Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รักษาระดับ, รักษา, ระดับ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รักษาระดับ, 408 found, display 301-350
  1. ลูกป้อม : น. ที่กำบังตัวทหารที่รักษาการณ์อยู่บนกำแพงป้อม เป็น รูปสี่เหลี่ยม.
  2. ลูกหลาน : น. ผู้มีอายุคราวลูกหรือหลานที่เป็นญาติห่าง ๆ หรือ ที่นับว่าเป็นญาติ เช่น เด็ก ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นลูกหลานฉันทั้งนั้น; ผู้สืบเชื้อสาย เช่น สมบัติเก่าลูกหลานเก็บรักษาไว้ได้.
  3. เล็ดลอด : ก. แอบซ่อนไป, ลอบเข้าไปหรือออกมาได้ด้วยความยาก ลําบาก แม้สถานที่นั้นจะมีผู้พิทักษ์รักษาและการป้องกัน เช่น มด เล็ดลอดเข้าไปในถุงน้ำตาลจนได้ ขโมยเล็ดลอดเข้าไปในบ้าน.
  4. เลี้ยงไข้ : ก. อาการที่หมอจงใจชะลอการรักษาโรคให้หายช้าเพื่อ จะเรียกค่ารักษาได้นาน ๆ.
  5. เลี้ยงไม่โต : ก. ได้รับบาดเจ็บถึงพิการ แม้จะไม่ตายแต่ก็รักษาให้หาย เป็นปรกติไม่ได้.
  6. เลือดจะไปลมจะมา : ก. มีอารมณ์แปรปรวนผิดปรกติเพราะสูงอายุ ถึงระดับหนึ่ง มักเกิดแก่ผู้หญิงที่มีวัยใกล้จะหมดระดู.
  7. เลือดทาแผ่นดิน : ก. สละชีวิตให้แก่ประเทศชาติ, สละชีวิตเพื่อรักษา แผ่นดิน.
  8. โลกบาล : [โลกกะ–] น. หัวหน้าเทวดาในชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่ รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกเต็มว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าว จัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลก ด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดา หรือ จอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ. (ป., ส. โลกปาล).
  9. โลกุตรภูมิ : [โลกุดตะระ–] น. ภูมิที่พ้นจากโลก; ระดับจิตใจของ พระอริยบุคคล.
  10. ไล่ ๆ กัน : ก. มีระดับหรือขนาดสูงต่ำเป็นต้นลดหลั่นกันตามลำดับ เช่น มีลูกอายุไล่ ๆ กัน สูงต่ำไล่ ๆ กัน รุ่นไล่ ๆ กัน.
  11. ไล่นิ้ว : ก. ไล่ระดับเสียงดนตรีประเภทเครื่องสีเครื่องดีดจากเสียงต่ำ ไปหาสูงหรือจากเสียงสูงไปหาต่ำเพื่อให้เสียงตรงกับโน้ตเพลง.
  12. ไล่เสียง : ก. ไล่ระดับเสียงดนตรีจากเสียงต่ำไปหาสูงหรือจากเสียง สูงไปหาต่ำ เพื่อให้เสียงตรงกับโน้ตเพลง.
  13. วนศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการทํานุบํารุงรักษา และปลูกป่า.
  14. วรรณยุกต์, วรรณยุต : น. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียงคือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ ? (ไม้เอก) ? (ไม้โท) ? (ไม้ตรี) ? (ไม้จัตวา).
  15. วัง ๒ : (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ รักษาพระราชวังจัดการพระราชพิธีและมีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีของราษฎร.
  16. วางยา : ก. ให้กินยาเพื่อรักษาโรค เช่น หมอวางยาคนไข้ ได้ถูกกับโรค, ลอบเอายาพิษให้กิน เช่น โดนวางยาในอาหาร; โดยปริยายหมายความว่า พูดให้เสียหาย.
  17. วิชาพื้นฐาน : น. รายวิชาที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของวิชาในระดับที่สูง ๆ ขึ้นไป. (อ. basic course).
  18. วิทยฐานะ : น. ฐานะในด้านความรู้ เช่น สอบเทียบวิทยฐานะ มีวิทยฐานะในระดับปริญญาตรี.
  19. วิทยาลัย : น. สถานศึกษาในระดับสูง สอนวิชาชีพเฉพาะอย่าง เช่น วิทยาลัยเทคนิค. (ส.).
  20. วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม : น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจ หน้าที่เกี่ยวกับการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การพลังงาน การควบคุม รักษาสภาพสิ่งแวดล้อมและการวิจัย.
  21. เวชกรรม : น. การรักษาโรค.
  22. เวช, เวช : [เวด, เวดชะ] น. หมอรักษาโรค. (ป. เวชฺช; ส. ไวทฺย).
  23. เวชศาสตร์ : [เวดชะสาด] น. ชื่อตํารารักษาโรคแผนโบราณ, วิชาว่าด้วยการรักษาโรคโดยการใช้ยา.
  24. เวทมนตร์ : [เวดมน] น. ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมเพื่อให้สําเร็จ ความประสงค์ เช่น โบราณใช้เวทมนตร์ในการรักษาโรคบางอย่าง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คาถา เป็น เวทมนตร์คาถา เช่น เขาใช้เวทมนตร์ คาถาล่องหนหายตัวได้.
  25. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  26. แวดล้อม : ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคล สำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม; ห้อมล้อม เช่น มีบริวารแวดล้อมพอร้องเพลงจบก็มีคนมาแวดล้อมขอลายเซ็น. ว. ที่ห้อมล้อม, ที่อยู่โดยรอบ, เช่น สิ่งแวดล้อม ภาวะแวดล้อม.
  27. ไว้เกียรติ : ก. รักษาเกียรติ, ให้เกียรติดำรงอยู่.
  28. ไว้ใจ : ก. มอบความเชื่อความมั่นใจให้, วางใจ, เช่น ไว้ใจให้เก็บรักษาเงิน ไว้ใจให้ดูแลบ้าน, ไว้วางใจ ก็ว่า.
  29. ไว้เชิง : ก. รักษาทีท่า เช่น ใจจริงก็อยากไป แต่ขอไว้เชิงหน่อย.
  30. ไว้ยศ : ก. รักษายศรักษาเกียรติ.
  31. ไวยาวัจกร : [วัดจะกอน] น. คฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัต และมีอํานาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้า อาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ. (ป. เวยฺยาวจฺจกร).
  32. ไว้หน้า : ก. รักษาเกียรติฐานะของผู้อื่นไม่ให้ต้องได้รับความอับอาย ขายหน้า เช่น ไม่ว่าจะพูดจะทำอะไรควรต้องไว้หน้าผู้หลักผู้ใหญ่บ้าง ติเตียนศิษย์ต้องไว้หน้าครู.
  33. ศรัทธา : [สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาใน ความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสา ทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขา ศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผน โบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).
  34. ศัลยกรรม : [สันละยะกำ] น. การรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด.
  35. ศัลยกรรมตกแต่ง : น. การผ่าตัดอวัยวะเพื่อรักษาหรือปรับปรุง รูปร่างของอวัยวะให้สวยงามและเหมาะสม โดยอวัยวะนั้น ๆ คงทำหน้าที่ได้ตามปรกติ รวมทั้งเป็นการบูรณะส่วนที่ผิดปรกติ ให้กลับสู่สภาพปรกติด้วย.
  36. ศัลยศาสตร์ : [สันละยะสาด] น. วิชาว่าด้วยการรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด.
  37. ศาลเพียงตา : น. ศาลเทพารักษ์ที่ทําขึ้นชั่วคราว มีระดับเสมอ นัยน์ตา เพื่อความเคารพและสวัสดิมงคลเป็นต้น.
  38. ศาสตราจารย์ : [สาดตฺรา, สาดสะตฺรา] น. ตําแหน่งทางวิชาการ ชั้นสูงสุดของสถาบันระดับอุดมศึกษา.
  39. ศีล : [สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กําหนดการปฏิบัติกาย และวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็น ธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม)พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี, ป. สีล).
  40. ศีลธรรม : [สีนทํา, สีนละทํา] น. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ศีลและ ธรรม, ธรรมในระดับศีล.
  41. ศุจิกรรม : น. การรักษาความบริสุทธิ์. (ส.; ป. สุจิกมฺม).
  42. ศุลการักษ์ : [สุนละการัก] น. เจ้าหน้าที่รักษาศุลกากร.
  43. สงวน : [สะหฺงวน] ก. ถนอมรักษาไว้ เช่น เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์ (โลกนิติ) สงวนมรดกของชาติ, หวงแหนไว้ เช่น สงวนเนื้อสงวนตัว
  44. สงวนลิขสิทธิ์ สงวนสิทธิ์. : ว. ที่รักษาหวงแหนไว้ เช่น ป่าสงวน.
  45. สตัฟฟ์ : [สะ] น. การนําวัสดุบางอย่างบรรจุในโครงหนังสัตว์ซึ่งผ่านกรรมวิธี ทางเคมีสําหรับรักษาไม่ให้เน่าเปื่อยแล้วตกแต่งให้ดูเหมือนสัตว์จริง. (อ. stuff).
  46. สถานี : [สะถานี] น. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทําการ เช่น สถานีตํารวจ สถานีรถไฟ สถานีตรวจอากาศ สถานีขนส่ง; ฐานส่งกำลังบำรุง ของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ ๓ แห่ง เรียกว่า สถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ สถานีทหารเรือสงขลา สถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการ ปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรือ อำเภอเชียงคาน สถานีเรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม; ตำแหน่งของเรือขณะอยู่ในรูปกระบวน เช่น เรือ ก รักษาสถานีทาง ขวาของเรือ ข ระยะ ๕๐๐ หลา; ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำเพื่อ ปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น สถานีรบ สถานีจอดเรือ สถานี ออกเรือ สถานีช่วยคนตกน้ำ สถานีรับส่งสิ่งของทางทะเล; ที่ที่มี หน่วยปฏิบัติการเฉพาะ เช่น สถานีสื่อสารดาวเทียม สถานีสมุทรศาสตร์ สถานีตรวจอากาศ.
  47. สถานีอนามัย : น. สถานบริการสาธารณสุขที่ไม่มีแพทย์ประจำ ให้ บริการสาธารณสุขทุกสาขาและส่งเสริมป้องกันด้านอนามัยแก่ ประชาชนในระดับตำบลและหมู่บ้าน, เดิมเรียกว่า สุขศาลา.
  48. สถาปนา : [สะถาปะนา] ก. ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้นเช่นเลื่อนเจ้านายให้ สูงศักดิ์ขึ้น หรือยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง, ตั้งขึ้น (มัก ใช้แก่หน่วยราชการหรือองค์การที่สําคัญ ๆ ในระดับกระทรวง ทบวงมหาวิทยาลัย) เช่น วันสถาปนากระทรวงมหาดไทย วันสถาปนา ราชบัณฑิตยสถาน วันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ส. สฺถาปน; ป. ?าปน).
  49. สนม ๒ : [สะหฺนม] น. ข้าราชการในพระราชสํานักทําหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ ทําสุกําศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานสนมพลเรือน. (ข. สฺนุํ).
  50. สละ ๔ : [สะหฺละ] ก. บริจาค เช่น สละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-408

(0.0257 sec)