Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างหวุดหวิด, หวุดหวิด, อย่าง , then หวุดหวิด, อยาง, อย่าง, อยางหวดหวด, อย่างหวุดหวิด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างหวุดหวิด, 2395 found, display 2001-2050
  1. สมหน้าสมตา : ว. เหมาะแก่เกียรติและฐานะ เช่น ลูกสาวบ้านนั้นเขา แต่งงานไปอย่างสมหน้าสมตา.
  2. สมองฝ่อ : น. เนื้อสมองน้อยลงเนื่องจากมีการเสื่อมสลายของเซลล์ ประสาทและเนื้อเยื่อของสมองหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. cerebral atrophy).
  3. สมัคร : [สะหฺมัก] ก. ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือร่วมในกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น เช่น สมัครเป็นสมาชิกสมาคม สมัครเข้า ทำงาน, บางทีก็มีคํา ใจ ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเป็นคําผสมชนิดที่ต้องการ เน้น เช่น ใจสมัคร ว่า ใจที่สมัคร, สมัครใจ ว่า สมัครด้วยความเต็มใจ. (ต. สมัค ว่า เต็มใจ; ป. สมคฺค; ส. สมคฺร ว่า พร้อม).
  4. สมัช, สมัชชา : [สะมัด] น. การประชุมเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ไปร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติ; ที่ประชุม เช่น สมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาชาติ. (ป.).
  5. สมัยเก่า : น. สมัยโบราณ เช่น ถ้วยชามชุดนี้เป็นของสมัยเก่า. ว. พ้นสมัย, ไม่ใช่สมัยใหม่, ก่อนเวลาปัจจุบัน, เช่น เขามีความคิดอย่างคนสมัยเก่า. สมัยนิยม
  6. สมัยใหม่ : น. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ปรัชญาสมัยใหม่. ว. ทันสมัย เช่น แม้เขาจะอายุมาก แต่เขามีความคิดอย่างคนสมัยใหม่.
  7. สมานคติ : [สะมานะ] น. การดําเนินอย่างเดียวกัน, การมี ความเห็น พ้องกัน. (ส.).
  8. สมาบัติ : [สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิต เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการ เข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).
  9. สมาพันธรัฐ : [พันทะ] น. รัฐหลาย ๆ รัฐที่รวมกันเพื่อประโยชน์ร่วมกันบางอย่าง โดยมีข้อตกลงระหว่างกันให้มีรัฐบาลกลาง และให้มีอํานาจหน้าที่ เฉพาะกิจการบางอย่างที่รัฐสมาชิกยินยอมมอบหมายให้เท่านั้น, ปัจจุบันไม่มีแล้ว. (อ. confederation of states).
  10. สมุจเฉท, สมุจเฉท : [สะหฺมุดเฉด, เฉดทะ] น. การตัดขาด. (ป., ส.). สมุจเฉทปหาน [ปะหาน] น. การละกิเลสได้ขาดอย่างพระอรหันต์.
  11. สโมสรสันนิบาต : น. งานชุมนุมใหญ่อย่างเป็นทางการ เช่น รัฐบาล จัดงานสโมสรสันนิบาตที่ทำเนียบรัฐบาลเนื่องในพระราชพิธีเฉลิม พระชนมพรรษา.
  12. สยบ : [สะหฺยบ] ก. ซบลง, ฟุบลง, เช่น สยบอยู่แทบเท้า; แพ้ เช่น เขายอม สยบอย่างราบคาบ, ทําให้พ่ายแพ้ เช่น พระพุทธเจ้าสยบมาร.
  13. สยุมภู : [สะหฺยุมพู] ว. เป็นเองตามธรรมชาติ เช่น รกสยุมภู ว่า รกอย่างเป็นเอง ตามธรรมชาติ.
  14. สรรค์ : [สัน] ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สร้าง เป็น สรรค์สร้าง หรือ สร้างสรรค์. (ส. สรฺค ว่า สร้างอย่างพระพรหมสร้างโลก).
  15. สรรเพชญ : (แบบ) น. ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, ผู้รู้ทั่ว, พระนามของพระพุทธเจ้า, สรรพัชญ ก็เรียก. (ส. สรฺวชฺ?; ป. สพฺพญฺญู).
  16. สรวมชีพ : ก. ขอชีวิต, ขอจงให้ชีวิตหรือปกป้องชีวิต, ใช้ขึ้นต้นคํา กราบบังคมทูลอย่างขอเดชะ.
  17. สรวลสันหรรษา : ก. หัวเราะร่าเริงยินดี, หัวเราะอย่างชอบอกชอบใจ, เช่น บรรดาศิษย์เก่ามาร่วมสรวลสันหรรษาในงานชุมนุมศิษย์เก่า ประจำปี.
  18. สรวลเส, สรวลเสเฮฮา : ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนาน ครึกครื้น, เช่น เขาชอบหาเรื่องขำขันมาเล่า ทำให้เพื่อน ๆ ได้ สรวลเสเฮฮาเสมอ, เสสรวล ก็ว่า.
  19. สระ ๒ : [สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้น และริมฝีปากเป็นสําคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วน หนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียง พยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).
  20. สร้างวิมานในอากาศ : (สํา) ก. ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวัง จะมีหรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย.
  21. สร้างสถานการณ์ : ก. สร้างให้เป็นเรื่องเป็นข่าวขึ้นมาโดยไม่มีมูล เพื่อหวังประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  22. สลับฟันปลา : ว. สับหว่างสลับเยื้องกันอย่างฟันปลา เช่น นั่งสลับ ฟันปลา ยืนสลับฟันปลา.
  23. สลาตัน : [สะหฺลา] น. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝนว่า ลมสลาตัน, เรียกลมพายุที่มี กําลังแรงจัดทุกชนิด เช่น ไต้ฝุ่น ไซโคลน ว่า ลมสลาตัน, โดยปริยาย ใช้เป็นความเปรียบเทียบหมายถึงอาการที่ไป มา หรือเกิดขึ้นรวดเร็ว อย่างลมสลาตัน เช่น เวลาเขาโกรธอย่างกับลมสลาตัน. (เทียบ ม. selatan ว่า ลมใต้).
  24. สวด : ก. ว่าเป็นทํานองอย่างพระสวดมนต์ เช่น สวดสังคหะ สวดพระ อภิธรรม; (ปาก) นินทาว่าร้าย, ดุด่า, ว่ากล่าว, เช่น ถูกแม่สวด.
  25. สวบ, สวบ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงกรับพวง; เสียงคนหรือสัตว์ยํ่าไปบนใบไม้หรือ สิ่งที่ทําให้เกิดเสียงเช่นนั้น เช่น เสียงเดินบุกป่าดังสวบ ๆ, สวบสาบ ก็ว่า; อาการที่ก้มหน้าก้มตากินเอา ๆ ด้วยความหิวโหยหรือตะกละ ตะกลาม; อาการที่ก้าวเดินจ้ำเอา ๆ.
  26. สวา : [สะหฺวา] น. ลิง. (ข.). สวาปาม [สะหฺวา] ก. ขยุ้มกินอย่างตะกละลุกลนอย่างลิงกิน, (ปาก) กินอย่างตะกละ.
  27. สวาด : [สะหฺวาด] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Caesalpinia bonduc (L.) Roxb. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นมีหนาม ฝักมีหนามละเอียด เมล็ดกลม เปลือกแข็งสีเทาอมเขียว. ว. สีเทาอมเขียวอย่างสีเมล็ดสวาด เรียกว่า สีสวาด, เรียกแมวที่มีสีเช่นนั้นว่า แมวสีสวาด ว่าเป็นแมวไทยที่ชาว ต่างประเทศนิยมเลี้ยงและมีราคาแพง.
  28. สหธรรม : น. ธรรมอันเดียวกัน, กฎหรือความเชื่อถืออย่างเดียวกัน. สหธรรมิก [สะหะทํามิก] น. ผู้มีการประพฤติธรรมร่วมกัน เช่น พระสงฆ์ทั้งปวงเป็นเพื่อนสหธรรมิกกัน อุบาสกอุบาสิกาเป็น สหธรรมิกกัน. (ป. สหธมฺมิก).
  29. สหภาพ : น. การรวมตัวขององค์การตั้งแต่ ๒ องค์การขึ้นไป เพื่อทํา กิจการทั่วไปหรือกิจการเฉพาะอย่างตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหภาพศุลกากร สหภาพรัฐสภา; ชื่อรูปแบบหนึ่ง ของการรวมตัวของรัฐตั้งแต่ ๒ รัฐขึ้นไป เช่น สหภาพพม่า; องค์การ ของลูกจ้าง เช่น สหภาพแรงงาน. (อ. union).
  30. สอนนาค : ก. กล่าวคำทำขวัญนาคเพื่อสอนกุลบุตรที่จะอุปสมบทให้ รู้สึกซาบซึ้งถึงพระคุณของพ่อแม่ และให้เห็นว่าการบวชนั้นเป็นการ ตอบสนองพระคุณพ่อแม่อย่างหนึ่ง.
  31. สอบสวน : (กฎ) ก. รวบรวมพยานหลักฐานและดําเนินการอย่างอื่น ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะ ทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทําผิด มาฟ้องลงโทษ.
  32. สอย ๑ : ก. เอาไม้มีขอหรือมีง่ามหรือไม้จำปาเกี่ยว ดึงดัน หรือบิดเอาดอกไม้ ลูกไม้เป็นต้นลงมา; แทงด้วยเข็มหรือสิ่งที่แหลมอย่างเข็มเย็บผ้าให้ เป็นตะเข็บ.
  33. สะกาง : น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้าง สําหรับผูกเหยื่อลอยนํ้าไว้; เครื่องล่อใจ เช่น สินสะกาง; ตะกาง ก็เรียก.
  34. สะเก็ด : น. ชิ้นย่อยของไม้หรือหินเป็นต้นที่ตัดหรือแยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น สะเก็ดไม้; เลือดและนํ้าเหลืองซึ่งแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล เช่น สะเก็ดแผล; โดยปริยายหมายความว่า เศษเล็กเศษน้อยซึ่งมีค่าตํ่ากว่า มาตรฐาน, เลว, เช่น คนสะเก็ดอย่างนั้น ใครจะคบด้วย.
  35. สะเงาะสะแงะ : ว. เปะปะอย่างคนเมา เช่น เดินสะเงาะสะแงะ พูดจาสะเงาะสะแงะ.
  36. สะดุดใจ : ก. ฉุกคิดขึ้นมาได้, ฉุกใจได้คิดเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างมา กระทบใจทำให้รู้สึกสงสัยตงิด ๆ.
  37. สะเด็ด ๒ : (ปาก) ว. อย่างยิ่ง เช่น กับข้าววันนี้อร่อยสะเด็ด.
  38. สะเด็ดยาด : (ปาก) ว. อย่างที่สุด เช่น ผู้หญิงคนนั้นสวยสะเด็ดยาด.
  39. สะตึ, สะตึ ๆ : (ปาก) ว. ไม่มีอะไรดี, ไม่ได้เรื่อง, ไม่มีค่า, เช่น หนังเรื่องนี้สะตึดูแล้ว เสียดายเงิน ของสะตึ ๆ อย่างนี้ไม่ซื้อหรอก.
  40. สะตุ : ก. แปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่นเกลือ สารส้ม จุนสี ให้เป็นผง บริสุทธิ์โดยวิธีทําให้ร้อนจัดด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ต้องการสลาย กลายเป็นควันไป.
  41. สะทกสะท้าน : ก. รู้สึกเกรงกลัว, รู้สึกเกรงกลัวจนตัวสั่น, เช่น เขาข่มขู่ฉันเสียจนสะทก สะท้านพูดไม่ถูก เธอตอบคำถามผู้บังคับบัญชาอย่างไม่สะทกสะท้าน.
  42. สะท้อน ๑ : ก. วกกลับ, ย้อนกลับ, เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน, โดยปริยาย หมายความว่า แสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นวนิยายสะท้อนภาพสังคม ละครสะท้อนชีวิตจริง.
  43. สะเทิ้น, สะเทิ้นอาย : ก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย (มักใช้แก่ หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาว พอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย.
  44. สะเทือนใจ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงในเมื่อได้ประสบกับสิ่งที่ ไม่น่าพอใจ เช่น เห็นภาพแม่กอดศพลูกร้องไห้แล้วรู้สึกสะเทือนใจ.
  45. สะเทือนอารมณ์ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากระทบทำให้รู้สึกเศร้าหมอง เช่น นวนิยายสะเทือนอารมณ์ อ่าน เรื่องเศร้าแล้วสะเทือนอารมณ์.
  46. สะบัด : ก. เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง เพื่อให้ สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติดอยู่หลุดกระเซ็น ไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมวคาบหนูสะบัดไปมา หรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัดมาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อ ลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่ง เช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือหรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้ว เกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด, สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดย ปริยายหมายความว่า อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัดโกงสะบัด; (โบ) ฉ้อโกง, กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้.
  47. สะบัดช่อ : (ปาก) ว. อย่างที่สุด เช่น สวยสะบัดช่อ.
  48. สะบัดย่าง : ว. อาการที่ม้าเดินเหยาะย่างอย่างสง่างามพร้อมกับสะบัด หางด้วย ในความว่า ม้าเดินสะบัดย่าง.
  49. สะบั้น : ว. อาการที่แยกหรือขาดจากกันอย่างเด็ดขาด เช่น สัมพันธภาพขาด สะบั้น ความรักขาดสะบั้น, โดยปริยายหมายความว่า อย่างยิ่ง, อย่างมาก, เช่น กินสะบั้น.
  50. สะบั้นหั่นแหลก : (ปาก) ว. อย่างที่สุด เช่น โกงสะบั้นหั่นแหลก บู๊สะบั้น หั่นแหลก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | [2001-2050] | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2395

(0.0653 sec)