Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสงสาร, สงสาร, ความ , then ความ, ความสงสาร, สงสาร, สงสาระ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความสงสาร, 3299 found, display 1051-1100
  1. โทหฬะ : [-หะละ] (แบบ) น. ความปรารถนาของหญิงตั้งครรภ์, ความแพ้ท้อง. (ป.; ส. โทหล, โทหท).
  2. ไทย ๑ : [ไท] น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า, ชนเชื้อชาติไทย มีหลายสาขาด้วยกัน เช่น ไทยใหญ่ ไทยดํา ไทยขาว; ความมีอิสระ ในตัว, ความไม่เป็นทาส; คน เช่น ไทยบ้านนอก ว่า คนบ้านนอก ไทยใจแทตย์ ว่า คนใจยักษ์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  3. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  4. ธงชาติ ๑ : น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศและชาติใดชาติหนึ่ง.
  5. ธงชาติ ๒, ธงชาติไทย : (กฎ) น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและ ชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบ สีนํ้าเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ''ธงไตรรงค์''.
  6. ธงนำริ้ว : น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้นําริ้วกระบวนต่าง ๆ; ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างว่า กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ.
  7. ธงบรมราชวงศ์น้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียว กับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนก แซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธง เป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
  8. ธงบรมราชวงศ์ใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มี ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาว ของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายใน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพาน แว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม.
  9. ธงมหาราชน้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความ ยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลง เป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัด เป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้น แทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งด การยิงสลุตถวายคํานับ.
  10. ธงเยาวราชน้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาว ออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่ กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็น รูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็น แฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาว ของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธง เยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
  11. ธงราชินีใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธงเหมือนธงมหาราชใหญ่ ตอนปลายตัดเป็น แฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง.
  12. ธนาคารโลก : น. คําสามัญเรียกธนาคารระหว่างประเทศเพื่อบูรณะและ วิวัฒนาการ ซึ่งทําหน้าที่ให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคาร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศของตนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ธนาคารนี้ไม่รับฝากเงิน.
  13. ธรณีวิทยา : น. วิชาว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับประวัติ โครงสร้าง และสภาพ ของโลก.
  14. ธรณีสูบ : ก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลง หายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่นไม่ต้องลงโทษ.
  15. ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ : [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
  16. ธรรม ๒ : คําประกอบท้ายคําที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไป จากคําศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
  17. ธรรมดา : น. อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ เช่น การกิน การถ่ายเท การสืบพันธุ์ และการเสื่อมสลาย. ว. สามัญ, พื้น ๆ, ปรกติ, เช่น เป็นเรื่อง ธรรมดา. (ส. ธรฺมตา; ป. ธมฺมตา).
  18. ธรรมทรรศนะ : น. ความเห็นชัดเจนในธรรม. (ส.).
  19. ธรรมนิยม : น. ความประพฤติที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง.
  20. ธรรมนิยา : ม น. ความแน่นอนแห่งธรรมดา คือ พระไตรลักษณ์. (ส.; ป. ธมฺมนิยาม).
  21. ธรรมศาสตร์ : (โบ) น. ความรู้เกี่ยวกับวิชากฎหมายโดยทั่วไป; คัมภีร์ กฎหมายเก่าของอินเดีย, คัมภีร์อันเป็นต้นกําเนิดแห่งกฎหมาย, พระธรรมศาสตร์ ก็เรียก.
  22. ธรรมสถิติ : น. ความตั้งอยู่โดยธรรมดา, ความตั้งอยู่แห่งกฎ, ความตั้งอยู่ แห่งยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺม??ติ).
  23. ธรรมสังเวช : น. ความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์). (ป. ธมฺมสํเวค).
  24. ธรรมสามิสร : [สามิด] น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า.
  25. ธรรมาธรรม : [ทํามา] น. ธรรมและอธรรม, ความถูกและความผิด, ยุติธรรมและอยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาธมฺม).
  26. ธรรมาธิปไตย : [ทํามาทิปะไต, ทํามาทิบปะไต] น. การถือธรรมเป็นใหญ่, การถือความถูกต้องเป็นหลัก. (ป. ธมฺมาธิปเตยฺย; ส. ธรฺมาธิปตฺย).
  27. ธรรมานุธรรมปฏิบัติ : [ทํามา] น. การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม, การประพฤติความดีสมควรแก่ฐานะ.
  28. ธรรมานุสาร : [ทํามา] น. ความถูกตามธรรม, ทางหรือวิธีแห่งความยุติธรรม, ความระลึกตามธรรม. (ส.; ป. ธมฺมานุสาร).
  29. ธันยาวาท : [ทันยาวาด] น. การทําพิธีบูชาขอบคุณเทพผู้ให้ความสมบูรณ์พูนผล. (ส.).
  30. ธาตุ ๒ : [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
  31. ธาตุโขภ : [ทาตุโขบ] น. ความกําเริบของธาตุ ได้แก่ธาตุทั้ง ๔ ในร่างกาย ไม่ปรกติ มีอาหารเสีย เป็นต้น. (ป.).
  32. ธารณามัย : (แบบ) ว. ซึ่งสําเร็จด้วยความทรงจํา. (ส.).
  33. ธิติ : (แบบ) น. ความทรงไว้, ความมั่นคง, ปัญญา. (ป.).
  34. ธีรภาพ : น. ความมั่นคง, ความแน่นหนา. (ส.).
  35. ธูปแพเทียนแพ : น. ธูปไม้ระกํากับเทียน ๔ คู่ วางเรียงกันเป็นแพ แล้วคาด ด้วยริบบิ้นสี ใช้เป็นเครื่องแสดงความเคารพอย่างสูง.
  36. เธอ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือใช้ กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คําใช้แทน ผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๓.
  37. โธ่ : อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือรําคาญใจเป็นต้น. (ตัดมาจาก พุทโธ่).
  38. นกกะปูด : (ปาก) น. คนที่ทนเก็บความลับไว้ไม่ได้, คนที่ชอบพูดเปิดเผย ความลับของผู้อื่น.
  39. นคราทร : [นะคะราทอน] (เลิก) น. ชื่อกรมมีหน้าที่ทําความสะอาด ให้แก่พระนคร.
  40. นนท์, นันทน์ : (แบบ) น. ความสนุก, ความยินดี, ความรื่นเริง. (ป., ส.).
  41. นนทิ : [นนทิ] น. ผู้มีความยินดี, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น เช่น นนทิกร นนทิการ; วัว. (ส.).
  42. นมบกอกพร่อง : (กฎ; โบ) น. ลักษณะของหญิงที่ชายทําให้เสียความ บริสุทธิ์แล้วทอดทิ้งไป เช่น แลมันทําชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย ท่าน ว่ามันทําให้ลูกหลานท่านนมบกอกพร่อง ให้ไหมชายผู้เลมิดพ่อแม่ ผู้เถ้าผู้แก่นั้นโดยขนาฎ. (สามดวง), มักใช้เพี้ยนไปเป็น นมตกอกพร่อง.
  43. นมัสการ : [นะมัดสะกาน] น. การแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบ ไหว้; คําที่ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่มีไปถึงพระภิกษุสามเณร. (ป. นมกฺการ; ส. นมสฺการ).
  44. นย, นยะ : [นะยะ] น. เค้าความที่ส่อให้เข้าใจเอาเอง. (ป., ส.).
  45. นรก : [นะ] น. แดนหรือภูมิที่เชื่อกันว่าผู้ทําบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษ, โดยปริยายหมายถึงแดนที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน. (ป., ส.).
  46. นฤนาท : [นะรึนาด] (แบบ) น. ความกึกก้อง; การบันลือ.
  47. นฤพาน : [นะรึ] น. ความดับกิเลสและกองทุกข์. (โบ) ก. ตาย (ใช้แก่ พระมหากษัตริย์) เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จ
  48. นวด : ก. ใช้มือบีบหรือกดเพื่อให้คลายจากความปวดเมื่อยหรือเมื่อยขบ.
  49. นวนิยาย : น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครง เรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ เรื่อง สี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง.
  50. นวม ๑ : น. สิ่งที่มีของอ่อนนุ่มอยู่ข้างใน เพื่อให้ความอบอุ่นหรือเพื่อป้องกันการ เสียดสี การกดดัน การกระทบกระทั่งเป็นต้น เช่น เสื้อนวม เกราะนวม นวมคอ, เรียกผ้าห่มนอนที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้านวม, เรียกกานํ้าที่มี นวมหุ้มเพื่อเก็บความร้อนไว้ได้นานว่า กานวม, เรียกปี่พาทย์ที่ตีด้วย ไม้พันด้วยนวมว่า ปี่พาทย์ไม้นวม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | [1051-1100] | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3299

(0.1788 sec)