Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างหวุดหวิด, หวุดหวิด, อย่าง , then หวุดหวิด, อยาง, อย่าง, อยางหวดหวด, อย่างหวุดหวิด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างหวุดหวิด, 2395 found, display 1501-1550
  1. ฟุ่บ : ว. เสียงดังอย่างเสียงดินปืนที่จุดแล้วลุกไหม้ทันทีทันใด.
  2. ฟูดฟาด : ว. เสียงอย่างเสียงหายใจแรง ๆ เวลาเหนื่อยมาก ๆ, ฟืดฟาด ก็ว่า.
  3. ฟูมฟายน้ำตา : ก. เอามือทั้ง ๒ ข้างเช็ดน้ำตาที่ไหลอาบหน้าเพราะ ความเศร้าโศกเสียใจอย่างหนัก.
  4. เฟื่อง ๑ : น. เครื่องประดับอย่างหนึ่ง ทำเป็นสายห้อยโยงเป็นช่วง ๆ มีอุบะห้อยระหว่างเฟื่อง; เรียกโรคที่มีเสมหะกําเริบว่า เสมหะเฟื่อง.
  5. แฟ่ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงจุดไม้ขีดไฟติด; (ปาก) มาก ในคำว่า หรูแฟ่.
  6. แฟ้ม : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย รูปร่างคล้ายฝา หอยแครงประกบเป็นคู่ ขอบปากตอนบนมีหูสําหรับสอดไม้ คานเพื่อหาบไป ใต้หูมีห่วงและลูกสลักสําหรับขัดปาก ขอบ ด้านล่างถักพันให้ติดกันอย่างบานพับ ใช้ใส่เสบียงกรัง เช่น ปลาย่าง เนื้อเค็ม พริกแห้ง, ที่สําหรับเก็บแผ่นกระดาษ มี ปกหน้าปกหลังทําด้วยกระดาษแข็งเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น ชนิดเจาะข้าง ชนิดมีสปริงสําหรับหนีบกระดาษ ชนิดมีซองสําหรับ ใส่เอกสาร, กระเป๋าหิ้วสําหรับใส่เอกสาร.
  7. ไฟ : น. ชื่อธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม; ผลจาก ปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่าง และเปลว คือ กลุ่มแก๊สที่กําลังลุกไหม้ ทําให้ไหม้สิ่งต่าง ๆ ได้; ผ่านการอยู่ไฟมาแล้ว เช่น สามไฟ คือ อยู่ไฟมาแล้ว ๓ ครั้ง; ไฟฟ้า เช่น ไฟสว่าง, โดยปริยายหมายถึงความเดือดร้อน เช่น ตอนนี้บ้านเมืองกำลังเป็นไฟ.
  8. ภควัม : [พะคะ–] น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียก คนที่ทําหน้าควํ่าหน้างอไม่รับแขกว่า ทําหน้าเป็นภควัม หรือหน้าควํ่าเป็น ภควัม; หินชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างอย่างนั้น.
  9. ภาพพจน์ : [พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสํานวนโวหารทําให้นึกเห็นเป็น ภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผล ต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่าง กว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).
  10. ภารยทรัพย์ : [พาระยะซับ] (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นเจ้าของจะต้องรับภาระ บางอย่างที่เกิดจากภาระจํายอม, คู่กับ สามยทรัพย์.
  11. ภาระจำยอม : (กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ จําต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้อง งดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อ ประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจํายอม.
  12. ภาระติดพัน : น. ความผูกพันที่จะต้องกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  13. ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
  14. ภาษามีวิภัตติปัจจัย : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัย ประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดง เพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีก โบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).
  15. ภาษีเงินได้ : น. ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน.
  16. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน : (กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มี กรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตาม ค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.
  17. ภูมิภาค : [พูมมิ–, พูมิ–] น. หัวเมือง; (ภูมิ) อาณาบริเวณที่มีลักษณะบางอย่าง เช่นลักษณะทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม ทางการเมือง คล้ายคลึงกันจนสามารถจัดเข้าพวกกันได้ และแตกต่างกับบริเวณใกล้เคียง โดยรอบ.
  18. มณฑป : [มนดบ] น. เรือนยอดขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัด มุม หรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห, ใช้ว่า มรฑป ก็มี. (ป., ส.); ขันนํ้าเย็นของพระเจ้าแผ่นดินที่มีฝาเป็นรูปอย่างมณฑป เรียกว่า พระมณฑป.
  19. มโนราห์ ๑ : น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารํา อย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.
  20. มรกต : [มอระกด] น. ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในจำพวกนพรัตน์ มีสีเขียว.
  21. มรรค, มรรค-, มรรคา : [มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  22. มล่าน : [มะล่าน] ก. วิ่งอย่างรีบ, วิ่งพล่าน.
  23. มวกผา : น. ของอย่างหนึ่งเป็นยางคล้ายวุ้นอยู่ตามเขา.
  24. ม่วง ๑ : ว. สีน้ำเงินปนแดง, ถ้าออกครามเรียก สีม่วงคราม, ถ้าออกแดงเรียก สีม่วงชาด, ถ้าเจือขาวเรียก สีม่วงอ่อน, เรียกผ้าไหมสําหรับผู้ชายนุ่งที่มีสีอย่างนั้นหรือสีอย่างอื่นว่า ผ้าม่วง.
  25. ม้วน : ก. หมุนพันเข้าไปให้มีลักษณะกลมอย่างรูปทรงกระบอก. น. ลักษณนามเรียกสิ่งของ เช่นผ้าหรือกระดาษที่ขดหรือพันห่อตัวอยู่ เช่น ผ้าม้วนหนึ่ง กระดาษ ๒ ม้วน.
  26. มวยปล้ำ : น. กีฬาต่อสู้ด้วยมือเปล่าอย่างหนึ่ง คู่ต่อสู้ต้องพยายามทําให้อีกฝ่ายล้มลงจนไหล่ ด้านหลังทั้ง ๒ ข้างแตะพื้นตลอดช่วงเวลาที่กำหนดจึงจะเป็นฝ่ายชนะ.
  27. มวยวัด : น. การชกต่อยอย่างไม่มีกติกา.
  28. มวยหมู่ : น. การยกพวกเข้าชกต่อยกันอย่างชุลมุน.
  29. มหาวรรค : น. ชื่อคัมภีร์พระวินัยปิฎกคัมภีร์หนึ่ง; วิธีนับปักษ์อย่างหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ ปักษ์ขาด ๑ ปักษ์ รวมเป็น ๕ ปักษ์ เรียกว่า มหาวรรค.
  30. มหาศาล : น. ผู้ยิ่งใหญ่ในวรรณะนั้น ๆ, ถ้าเป็นพราหมณ์ก็หมายความว่า มีศิษย์มาก, ถ้าเป็นกษัตริย์ก็หมายความว่า มีอํานาจมาก, ถ้าเป็นแพศย์ก็หมายความว่า มีทรัพย์มาก. ว. มีทรัพย์สมบัติมากมาย เช่น เศรษฐีมหาศาล, (ปาก) อย่างยิ่ง, มากมาย, เช่น เขามีที่ดินมหาศาล. (ส.).
  31. มหาสงกรานต์ : น. นักขัตฤกษ์ขึ้นปีใหม่อย่างเก่า เริ่มแต่พระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีเมษ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์.
  32. มหาอุปราช : [มะหาอุปะหฺราด, -อุบปะหฺราด] (โบ) น. ตำแหน่งรองพระเจ้าแผ่นดิน, เรียกกันอย่างสามัญว่า วังหน้า; ตำแหน่งขุนนางทำหน้าที่มุขมนตรี.
  33. มเหาษธ ๑ : [มะเหาสด] น. ยาแรงชนิดหนึ่ง; การแก้ไข้อย่างชะงัด. (ส.).
  34. มอ ๒ : น. เนินดินเล็ก ๆ อย่างภูเขา, เขาจําลองที่ทําไว้ดูเล่นในบ้าน เรียกว่า เขามอ.
  35. มอ ๓ : น. วัวตัวผู้. ว. เสียงอย่างเสียงวัวร้อง.
  36. มอ ๔ : ว. สีมัว ๆ อย่างสีดําเจือขาว.
  37. มอญซ่อนผ้า : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง โดยผู้เล่นนั่งล้อมวง ผู้ซ่อนผ้าจะถือผ้าซึ่งมัก ฟั่นให้เป็นเกลียวเดินวนอยู่นอกวง เมื่อเห็นผู้ใดเผลอก็ทิ้งผ้านั้นไว้ข้างหลังและทำเสมือนว่า ยังไม่ได้ทิ้งผ้า แล้วเดินวนอีก ๑ รอบ ถ้าผู้ที่มีผ้าวางอยู่ข้างหลังยังไม่รู้สึกตัว ก็หยิบผ้านั้นขึ้นมาตี ผู้ถูกตีจะต้องลุกขึ้นวิ่งหนีไป ๑ รอบ แล้วกลับไปนั่งที่เดิมผู้ซ่อนผ้าก็จะเดินวนต่อไปหาทางทิ้งผ้า ให้ผู้อื่นใหม่ แต่ถ้าผู้นั้นรู้ตัวก่อนก็จะหยิบผ้าลุกขึ้นไล่ตีผู้ซ่อนผ้าให้วิ่งไป ๑ รอบ ผู้ซ่อนผ้าก็จะมานั่ง แทนที่ผู้ที่ไล่ตีนั้นก็จะเป็นผู้ซ่อนผ้าต่อไป.
  38. มอญตีดั้ง : น. ชื่อดอกไม้ไฟอย่างหนึ่งในพวกดอกไม้นํ้า.
  39. มอด ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ที่เจาะกินเข้าไปในวัสดุต่าง ๆ ทําให้เกิดเป็น รูพรุนทั่วไปกับทั้งมีวัสดุผสมมูลขับถ่ายออกมาเป็นขุยเป็นเม็ดเล็ก ๆ เรียก ขี้มอด ส่วนใหญ่เป็น แมลงปีกแข็ง เช่น มอดข้าวสาร (Sitophilus oryzae) ในวงศ์ Curculionidae ทําลายข้าวสาร, มอดไม้ไผ่ (Dinoderus minutus) ในวงศ์ Bostrychidae เจาะไม้ไผ่แห้งเป็นรูเท่ารูเข็มกระจายทั่วไป; เรียกหน้าที่เป็นรอย ๆ อย่างมอดเจาะเช่นหน้าคนที่เป็นฝีดาษว่า หน้ามอด.
  40. มอร์ฟีน : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H19O3N ลักษณะเป็นผลึกสีขาว หลอมละลายที่ ๒๕๔ ? ซ. มีในฝิ่น เป็น ยาเสพติดอย่างแรง ทางแพทย์ใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์หรือเกลือ แอซีเทต หรือเกลือซัลเฟตของมอร์ฟีนเป็นยาระงับความปวด. (อ. morphine).
  41. มะ ๑ : คํานําหน้าต้นไม้หรือผลไม้บางอย่าง กร่อนมาจากคํา ''หมาก'' โบราณแปลว่า ลูกไม้, ผลไม้.
  42. มะตะบะ : น. ชื่ออาหารอย่างมุสลิมชนิดหนึ่ง คล้ายโรตี แต่มีไส้ทําด้วย เนื้อหรือไก่ผัดกับหอมหัวใหญ่ใส่เครื่องเทศ กินกับอาจาด.
  43. มักกะสัน : น. ชื่อชนชาติชาวอินโดนีเซียในมากัสซาร์ตอนใต้เกาะเซเลบีส, โดยปริยายหมาย ความว่า มีรูปร่างใหญ่โต ดุร้าย น่าเกลียดน่ากลัว เช่น รูปร่างอย่างกับยักษ์มักกะสัน.
  44. มัด : ก. ผูกรัดเข้าด้วยกัน, ผูกรัดให้แน่น. น. ลักษณนามเรียกของบางอย่าง ที่ผูกรัดเข้าด้วยกัน เช่น ไต้มัดหนึ่ง ฟืน ๒ มัด.
  45. มัดหมี่ : น. กรรมวิธีในการทอผ้าอย่างหนึ่ง เอาเชือกมัดด้ายหรือไหม เป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้, เรียกผ้าที่ทอด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า ผ้ามัดหมี่, หมี่ ก็เรียก.
  46. มัดหมู : น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่าทั้ง ๒ ขึ้นมา แล้วเอา มือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, ทิ้งมะพร้าวห้าว ก็ว่า.
  47. มัดหวาย : น. เรียกลายนิ้วมือที่ไม่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างก้นหอยว่า ลายมัดหวาย.
  48. มัธยัสถ์ : [มัดทะยัด] ก. ใช้จ่ายอย่างประหยัด. (ส. มธฺยสฺถ ว่า ปานกลาง, ตั้งอยู่ในท่ามกลาง).
  49. มัน ๓ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สําหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้น ตามสถานะที่ควร สําหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสําหรับเรียก สัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  50. มัน ๕ : ว. มีรสอย่างรสกะทิหรืออย่างถั่วลิสงคั่ว; เป็นเงา, ขึ้นเงา, เช่น เหงื่อออกหน้าเป็นมัน. มันแปลบ ว. มันเป็นเงาวับ, มันปลาบ หรือ มันแผล็บ ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | [1501-1550] | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2395

(0.0737 sec)