Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จุด , then จด, จุด, จุต, จูด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จุด, 370 found, display 301-350
  1. ทุนจดทะเบียน : (กฎ) น. จํานวนเงินทุนของบริษัทที่ได้จดทะเบียน ไว้ตามกฎหมายและได้กําหนดไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัท โดยแยกออกเป็นหุ้นพร้อมทั้งระบุมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ และจํานวน สูงสุดของหุ้นที่จะออกจําหน่ายได้. (อ. authorized capital).
  2. ใจจดใจจ่อ : ว. มุ่งอยู่, เป็นห่วงอยู่.
  3. ยัน ๑ : ก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้า ยันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพ ยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยัน เปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.
  4. ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  5. กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
  6. จ่อ ๑ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก; มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำ จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามี ใจจดจ่อกับงาน.
  7. ร่อ : (กลอน) ก. จ่อ, จด. ว. ใกล้.
  8. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  9. กระแจะ ๓ : น. ชื่อรูปปลอกเหล็กสําหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิด อย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกําลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทําด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่ สําหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจาก ปลอกลอดออกมาจากคันไม้ ใช้สําหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้าง ข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อ ช้างจะได้ลาก ช้างกําลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกที จนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้; (ถิ่น-พายัพ) โซ่หรือ กำไลเหล็กที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ ช้างเดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า.
  10. กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
  11. กระเบน : น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้าย เกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้าง ออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัว เป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจาก ส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับ โพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอน ใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทง จะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่นผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
  12. กระหย่ง ๒ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอา ปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  13. กระโหย่ง ๒ : [-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  14. กราบ ๒ : [กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็น กราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบ ติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็น คําแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. กราบพระ (โบ) น. ผ้ากราบ.
  15. กลม ๓ : [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภท ที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลาก เป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้นจนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจพระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว.
  16. กำ ๑ : ก. งอนิ้วมือทั้ง ๔ ให้จดอุ้งมือ, เอานิ้วมือทั้ง ๕ โอบรอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, อาการที่งอนิ้วมือทั้ง ๕ รวบสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้. น. มือที่กําเข้า; ปริมาณของเต็มมือที่กําเข้า, กำมือ ก็ว่า; มาตราวัดรอบของกลม เมื่อวัดได้เท่าไร แล้วทบกึ่งได้ยาวราว ๑๐ เซนติเมตร เช่น ของกลมวัดรอบได้ยาว ๒๐ เซนติเมตรของกลมนั้นเรียกว่า มีขนาด ๑ กํา, มี ๓ ชนิด คือ ๑. กําสลึง (ยาว ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด หรือ ๑๐.๗๕ เซนติเมตร) ๒. กําเฟื้อง (ยาว ๔ นิ้วครึ่งกระเบียด หรือ ๑๐.๕ เซนติเมตร) ๓. กําสองไพ (ยาว ๔ นิ้ว ๒ หุน หรือ ๑๐.๒๕ เซนติเมตร); ลักษณนามเรียกผักหรือหญ้าที่มัดไว้ เช่น ผักกําหนึ่ง หญ้า ๒ กํา.
  17. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  18. งา ๔ : น. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือ ครีบก้น ลําตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียง ต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงินอมเหลืองส้ม.
  19. จรด : [จะหฺรด] (โบ; แบบ) ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง.
  20. จรดพระนังคัล : ก. จดไถลงดินเพื่อไถนาในพระราชพิธีจรด พระนังคัลแรกนาขวัญ.
  21. จำรด : [-หฺรด] (กลอน) ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง. (แผลงมาจาก จรด).
  22. จี้ ๒ : ก. เอานิ้วมือหรือสิ่งของจดหรือแหย่เข้าไป, เอามือแหย่ให้รู้ตัวหรือให้ สะดุ้ง; ติดตามอย่างกระชั้นชิด เช่น วิ่งจี้หลังมา, ติดตามเร่งรัด เช่น จี้ ให้ทำงาน; (ปาก) ใช้อาวุธขู่เข็ญบังคับให้ทําตาม.
  23. ชื่อสกุล : น. ชื่อประจําวงศ์สกุลซึ่งสืบเนื่องจากบิดาถึงบุตร หรือซึ่งได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นทางการแล้ว, นามสกุล; (กฎ) ชื่อประจําวงศ์สกุล.
  24. ด้วง ๑ : น. ชื่อแมลงในอันดับ Coleoptera มีปีก ๒ คู่ ลําตัวและปีกคู่หน้าแข็ง เมื่อ พับปีกขอบปีกจะจดกันที่กึ่งกลางสันหลัง ปีกคู่หลังบางเมื่อพับจะซ้อน เข้าไปเก็บใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน อกปล้องแรกใหญ่และเห็นได้ ชัดเจน แมลงพวกนี้มีมากชนิดกว่าแมลงอื่น ๆ.
  25. ตราสิน : ก. แจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐาน, จดทะเบียน, เช่น ตราสินหนังสือ พิมพ์ ตราสินชื่อย่อโทรเลข.
  26. ตรีบถ : น. ที่ซึ่งทางทั้ง ๓ มาจดกัน, ทางสามแพร่ง. (ส. ตฺริปถ).
  27. ถ้อยคำสำนวน : (กฎ) น. หนังสือใด ๆ ที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่ง รายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น.
  28. ทนายความ : น. ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่อง อรรถคดี, เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย; (กฎ) ผู้ที่สภาทนายความได้รับ จดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ; (ปาก) หมอความ; (โบ) ผู้พากย์หนัง.
  29. ทะเบียน : น. บัญชีจดลักษณะจํานวนคน จํานวนสัตว์หรือจํานวนสิ่งของ ตลอดจนการงานต่าง ๆ ที่รัฐบันทึกไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับ ประชาชนพลเมือง.
  30. ทุนเรือนหุ้น : (กฎ) น. ทุนจดทะเบียนของบริษัทซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน. (อ. capital stock).
  31. น้ำหน้า : น. หน้า (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น เป็นต้น) เช่น นํ้าหน้าอย่างนี้ทําไม่สําเร็จดอก เกลียดนํ้าหน้า ชังนํ้าหน้า; (โบ; กลอน) นํ้าตา เช่น นํ้าหน้าไล้กําลูน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  32. บน ๒ : น. คํา เช่น ให้บนถ้อยคํา. (จินดามณี); คําที่จดไว้เป็นหลักฐาน, คําให้ การที่จดไว้เป็นหลักฐาน, เช่น เอาบนเขาไว้, ให้คาดบนไว้. (สามดวง).
  33. บรรจบ : [บัน-] ก. เพิ่มให้ครบจํานวน เช่น บรรจบให้ครบร้อย บรรจบให้ ครบถ้วน; จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้บรรจบกัน ทาง ๒ สายมาบรรจบกัน, ทําให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่าง ให้มุมบรรจบกัน; ชนขวบ เช่น บรรจบรอบปี, ประจบ ก็ใช้.
  34. บัญชี : น. สมุดหรือกระดาษสําหรับจดรายการต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐาน เช่น บัญชีเงินสด บัญชีพัสดุ บัญชีพล บัญชีเรียกชื่อ. (ส. ปญฺชิ).
  35. บันทึก : ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือ ถ่ายทําไว้เพื่อช่วยความจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงาน การประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทําให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วย ความทรงจํา; หรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นํามาจดย่อ ๆ ไว้ เพื่อให้รู้เรื่องเดิม(กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ จดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก คําร้องทุกข์และคํากล่าวโทษด้วย.
  36. บุญธรรม : น. เรียกลูกของคนอื่นซึ่งเอามาเลี้ยงเป็นลูกของตัวว่า ลูกบุญธรรม, ถ้าจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เรียกว่า บุตร บุญธรรม.
  37. บุตรบุญธรรม : [บุดบุนทํา] (กฎ) น. บุตรของผู้อื่นที่บุคคลได้จด ทะเบียนรับเป็นบุตรของตน.
  38. เบญจางคประดิษฐ์ : น. การกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผาก จดลงกับพื้น.
  39. ใบเบิกร่อง : (กฎ) น. เอกสารที่กรมศุลกากรออกให้แก่เรือที่มีระวาง จดทะเบียนตํ่ากว่า ๒๐๐ ตัน ที่ออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อส่งมอบ ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อนําเรือผ่านด่านศุลกากรที่ปากนํ้า สมุทรปราการ.
  40. ประจบ ๑ : ก. บรรจบ, เพิ่มให้ครบจํานวน, เช่น มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท; จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้ประจบกัน ทาง ๒ สาย มาประจบกัน, ทําให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุม ประจบกัน.
  41. ประทวนสินค้า : (กฎ) น. เอกสารซึ่งนายคลังสินค้าออกโดยระบุชื่อ ผู้ฝากสินค้า ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลักหลังจํานําสินค้าที่จดแจ้งไว้ ในประทวน โดยไม่ต้องส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้รับสลักหลัง.
  42. ปี่ : น. เครื่องดนตรีประเภทเป่าลมอย่างหนึ่งที่ใช้ลิ้น ตัวปี่หรือเลาปี่ มักทำด้วยไม้แก่น เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง มีลักษณะค่อนข้างยาว ป่องตรงกลาง หัวท้ายบานออกเล็กน้อย ภายในเลาปี่เจาะรูกลวง ตลอดตั้งแต่หัวจดท้าย มีหลายชนิด เช่น ปี่นอก ปี่ใน ปี่ไฉน ปี่ชวา, ลักษณนามว่า เลา เช่น ปี่ ๒ เลา.
  43. ผู้ประกอบการ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทาง ธุรกิจหรือวิชาชีพไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือ ได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วหรือไม่.
  44. ผู้รับบุตรบุญธรรม : (กฎ) น. ผู้ที่ได้จดทะเบียนรับบุตรของบุคคลอื่น มาเป็นบุตรของตน.
  45. เฝ้าคอย : ก. รอคอย, คอยด้วยใจจดใจจ่อ.
  46. พรรคการเมือง : น. กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเดียว กัน ร่วมกันจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย.
  47. มีดหมู : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปสามเหลี่ยมชายธง ปลายแหลม สันตรงและหนา คมโค้งขึ้นไปจดปลาย ด้ามทำด้วยไม้สั้นขนาดพอกำ ใช้แล่เนื้อหมูตามเขียงหมู.
  48. มูลนิธิ : [มูนละ-, มูน-] (กฎ) น. ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสําหรับ วัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะการศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหา ผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์แล้ว. (ป. มูล + นิธิ).
  49. เมียน้อย : (ปาก) น. หญิงที่ชายเลี้ยงดูอย่างภรรยา แต่ไม่มีศักดิ์ศรีเท่าเมียหลวง หรือไม่ได้จดทะเบียน.
  50. ย่อง ๑ : ก. เดินอย่างใช้ปลายเท้าจดลงเบา ๆ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-370

(0.0327 sec)