Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กัด , then กด, กตฺ, กัด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กัด, 301 found, display 151-200
  1. หันอากาศ : น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า ไม้หันอากาศ ใช้แทน เสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, หางกังหัน หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
  2. หางกังหัน : น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า หางกังหัน ใช้แทนเสียง สระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
  3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน ๒ จําพวก คือ (๑) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งจํากัดความรับผิด เพียงไม่เกินจํานวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น และ (๒) ผู้เป็น หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้าง หุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัดจํานวน ห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้นกฎหมายบังคับว่าต้อง จดทะเบียน.
  4. ห้างหุ้นส่วนสามัญ : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วน หมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว จึงจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้าง หุ้นส่วนนั้น.
  5. ห้ำ : (ปาก) ก. เข้าทําร้ายกัน; ตัดให้สั้นอย่างไม่เป็นระเบียบ; เข้าตะครุบขบกัด (ใช้แก่สัตว์).
  6. หุ้น : น. ส่วนที่ลงทุนเท่ากันในการค้าขายเป็นต้น. (เทียบภาษาจีนแต้จิ๋ว หุ่ง ว่า หุ้น, ส่วน); (กฎ) หน่วยลงทุนแต่ละหน่วยที่มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ซึ่งรวมกัน เป็นทุนเรือนหุ้นของบริษัทจํากัด. (อ. share).
  7. หุบผาชัน : น. หุบผาลึกเกิดเพราะน้ำกัดเซาะอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นร่องลึก ลงไป เหลือหน้าผาสองด้านสูงชัน.
  8. เหวทะเล : น. ส่วนที่ลึกมากของผืนท้องทะเลและมหาสมุทร มีขอบสูง ชันและมีบริเวณจํากัด โดยทั่วไปกําหนดความลึกตั้งแต่ ๕,๔๐๐ เมตร ลงไป.
  9. แห้น : ก. แทะ, กัดด้วยฟันหน้า.
  10. แหนบ : [แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).
  11. อเนกรรถประโยค : [อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยค โดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.
  12. อประมาณ, อัประมาณ : [อะปฺระ, อับปฺระ] ว. กําหนดจำนวนไม่ได้, จํากัดไม่ได้; น่าอับอาย เช่น ย่อยยับอัประมาณ. (ส.; ป. อปฺปมาณ).
  13. อประไมย, อัประไมย : [อะปฺระไม, อับปฺระไม] ว. นับไม่ได้, ไม่จํากัด, มากมาย. (ส. อปฺรเมย; ป. อปฺปเมยฺย).
  14. อวนลอย : น. อวนชนิดที่ไม่มีเครื่องถ่วง ใช้ผูกมุมขอบบนของอวน กับเรือ อีกมุมหนึ่งผูกกับทุ่น ปล่อยให้อวนลอยไป, กัดวาง ก็เรียก.
  15. อวนลาก : น. อวนชนิดที่ใช้ผูกตอนกลางอวนไว้กับเรือ คนหนึ่งอยู่ข้าง ตลิ่งยึดคันไม้ชายอวนข้างหนึ่งไว้ และอีกคนหนึ่งจับคันไม้ชายอวน อีกข้างหนึ่งเดินลุยนํ้าเป็นรูปครึ่งวงกลมเข้าตลิ่ง, กัดลาก ก็เรียก.
  16. อัตตาธิปไตย : [ทิปะไต, ทิบปะไต] น. การถือตนเองเป็นใหญ่. (ป. อตฺตาธิปเตยฺย); ระบอบการปกครองที่ผู้นํามีอํานาจเด็ดขาด และไม่จํากัด. (อ. autocracy).
  17. อัตรา : [อัดตฺรา] น. ระดับที่กําหนดไว้, จํานวนที่จํากัดไว้ตามเกณฑ์, เช่น อัตราภาษี อัตราเร็ว. ว. เป็นประจําตามกําหนด, สมํ่าเสมอ, เป็นนิจ, เช่น แล้วให้เทศนาอัตราไป. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญ พระเกียรติ ร. ๓).
  18. อัประมาณ : [อับปฺระ] ว. กําหนดจำนวนไม่ได้, จํากัดไม่ได้; น่าอับอาย เช่น ย่อยยับอัประมาณ; อประมาณ ก็ว่า. (ส.; ป. อปฺปมาณ).
  19. อัประไมย : [อับปฺระไม] ว. นับไม่ได้, ไม่จํากัด, มากมาย, อประไมย ก็ว่า. (ส. อปฺรเมย; ป. อปฺปเมยฺย).
  20. อาภัพเหมือนปูน : (สำ) ทำดีแต่มักถูกมองข้ามไปหรือไม่มีใคร มองเห็น คล้ายในการกินหมาก จะต้องมีหมาก พลู ปูน ๓ อย่าง ประกอบกัน แต่คนมักพูดว่า กินหมากกินพลู โดยมิได้พูดถึง ปูนเลย จะพูดถึงบ้างก็เป็นไปในทางที่ไม่ดีว่า ปูนกัดปาก.
  21. อ้ายชื่น : น. ชื่อมดหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ตัวสีดํา ขนาดไล่เลี่ยกับ มดแดง อาศัยเป็นกลุ่มอยู่ตามต้นไม้ เช่น ต้นส้ม มักจะเลี้ยงเพลี้ย ซึ่งอาจเป็นเพลี้ยแป้งหรือเพลี้ยหอย เมื่อถูกรบกวนมักรวมกลุ่ม ต่อยและกัด เช่น พวกที่อยู่ในสกุล Camponotus, Diacamma และ Polyrachis, ชื่น ก็เรียก.
  22. เอกรรถประโยค : [เอกัดถะ] น. ประโยคที่มีเนื้อความเดียว มีบท กริยาสําคัญเพียงบทเดียว.
  23. กด ๕ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๗.
  24. กดน้ำ : (ปาก) ก. ใช้กําลังกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มิดลงไปในน้ำ ในความว่า จับกดน้ำ จับหัวกดน้ำ.
  25. กดขาว : ดู กดเหลือง.
  26. กดคอ : (ปาก) ก. บังคับเอา.
  27. น้ำแข็งกด : น. น้ำแข็งไสที่ใส่กระบอกหรือแก้วอย่างหนา กดให้เป็นแท่ง.
  28. กะดี่ : ก. ดีดหรืองัดของหนักขึ้น เช่น กะดี่ซุง กะดี่เสา.
  29. มุมกดลง : น. มุมระหว่างเส้นตรงที่ลากจากจุดเล็งไปยังวัตถุกับเส้นตรงแนว ระดับที่ลากผ่านจุดเล็งในเมื่อวัตถุนั้นอยู่ตํ่ากว่าจุดเล็ง, มุมก้ม ก็เรียก.
  30. กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
  31. คำตาย : น. คําสระสั้นที่ไม่มีตัวสะกดพวกหนึ่ง และคําในมาตรา กก กด กบ.
  32. กช, กช- : [กด, กดชะ-] (กลอน; ตัดมาจาก บงกช) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัวอัน บานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล. (อิเหนาคําฉันท์). (ป. ปงฺกช).
  33. กชกร : [กดชะกอน] (กลอน) น. ''ดอกบัวคือมือ'' คือ กระพุ่มมือ เช่น กชกรต่างแต่งตั้ง ศิรสา. (หริภุญชัย).
  34. บงกชกร : [-กดชะกอน] (กลอน) น. มือมีรูปอย่างดอกบัวตูม, กระพุ่มมือ, มือ เช่น กระพุ่มบงกชกร. (เพชรมงกุฎ).
  35. กดเหลือง : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Mystus nemurus ในวงศ์ Bagriidae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไปแม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก.
  36. กรกช : [กอระกด] (กลอน) น. ''ดอกบัวคือมือ'' คือ กระพุ่มมือ เช่น ธก็ยอกรกชประนม. (ลอ). ก. ไหว้ เช่น เอกภูธรกรกช ทศนัขสมุชลิต. (ยวนพ่าย). (ดู กช).
  37. กรกฎ, กรกฏ : กรกัติกามา. (สรรพสิทธิ์). [กอระกด] (แบบ) น. ปู เช่น กรกฎกุ้งกั้งมังกร. (ม. ร่ายยาว มหาพน); ชื่อกลุ่มดาวรูปปู เรียกว่า ราศีกรกฎ เป็นราศีที่ ๓ ในจักรราศี. (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
  38. กรรกฎ : [กันกด] (แบบ) น. ปู เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฎกูรม์. (สมุทรโฆษ). (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
  39. กรรกศ : [กันกด] (แบบ) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษ ก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไป กรรกษ บารนี ฯ. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส. กรฺกศ).
  40. กระเด้ง : ก. ดีดหรือดันขึ้นเมื่อถูกกดหรือถูกบีบเป็นต้น, กระดอนขึ้น, เด้ง ก็ว่า.
  41. กฤตติกา : [กฺริดติ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว, ดาวธงสามเหลี่ยมหรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก, (โบ) เขียนเป็น กฤติกา ก็มี. (ส. กฺฤตฺติกา; ป. กตฺติกา).
  42. กฤติกา : [กฺริดติ-] (โบ) น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว เช่น หมู่สามสมมุติ์กุกกุฏโบ- ดกกฤติกาขาน. (สรรพสิทธิ์), ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก. (ส. กฺฤตฺติกา; ป. กตฺติกา).
  43. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  44. กัดฟัน : ก. เอาฟันต่อฟันกดกันไว้แน่น เป็นอาการแสดงถึง ความอดกลั้น, โดยปริยายหมายความว่า มานะ; ขบฟันใน เวลานอนหลับ.
  45. กำด้น : น. ท้ายทอย, ส่วนที่คอกับศีรษะต่อกัน, เช่น เหมือนกดคอยอกําด้นลูกสาวศรี. (มณีพิชัย).
  46. กุญแจ : น. เครื่องสําหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือ สลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุ?ฺจิกา ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).
  47. ข่ม : ก. ใช้กําลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้น ที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมาย ความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า ด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
  48. ข่มท้อง : ก. ใช้มือกดท้องช่วยในการคลอดลูก.
  49. ขย่ม : [ขะหฺย่ม] ก. ใช้นํ้าหนักตัวกดลง แล้วยกตัวขึ้นแล้วกลับกดลงอีก ซ้ำ ๆ กัน, ห่ม ก็ว่า. (ดู ห่ม๑).
  50. ขยี้ : [ขะยี่] ก. ใช้มือ เท้า หรือเล็บเป็นต้นบี้ซํ้า ๆ ให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้พิมเสน, ขยี้ดิน, เอาวัตถุเช่นผ้าถูกับเนื้อของมันเองในการซักฟอก, เอาวัตถุเช่นกระดาษถูกับเนื้อของมันเองเพื่อให้นิ่ม, เอามือกดถูไปมา เช่น ขยี้ตา ขยี้ผม, โดยปริยายหมายความว่า ทําลายให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้ข้าศึก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300

(0.0453 sec)