Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าเค้า, เค้า, เข้า , then ขา, ขาคา, เข้, เข้า, เข้าเค้า, คา, เค้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าเค้า, 1990 found, display 451-500
  1. ขับพล : ก. ยกทัพ, เคลื่อนกองทัพเข้าโจมตีข้าศึก.
  2. ขา ๔ : (โบ) ส. เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนคำว่า เขาสองคน เช่น สองขาพ่อลูก หมายถึง เขาสองคนพ่อลูก.
  3. ข้าง : น. เบื้อง เช่น ข้างหน้า ข้างหลัง; ส่วน เช่น ข้างหัว ข้างท้าย; ฝ่าย เช่น ข้างไหน ข้างนี้; สีข้าง เช่น เอาข้างเข้าถู. บ. ใกล้, ริม, เช่น ต้นฝรั่งข้างรั้ว.
  4. ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ : (สํา; โบ) น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบ ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อน เจ้านายน้อยตัวก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้น ก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้าเข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น. (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).
  5. ข้าเฝ้า : น. ขุนนางที่มีตําแหน่งเข้าเฝ้า.
  6. ขาม ๑ : ก. คร้าม, เกรง, มักใช้เข้าคู่กับคํา เกรง เป็น เกรงขาม.
  7. ขาย : ก. เอาของแลกเงินตรา, โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่กันโดย ตกลงกันว่าผู้รับโอนจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้น มีหลายลักษณะ คือ ชําระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน เรียกว่า ขายเงินสด, ขายโดยยอม เก็บเงินอันเป็นราคาของในวันหลัง เรียกว่า ขายเชื่อ, (เลิก) เอาเงินเขา มาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าเงิน เรียกว่า ขายตัวลงเป็นทาส.
  8. ขายชาติ : ก. ขยายความลับประเทศชาติของตนแก่ศัตรูหรือเอาใจ ออกหากไปเข้ากับศัตรู เพราะเห็นแก่สินจ้างหรือสิ่งตอบแทนเพื่อ ทําลายล้างประเทศชาติของตน, ขายบ้านขายเมือง ก็ว่า.
  9. ขายชื่อ : ก. เอาชื่อเข้าแลกในทํานองขาย, ไม่รักชื่อ, ทําให้เสียชื่อเสียง, ถ้าเอาชื่อผู้อื่นไปแอบอ้างหาผลประโยชน์ เรียกว่า เอาชื่อไปขาย.
  10. ขี้คร้าน : ก. เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น เช่น พอยอเข้าหน่อยขี้คร้านจะทำให้ทุกอย่าง.
  11. ขี้ริ้ว : น. เรียกผ้าเก่าที่ใช้เช็ดถูเป็นต้น. ว. ไม่สวย, ไม่งาม, บางทีใช้ เข้าคู่กับคำ ขี้เหร่ เป็น ขี้ริ้วขี้เหร่.
  12. ขี้เหร่ : ว. ไม่สวย, ไม่งาม, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ขี้ริ้ว เป็น ขี้ริ้วขี้เหร่.
  13. ขึ้ง : ก. แค้น, เคือง, โกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น โกรธขึ้ง ขึ้งโกรธ ขึ้งเคียด.
  14. ขึ้นฉ่าย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Apium graveolens L. ในวงศ์ Umbelliferae ใบคล้ายผักชีแต่โตกว่า กลิ่นฉุน เป็นพรรณไม้ที่นําเข้ามาปลูก เพื่อเป็นอาหาร.
  15. ขึ้นซัง : ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทําอันตรายได้แล้ว, นั่งซัง ก็ว่า.
  16. ขึ้นทะเบียนทหาร : ก. แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่อมีอายุ ย่างเข้า ๑๘ ปี, ผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ถือว่าเป็นทหารกองเกิน.
  17. ขึ้นระวาง : ก. เข้าทําเนียบ, เข้าประจําการ, (ใช้แก่พาหนะของหลวง คือ ม้า ช้าง รถ และเรือ).
  18. ขื่อผี : น. ชื่อกําไลที่ทําด้วยเงินหรือทองเกลี้ยง ๆ หัวท้ายรีดเป็นลวด ทําเป็น ห่วงสอดไขว้กันเพื่อรูดเข้าออกได้, กําไลคู่ผี ก็เรียก.
  19. เขก : ก. ใช้ด้านหลังของข้อนิ้วที่งอเข้าด้วยกันเคาะลงไป เช่น ใช้มะเหงกเขกหัว.
  20. เข่น : ก. ทุบหรือตีอย่างแรงเพื่อให้แบนเป็นต้น เช่น เข่นมีด. เข่นเขี้ยว ก. กัดฟันด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำ เคี้ยวฟัน เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
  21. เขน ๓ : ก. คลี่ (ขนหางนก), มักใช้เข้าคู่กับคํา กาง เป็น กางเขน.
  22. เขม้น : [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าว บางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่ จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล)
  23. เข้าปก : ก. เย็บปกหนังสือ. เข้าปริวาส, เข้าปริวาสกรรม ก. เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวัน ที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า.
  24. เข้าผี : ก. ทําพิธีให้ผีเข้าสิงในตัว.
  25. เข้าหา : ก. ไปให้เห็นหน้า, ไปอ่อนน้อม เช่น เรื่องนี้ต้องเข้าหาผู้ใหญ่; ลอบเข้าห้องหญิงเพื่อการชู้สาว.
  26. เขิน ๓, เขิน ๆ : ว. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย; เข้ากันไม่สนิท เช่น ข้อความ ตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่.
  27. แขกไม่ได้รับเชิญ : (สำ) น. คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำ ให้เกิดความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์ บางชนิด เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูตูหน้าต่าง มิฉะนั้นแขกไม่ได้ รับเชิญจะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญ จะเข้ามา.
  28. แขนะ : [ขะแหฺนะ] (โบ) ก. แกะ, สลัก, เจาะ. น. กรรมวิธีในการสร้างงาน ประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดย ใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า.
  29. แขย่ง : [ขะแหฺย่ง] ว. แขย็ก ๆ, อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้ ไม่สะดวก, เช่น ผ้าคาดพุงผูกพันขยันตะแบง แขย่งเข่นฆ่าพร้าขัดเอว. (ม. ร่ายยาว ชูชก), มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา เขย้อ เป็น เขย้อแขย่ง.
  30. โข่ง ๒ : (ปาก) ว. เปิ่น, ไม่เข้าท่า; โค่ง.
  31. โขลก, โขลก ๆ : [โขฺลก] ก. ตําให้เข้ากัน หรือให้เหนียว หรือให้แหลก. ว. เสียงดังเช่น นั้น เช่น เสียงไอโขลก ๆ.
  32. ไข่เจียว : น. ไข่ที่ตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากันแล้วทอดนํ้ามัน, ถ้านํ้ามัน มากจนไข่ที่เจียวฟู เรียก ไข่ฟู, ถ้ามีเนื้อหมูสับผสมด้วย เรียก ไข่เจียวหมูสับ.
  33. ไข่ดาว : น. ไข่ทอดทั้งลูกโดยไม่ต้องตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากัน.
  34. ไข่ตุ๋น : น. ไข่ที่ตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากันแล้วนึ่ง.
  35. ไขน้ำ : ก. ปล่อยนํ้าที่ขังอยู่ให้ไหล เช่น ไขนํ้าเข้านา.
  36. คน ๒ : ก. กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นกวนเพื่อทําสิ่งที่นอนก้นหรือที่เกาะกันอยู่ เป็นกลุ่มเป็นก้อนให้กระจายขยายตัว หรือกวนสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากัน.
  37. คนกลาง : น. ผู้ถือเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, ผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย, ผู้ทําการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค.
  38. คนดีผีคุ้ม : (สํา) น. คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
  39. คนร้ายตายขุม : (สำ) น. คนทำชั่วย่อมตกนรก, มักใช้เข้าคู่กับ คนดีผีคุ้ม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
  40. คบ ๓ : ก. เข้าเป็นพวกกัน.
  41. คบค้า, คบค้าสมาคม : ก. ไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน, คบหา ก็ว่า.
  42. คบหา : ก. ไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน, คบค้า หรือ คบค้าสมาคม ก็ว่า.
  43. คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
  44. คร้าน : [คฺร้าน] ว. มีความรู้สึกไม่อยากจะทําหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใด ๆ, ตามปรกติเมื่อใช้พูดมักมีคํา ขี้ ประกอบหน้า เช่น ขี้คร้าน และมักใช้เข้าคู่ กับคํา เกียจ เป็น เกียจคร้าน ขี้เกียจขี้คร้าน หมายความว่า ไม่อยากทํางาน.
  45. คร้าม : [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
  46. คร่าว ๆ : ว. เลา ๆ พอเห็นเป็นเค้า, ยังไม่เรียบร้อย.
  47. คราว ๑ : [คฺราว] น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้ อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา ๓ คราว.
  48. ครุฑพ่าห์ : [คฺรุดพ่า] น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธง เทำด้วยผ้าปักไหมทองป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ใน คันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวม ต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระ ครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่, ใช้เข้าคู่กับ ธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และ ธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.
  49. คล้อง : [คฺล้อง] ก. เอาของที่มีลักษณะเป็นเส้น เป็นวงหรือเป็นบ่วง คาด เกี่ยว หรือสวมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า เช่น ผ้าคล้องคอ คล้องพวงมาลัย คล้องช้าง, เอาของที่เป็นวงหรือโค้งเกี่ยวหรือเกี่ยวกัน เช่น ลูกโซ่คล้องกัน คล้องแขน, รับกัน เช่น ชื่อคล้องกัน.
  50. คลัง ๒ : [คฺลัง] น. ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือกสําหรับล่ามสัตว์หรือเรือ, (โบ) กลัง. ก. ผูกคอสัตว์ให้เข้าคู่กัน เพื่อไม่ให้พรากกัน หรือฝึกหัดตัวที่ไม่ ชํานาญงาน เช่น เอาวัวไปผูกเข้าคู่กัน ว่า เอาวัวไปคลัง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1990

(0.1260 sec)