Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไป , then ไบ, ไป .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไป, 3760 found, display 3251-3300
  1. สะดิ้ง : (ปาก) ว. ดัดจริตดีดดิ้น เช่น ทำเป็นสะดิ้งไปได้ อย่าสะดิ้งให้มากนัก, สะดุ้งสะดิ้ง ก็ว่า.
  2. สะดือทะเล : น. บริเวณทะเลตอนที่มีน้ำไหลวนเป็นเกลียวลึกลงไป ซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของทะเล.
  3. สะดุด ๑ : ก. อาการที่เดินหรือวิ่ง ปลายเท้าไปกระทบสิ่งที่ขวางหน้า ทําให้ก้าว ผิดจังหวะ เซ ถลา หรือหกล้ม เป็นต้น เช่น เขาสะดุดก้อนหินล้มลง เด็กวิ่งไปสะดุดตอไม้.
  4. สะเดาะ : ก. ทําให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม เช่น สะเดาะโซ่ตรวน สะเดาะ กุญแจ; ทำให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เช่น ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์.
  5. สะตุ : ก. แปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่นเกลือ สารส้ม จุนสี ให้เป็นผง บริสุทธิ์โดยวิธีทําให้ร้อนจัดด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ต้องการสลาย กลายเป็นควันไป.
  6. สะท้าน : ก. รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจ ทําให้ครั่นคร้าม หรือหวั่นกลัวจนตัวสั่น เช่น เห็นไฟไหม้แล้วสะท้าน, หนาวสั่น เช่น หนาวสะท้านเหมือน จะเป็นไข้ หนาวสะท้านเพราะเดินกรำฝนมาหลายชั่วโมง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สะทก เป็น สะทกสะท้าน; ดังลั่น, ดังก้อง, สั่นสะเทือน, เช่น เสียงปืนใหญ่ดังสะท้านก้องไปทั้งกรุง.
  7. สะเทือน, สะเทื้อน : ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่ แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกสะเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านสะเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็สะเทือนไปถึง แม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่สะเทือน, กระเทือน ก็ว่า.
  8. สะบัก : น. กระดูกส่วนที่เป็นฐานรองรับต้นแขน อยู่ถัดบ่าลงไปข้างหลัง ปลาย ด้านนอกเป็นที่หัวกระดูกต้นแขนเกาะยึด. (รูปภาพ สะบัก)
  9. สะบัด ๆ : ว. อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียง แสดงความไม่พอใจ เช่น แม่ค้าไม่พอใจที่ลูกค้าต่อราคามากไป จึงพูดสะบัด ๆ.
  10. สะบัดก้น : ก. อาการที่ลุกผละไปทันทีด้วยความไม่พอใจเป็นต้น เช่น กินแล้วก็สะบัดก้นไป พูดยังไม่ทันรู้เรื่องก็โกรธสะบัดก้นไปแล้ว.
  11. สะบัดมือ : ก. ลุกไปทันทีเป็นเชิงเอาเปรียบหรือรู้มาก เช่น งานยัง ไม่ทันเสร็จก็สะบัดมือไปแล้ว กินอิ่มแล้วก็สะบัดมือไป.
  12. สะบัดหน้า : ก. ไม่พอใจโดยผินหรือเบือนหน้าไปทันที เช่น สะบัด หน้าหนี.
  13. สะพัด ๑ : ก. ล้อมไว้, กั้นไว้, เช่น ครั้นราตรีดึกสงัด เขาก็สะพัดสามรอบ. (ลอ). ว. อาการที่เคลื่อนไหวเรื่อยไปอย่างรวดเร็วดุจกระแสนํ้าไหล เช่น ข่าวแพร่สะพัด เงินหมุนเวียนสะพัด, ตะพัด ก็ว่า.
  14. สะพาน : น. สิ่งปลูกสร้างที่ทําสําหรับข้ามแม่นํ้าลําคลอง เป็นต้น บางทีทํายื่น ลงในนํ้าสําหรับขึ้นลง, ไม้ที่ทอดระหว่างหัวเสาสำหรับรับคอสอง ของอาคารที่เป็นตึกโบราณ, โดยปริยายหมายความว่า สื่อเชื่อมโยง เช่น ตีสนิทกับน้องชายเพื่อเป็นสะพานไปรู้จักกับพี่สาว, ตะพาน ก็ว่า.
  15. สะพานปลา : น. สะพานที่สร้างทอดยาวออกไปในนํ้า ใช้เป็นท่าเทียบ เรือประมงเพื่อขนปลาเป็นต้นขึ้นจากเรือ.
  16. สะพานโป๊ะ : น. สะพานที่ทอดจากฝั่งไปที่โป๊ะเรือ ทำด้วยไม้กระดาน เป็นต้น มีไม้ตอกประกับทางด้านขวางสำหรับเดิน.
  17. สะพานลอย : น. สะพานสูงแคบ ๆ ที่สร้างคร่อมขวางถนน ใช้เป็น ทางให้คนเดินข้ามถนน รถสามารถแล่นผ่านใต้สะพานได้, สะพานสูง กว้าง และยาวมาก มักสร้างคร่อมทางรถไฟหรือสี่แยกที่ถนนสาย สําคัญ ๆ ตัดกัน เพื่อให้รถยนต์แล่นผ่านไปมาได้โดยไม่ต้องรอให้ รถไฟผ่านหรือรอสัญญาณไฟ.
  18. สะพานเสี้ยว : น. สะพานที่สร้างให้ปลายโค้งเลี้ยวไปทางขวาหรือซ้าย.
  19. สะพานหัน : น. สะพานที่สร้างให้บางส่วนหันเบนออกไปทางซ้ายหรือ ขวา เพื่อปิดทางให้เรือแล่นผ่าน.
  20. สะโพก : น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคน ขาหลังของสัตว์สี่เท้า, ตะโพก ก็ว่า.
  21. สะสาง : ก. ทําเรื่องที่มีปัญหาหรือสิ่งที่สะสมหมักหมมอยู่ให้เสร็จสิ้นไป เช่น สะสางงานที่คั่งค้าง สะสางคดี.
  22. สะอิ้ง : ว. อาการที่เดินเอวอ่อนไปอ่อนมา เช่น เดินสะอิ้ง. น. สายรัดเอว เป็น เครื่องประดับสําหรับผู้หญิง, สะเอ้ง ก็ว่า. (ไทยใหญ่ แอ้ง ว่า เอว).
  23. สะอึกสะอื้น : ก. ร้องไห้ร่ำไรมีเสียงสะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น เด็กถูกตี หลัง จากหยุดร้องไห้แล้วก็ยังสะอึกสะอื้นอยู่. ว. อาการที่ร้องไห้รํ่าไรมีเสียง สะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น แม่ตีทีเดียว ร้องไห้สะอึกสะอื้นไปตั้งชั่วโมง.
  24. สะเออะ ๑ : ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ที่ไม่สมควรเช่นในที่รโหฐานเมื่อไม่มี หน้าที่เกี่ยวข้อง, เจ๋อ, เช่น สะเออะไปนั่งเก้าอี้ประธาน, เสนอหน้าพูด เป็นต้นโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น นายยังไม่ทันถาม ก็สะเออะรายงาน.
  25. สักที่นอน : ก. เย็บกรึงที่นอนเป็นระยะ ๆ เพื่อให้นุ่นเป็นต้นอยู่คงที่ ไม่เลื่อนไปเลื่อนมา.
  26. สั่ง ๑ : ก. บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำ การบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น ฝนสั่งฟ้า ทศกัณฐ์สั่งเมือง อิเหนาสั่งถ้ำ สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง ตายไม่ทันสั่ง.
  27. สังกรประโยค : [สังกะระปฺระโหฺยก, สังกอระปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีประโยค เล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีประโยคหลักที่มีใจความ สำคัญเพียงประโยคเดียว ส่วนประโยคเล็กทำหน้าที่แต่งหรือประกอบ ประโยคหลัก.
  28. สังกะสี : น. ธาตุลําดับที่ ๓๐ สัญลักษณ์ Zn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว แกมนํ้าเงินหลอมละลายที่ ๔๑๙ ? ซ. ใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันสนิม. (อ. zinc); เหล็กชุบสังกะสีบาง ๆ เป็นแผ่นเรียบหรือเป็นลอนอย่างลูกฟูก ใช้มุง หลังคาเป็นต้น เช่น หลังคาสังกะสี รั้วสังกะสี.
  29. สังฆกรรม : [สังคะกำ] น. กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรวมกันทํา ภายในสีมา เช่น การทำอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์. (ส. สํฆ + กรฺมนฺ; ป. สงฺฆกมฺม).
  30. สังฆภัต : น. ข้าวที่ทายกถวายแก่สงฆ์ มักเรียกว่า ข้าวสงฆ์ โดยปรกติ ทายกนําอาหารไปถวายแก่สงฆ์ที่วัด และพระทําอปโลกนกรรมแบ่งกัน. (ป.).
  31. สังฆเภท : [เพด] น. การที่ภิกษุทําให้สงฆ์แตกหมู่แตกคณะออกไป, นับเป็นอนันตริยกรรมอย่าง ๑ ในอนันตริยกรรม ๕. (ป.).
  32. สั่งลา : ก. บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น เขาสั่งลาลูกเมียก่อน เดินทางไปต่างประเทศ เขาตายโดยไม่ได้สั่งลา.
  33. สังเวช, สังเวช : [สังเวด, สังเวชะ] ก. รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่ เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้ว สังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็สังเวช. (ป., ส. สํเวชน).
  34. สั่งเสีย : ก. เตือน, กําชับ, บอกให้เข้าใจ, เช่น พอแม่จะออกจากบ้าน ก็สั่งเสียลูกให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย; บอกไว้อาลัยในการที่ จะจากไป, บอกเป็นการอำลา, เช่น เขาตายโดยไม่ได้สั่งเสียลูกเมีย.
  35. สังหาริมทรัพย์, สังหาริมะ : [หาริมะ, หาริมมะ] น. ทรัพย์ที่นําไปได้ เช่น แหวน สร้อย โต๊ะ เก้าอี้, คู่กับอสังหาริมทรัพย์; (กฎ) ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย.
  36. สัญจร : [จอน] ก. ผ่านไปมา เช่น ทางสัญจร. น. ช่องทาง, ถนน; การผ่าน ไปมา. (ป., ส.).
  37. สัญจาระ : [ระ] น. การเดินไป, การเที่ยวไป. (ป., ส.).
  38. สัตตาหกรณียะ : [สัดตาหะกะระนียะ, สัดตาหะกอระนียะ] น. กิจที่ พึงทำเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษา ได้ไม่เกิน ๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ ป่วยไข้หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก.
  39. สัตว, สัตว์ : [สัดตะวะ, สัด] น. สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมาก มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็น สามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).
  40. สันเขา : น. ส่วนสูงของภูเขาที่ยาวเป็นทิวพืดไป.
  41. สันดาน ๑ : น. อุปนิสัยที่มีมาแต่กําเนิด เช่น มีสันดานดี มีสันดานเลว, (ปาก) มักใช้ ไปในทางไม่สู้จะดี เช่น สันดานของเขาเป็นเช่นนั้น อย่าไปถือเลย. (ป., ส. สนฺตาน ว่า สืบต่อ).
  42. สั่นเทิ้ม : ก. สั่นไปทั้งตัว.
  43. สันปันน้ำ : น. แนวสันเขาหรือสันเนินซึ่งเป็นแนวเขตแบ่งระหว่างลุ่มน้ำ, สันเขาหรือบริเวณที่สูงซึ่งแบ่งนํ้าให้ไหลไปลงแม่นํ้าลําธารที่อยู่แต่ละ ด้านของสันเขาหรือบริเวณที่สูงนั้น มักปรากฏเป็นแนวตอนบนสุดของ ทิวเขาซึ่งแบ่งเขตระหว่างลุ่มนํ้าที่มีทิศทางการไหลตรงข้ามกัน.
  44. สับ ๑ : ก. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ เช่น สับกระดูกหมู สับมะละกอ, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลม เจาะลงไป เช่น เอาขอสับช้าง, เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้ เช่น สับขอ หน้าต่าง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สับด้วยสันมือ ถูกโขกถูกสับ; ทําเชือกให้เข้าเกลียวตั้งแต่ ๓ เกลียว ขึ้นไปให้เขม็งแน่น เรียกว่า สับเชือก; เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น วางของ สับที่ ใส่รองเท้าสับข้าง เต้นรำสับคู่ สับตัวจำเลย.
  45. สับสน : ก. ปะปนกันยุ่งไม่เป็นระเบียบ เช่น ข่าวสับสนทำให้ได้ข้อมูล ไม่ถูกต้อง ผู้คนมากมายเดินไปมาสับสน.
  46. สัปเหร่อ : [สับปะเหฺร่อ] น. ผู้ที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการศพตั้งแต่ทำพิธีมัดตราสัง จนกระทั่งนำศพไปฝังหรือเผา.
  47. สัมผัส : ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายาม ให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้ เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
  48. สัมพหุลา : (ปาก) ว. รวมปะปนกันหลาย ๆ อย่าง เช่น งานสัมพหุลาเต็มไปหมด ทำไม่ไหวหรอก, สรรพหุลา ก็ว่า. (ป.).
  49. สัมภาระ : [สำพาระ] น. สิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้และเสบียงซึ่ง สะสมรวบรวมหรือจัดเตรียมไว้เพื่อภาระต่าง ๆ เช่น เตรียมสัมภาระ สำหรับไปต่างจังหวัด; การเกื้อหนุน, การเลี้ยงดู. (ป., ส.).
  50. สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | [3251-3300] | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3760

(0.1356 sec)