Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเกี่ยวเนื่อง, เนื่อง, เกี่ยว, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเกี่ยวเนื่อง, 3645 found, display 3201-3250
  1. หาสก, หาสกะ : [-สก, -สะกะ] น. ผู้ให้ความสนุก, คนตลก, คนมีอารมณ์ขัน. (ป., ส.).
  2. หาสยะ : [-สะยะ] น. ความสนุก, ความขบขัน. ว. พึงหัวเราะ, น่าหัวเราะ, ขบขัน; แยบคาย, ตลกคะนอง. (ส.).
  3. หาสะ : น. การหัวเราะ, ความสนุกรื่นเริง. (ป., ส.).
  4. หิงสา : น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หึงสา ก็ว่า, บางที ก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หิงสาพยาบาท หรือ หึงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).
  5. หิต, หิต- : [หิด, หิตะ-] น. ความเกื้อกูล, ประโยชน์. (ป., ส.).
  6. หินแปร : น. หินที่แปรสภาพจากหินเดิม โดยการกระทําของความร้อน ความดัน และปฏิกิริยาเคมี.
  7. หิม-, หิมะ : [หิมมะ-] น. ละอองนํ้าในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิตํ่า ลักษณะฟูเป็นปุยลอยลงมาจากท้องฟ้า; ความหนาว, ความเยือกเย็น; ฤดูหนาว. (ป., ส.).
  8. หิริ : [หิหฺริ] น. ความละอายใจ, ความละอายบาป. (ป.; ส. หฺรี).
  9. หิริโอตตัปปะ : [หิหฺริโอดตับปะ] น. ความละอายบาปและความเกรงกลัว บาป, ความละอายใจ. (ป.).
  10. หีบชัก : (โบ) น. หีบไม้รูปทรงสี่เหลี่ยม ภายในมีที่ตั้งโถอุจจาระ ด้านหลัง เปิดได้เพื่อชักโถออกทําความสะอาด ตอนบนเป็นที่นั่ง มีร่องเจาะตรงกับ ปากโถตอนล่าง.
  11. หึงส-, หึงสา : [หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสา พยาบาท. (ป., ส. หึสา).
  12. หื่น : ก. มีความอยากอย่างแรงกล้า (มักใช้ในทางกามารมณ์).
  13. หื้อ ๑ : อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความรับรู้.
  14. หุง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งสุกด้วยวิธีต้มหรือเคี่ยวเป็นต้น เช่น หุงข้าว หุงยา, ใช้ความร้อนสูงทําให้สีของผิวสิ่งของบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น หุงพลอย.
  15. หุ้นสามัญ : (กฎ) น. หุ้นธรรมดาของบริษัทจำกัด ซึ่งแบ่งทุนออกเป็นหุ้นมี มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กันและผู้ถือหุ้นมีความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนหุ้น ที่ตนส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ.
  16. หุนหันพลันแล่น : น. ด่วนทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไปโดยไม่ยั้งคิดด้วยความโกรธ ความโลภ เป็นต้น.
  17. หูตาสว่าง : ว. รู้เหตุการณ์ดีขึ้น, รู้ความจริงมากขึ้น.
  18. หูแตก : น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมาย ความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตก หรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน.
  19. เหงื่อกาฬ : น. เหงื่อของคนใกล้จะตาย; โดยปริยายหมายถึงเหงื่อแตกด้วย ความตกใจกลัวเป็นต้น.
  20. เหตุสุดวิสัย : น. ภาวะที่พ้นความสามารถที่ใครจะป้องกันได้.
  21. เห็นจะ : ก. คงจะ เช่น เห็นจะจริง, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เป็น ไม่เห็นจะ.
  22. เห็นใจ : ก. เห็นน้ำใจว่าเป็นอย่างไร เช่นดีหรือชั่ว, ร่วมรู้สึกในความทุกข์ ยากของผู้อื่นเช่น รู้สึกเห็นใจคนจนที่ต้องอดมื้อกินมื้อ; มาทันพบก่อนตาย เช่น เขามาทันเห็นใจก่อนพ่อจะสิ้นลม.
  23. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง : (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือ ประสานรัดก้น.
  24. เห็นดำเห็นแดง : ว. ถึงที่สุดจนรู้ความจริงว่าดีหรือชั่ว ผิดหรือถูก เป็นต้น.
  25. เห็นดีกัน : ก. เห็นว่าใครจะมีฝีมือหรือความสามารถเป็นต้นมากกว่ากัน (มักใช้ในทางท้าทาย) เช่น สักวันหนึ่งจะต้องเห็นดีกัน.
  26. เหนียง : [เหฺนียง] น. เนื้อหรือหนังที่ห้อยอยู่บริเวณคอของสัตว์บางชนิด เช่น ไก่ นก วัว, โดยปริยายหมายถึงเนื้อที่ห้อยอยู่ตรงลำคอใต้คางของคนแก่ ในความว่า แก่จนเหนียงยาน; สายป่านที่ผูกยาวห้อยเป็นบ่วงจากสายซุงว่าวปักเป้า.
  27. เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า : น. ปรากฏการณ์ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเนื่อง จากอํานาจแม่เหล็ก, เรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากอํานาจแม่เหล็ก ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนํา,เรียกเครื่องมือสําเร็จที่ใช้สําหรับเปลี่ยนศักย์ ไฟฟ้าให้มีค่าสูงขึ้นมาก ๆ โดยอาศัยอํานาจแม่เหล็กว่า ขดลวดเหนี่ยวนํา.
  28. เหนียวแน่น : ว. มีความระมัดระวังมากในการใช้จ่าย เช่น เขาเป็นคน เหนียวแน่น; แน่นแฟ้น เช่น มิตรภาพระหว่างประเทศทั้งสองนี้ เหนียวแน่นมาก.
  29. เหนือ : [เหฺนือ] ว. ที่อยู่ในที่หรือฐานะสูงกว่าสิ่งอื่นเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น เขามีอํานาจเหนือฉัน, ที่มีความรู้ความสามารถเป็นต้นสูง เช่น เขามีฝีมือ เหนือชั้นกว่าคู่ต่อสู้, ข้างบน เช่น สวะลอยอยู่เหนือนํ้า, ตรงข้ามกับ ใต้. น. ชื่อทิศตรงข้ามกับทิศใต้, ทิศที่อยู่ทางซ้ายมือเมื่อหันหน้าไปทางทิศ ตะวันออก เรียกว่า ทิศเหนือ, ทิศอุดร ก็ว่า. บ. พ้นขึ้นไป, เลยขึ้นไป, เช่น เมฆลอยอยู่เหนือภูเขา.
  30. เหม่, เหม่ ๆ : [เหฺม่] (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, อุเหม่ ก็ว่า. ว. เสียงดังเช่นนั้น แสดงความโกรธ.
  31. เหมาะสม : ว. พอเหมาะพอสมกัน เช่น เจ้าบ่าวเจ้าสาวคู่นี้เหมาะสมกัน; สมควร, ควรแก่กรณี, เช่น เขาถูกลงโทษเหมาะสมกับความผิดแล้ว.
  32. เหย่อย : [เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสด และรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาล เช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
  33. เหยียบถ้ำเสือ, เหยียบถิ่นเสือ : ก. เข้าไปในแดนผู้มีอิทธิพลโดยไม่แสดง ความยำเกรง.
  34. เหยียบย่ำ : ก. ละเมิดให้เสียหาย, ย่ำยีด้วยความดูถูก เช่น อย่าเหยียบย่ำ คนจน. น. เอกสารซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่ดินว่างเปล่า มีเงื่อนไขให้ประโยชน์ในที่ดินนั้น เรียกว่า ใบเหยียบยํ่า.
  35. เหรัญญิก : น. ตําแหน่งกรรมการเจ้าหน้าที่ของสมาคมเป็นต้น ทําหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน.
  36. เหรียญ : น. โลหะที่มีลักษณะกลมแบนหรือรูปเหลี่ยมเป็นต้น มีภาพนูนหรือตัว อักษรอยู่บนพื้น เช่น เหรียญกระษาปณ์ เหรียญความดีความชอบ เหรียญที่ระลึก.
  37. เหลวแหลก : [-แหฺลก] ว. ป่นปี้, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน; เละเทะ; เป็นที่น่ารังเกียจ เช่น มีความประพฤติเหลวแหลก ชีวิตเหลวแหลก.
  38. เหลา ๑ : [เห-ลา] น. ความหมิ่น; ความสนุก; การเล่น, การกีฬา; การหยอกเอิน; ความสะดวกสบาย. (ส.).
  39. เหล้าโรง : น. เหล้าที่กลั่นจากโรงงานสุราโดยทั่วไปมักมีความเข้มข้นของ เอทิลแอลกอฮอล์ประมาณ ๒๘ ดีกรี หรือ ๔๐ ดีกรี, เหล้าขาว ก็เรียก.
  40. เหลียวหลัง : น. เรียกสร้อยที่มีลักษณะบิดเป็นเกลียวว่า สร้อยเหลียวหลัง. ก. เหลียวดูด้วยความสนใจหรือด้วยความอาลัยอาวรณ์เป็นต้น.
  41. เหลือกำลัง, เหลือสติกำลัง : ว. พ้นความสามารถ เช่น เหลือกำลังลาก, เต็มที เช่น ซนเหลือกำลัง.
  42. เหลือบ่ากว่าแรง : ว. เกินความสามารถที่จะทําได้, เกินกําลัง.
  43. เหลือวิสัย : ว. พ้นขอบเขตที่จะพึงทํา, พ้นความสามารถ.
  44. เหลือหลอ : [-หฺลอ] ว. หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือ หลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจน ไม่มีอะไรเหลือหลอ.
  45. เหวทะเล : น. ส่วนที่ลึกมากของผืนท้องทะเลและมหาสมุทร มีขอบสูง ชันและมีบริเวณจํากัด โดยทั่วไปกําหนดความลึกตั้งแต่ ๕,๔๐๐ เมตร ลงไป.
  46. เหวย : ว. คำที่ใช้ประกอบข้อความที่มีความหมายในเชิงถามหรือชักชวนเป็นต้น เช่น ใครเล่าเหวยจะไปกับพวกเราบ้าง มาละเหวยมาละวา.
  47. เหวย ๆ : อ. คำร้องเรียกแสดงว่ามีอำนาจหรือแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นต้น เช่น เหวย ๆ เจ้าเด็กน้อย. ว. เสียงร้องเรียกที่ได้ยินแต่ที่ไกล เช่น ได้ยินเสียง ใครมาร้องเรียกอยู่เหวย ๆ.
  48. เหอะน่า : (ปาก) เถอะน่า, คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิง ชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น, เฮอะน่า ก็ว่า.
  49. เหิมหาญ : ว. ลำพองใจด้วยความกล้าหาญ.
  50. เหิมห้าว : ว. ลำพองใจด้วยความมุทะลุดุดัน, ลำพองใจด้วยความแข็งกร้าว.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | [3201-3250] | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3645

(0.0954 sec)