Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กัด , then กด, กตฺ, กัด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กัด, 301 found, display 101-150
  1. บิด ๑ : ก. หมุนให้เป็นเกลียวอย่างบิดผ้า, หมุนไปทางใดทางหนึ่ง เช่น บิดลูกบิด; เผล้ไปจากสภาพปรกติ เช่น ล้อรถบิด, ทําให้ผิดไป จาก สภาพความจริง เช่น บิดข้อความ; หลีกเลี่ยงเพราะความ เกียจคร้านเป็นต้น เช่น บิดงาน บิดการ, เอานิ้วมือบีบเนื้ออย่าง แรงทํานองแหนบแล้วหมุน เช่น บิดเนื้อ บิดหู; กิริยาที่ปลากัด ปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันจนติดแล้วกลับตัวไปมา. น. ลักษณนามเรียกอาการที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปาก กัดกันแล้วกลับตัวไปมาเช่นนั้นแต่ละยกว่า บิดหนึ่ง ๒ บิด.
  2. บุคคลผู้ไร้ความสามารถ : [บุกคน-] (กฎ) น. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มี ความสามารถตามกฎหมาย หรือความสามารถถูกจํากัดโดยบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ.
  3. เบียด : ก. แทรกหรือเสียด เช่น เบียดเข้าไป, ชิดกันติดกันเกินไปในที่ จํากัด เช่น ต้นไม้ขึ้นเบียดกัน ยืนเบียดกัน.
  4. ใบหุ้น : (กฎ) น. ใบสําคัญสําหรับหุ้นที่บริษัทจํากัดออกให้แก่ ผู้ถือหุ้น เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการถือหุ้น.
  5. ปัญญาอ่อน : น. ภาวะที่มีระดับสติปัญญาด้อยหรือตํ่ากว่าปรกติ มักมีสาเหตุเกิดขึ้นในระหว่างพัฒนาการ ทําให้เด็กมีความสามารถ จํากัดในด้านการเรียนรู้และมีพฤติกรรมปรับตัวไม่อยู่ในระดับที่ ควรเป็น. ว. มีระดับสติปัญญาด้อยหรือต่ำกว่าปรกติ.
  6. ปั่นหัว : ก. ทำให้งง (มาจากการกัดจิ้งหรีด โดยจับตัวที่แพ้มาปั่นหัว ให้งง เพื่อจะได้สู้ต่อไป) เช่น ปั่นหัวจิ้งหรีด; (ปาก) ยุให้ผิดใจกัน.
  7. ป่า : น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็น ต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้นเช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยัง มิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือ ปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตําบล ที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มา จากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกล ความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคําว่า ตีป่า.
  8. ปากเบา : ก. พูดได้เร็ว (ใช้แก่เด็กที่สอนพูด); พูดโดยไม่ยั้งคิด. น. เรียกยุงที่กัดไม่ค่อยจะรู้สึกเจ็บว่า ยุงปากเบา.
  9. ปากหนัก : ว. ไม่ใคร่พูดขอร้องต่อใคร ๆ, ไม่ใคร่ทักทายใคร. ก. พูดได้ช้า (ใช้แก่เด็กที่สอนพูด). น. เรียกยุงที่กัดเจ็บมาก ว่า ยุงปากหนัก.
  10. ปูน ๑ : น. หินปูนหรือเปลือกหอยเมื่อถูกเผาจนสลายตัว, ปูนกินกับหมาก หรือปูนแดง ในคําเช่น ป้ายปูน ปูนกัดปาก, ปูนขาว ในคําว่า ฉาบนํ้าปูน; ปูนซีเมนต์ ในคําเช่น เทปูน โบกปูน.
  11. ผึ้ง ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Apidae มีปีกบางใส ๒ คู่ ปีกคู่หลัง เล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากใช้ทั้งกัดอาหารและดูดกินของเหลวได้ ท้องปล้องแรกที่ติดกับอกเล็กมาก ปล้องที่ ๒ มีขนาดไล่เลี่ยกัน ปล้องที่เหลือมีขนาดไล่เลี่ยกับอก ยกเว้นปล้องสุดท้ายที่มีขนาด เล็กกว่ามีขนปกคลุมตามลําตัว รวมตัวอยู่เป็นฝูง แบ่งชั้นวรรณะ เก็บเกสรและนํ้าหวานดอกไม้มาทํานํ้าผึ้ง เช่น ผึ้งหลวง (Apis dorsata) ผึ้งโพรง (A. cerana) ผึ้งมิ้ม (A. florea) ผึ้งเลี้ยง (A. mellifera) ผึ้งหอยโข่ง (Trigona spp.) และหลายชนิดในวงศ์ Megachilidae ซึ่งเป็นผึ้งที่อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่รวมตัวเป็นฝูง ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ได้แก่ ผึ้งกรวย เช่น ชนิด Megachile griseopicta และผึ้งหลอด เช่น ชนิด Chalicodoma atrata, เผิ้ง ก็เรียก.
  12. พรายย้ำ : น. รอยดํา ๆ คล้ายถูกอะไรกัดเป็นรอยชํ้า ปรากฏตาม ร่างกายเป็นแห่ง ๆ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดอย่างไร โบราณถือว่า ถูกผีพรายกัดยํ้าเอา แต่ไม่ถึงกับเข้าเป็นแผล.
  13. พรุน : ว. ลักษณะที่เป็นรูเว้าหวําชอนไชไปทั่วแทบไม่มีชิ้นดี เช่น ผ้าถูก แมลงกัดกินพรุนไปหมด.
  14. พันทาง : น. เรียกไก่ที่พ่อเป็นอู แม่เป็นแจ้ ว่า ไก่พันทาง, ภายหลังเรียกเลย ไปถึงสัตว์ที่พ่อแม่ต่างพันธุ์กัน (ยกเว้นปลากัด) จนถึงสิ่งต่างชนิด บางอย่างที่แกมกันหรือไม่เข้าชุดกัน เช่น สุนัขพันทาง เครื่องลาย ครามพันทาง.
  15. ฟรีบาร์ : (ปาก) ว. เปิดบาร์ให้กินฟรีโดยไม่จํากัดในคําว่า เปิดฟรีบาร์ (มักใช้แก่การเลี้ยงสุราเมรัย).
  16. ฟัด : ก. กัดเหวี่ยงหรือสะบัดไปมา เช่น ถูกหมาฟัด แมวฟัดหนู, เหวี่ยง เช่น ถูกรถฟัดเสียสะบักสะบอม; ต่อสู้ เช่น เด็กฟัดกัน; กระทบ เช่น ท้ายเรือฟัดกัน นมยานฟัดกัน; คล้องจองกัน, สัมผัสกัน, เช่น กลอนฟัดกัน. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้ว ว่า กุ้งฟัด, กุ้งฝัด ก็ว่า.
  17. ฟัน ๒ : น. กระดูกเป็นซี่ ๆ อยู่ในปากสําหรับกัด ฉีกเคี้ยวอาหาร, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฟันเลื่อย ฟันจักร.
  18. มดแดง : น. ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina ในวงศ์ Formicidae ลูกรังลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอด รวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทํารังอยู่ตามต้นไม้โดยใช้ ใบไม้มาห่อกันเข้า เวลาถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยปล่อยกรดออก มาแล้วกัดให้เกิดแผลทําให้เกิดอาการแสบร้อน, มดส้ม ก็เรียก.
  19. มอบ ๒ : น. เครื่องสานสําหรับสวมปากวัวปากควายเพื่อกันไม่ให้กินต้นกล้าและสวมปากม้า เพื่อกันม้ากัด.
  20. มันเขี้ยว : ก. อยากกัดอยากกินอยู่เรื่อย ๆ.
  21. แมลงดำ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กัดกินผิวใบข้าวและธัญพืชอื่น ๆ เห็นเป็น ทางขาวไปตามรอยที่กัดกิน ลําตัวยาว ๓-๔ มิลลิเมตร สีดําเป็นมันตลอด ยกเว้นที่ ปีกอ่อน ทั้งอกและปีกแข็งมีหนามแข็งคลุม เช่น ชนิด Dicladispa armigera และ ชนิด Monochirus minor ในวงศ์ Chrysomelidae, แมลงดําหนาม ก็เรียก.
  22. ยากันยุง : น. ยาที่จุดหรือทากันไม่ให้ยุงกัด.
  23. ยาบ ๑ : น. เส้นปอ, เปลือกของต้นไม้บางชนิดที่มีปอหรือเส้นใย ใช้ปูรองขากูบ กันไม่ให้กัดหนังช้างเป็นต้น.
  24. ยาวชีวิก : [ยาวะ] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้เสมอไป ไม่มีจํากัดกาล, ตาม วินัยบัญญัติได้แก่ของที่ใช้ประกอบเป็นยาสงเคราะห์เข้าในคิลานปัจจัย. (ดู กาลิก). (ป.).
  25. ย้ำ, ย้ำ ๆ : ก. พูดหรือทําซํ้า ๆ (เพื่อเน้นให้แน่น ให้กระชับ ให้มั่นคง) เช่น พูดยํ้า ยํ้าหัวตะปู. ว. อาการที่กัดเบา ๆ เพียงให้บุบหรือเป็นรอยช้ำ เช่น หมา กัดย้ำแต่ไม่เข้า เคี้ยวพอย้ำ ๆ.
  26. ยิ่ง : ว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ.
  27. รัดรูป : ว. คับมากจนเห็นรูปทรงเด่นชัด เช่น เสื้อรัดรูป กางเกงรัดรูป; เรียกขวดที่ใส่ปลากัดเป็นต้นทําให้เห็นเล็กกว่าปรกติว่า ขวดรัดรูป, คู่กับ ขวดส่งรูปซึ่งทําให้เห็นใหญ่กว่าปรกติ.
  28. ลงสิ่ว : ก. แกะสลักไม้โดยใช้สิ่วกัดผิวไม้ออกให้เหลือส่วน ที่ต้องการ.
  29. ลวด : น. สิ่งที่ทําเป็นเส้นยาว ๆ เช่น ลวดหนัง คือ แผ่นหนังที่เอามาทําเป็น เส้นยาว ๆ, โลหะที่เอามารีดเป็นเส้นเช่นนั้นก็เรียกว่า ลวด เช่น ลวด สังกะสี ลวดทองแดง, โดยมากมักเรียกสั้น ๆ ว่า ลวด; เรียกสิ่งที่ทํา ด้วยลวด โลหะคล้ายสิ่งทอ ใช้กันยุงต่างมุ้ง ว่า มุ้งลวด; เรียกเครื่อง ปูลาดสําหรับรองนั่ง ทําด้วยต้นกก ทอเป็นผืน หน้ากว้างประมาณ ๑ เมตร ความยาวไม่จํากัด นิยมใช้ตามวัด ว่า เสื่อลวด; ลายที่ลอก เป็นเส้นกลมยาวไปตามขอบตัวไม้ต่าง ๆ, เรียกสิ่งที่นูนขึ้นซึ่งมี ลักษณะคล้ายลวด เช่นลวดปากปลา. (โบ) ว. เลย.
  30. ล่าม ๒ : ก. ผูกโดยวิธีให้เคลื่อนย้ายได้บ้างในที่จํากัด เช่น ล่ามโซ่ ล่ามวัว ล่ามควาย.
  31. ลุ่ยหู : ว. อาการที่แพ้อย่างไม่มีทางสู้ (เดิมใช้แก่ปลากัด คือ ฝ่ายแพ้ ถูกกัดหูเสียจนหมด).
  32. ลูกป่า : น. ต้นไม้หรือสัตว์ที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติ, มักใช้เรียก ปลากัดหรือปลาเข็ม.
  33. ลูกไล่ : น. ปลากัดหรือปลาเข็มที่ใช้สําหรับให้ปลาที่เลี้ยงไว้ไล่เพื่อ ซ้อมกําลัง, โดยปริยายหมายถึงคนที่ยอมเป็นรองเขาเสมอ.
  34. ลูกสังกะสี : น. ชื่อปลากัดพันทางที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลาลูกหม้อ กับปลาลูกป่าซึ่งเป็นชนิด Betta splendens เช่นเดียวกัน.
  35. ลูกหม้อ : น. ชื่อปลากัด (Betta splendens) ในวงศ์ Anabantidae ที่ผ่านการ คัดเลือกพันธุ์จนมีลักษณะเด่นพิเศษเพื่อการต่อสู้ ครีบต่าง ๆ สั้น กว่าปลาจีน (๒); โดยปริยายหมายถึงผู้มีวิชาชีพโดยสืบต่อเชื้อสาย กันมาหรือทํางานในสังกัดนั้น ๆ มาตั้งแต่เดิม.
  36. เล็น : น. ชื่อแมลงหรือสัตว์ขนาดเล็กมาก ที่กัดหรือทําให้เกิดความ ระคายเคืองต่อร่างกาย ซึ่งอาจหมายถึงพวกไร เหา เห็บ หมัด หรือมด ก็ได้.
  37. เล็ม : ก. เย็บริมชายผ้า เช่น เล็มผ้า; ตัดแต่ริมหรือปลายทีละน้อย เช่น เล็มผม, เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น เล็มยอดกระถิน, เลือกเก็บ แต่ผลที่เห็นว่าสุกหรือใช้ได้ เช่น เล็มมะม่วง, กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กเล็มขนม แกะเล็มหญ้า, และเล็ม ก็ว่า.
  38. เลีย : ก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟ ที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือด ไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผม ตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยา ประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้ง เลียขาเพื่อให้นายรัก.
  39. และเล็ม : ก. กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กและเล็มขนม แกะและเล็มหญ้า เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น และเล็มยอดตำลึง และเล็มยอดกระถิน; เล็ม ก็ว่า.
  40. โลน ๒ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กชนิด Pthirus pubis ในวงศ์ Pediculidae ตัวยาว ๑.๕–๒ มิลลิเมตร ลําตัวค่อนไปทางรูปไข่แบน สีขาว อมนํ้าตาลอ่อน ไม่มีปีก ปลายขางอแหลมเกือบเป็นง่ามเหมือน ก้ามปู อาศัยอยู่ตามบริเวณขนในที่ลับของคน กัดและดูดเลือด กินเป็นอาหาร ทําให้เกิดอาการคัน.
  41. ไล่ ๑ : ก. ตามไปติด ๆ เพื่อให้ทันหรือเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไล่ยิง ไล่กัด ไล่ขวิด ไล่จิก; ขับ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ไล่ขับ หมายความว่า บังคับให้ออกไปให้พ้น, บังคับให้ไปหรือให้ออก จากที่เดิม เช่น ไล่ควายเข้าคอก ไล่คนออกจากบ้าน; ต้อนให้จนมุม เช่น เอาม้าและเรือไล่ขุน; สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.
  42. วิกัติการก : [วิกัดติ] (ไว) น. คําที่อธิบายตําแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คําที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา ''เป็น'' หรือ ''คือ'' เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
  43. วุ่น : ก. ยุ่ง, ก้าวก่าย, เช่น คุณไม่ควรไปวุ่นกับเรื่องของคนอื่นเขา, สับสน เช่น งานมากทําให้สมองวุ่นไปหมด, อาการที่ต้องทําอะไรหลาย ๆ อย่างในขณะเดียวกัน เช่น เขาต้องวุ่นอยู่กับงานสารพัดตลอดเวลา, ชุลมุน เช่น มีแขกมามากทําให้วุ่นกันไปทั้งบ้าน. วุ่นเป็นจุลกฐิน [จุนละกะถิน] (สํา) ก. อาการที่ต้องทํางานอย่าง ชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
  44. แว้ง : ก. อาการที่เอี้ยวหัวหรืออวัยวะบางส่วนโดยเร็วเพื่อกัดหรือทําร้าย เป็นต้น เช่น ควายแว้งขวิดจระเข้แว้งหางฟาดเรือล่ม, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เตือนดี ๆ มาแว้งเอาได้.
  45. สกรรถ : [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมาย คงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำ เช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
  46. ส้น : น. ส่วนท้ายของเท้า เช่น อย่าเดินลงส้น รองเท้ากัดส้น, เรียกเต็มว่า ส้นเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ส้นปืน.
  47. หน้าท้อง : น. ส่วนหน้าของท้อง ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา เช่น ฉีดเซรุ่ม ป้องกันพิษสุนัขบ้าที่หน้าท้องหลังจากถูกสุนัขกัด; โดยปริยายหมายถึงท้อง ที่ยื่นเพราะมีไขมันมาก เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยดี เสียแต่มีหน้าท้อง.
  48. หมองูตายเพราะงู : น. ผู้ที่ชำนาญในการเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นอาชีพก็อาจ ถูกงูเห่ากัดตายเพราะความประมาทได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความรู้ อาจตายหรือพลาดท่าเสียทีเพราะความรู้ของตนก็ได้.
  49. หมัก : ก. แช่ไว้, เก็บทิ้งไว้; ปล่อยให้พักฟื้นเพื่อให้หายบอบชํ้า (ใช้แก่ปลากัด) เช่น เอาปลากัดไปหมักไว้, ทอด ก็ว่า.
  50. หวอด : น. ฟองนํ้าที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อนเป็นต้น พ่นไว้สําหรับเก็บไข่. ว. อาการที่หาวทำเสียงดังเช่นนั้น ในคำว่า หาวหวอด.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300

(0.0456 sec)