Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ดำรงอยู่, อยู่, ดำรง , then ดำรง, ดำรงอย, ดำรงอยู่, อย, อยู่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ดำรงอยู่, 2739 found, display 2551-2600
  1. เห็บ ๑ : น. ชื่อแมงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวเลยขาคู่ที่ ๔ มาทางด้านส่วนท้อง มีทั้งชนิดที่มีผนังลําตัวแข็งและ ผนังลําตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus) เห็บสุนัข (Rhipicephalus sanguineus) ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae.
  2. เหม็น ๒ : น. ส้มเขียวหวานที่ยังอ่อนอยู่ ใช้ปรุงอาหารได้ เรียกว่า ส้มเหม็น.
  3. เหม, เหม- : [เหมะ-] น. ทองคำ; ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า เหมหัตถี กายสีเหลืองดั่งทอง. (ดู กาฬาวก). (ป.), เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่าง ซึ่งมียอดแหลมปิดทอง, เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับ บัวกลุ่ม.
  4. เหยียด : [เหฺยียด] ก. ทําสิ่งที่งออยู่ให้ตรง เช่น เหยียดเส้นลวด; ยาวตรงออกไปเต็ม ขนาด เช่น เหยียดแขน เหยียดขา; ในวิธีเลขโบราณว่า ลบออก เช่น เหยียด นพเป็นเอก คือ เอา ๙ ลบ ๑๐ เหลือ ๑; ดูถูก เช่น เหยียดผิว. ว. ยาวตรงออก ไปเต็มขนาด ในคำว่า ยาวเหยียด.
  5. เหยือก : [เหฺยือก] น. ภาชนะใส่น้ำเป็นต้น มีขนาดใหญ่และสูงกว่าถ้วย มีหูอยู่ข้าง ๆ ข้างเดียว.
  6. เหรียญ : น. โลหะที่มีลักษณะกลมแบนหรือรูปเหลี่ยมเป็นต้น มีภาพนูนหรือตัว อักษรอยู่บนพื้น เช่น เหรียญกระษาปณ์ เหรียญความดีความชอบ เหรียญที่ระลึก.
  7. เหล็กกล้า : น. เหล็กที่มีธาตุคาร์บอนเจืออยู่ประมาณร้อยละ ๐.๑๕-๑.๕ สมบัติของเหล็กกล้าแตกต่างกันไปตามจํานวนร้อยละของธาตุคาร์บอน และของโลหะอื่นที่เจือปนอยู่ ทั้งยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ใช้ในการเตรียม เหล็กกล้านั้น ๆ ด้วย.
  8. เหล็กพืด : น. เหล็กที่มีธาตุคาร์บอนเจือปนอยู่ประมาณร้อยละ ๐.๑๒- ๐.๒๕ และมีสิ่งเจือปนอื่น ๆ รวมกันทั้งสิ้นน้อยกว่าร้อยละ ๐.๕ เรียกเหล็กเหนียว หลอมละลายที่ ๑๔๐๐?ซ.-๑๕๐๐?ซ., เหล็กเหนียว ก็เรียก, เรียกชนิดหนึ่งที่ เป็นแผ่นยาวอย่างเหล็กทําปลอกถังว่า แถบเหล็กพืด.
  9. เหล็กหล่อ : น. เหล็กที่ได้มาจากเตาถลุง มีธาตุคาร์บอนเจือปนอยู่ประมาณ ร้อยละ ๒.๒-๔.๕ นอกจากนี้ยังมีธาตุแมงกานีส ฟอสฟอรัส ซิลิคอน และกํามะถันปนอยู่ด้วย หลอมละลายที่ประมาณ ๑๒๐๐ ?ซ.
  10. เหลิงลม : ว. อาการที่ว่าวติดลมส่ายไปมาบังคับไม่อยู่ ในคำว่า ว่าวเหลิงลม.
  11. เหลือ : [เหฺลือ] ก. เกิน, เกินต้องการ, มาก, มากเกิน; ยังอยู่, ค้างอยู่, ยังไม่หมด.
  12. เหลือก : [เหฺลือก] ก. ทําให้ลูกตาดําอยู่ข้างบน ในคําว่า เหลือกตา. ว. กลอกขึ้น, เบิกกว้าง, (ใช้แก่ตา), ลูกตาดําอยู่ข้างบน ในคําว่า ตาเหลือก.
  13. เหลือขอ : ว. ดื้อมาก, เอาไว้ไม่อยู่.
  14. เหลือบ ๑ : [เหฺลือบ] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Tabanidae รูปร่างคล้ายแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียวซึ่งมักใส แต่บางชนิดเป็นลายสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นํ้าเงิน รวมทั้งสีเลื่อมพราย จึงเรียกว่า ตัวเหลือบ หนวดปล้องปลายมี ลักษณะเรียวโค้งงอคล้ายเคียว ตาโต ตัวผู้ตาชิดกัน ตัวเมียตาห่าง ปากมี อวัยวะเป็นแผ่นคมคล้ายใบมีดตัดเนื้อให้ขาด และมีอวัยวะเป็นท่อดูด ของเหลวกินได้ ตัวเมียดูดเลือดมนุษย์และสัตว์ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Tabanus และ Chrysops. ว. สีเลื่อมพรายเวลากระทบแสงเป็นหลายสี คล้ายสีตัวเหลือบ.
  15. เหลือหลอ : [-หฺลอ] ว. หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือ หลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจน ไม่มีอะไรเหลือหลอ.
  16. เหวย ๆ : อ. คำร้องเรียกแสดงว่ามีอำนาจหรือแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นต้น เช่น เหวย ๆ เจ้าเด็กน้อย. ว. เสียงร้องเรียกที่ได้ยินแต่ที่ไกล เช่น ได้ยินเสียง ใครมาร้องเรียกอยู่เหวย ๆ.
  17. เหา ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ส่วนใหญ่ตัวยาวไม่เกิน ๕ มิลลิเมตร ตัวแบน หัวแคบกว่าอกและยื่นไปข้างหน้าเห็นได้ชัด ตาเล็กมาก แต่บางชนิดไม่มีตา อกไม่แยกเป็นปล้องให้เห็นชัด ขามี หนามตรงข้ามกับเล็บช่วยในการยึดขนหรือผม ปากเป็นชนิดดูดกิน อาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีขนหรือผม ดูดเลือดคนและสัตว์ ที่อยู่บนศีรษะ ของคนได้แก่ ชนิด Pediculus humanus ในวงศ์ Pediculidae.
  18. เหิน : ก. บินอยู่ในระยะสูง เช่น หงส์เหิน นกเขาเหิน, ร่อนอยู่ในระยะสูง เช่น นกนางแอ่นเหินลม.
  19. แห่ง : น. ที่, มักใช้ซ้อนกับคำอื่น ในคำว่า แห่งหนตำบลใด ตำแหน่งแห่งที่, ลักษณนาม เช่น มีที่ดินอยู่หลายแห่ง. บ. ของ เช่น หอสมุดแห่งชาติ.
  20. แหง ๑ : [แหฺง] ว. อาการของหน้าที่แสดงความเก้อหรือจนปัญญา ในคำว่า หน้าแหง; ค้างอยู่ เช่น ยิงฟันแหง คอยแหง.
  21. แหงนเต่อ, แหงนเถ่อ : ว. ค้างอยู่; โดยปริยายหมายความว่า เก้อ, ไม่สม ปรารถนา.
  22. แห้งผาก : ว. แห้งอย่างไม่มีความชื้นปนอยู่, แห้งสนิท.
  23. แหน ๓ : [แหฺน] น. ชื่อไม้นํ้าหลายชนิดในวงศ์ Lemnaceae ใบกลมเล็ก ๆ ลอยอยู่ ตามนํ้านิ่ง เช่น แหนเล็ก (Lemna minor L., L. perpusilla Torr.) แหนใหญ่ [Spirodela oligorrhiza (Kurz) Hegelm. และ S. polyrrhiza (L.) Schleid.].
  24. แหมะ ๑ : [แหฺมะ] ก. นั่งหรือวางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น เดินมาจนเหนื่อยเลยแหมะ อยู่ที่โคนต้นไม้ก่อน เอาของแหมะไว้ตรงนี้อีกแล้ว. ว. อาการที่นั่งหรือ วางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น นั่งแหมะ วางของแหมะ.
  25. แหย่ : [แหฺย่] ก. เอานิ้วมือหรือปลายไม้เป็นต้นแยงเข้าไป; เย้า, ทําให้เกิดความ รําคาญหรือไม่สงบอยู่ได้; ลองดูชั้นเชิง.
  26. แหล่ง : [แหฺล่ง] น. ถิ่น, ที่อยู่, บริเวณ, ศูนย์รวม, บ่อเกิด, แห่ง, ที่.
  27. แหล่งเสื่อมโทรม : น. บริเวณที่คนอาศัยอยู่อย่างแออัด ประกอบด้วยบ้านเรือน ที่ทรุดโทรมไม่ถูกสุขลักษณะ.
  28. แหล่นอก : [แหฺล่-] น. แหล่เรื่องที่อยู่นอกคัมภีร์เทศน์มหาชาติ.
  29. โหยกเหยก : [โหฺยกเหฺยก] ว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, ไม่แน่นอน, (ใช้แก่การพูด), เช่น พูดจาโหยกเหยก; โยเย, ขี้อ้อน, ร้องไห้งอแง, (ใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้ โยเยโหยกเหยกจริง.
  30. โหล่ : [โหฺล่] ว. อยู่ในลําดับสุดท้าย.
  31. โหวงเหวง : [-เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาโหวงเหวง หมายความว่า เบามาก; มีความรู้สึกเหมือนจะว่าง ๆ ในจิตใจ เช่น เมื่ออยู่ ในที่เงียบสงัดรู้สึกโหวงเหวง, มีความรู้สึกคล้าย ๆ ว่าขาดอะไรบางสิ่ง บางอย่างไป เช่น พอเข้าไปในบ้าน บรรยากาศเงียบผิดปรกติ รู้สึก โหวงเหวง.
  32. ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
  33. ไหน ๆ : ว. สำนวนแสดงถึงความปลงใจในสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้วหรือเป็นการ ตัดพ้อต่อว่าเป็นต้น เช่น มัวแต่งุ่มง่ามอยู่นั่นแหละ เพื่อน ๆ เขาก้าวหน้าไป ไหน ๆ แล้ว ไหน ๆ ก็ร่วมหอลงโรงกันแล้ว.
  34. ไหปลาร้า : น. ชื่อไหชนิดหนึ่ง มีขอบรอบปากสําหรับหล่อนํ้าและมีฝาปิด ใช้หมักปลาร้า, หลุมข้างคอถัดกระดูกไหปลาร้าขึ้นไป, เรียกกระดูกทั้งคู่ ที่อยู่ต้นคอข้างหน้าว่า กระดูกไหปลาร้า.
  35. ไหล่ถนน, ไหล่ทาง : น. ส่วนของถนนที่ติดอยู่กับทางจราจรทั้ง ๒ ข้าง.
  36. ไหว ๆ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวหรือพลิ้วไปมา เช่น ปลาแหวกว่ายกอบัวอยู่ไหว ๆ ลมพัดธงสะบัดอยู่ไหว ๆ, อาการที่เคลื่อนไหวอย่างเห็นไม่ชัด เช่น เห็น คนร้ายวิ่งหนีเข้าไปในพงหญ้าอยู่ไหว ๆ.
  37. ไหหลำ : น. ชื่อเกาะอยู่ในทะเลจีนนอกฝั่งมณฑลกวางตุ้ง, ชนชาติจีนสาขาหนึ่ง อยู่ที่เกาะชื่อนี้.
  38. : พยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคําไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้ แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ใน ภาษาไทยแต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.
  39. อ ๒ : [อะ] เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคํา ที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
  40. อก ๑ : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง; ใจ เช่น อกกรม อกเขาอกเรา; เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าวว่า อกว่าว; เรียก เลื่อยที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก, เรียกไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงว่า อกเลื่อย.
  41. อกเลา : น. ไม้ที่เป็นสันทาบอยู่ที่บานประตูหรือหน้าต่างแบบโบราณ เพื่อบังช่องที่บานประตูหรือหน้าต่างทั้ง ๒ บานประกับกัน.
  42. อจินไตย : [จินไต] ว. ที่พ้นความคิด, ไม่ควรคิด, (สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัย ของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑). (ป. อจินฺเตยฺย; ส. อจินฺตฺย).
  43. อด : ก. กลั้น เช่น เหลืออด, งดเว้น เช่น อดฝิ่น อดอาหาร; ไม่ได้, ไม่ สมหวัง, เช่น อดรับรางวัล อดดู; ไม่มีอะไรกิน เช่น อดอยู่ทั้งวัน. ว. ทน เช่น ดํานํ้าอด.
  44. อด ๆ อยาก ๆ : ก. กินอยู่อย่างฝืดเคือง, มีกินบ้างไม่มีกินบ้าง.
  45. อธิวาส : น. ที่อยู่, บ้าน. (ป., ส.).
  46. อ้น ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Rhizomyidae ลําตัวกลมอ้วนป้อม สีนํ้าตาล ตาและหูเล็กมาก ขาและหางสั้น อาศัยอยู่ใต้ดินหรือโพรงไม้ ฟันแทะคู่หน้ามีขนาดใหญ่เห็นได้ชัด ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ อ้นใหญ่ (Rhizomys sumatrensis) อ้นกลาง (R. pruinosus) และอ้นเล็ก (Cannomys badius).
  47. อนาลัย : น. การไม่มีที่อยู่; การหมดความอยาก, การหมดความพัวพัน; ชื่อหนึ่งของพระนิพพาน. (ป.).
  48. อนิจจัง ๑ : [อะนิด] ว. ไม่เที่ยง, ไม่แน่นอน, เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ. (ป.).
  49. อนุมาตรา : [มาดตฺรา] น. ข้อย่อยของมาตราในกฎหมายที่มีเลขกำกับอยู่ในวงเล็บ.
  50. อนุมูลกรด : น. ส่วนหนึ่งของโมเลกุลของกรดที่ปรากฏอยู่หลังจาก ที่ไฮโดรเจนไอออนแยกตัวออกไปแล้ว เช่น อนุมูลกรดคาร์บอเนต (-CO3) อนุมูลกรดไฮโดรเจนซัลเฟต (-HSO4). (อ. acid radical).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | [2551-2600] | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2739

(0.1466 sec)