Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วอ , then พอ, วอ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วอ, 339 found, display 251-300
  1. ละลาย : ก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทําให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้า หรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลาย ในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีก อย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอน ละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายใน แก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.
  2. ลักเลียม : ก. ทําทีเล่นทีจริงพอเจ้าของเผลอก็ขโมยเอาไว้.
  3. ลิงล้างก้น : (สำ) น. ผู้ที่ทำอะไรลวก ๆ พอให้เสร็จ ๆ ไป แต่ไม่ เรียบร้อย.
  4. ลิงโลด : ก. กระโดดโลดเต้นด้วยความตื่นเต้นดีใจ เช่น เขาแสดงความดีอก ดีใจจนลิงโลด เด็กลิงโลดเมื่อเห็นขนม พอยิงประตูฟุตบอลได้เขา ก็ลิงโลด. น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  5. ลืมตาอ้าปาก, ลืมหน้าอ้าปาก : ก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียม เพื่อน เช่น เดี๋ยวนี้เขาลืมตาอ้าปากได้แล้ว เขาลืมหน้าอ้าปากได้แล้ว, เงยหน้าอ้าปาก ก็ว่า.
  6. ลุกฮือ : ก. ไหม้โพลงขึ้นลุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น ไฟไหม้พอมีลม พัดก็ลุกฮือ; อาการที่คนจำนวนมากลุกขึ้นพร้อม ๆ กันเพราะแตกตื่น ชั่วขณะเป็นต้น เช่น พอเห็นตำรวจมาก็ลุกฮือ, อาการที่กลุ่มคน กลุ้มรุมกันเข้าต่อสู้กับผู้มีอำนาจ เช่น ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้าน รัฐบาลที่กดขี่ประชาชน.
  7. ลู่ ๒ : ก. เอนราบเป็นแนวไป ด้วยมีสิ่งอื่นบังคับให้เป็นเช่นนั้น เช่น ต้นสนลู่ไปตามลม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผมของเขาพอถูกฝนก็ลู่ลงมาหมด.
  8. ลูกโกลน : [–โกฺลน] น. สิ่งที่ใช้ต่างลูกกลิ้งวางเป็นระยะ ๆ ไป เพื่อ รองรับสิ่งที่หนักหรือใหญ่โตให้เคลื่อนย้ายชะลอไปได้สะดวก.
  9. ลูกคู่ : น. คนร้องรับต้นเสียง เช่น ลูกคู่ละครร้อง ลูกคู่ละครรำ, คนร้องรับพ่อเพลงแม่เพลง เช่น ลูกคู่เพลงฉ่อย ลูกคู่ระบำชาวไร่, โดยปริยายหมายถึงผู้สนับสนุน เช่น พอนายพูด ลูกน้องก็รับเป็นลูกคู่. ลูกฆ้อง น. ทํานองหลักของเพลงไทยที่โดยปรกติจะบรรเลงด้วย ฆ้องวงใหญ่.
  10. ลูกตุ้ม : น. ไม้หรือเหล็กยาว ๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สําหรับเป็น อาวุธ หรือสายเชือกมีตุ้มเหล็กหรือทองเหลืองถ่วงสําหรับชั่งของ เพื่อคิดนํ้าหนัก, ตุ้มนาฬิกาที่ถ่วงให้จักรนาฬิกาเดินพอเหมาะกับ เวลา; ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อยลงมา, ตุ้ม ก็ว่า; โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกตุ้มสายสร้อย; ผู้ถ่วงความเจริญ เช่น ไม่ทำการงานแล้วยังทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วง ความเจริญเสียอีก.
  11. ลูกย่าง : น. ลูกโซ่ตรวนที่ทําเป็นห่วงยาว ๆ สําหรับพอให้ก้าวย่างได้.
  12. ลูบอก : ก. อาการที่แสดงความตระหนกตกใจหรือแปลกใจมาก เป็นต้น เช่น พอรู้ว่าลูกสอบตกแม่ถึงกับลูบอก.
  13. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  14. เลอะเลือน : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, ฟั่นเฟือน, เช่น พอแก่ตัว ความจำ เลอะเลือน.
  15. เลา ๆ : ว. พอเป็นรูปเค้า เช่น เขียนเป็นเลา ๆ.
  16. เลาความ : น. รูปความหรือราวความแต่ย่อ ๆ พอเป็นเค้าเรื่อง.
  17. เลี้ยงตัว : ก. ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงชีพ หรือ เลี้ยง อาตมา ก็ว่า, ดำเนินงานพอให้กิจการดำรงอยู่ได้ เช่น กิจการพอ เลี้ยงตัวได้; อาการที่ประคองตัวให้ทรงอยู่บนสิ่งที่ล่อแหลมต่อการ พลั้งพลาดหรือบางทีอาจเป็นอันตราย เช่น เลี้ยงตัวบนเส้นลวด.
  18. เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง : ก. ทํามาหากินพอเลี้ยงตัว.
  19. เลือนราง : ว. ไม่ชัดเจน, พอระลึกได้บ้าง, เช่น ความจำชักเลือนราง ไปบ้างแล้ว ตาไม่ดีมองเห็นภาพเลือนราง.
  20. โลภ : น. ความอยากได้ไม่รู้จักพอ. (ป., ส.).
  21. วงกต : น. ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออก วกวนอาจทําให้หลงทางได้, เรียกสั้น ๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี, เรียกสิ่งที่ ทําคล้ายคลึงเช่นนั้นในงานเทศน์มหาชาติหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ เพื่อ ความสนุกว่าเขาวงกต, โดยปริยายหมายถึงวกวนหาทางออกไม่ได้. (ป.).
  22. วงพาด : น. รั้วสี่เหลี่ยมภายในเพนียด ใช้ล้อมช้าง ทําด้วยซุง เป็นต้น ๆ ปักเรียงรายเว้นระยะพอให้คนลอดเข้าออกได้ มีไม้ตี พาดเสาเหล่านั้นให้ยึดติดกันโดยรอบ. (รูปภาพ วงพาด)
  23. วอมแวม, วอม ๆ แวม ๆ, ว็อมแว็ม, ว็อม ๆ แว็ม ๆ : ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจ ชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ แวม ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม.
  24. วัดแดด : ก. สอบเวลาโดยอาศัยเงาแดดและสถานที่เป็นหลัก เช่น พอแดดถึงนอกชานก็เป็นเวลา ๘.๐๐ น.
  25. วัดรอยตีน, วัดรอยเท้า : (สํา) ก. เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ เช่น ลูกศิษย์วัดรอยเท้าครู, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดี ชิงเด่น เช่น ลูกน้องวัดรอยตีนหัวหน้า.
  26. วัดวา ๒ : ก. พอเท่า ๆ กัน, พอเสมอกัน เช่น พี่น้องสองคนนี้สวย พอวัดวากันได้.
  27. วัดเหวี่ยง : ก. พอสู้กันได้, ปานกัน.
  28. วาบหวาม : ว. รู้สึกเสียวซ่านในใจ (มักใช้ในทางชู้สาว) เช่น พอเห็นหน้าคนรักก็รู้สึกวาบหวามใจ.
  29. ว้าเหว่ : ว. รู้สึกอ้างว้าง, เปลี่ยวใจ, เช่น ไปต่างถิ่น พอเย็นลงก็รู้สึก ว้าเหว่ คิดถึงบ้าน.
  30. วิเคราะห์ : ก. ใคร่ครวญ เช่น วิเคราะห์เหตุการณ์; แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อ ศึกษาให้ถ่องแท้ เช่น วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ วิเคราะห์ข่าว. (ส. วิคฺรห).
  31. แวดล้อม : ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคล สำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม; ห้อมล้อม เช่น มีบริวารแวดล้อมพอร้องเพลงจบก็มีคนมาแวดล้อมขอลายเซ็น. ว. ที่ห้อมล้อม, ที่อยู่โดยรอบ, เช่น สิ่งแวดล้อม ภาวะแวดล้อม.
  32. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  33. โวยวาย : ก. ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่ พอใจ เป็นต้น เช่น พอประกาศเงินเดือนขึ้นอีกกลุ่มก็โวยวาย. ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น เช่น เขาไม่ได้เงินเดือนขึ้นก็ส่งเสียงโวยวาย, กระโวยกระวาย ก็ว่า.
  34. ศอกกลับ : ก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคํา, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป.
  35. ศักราช : [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกําหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สําคัญ เรียงลําดับกัน เป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, .. จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คํา ศักราชในคํา เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราชจะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คํา เช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคําว่า รัตนโกสินทรศกไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้น เหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
  36. ส่ง ๆ : (ปาก) ว. ลวก ๆ, มักง่าย, เช่น พูดส่ง ๆ พอเอาตัวรอด, ส่งเดช ก็ว่า.
  37. ส่งเดช : (ปาก) ว. ลวก ๆ, มักง่าย, เช่น ทำส่งเดชพอให้พ้นตัว, ส่ง ๆ ก็ว่า.
  38. สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
  39. สมน้ำสมเนื้อ : ว. พอเหมาะพอดีกัน เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง สมน้ำสมเนื้อ กันดีแล้ว.
  40. สมส่วน : ว. มีส่วนสัดเหมาะเจาะ เช่น การออกกำลังกายทำให้ร่างกาย สมส่วน, รับกันพอเหมาะพอดี เช่น หลังคากับตัวเรือนสมส่วนกันดี.
  41. ส่วน : น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่ พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน ไปเชียงใหม่.
  42. สวนคำ : ว. อาการที่พูดย้อนตอบทันที เช่น พอเขาว่ามา ฉันก็ว่าสวน คำไป.
  43. ส่วนสัด : น. ขนาดที่พอเหมาะพอดีตามเกณฑ์ที่กําหนดหรือที่นิยม เช่น ผู้หญิงคนนี้มีรูปร่างได้ส่วนสัด; (ศิลปะ) ส่วนที่กําหนดขึ้นให้มี ความสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดความพอดี.
  44. สะเทิ้น, สะเทิ้นอาย : ก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย (มักใช้แก่ หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาว พอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย.
  45. สะลึมสะลือ : ว. ครึ่งหลับครึ่งตื่นหรืองัวเงียเพราะเมาหรือง่วง เช่น พอเมาได้ที่ก็นั่ง สะลึมสะลือ เมื่อคืนนอนดึก ตื่นขึ้นมาเลยสะลึมสะลือ.
  46. สะอึก : ก. อาการที่หายใจชะงักเนื่องจากกะบังลมหดตัว และช่องสายเสียง ก็ปิดตามมาทันทีทันใดในเวลาเดียวกัน; โดยปริยายหมายความว่า ชะงักงัน เช่น พอถูกถามปัญหาแทงใจดำเข้าก็สะอึกทันที.
  47. สะอึกเข้าใส่ : ก. กรากเข้าใส่, พรวดเข้าใส่, เช่น เมื่อมีคนจะทำร้ายนาย ลูกน้องก็สะอึกเข้าใส่ทันที พอถูกฝ่ายหนึ่งชกก็สะอึกเข้าใส่.
  48. สัก ๔ : ว. อย่างน้อย, เพียง, ราว, เช่น ขอเวลาสัก ๒ วัน. สักแต่ว่า, สักว่า ว. เพียงแต่ว่า...เท่านั้น เช่น สักแต่ว่ากวาดบ้าน ยังมี ขี้ผงอยู่เลย สักว่าทำพอให้พ้นตัว.
  49. สังเกตการณ์ : ก. เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง. น. เรียกผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงว่า ผู้สังเกตการณ์.
  50. สังเขป : น. ใจความย่อ, เค้าความย่อ, เช่น เขียนมาพอเป็นสังเขป. (ป.; ส. สํเกฺษป).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-339

(0.0454 sec)