. อาการที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นไหลเข้าหรือออกทางรอยแตก หรือรูที่เกิดจากความชํารุด เช่น นํ้ารั่ว ฝนรั่ว. ว. มีรอยแตกหรือมีรูซึ่ง เกิดจากความชํารุดที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นเข้าออกได้ เช่น เรือรั่ว ท่อประปารั่ว หลังคารั่ว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ข่าวรั่ว ข้อสอบรั่ว.
  27. รั่ว ๒ : ว. อาการที่ไล่ไม้ตีระไปบนลูกระนาดโดยไม่ลงคู่ ทำให้เสียงเพี้ยนหรือ ไม่ชัดเจน เช่น เขาตีระนาดรั่ว ฟังไม่เป็นเพลง.
  28. เร่ว : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Zingiberaceae ต้น คล้ายข่า เช่น เร่วใหญ่ (Amomum xanthioides Wall.) ผลใช้ทํายา.
  29. รพ, รพะ, รพา : [รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).
  30. เคารพ : ก. แสดงอาการนับถือ เช่น เคารพผู้ใหญ่ เคารพธงชาติ; ไม่ล่วงเกิน, ไม่ล่วงละเมิด, เช่น เคารพสิทธิของผู้อื่น. (ส. เคารว; ป. คารว).
  31. ปฏิ- : คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).
  32. ปฏิรพ : [-รบ] (แบบ) ก. ส่งเสียงเอาชัย, ร้องดัง, ร้องขู่. (ป. ปฏิรว).
  33. ประติทิน : น. ปฏิทิน. (ส. ปฺรติ + ทิน; ป. ปฏิ + ทิน).
  34. ปรีดิ, ปรีดิ์, ปรีดี : [ปฺรี-, ปฺรี] น. ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ, ความยินดี. (ส. ปฺรีติ; ป. ปีติ).
  35. ปีติ : น. ความปลาบปลื้มใจ, ความอิ่มใจ. (ป.; ส. ปฺรีติ).
  36. เปต : [เปตะ, เปดตะ] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์; ผู้ตายไปแล้ว, เปรต ก็ว่า. (ป.; ส. เปฺรต).
  37. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-187]

(0.0778 sec)