Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อะไร , then อร, อะไร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อะไร, 293 found, display 251-293
  1. เหลือหลอ : [-หฺลอ] ว. หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือ หลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจน ไม่มีอะไรเหลือหลอ.
  2. แหลม : [แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญา แหลม; ชํานาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง เป็นต้น เช่น ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม. น. แผ่นดิน หรือภูเขาที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.
  3. แหะ, แหะ ๆ : ว. เสียงคนหัวเราะมีเสียงเช่นนั้น. ก. ทำเสียงดังเช่นนั้น เช่น เขาไม่พูดอะไร ได้แต่แหะ ๆ.
  4. โหวงเหวง : [-เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาโหวงเหวง หมายความว่า เบามาก; มีความรู้สึกเหมือนจะว่าง ๆ ในจิตใจ เช่น เมื่ออยู่ ในที่เงียบสงัดรู้สึกโหวงเหวง, มีความรู้สึกคล้าย ๆ ว่าขาดอะไรบางสิ่ง บางอย่างไป เช่น พอเข้าไปในบ้าน บรรยากาศเงียบผิดปรกติ รู้สึก โหวงเหวง.
  5. อด : ก. กลั้น เช่น เหลืออด, งดเว้น เช่น อดฝิ่น อดอาหาร; ไม่ได้, ไม่ สมหวัง, เช่น อดรับรางวัล อดดู; ไม่มีอะไรกิน เช่น อดอยู่ทั้งวัน. ว. ทน เช่น ดํานํ้าอด.
  6. อดุล, อดุลย, อดุลย์ : [อะดุน, อะดุนละยะ, อะดุน] ว. ชั่งไม่ได้, ไม่มีอะไรเปรียบ, ไม่มีอะไรเท่า. (ป., ส. อตุล, อตุลฺย).
  7. อร ๒ : [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลม กล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ).
  8. อรูป, อรูป : [อะรูบ, อะรูบปะ] ว. ไม่มีรูป, ไม่ใช่รูป; ที่เป็นนามธรรม. (ป., ส.). อรูปฌาน [อะรูบปะชาน] น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).
  9. อ่อนปวกเปียก, อ่อนเปียก : ว. หย่อนกําลังจนทําอะไรไม่ไหว; ไม่ขึงขัง.
  10. อำนด : [หฺนด] (กลอน) ก. กลั้น, งดเว้น, ไม่ได้, ไม่ได้สมหวัง; ไม่มี อะไรจะกิน. (แผลงมาจาก อด).
  11. อ้ำอึ้ง : ก. นิ่งอั้นไม่ยอมพูด, พูดไม่ออกด้วยจนใจหรือจนปัญญา, ไม่รู้จะพูดอะไร.
  12. อี ๑ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
  13. เอ่ย ๒ : ก. เปล่งเสียงพูด, เริ่มพูด. ว. คําออกเสียงใช้ในความเพื่อให้ทาย เช่น นกอะไรเอ่ย.
  14. เอ้อเร้อเอ้อเต่อ : ว. ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, ยืดยาด เช่น มัวแต่ เอ้อเร้อเอ้อเต่ออยู่นั่นแหละ จะทําอะไรก็ไม่ทําเสียที; มากจนล้น (ใช้แก่กริยากิน), เอ้อเร้อ ก็ว่า.
  15. เอื้อง ๒ : น. หญ้าและใบไม้เป็นต้นที่สัตว์บางจําพวกเช่นวัวควายกินเข้าไป ในกระเพาะทีหนึ่งแล้วสํารอกออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด ในคำว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง. ว. เรียกอาการที่สัตว์บางจำพวกเช่น วัวควายสํารอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียดว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง; โดยปริยายหมายความว่า ทําอะไรช้า ๆ.
  16. โอ ๔ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการว่านึกอะไรขึ้นมาได้ หรือแสดงว่า สลดใจเป็นต้น.
  17. อร ๑ : [อะระ] น. กํา, ซี่ล้อรถหรือเกวียน. (ป., ส.).
  18. อรรถปฏิสัมภิทา : [อัดถะ] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไป จากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).
  19. นวอรหาทิคุณ, นวารหาทิคุณ : [นะวะอะระหาทิคุน, นะวาระหาทิคุน] น. คุณพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีบท อรหํ เป็นต้น. (พูดเลือนมาเป็น นวหรคุณ).
  20. อรดี, อรติ : [อะระ] น. ความไม่ยินดี, ความไม่พอใจ, อราดี หรือ อราติ ก็ใช้. (ป., ส.).
  21. จงอร : [-ออน] (แบบ) ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่ง พระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
  22. กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
  23. กระบัด ๑ : (กลอน) ว. บัดใจ, ทันใด, เช่น อาวุธกับศรก็ตกกระบัดเหอรหาย. (สมุทรโฆษ), ตระบัด ก็ใช้.
  24. กรีฑาภิรมย์ : ว. น่ารื่นรมย์ยิ่งในกรีฑา, (โบ) ใช้ว่า กรีธา ก็มี เช่น แห่งอรอาตมชายา อันกรีธาภิรมย์. (ม. คําหลวง ทศพร).
  25. กัลหาย : [กัน-] ก. กรรหาย เช่น ชายใดเดอรร้อนรนน จวนจวบ สร้อยสรสวรก็หายกัลหายหื่นหรรษ์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  26. กิรินท : [-ริน,] (แบบ) น. ช้างสําคัญ เช่น อ้าบัดนี้แม่มาเดอรดิน สีพิกากิรินทไกรอาศน กวยนแก้วราชรจนา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. กรินฺท; ส. กรินฺ ว่า ผู้มีมือคืองวง).
  27. คะค้อย : (กลอน) ก. เดินไม่ขาดตอน, โบราณเขียนเป็น คค้อย ก็มี เช่น คค้อย ไปซุ่มซ่อน ดูศึกผ่อนพลเดอร. (ตะเลงพ่าย).
  28. จำ ๓ : ก. อาการที่ต้องฝืนใจทํา เช่น จำใจจากแม่เปลื้อง ปลิดอก อรเอย. (นิ. นรินทร์).
  29. ชรอื้อ : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชื้อ, ชอื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง, เช่น ด่งงไซรชรเอมชรอื้อ อรทื้อแทบทางเดอร. (ม. คำหลวง ชูชก), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
  30. ชวัก : [ชะ] (กลอน) ก. ชัก เช่น เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม พระราม พระลักษณชวักอร. (แช่งน้ำ).
  31. ธรรมปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความ เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
  32. นิรุตติปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉาน ในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
  33. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา : [ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).
  34. ปฏิสัมภิทา : (แบบ) น. ความแตกฉาน, ปัญญาอันแตกฉาน, มี ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา. (ป.).
  35. อรพินท์ : [ออระ] น. ดอกบัว, (โบ) เขียนเป็น อรพินธุ ก็มี เช่น อันประดับ ด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนประเวศน์). (ป., ส. อรวินฺท).
  36. อรหันต, อรหันต์ : [อะระหันตะ, ออระหันตะ, อะระหัน, ออระหัน] น. ชื่อพระอริย บุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระ อนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหา หรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคําวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้ อรหันต). (ป.; ส. อรฺหนฺต).
  37. อรัญวาส : น. การอยู่ในป่า. (ป. อร?ฺ?วาส).
  38. อรัญวาสี : น. ผู้อยู่ในป่า, ใช้สำหรับเรียกคณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ คู่กับ คามวาสี คณะสงฆ์ฝ่ายคันถธุระ. (ป. อร?ฺ?วาสี).
  39. อรัญ, อรัญ : [อะรัน, อะรันยะ] น. ป่า. (ป. อร?ฺ?; ส. อรณฺย).
  40. อรัณย์ : น. ป่า. (ส. อรณฺย; ป. อร?ฺ?).
  41. อราดี, อราติ : น. ความไม่ยินดี, ความไม่พอใจ. (ป. อรติ). (ดู อรดี).
  42. อันแถ้ง : (กลอน) ว. งามอ้อนแอ้น, เขียนเป็น อรรแถ้ง ก็มี เช่น พระองค์ กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง. (ลอ).
  43. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-293]

(0.0723 sec)