Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไป , then ไบ, ไป .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไป, 3760 found, display 1701-1750
  1. ใบสั่ง : น. หนังสือสั่งให้ปฏิบัติตามที่แจ้งไว้ เช่น ใบสั่งยา ใบสั่งจ่าย ใบสั่งให้ไปเสียค่าปรับ.
  2. ไบ่ ๆ : ว. อาการที่เคี้ยวสิ่งของทําปากเยื้องไปมา.
  3. ปกติ : [ปะกะติ, ปกกะติ] ว. ธรรมดา, เป็นไปตามเคย, ไม่แปลกไปจาก ธรรมดา, ปรกติ ก็ว่า. (ป.; ส. ปฺรกฺฤติ).
  4. ปกีรณัม : [ปะกีระนํา] ก. จําแนกหรือกระจายออกไป. (ส. ปฺรกีรณมฺ).
  5. ปฏิญาณ : [ปะติยาน] ก. ให้คํามั่นสัญญา โดยมากมักเป็นไปตามแบบพิธี.
  6. ปฏิบัติ : ก. ดําเนินการไปตามระเบียบแบบแผน เช่น ปฏิบัติราชการ, กระทํา เพื่อให้เกิดความชํานาญ เช่น ภาคปฏิบัติ; กระทําตาม เช่น ปฏิบัติตาม สัญญา; ประพฤติ เช่น ปฏิบัติสมณธรรม ปฏิบัติต่อกัน; ปรนนิบัติ รับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์. (ป. ปฏิปตฺติ).
  7. ปฏิปัน : (แบบ) น. ผู้ดําเนินไปแล้ว, ผู้บรรลุแล้ว, ผู้ตรัสรู้แล้ว. (ป. ปฏิปนฺน).
  8. ปฏิเสธข่าว : ก. แสดงยืนยันว่าไม่เป็นไปตามนั้น.
  9. ปโย- : น. นํ้านม, นํ้า. (ป., ส. ปย), ที่เป็น ปโย เพราะเข้าสมาสกับศัพท์ที่มี พยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรตํ่าหรือตัว ห ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  10. ปรกติ : [ปฺรกกะติ] ว. ธรรมดา เช่น ตามปรกติ, เป็นไปตามเคย เช่น เหตุการณ์ปรกติ, ไม่แปลกไปจากธรรมดา เช่น อาการปรกติ, ปกติ ก็ว่า. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
  11. ปรวนแปร : [ปฺรวนแปฺร] ก. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่อยู่ที่เป็นปรกติ เช่น อากาศ ปรวนแปร, รวนเร เช่น ใจปรวนแปร, แปรปรวน ก็ว่า.
  12. ปรอท : [ปะหฺรอด] น. ธาตุลําดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖?ซ. เดือดที่ ๓๕๗?ซ. ใช้ ประโยชน์นําไปทําเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทําเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. (อ. mercury); (ปาก) เครื่องวัดอุณหภูมิ; โดยปริยายหมายถึงอาการ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วว่องไว เช่น ไวเป็นปรอท. (ป., ส. ปารท).
  13. ประกฤติ : [-กฺริด, -กฺริติ] (แบบ) น. มูลเดิม, ที่เกิด, รากเหง้า; ความเป็นไป ตามธรรมดา, ความเป็นไปตามปรกติ, ลักษณะ; กฎ, เกณฑ์, แบบเดิม. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
  14. ประคอง : ก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้ม เป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวัง ไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.
  15. ประเคน : ก. ถวายของพระโดยวิธียกส่งให้ตามพิธีการที่กําหนดไว้ เช่น ประเคนอาหาร; ส่งให้ถึงมือ (ใช้ในความแดกดัน) เช่น ต้องเอาไป ประเคนให้จนถึงที่; (ปาก) ตี เช่น ประเคนกระบาล ๓ ที.
  16. ประโคน ๒ : น. สายรัดจากใต้สัปคับไปที่อกช้าง หลังขาหน้า แล้วลอดมาบรรจบ กันโยงใต้ท้องช้างและหน้าขาหน้าไปจากสายชนักที่คอช้าง, (กลอน) กระคน ก็ว่า.
  17. ประจาก : ก. พรากไป, จากไป.
  18. ประจำ : ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่ สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครู หรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและ จะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้าง ไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา, เรียกผู้ที่มาติดต่อ หรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝาก ครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้ แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา, มัดจํา ก็ว่า.
  19. ประชาชน, ประชาราษฎร์ : น. พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช ในความว่า ข้าราชการ พ่อค้า และ ประชาชน.
  20. ประดิทิน : ว. ประจําวัน, ทุกวัน, เสมอไป, เช่น อนึ่งผู้อยู่ในราชการอัน บรรดาจําบําเรอประดิทิน. (กฎ. ราชบุรี).
  21. ประดิษฐาน : [ปฺระดิดสะถาน] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูป ไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ใน ตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี. (ส. ปฺรติษฺ?าน; ป. ปติฏฺ?าน).
  22. ประเดี๋ยว : น. ชั่วระยะเวลาหนึ่ง, ชั่วขณะหนึ่ง, ชั่วครู่หนึ่ง, เช่น รอประเดี๋ยวนะ, เดี๋ยว ก็ว่า. ประเดี๋ยวก่อน คําขอผัดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง, เดี๋ยวก่อน ก็ว่า.
  23. ประทัดลม : น. เครื่องดอกไม้ไฟ ทําด้วยกระดาษห่อเม็ดกรวดคลุก สารเคมีบางชนิด ใช้ขว้างให้ไปกระทบของแข็งจะแตกระเบิดดังปัง.
  24. ประทับฟ้อง : (กฎ) ก. รับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป.
  25. ประนีประนอมยอมความ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่าย ระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จ ไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน.
  26. ประบาต : น. เหว. ก. ตกลงไป, ตกไป. (ส. ปฺรปตน; ปปตน).
  27. ประปราน : น. เหว. ก. ตกลงไป, ตกไป. (ส. ปฺรปตน; ปปตน). ว. มีกระจายอยู่ห่าง ๆ เช่น ผมหงอกประปราย ผลไม้ติดประปราย,
  28. ประปา : น. นํ้าที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วจ่ายไปให้ ประชาชนบริโภคใช้สอย เรียกว่า นํ้าประปา, เรียกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่จัดทําและจําหน่ายนํ้าประปาว่า การประปา, เรียกสิ่ง อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ เช่น ก๊อกประปา ท่อประปา. (ส. ปฺรปา; ป. ปปา).
  29. ประพฤติ : [ปฺระพฺรึด] น. ความเป็นไปอันเกี่ยวด้วยการกระทําหรือปฏิบัติตน, การทําตาม, เหตุต้นเค้า. ก. ทําตาม, ปฏิบัติ, เช่น ประพฤติธรรม; กระทํา, ดําเนินตน, ปฏิบัติตน, เช่น ประพฤติดี ประพฤติชั่ว. (ส. ปฺรวฺฤตฺติ; ป. ปวุตฺติ).
  30. ประพาส : [ปฺระพาด] (ราชา) ก. ไปต่างถิ่นหรือต่างแดน เช่น ประพาสหัวเมือง ประพาสยุโรป, ไปเที่ยว เช่น ประพาสป่า. (ส.).
  31. ประพาสต้น : (ราชา) ก. เที่ยวไปเป็นการส่วนพระองค์, เที่ยวไป อย่างไม่เป็นทางการ, ใช้ว่า เสด็จประพาสต้น.
  32. ประเภท : [ปฺระเพด] น. ส่วนที่แบ่งย่อยออกไปเป็นพวก จําพวก ชนิด หมู่ เหล่า อย่าง แผนก เป็นต้น. (ส. ปฺรเภท; ป. ปเภท).
  33. ประลัย : น. ความตาย, ความฉิบหาย, ความป่นปี้, ความย่อยยับไป. (ส. ปฺรลย; ป. ปลย).
  34. ประลาต : [ปฺระลาด] ก. หนีไป. (ป. ปลาต).
  35. ประวรรต : [ปฺระวัด] ก. เป็นไป. (ส. ปฺรวรฺต; ป. ปวตฺต).
  36. ประวรรตน์ : [ปฺระวัด] น. ความเป็นไป. (ส. ปฺรวรฺตน; ป. ปวตฺตน).
  37. ประวัติ, ประวัติ- : [ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติ วัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
  38. ประสา : น. วิสัยที่เป็นไป เช่น ตามประสาจน ตามประสาเด็ก ตามประสาใจ.
  39. ประสาท ๑, ประสาท- ๑ : [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้าย เส้นใย มีหน้าที่นําคําสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมอง หรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า จิตใจ, ความรู้สึก. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
  40. ประสาร : (แบบ) ก. คลี่ออก, เหยียดออก, แผ่ออก, ขยาย. (ส. ปฺรสาร ว่า เที่ยวไป; ป. ปสาร).
  41. ประสีประสา : น. วิสัย, เรื่องราว, ความเป็นไป, ความหมาย, (มักใช้ในประโยค ปฏิเสธ) เช่น ไม่รู้ประสีประสา.
  42. ประหลาด : ว. แปลกผิดปรกติหรือมิได้คิดคาดหมายว่าจะเป็นไปได้, น่าพิศวง.
  43. ประหารชีวิต : ก. ลงโทษฆ่า. (กฎ) น. โทษทางอาญาขั้นสูงสุด ที่ลงแก่ผู้กระทําความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ วิธีประหารชีวิตตาม ประมวลกฎหมายอาญา คือ การเอาตัวผู้ต้องโทษประหารชีวิต ไปยิงเสียให้ตาย.
  44. ปรางค์ : [ปฺราง] น. สิ่งก่อสร้างมียอดสูงขึ้นไปมีรูปทรงคล้ายฝักข้าวโพด และมีฝักเพกาปักอยู่ข้างบน, ถ้าเป็นเจดีย์มียอดเช่นนั้น เรียกว่า เจดีย์ยอดปรางค์.
  45. ปราด : [ปฺราด] ก. แล่นอย่างฉับไว เช่น ปราดเข้าใส่. ว. อาการที่เป็นไป อย่างฉับไว เช่น วิ่งปราด.
  46. ปราย : [ปฺราย] ก. ซัด, หว่าน, สาดให้กระจายไป, เช่น ปรายข้าวตอกดอกไม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ โปรย เป็น โปรยปราย.
  47. ปราศ, ปราศจาก : [ปฺราด, ปฺราดสะจาก] ก. พ้นไป, ไม่มี.
  48. ปรำ : [ปฺรํา] ก. ทําอาการดุจกระทุ้ง; เจาะจง; เทลงไปเร็ว ๆ ให้ปนกับ ของอื่น; รุมกล่าวโทษ.
  49. ปริณาม : [ปะ-] น. การผันแปร, การเปลี่ยนแปลง, การย่อยไป. (ป.).
  50. ปริวรรต, ปริวรรต- : [ปะริวัด, ปะริวัดตะ-] ก. หมุนเวียน เช่น ปริวรรตเงินตรา; เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | [1701-1750] | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3760

(0.1440 sec)