Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กึ่งหนึ่ง, หนึ่ง, กึ่ง , then กง, กงหนง, กึ่ง, กึ่งหนึ่ง, หนง, หนึ่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กึ่งหนึ่ง, 3618 found, display 2451-2500
  1. ไม้ญี่ปุ่น : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นย่อมาจากธรรมชาติของต้นไม้ในป่า ไม่มีการแต่งช่อหรือพุ่มใบ.
  2. ไม้ดำไม้แดง : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และสีขาว เจ้ามือกำไม้ ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลงในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ อีดำอีแดง ก็เรียก.
  3. ไม่ได้เบี้ยเอาข้าว : (สํา) ว. ไม่ได้อย่างหนึ่งก็ต้องเอาอีกอย่างหนึ่ง, ไม่ยอมกลับมือเปล่า.
  4. ไม้ตลก : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหัวโต เอารากมาทำเป็นต้นไม้ดัด มีรูปทรงคดงอไม่ เข้ารูปใด ๆ มีรากโผล่มาให้เห็น.
  5. ไม้ตะพด : น. ไม้ถืออย่างหนึ่งทำด้วยไม้รวกเป็นต้น ยาวประมาณ ๑ เมตร.
  6. ไม้เท้า : น. ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ สําหรับถือยันตัวหรือเดิน, ไม้สักกะเท้า ก็เรียก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตรภัทรบท มี ๒ ดวง, ดาวแรดตัวเมีย ดาวอุตตรภัทรบท หรือ ดาวอุตตรภัททะ ก็เรียก.
  7. ไม้บรรทัด : น. อุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทําด้วยไม้เป็นต้น สําหรับทาบเป็นแนว เพื่อขีดเส้นให้ตรง, (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า บรรทัด.
  8. ไม้ประกับคัมภีร์ : น. ไม้แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวเท่าใบลาน ริมลอกบัว ข้างหน้ามักเขียนลายปิดทองรดน้ำหรือประดับมุก ชุดหนึ่งมี ๒ แผ่น สำหรับประกับ ด้านหน้าด้านหลังคัมภีร์ใบลาน.
  9. ไม้ป่าค่อม : น. ไม้ดัดแบบหนึ่ง ต้นเตี้ย มีกิ่งรอบต้นเป็นพุ่มกลม.
  10. ไม้ลื่น : น. กระดานที่ตั้งสูงทอดต่ำลงไปด้านหนึ่ง ให้เด็กเล่นโดยนั่งไถลตัวลง, กระดานลื่น ก็เรียก.
  11. ไม้สั้น : น. เครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่นกระบี่กระบอง เป็นท่อนไม้ขนาดสั้น ๆ ปลายด้านหนึ่งมีห่วงสำหรับสอดแขนเข้าไปถึงข้อศอก ปลายอีกด้านหนึ่งมี ไม้หลัก ๒ อัน อันในสำหรับมือจับ อันนอกเป็นเครื่องป้องกันในเวลาต่อสู้, ตรงข้าม กับ ไม้ยาว ซึ่งได้แก่พลองเป็นต้น.
  12. ไม้สั้นไม้ยาว : น. เรียกวิธีเสี่ยงทายแบบหนึ่งว่าจับไม้สั้นไม้ยาว คือ ใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดสั้นยาวลดหลั่นกันไป จํานวนเท่าคนที่จะจับ กําปลายไม้ให้โผล่เสมอกัน มักตกลงกันว่า ผู้จับได้ไม้สั้นที่สุดเป็นผู้แพ้.
  13. ไม้สามอัน : น. ชื่อเครื่องมือเล่นการพนันชนิดหนึ่งใช้ไม้กลม ๆ ๓ อัน ผูกเชือกไว้ อันหนึ่ง เจ้ามือกําไม้ ๓ อันไว้ให้ผู้เล่นจับ ถ้าจับได้อันที่ผูกเชือกไว้ เจ้ามือแพ้.
  14. ไม้สูง : น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกาว่า เล่นไม้สูง; เรียกเพลงกระบี่กระบองซึ่งเป็นเพลงชั้นสูง; โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยม ฉลาดเกินตัว เช่น เขามาไม้สูง.
  15. ไม้หกเหียน : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา.
  16. ไม้หมุน : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่งทําเป็นไม้แป้นกลม ๆ เขียนแบ่งเป็นช่อง มีเข็มชี้วางตามแบน ใช้หมุน เมื่อเข็มชี้ไปหยุดตรงช่องที่แทง ก็ถูก; เรียก ไม้กลม ๆ สําหรับปาดปากสัดข้าวว่า ไม้หมุน.
  17. ไม้หึ่ง : น. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้อง วิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน.
  18. ไม้เอนชาย : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีต้นเอนไปข้างใดข้างหนึ่ง เหมือนไม้ที่อยู่ริมน้ำ.
  19. ยก ๑ : ก. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคําสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. น. เรียกผ้าไหม ชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลาย เด่นขึ้นว่า ผ้ายก.
  20. ยก ๒ : น. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กําหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจํานวนหนึ่ง เช่น มวย ยกหนึ่งกำหนด ๒๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษ แผ่น หนึ่งขนาด ๓๑ x ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กําหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น.
  21. ยกยอด : ก. ทําพิธีเอายอดเมรุยอดปราสาทขึ้น; เก็บเอาสิ่งที่ทําค้างไว้ ไปทําให้เสร็จในคราวเดียวกัน; เก็บเอาความเจ็บแค้นไว้แก้แค้นใน คราวเดียว; โอนจํานวนเงินจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง.
  22. ยติภังค์ : น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คําไม่หมดตรงที่กําหนดไว้ตาม ข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธ ศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับ พยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคําเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ใน บรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.
  23. ยม ๒, ยม : [ยม, ยมมะ] น. เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ประจําโลกของคนตาย; ชื่อดาวเคราะห์ ดวงที่ ๙ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕,๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒,๕๘๐ ถึง ๓,๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทําให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวง โคจรของดาวเนปจูน, ดาวพลูโต ก็เรียก. (ป., ส.).
  24. ยมนา : [ยมมะนา] น. แม่นํ้าใหญ่, ชื่อแม่นํ้าสายหนึ่งในอินเดีย คือ แม่นํ้ายมุนา ซึ่งเรียกเพี้ยนเป็น ชุมนา ก็มี. (ป., ส. ยมุนา).
  25. ยวง : น. เนื้อในของขนุนที่หุ้มเมล็ด เรียกว่า ยวงขนุน, ลักษณนามเรียกเนื้อใน ของขนุนว่า ขนุนยวงหนึ่ง ขนุน ๒ ยวง; เรียกลักษณะของเงินบริสุทธิ์ที่ ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ ว่า เงินยวง, โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะย้อยยืดลงมาเป็นแนวยาว ๆ เช่น ฝีถอนยวง ขี้มูกเป็น ยวง. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า ว่า สีเงินยวง.
  26. ยศ : [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่ พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูง ต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).
  27. ยอ ๓ : น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง เป็นร่างแหสี่เหลี่ยมมีคันสําหรับยก.
  28. ย้อนคำ : ก. ว่าสวนตอบตามคำที่เขาว่ามา เช่น ฝ่ายหนึ่งพูดว่า เธอโง่จริง อีกฝ่ายหนึ่งก็ย้อนคำว่า แล้วเธอไม่โง่หรือ.
  29. ยัก ๑ : ก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทําให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของ บางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้าง ไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุก ยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไป ลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่ง เรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตน ไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.
  30. ยักคอ : ก. เอียงคอไปในทางตรงกันข้ามกับยักเอว เป็นท่าประกอบการ รำไทยอย่างหนึ่ง.
  31. ยักเงี่ยง : ก. หมอบลงและขยับศอกไปมา เป็นท่าหนึ่งของการเล่นเสือ ข้ามห้วย.
  32. ยักท่า : ก. ไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ เป็นการเล่นแง่เพื่อดูท่วงทีของอีก ฝ่ายหนึ่ง.
  33. ยักเยื้อง : ว. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น ถามเรื่องหนึ่ง แต่พูดยักเยื้อง ไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง, ดัดแปลง เช่น ทํายักเยื้อง, เยื้องยัก ก็ว่า.
  34. ยักษ์ : น. อมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดํา อํามหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้จําแลงตัวได้, บางทีใช้ปะปนกับคําว่า อสูร รากษส และมาร ก็มี; เทวดาพวกหนึ่งใน สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกและชั้นปรนิมมิตวสวัตดี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวสตะภิสชะ ก็เรียก. ว. โดย ปริยายหมายความว่า มีลักษณะหรืออาการอย่างยักษ์ เช่น ใจยักษ์ หน้า ยักษ์, มีลักษณะใหญ่เป็นพิเศษในพวก เช่น ปลาหมึกยักษ์. (ส. ยกฺษ ว่า อมนุษย์พวกหนึ่ง บริวารท้าวเวสวัณ; ป. ยกฺข).
  35. ยักเอว : ก. เอียงตัวท่อนบนไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนลำตัวท่อนล่างตั้งตรง เป็นท่าประกอบการรำไทยท่าหนึ่ง.
  36. ยัชนะ : [ยัดชะนะ] น. พิธีจําพวกหนึ่งสําหรับบูชาเทวดาโดยสวดมนตร์และถวาย เครื่องเซ่นสังเวย. (ป., ส.).
  37. ยัด : ก. บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้า ห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง; (ปาก) ใช้ แทนคําว่า กิน (ใช้ในลักษณะกินอย่างตะกรุมตะกราม ถือว่าเป็นคำหยาบ).
  38. ยัดปาก : ก. อ้างว่าเป็นคำพูดของผู้ใดผู้หนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่.
  39. ยั่ว : (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ใน ทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
  40. ยั่วยวน : ก. ทําให้อีกฝ่ายหนึ่งกำเริบรักหรือเกิดความใคร่.
  41. ยั่วยุ : ก. ยุให้เกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  42. ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
  43. ยาคุ, ยาคู : น. ข้าวต้ม; เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวอ่อนว่า ข้าวยาคุ หรือ ข้าวยาคู. (ป.).
  44. ยาเคี้ยว : (กฎ) น. ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบยาแห้ง นอกจากใบยาแห้งพันธุ์ ยาสูบพื้นเมือง ซึ่งได้ปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำเพื่ออมหรือเคี้ยว.
  45. ย่างทราย : น. ชื่อเถาวัลย์ป่าชนิดหนึ่ง มีใบใหญ่, ย่านทราย ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).
  46. ยางมะตอย : น. สารผสมประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนมากชนิด และสารอินทรีย์อื่น ๆ ซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่า สารบิทูเมน ลักษณะเป็น ของเหลวข้นหนืด หรือเป็นกึ่งของแข็ง สีดํา หรือสีนํ้าตาลแก่แกมดํา เกิดตามธรรมชาติ และเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียม ใช้ประโยชน์ราดทําผิวถนนหรือใช้ผสมกับหินขนาดเล็กทําพื้นถนนได้, แอสฟัลต์ ก็เรียก.
  47. ยางหนังสติ๊ก : น. แถบยางยาว ๆ มักทำจากยางในรถจักรยาน เวลานำมา ผูกกับง่ามหนังสติ๊กจะใช้ยางเพียง ๒ เส้น โดยผูกปลายด้านหนึ่งของ แต่ละเส้นกับปลายสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ แล้วเอาปลายอีกด้านหนึ่ง ของแต่ละเส้นผูกกับแผ่นหนังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงกลาง สำหรับรองรับลูกกระสุนที่ใช้ยิง.
  48. ยาจืด : น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เป็นเส้นละเอียด มีรสจืด สีเหลือง นวล ใช้เช็ดปากเช็ดฟันในเวลากินหมากแล้วม้วนเป็นก้อนเล็ก ๆ จุกไว้ ที่มุมปาก, ยาฝอย ก็เรียก.
  49. ยาฉุน : น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เป็นเส้นหยาบ ๆ มีรสฉุน สีนํ้าตาลแก่ ใช้ใบตองหรือใบจากเป็นต้นมวนสูบ.
  50. ยาดา : น. หญิงที่เป็นสะใภ้ด้วยกัน เช่น หนึ่งคือนางศิริมหามายา ยาดานารถบพิตร ก็ดี. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส. ยาตา).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | [2451-2500] | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3618

(0.0979 sec)