Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ดัง , then ดง, ดัง, ตํ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ดัง, 475 found, display 301-350
  1. รพ, รพะ, รพา : [รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).
  2. ร่วน : ว. อาการที่หัวเราะด้วยความครื้นเครงมีกระแสเสียงเปล่งดังออกมาถี่ ๆ จากลําคอ ในคำว่า หัวเราะร่วน; ที่มีลักษณะเป็นก้อนไม่เหนียว แตก ละเอียดได้ง่าย เช่น ดินร่วน ปลากุเราเค็มเนื้อร่วน ข้าวร่วน.
  3. รวะ : น. เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก, เสียงอึง, เสียงร้องครํ่าครวญ. ก. ร้อง, ร้องไห้. (ป., ส.).
  4. ร้อง : ก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คํา แวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.
  5. รองพื้น ๑ : ก. อาการที่ทาสีชั้นต้นให้พื้นเรียบเสมอกันเพื่อรองรับสีที่จะ ระบายหรือทาทับลงไป, เรียกสีที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า สีรองพื้น; อาการที่เอาครีมหรือแป้ง; ป็นต้นทาหน้าเพื่อให้ผิวหน้าเรียบก่อนแต่งหน้า, เรียกครีมหรือแป้งเป็นต้นที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า ครีมรองพื้น แป้งรองพื้น.
  6. ร้องระเบ็งเซ็งแซ่ : ก. ร้องดังอื้ออึงแซ่ไปหมด.
  7. ระงี่ : (โบ) ว. ดัง, ระงม, เซ็งแซ่.
  8. ระเบ็ง ๒ : ว. ดัง, ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด, มักใช้เข้าคู่กับคํา เซ็งแซ่ เป็น ระเบ็งเซ็งแซ่, ละเบ็ง ก็ว่า.
  9. ระยำ : ว. ชั่วช้า, ตํ่าช้า, เลวทราม, อัปมงคล, เช่น คนระยำ เรื่องระยำ ทำระยำ; (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ยับเยิน, แหลก, เช่น ดังดวงแก้วตกต้องแผ่นผา ร้าวระยำ ช้ำจิตเจ็บอุรา. (อิเหนา).
  10. รัว ๒, รัว ๆ : ก. ตีหรือยิงเป็นต้นเร็ว ๆ ทําให้เกิดเสียงดังถี่ ๆ เช่น รัวระฆัง รัวกลอง รัวปืนกล;อาการที่พูดเร็วจนลิ้นพันกัน ฟังไม่ได้ชัด เรียกว่า พูดลิ้นรัว. ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นรัว ๆ;ไม่ชัด, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความรัว ภาพ รัว ๆ เห็นรัว ๆ.
  11. รากสาดน้อย : น. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ซึมและทําให้ลําไส้อักเสบและเป็นแผล ถ้าร้ายแรง ลําไส้จะ ทะลุและมีเลือดออกมากับอุจจาระ,เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าว นี้ว่า ไข้รากสาดน้อย, เรียกโรคที่คล้ายกันแต่อาการรุนแรงน้อยกว่า เกิด จากเชื้อ Salmonella paratyphi ว่า ไข้รากสาดเทียม.
  12. รากสาดใหญ่ : น. โรคติดเชื้อ Rickettsia มีอาการคล้ายไข้รากสาดน้อย แต่มักจะรุนแรงกว่ามีหลายชนิด ชนิดที่เป็นโรคระบาดเกิดจากเชื้อ Rickettsia prowaseki, เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าวนี้ว่า ไข้รากสาดใหญ่.
  13. เรข, เรขา : ก. เขียน. ว. ดังเขียน, งาม. (ป., ส. เรขา ว่า ลาย, เส้น).
  14. เรอ : ก. อาการที่ลมในกระเพาะพุ่งออกทางปาก มักมีเสียงดังออกมาด้วย.
  15. เรืองนาม : ว. มีชื่อเสียงโด่งดัง.
  16. เรือง, เรือง ๆ : ว. มีแสงน้อย ๆ อย่างแมงคาเรืองหรือหิ่งห้อย เช่น จุดเทียนมีแสงเรือง เห็นแสงไฟเรือง ๆ; แตกฉาน เช่น เรืองปัญญา; โด่งดัง เช่น เรืองเดช เรืองยศ เรืองนาม เรืองอำนาจ.
  17. ละเบ็ง : ว. ดัง, ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด, ระเบ็ง ก็ว่า.
  18. ลั่น : ก. มีเสียงดัง เช่น ฟ้าลั่น ไม้ลั่น กระดานลั่น, ทำให้มีเสียงดังหรือ ทำให้เกิดเสียงดัง เช่น ลงบันได บันไดลั่น บิดตัวจนกระดูกลั่น; ยิง เช่น ลั่นธนู ลั่นปืน; ปริออกแตกออกเป็นทางยาวและมีเสียงดัง เช่น จั่นลั่น แก้วใส่น้ำร้อนลั่น; โดยปริยายหมายถึงมีเสียงดังคล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น ลือลั่น. ว. มีเสียงดังมาก เช่น หัวเราะลั่น ร้องไห้ลั่น.
  19. ลิ้นคับปาก : ว. อาการที่พูดไม่ชัดเหมือนดังลิ้นโตจนคับปาก.
  20. ลือชื่อ : ว. มีชื่อโด่งดัง.
  21. ลือลั่น : ก. โด่งดังมาก เช่น ได้ยินเสียงลือลั่น.
  22. ลูกเน่ง : น. โลหะที่แขวนในกระดิ่ง เมื่อแกว่งไปกระทบตัวกระดิ่ง จะมีเสียงดัง.
  23. เลขา : น. ลาย, รอยเขียน, ตัวอักษร, การเขียน. ว. งามดังเขียน. (ป., ส.).
  24. เล้ง : (ปาก) ก. ขึ้นเสียงดัง เช่น เมื่อเช้าถูกเจ้านายเล้ง.
  25. แล่น ๒ : น. หลอดสำหรับเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะเช่นทอง นาก เงินให้ติดกัน, เรียกกิริยาที่ใช้หลอดเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะดังกล่าวว่า เป่าแล่น.
  26. โลห–, โลหะ : [โลหะ–] น. ธาตุที่ถลุงจากแร่แล้ว เช่น เหล็ก ทองแดง ทองคํา; (วิทยา) ธาตุซึ่งมีสมบัติสําคัญคือ เป็นตัวนําไฟฟ้าและความร้อนที่ดี มีขีดหลอมเหลวสูง ขัดให้เป็นเงาได้ ตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็น เส้นลวดได้ เมื่อนํามาเคาะมีเสียงดังกังวาน เมื่ออยู่ในสภาพไอออน จะเป็นไอออนบวก.
  27. ว้าก : ว. เสียงร้องดัง ๆ อย่างเสียงเด็กร้อง, หวาก ก็ว่า.
  28. ว่าวขาดลอย : (วรรณ) ก. จากไปไม่กลับ, ว่าวขาดลมลอย ก็ว่า เช่น จะจากเจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะ เป็นตัว. (ขุนช้างขุนแผน).
  29. วี้ด : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  30. วู้ : ว. เสียงกู่เรียกหรือขานรับอย่างดัง.
  31. แว้ด : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น ตวาดแว้ด. (ปาก) ก. ขึ้นเสียง เช่น พูดด้วยดี ๆ กลับมาแว้ดใส่อีก.
  32. ไวไฟ : ว. ที่ติดไฟได้ง่ายและรวดเร็วมาก เช่น น้ำมันไวไฟ, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความประพฤติหละหลวมในทางชู้สาว มีลักษณะดังสิ่งไวไฟ.
  33. ศก ๒ : น. ระบบการคํานวณนับเวลาเรียงลําดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอา เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคําว่า รัตน โกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคําย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คําเรียกปี หนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ปาก) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. (ส.).
  34. ศักดิ์สิทธิ์ : ว. ที่เชื่อถือว่ามีอำนาจอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดัง ประสงค์, ขลัง, เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์.
  35. ศาลล้มละลาย : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่ คดีอาญา เช่น คดีที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้มีประกันฟ้อง ลูกหนี้ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวให้ล้มละลายนอกจากนั้นยังรวมถึง คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวด้วย ได้แก่ คดีแพ่งธรรมดาที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารแผนของลูกหนี้พิพาท กับบุคคลใด ๆ อันมีมูลจากสัญญาหรือละเมิดอันเนื่องมาจาก การจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้.
  36. ศิลป์ ๒ : [สิน] (กลอน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวง วาดดังคันศิลป์. (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนง ก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  37. สงฆ์ : น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคํา พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญ พระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไปร่วมกันทําสังฆกรรม แต่จํานวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรม แต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวด พิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้อง ประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวด อัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่า จํานวนที่กําหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจํานวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).
  38. ส่งเสียง : ก. ร้องเสียงดัง, แผดเสียง, เช่น ดีใจอะไรส่งเสียงมาแต่ไกล ส่งเสียงอื้ออึง.
  39. สถานบริการ : (กฎ) น. สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ ในการค้า ดังต่อไปนี้ (๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มีและ ประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ (๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอสำหรับ ปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการ นวดให้แก่ลูกค้า (๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ ลูกค้า (๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง.
  40. สนั่น : [สะหฺนั่น] ว. กึกก้อง, ดังลั่น, ดังมาก, เช่น ฟ้าผ่าเสียงดังสนั่น.
  41. สมใจ : ก. เป็นไปดังที่คิดไว้ เช่น เขาอยากได้หนังสือเล่มนี้มานานแล้ว วันนี้มีคนเอามาให้ ก็เลยได้ไว้สมใจ.
  42. สมหวัง : ก. ได้ดังที่หวัง.
  43. สรพะ : [สะระพะ] ว. เสียงดัง, เอ็ดอึง. (ป.; ส. ศรว).
  44. สวบ, สวบ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงกรับพวง; เสียงคนหรือสัตว์ยํ่าไปบนใบไม้หรือ สิ่งที่ทําให้เกิดเสียงเช่นนั้น เช่น เสียงเดินบุกป่าดังสวบ ๆ, สวบสาบ ก็ว่า; อาการที่ก้มหน้าก้มตากินเอา ๆ ด้วยความหิวโหยหรือตะกละ ตะกลาม; อาการที่ก้าวเดินจ้ำเอา ๆ.
  45. ส้อม : น. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหาร กิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับ เสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลม ดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว.
  46. สะท้าน : ก. รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจ ทําให้ครั่นคร้าม หรือหวั่นกลัวจนตัวสั่น เช่น เห็นไฟไหม้แล้วสะท้าน, หนาวสั่น เช่น หนาวสะท้านเหมือน จะเป็นไข้ หนาวสะท้านเพราะเดินกรำฝนมาหลายชั่วโมง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สะทก เป็น สะทกสะท้าน; ดังลั่น, ดังก้อง, สั่นสะเทือน, เช่น เสียงปืนใหญ่ดังสะท้านก้องไปทั้งกรุง.
  47. สังวัธยาย : [วัดทะ] ก. ท่องบ่น, อ่านดัง ๆ เพื่อให้จําได้, สวดท่องให้จําได้. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).
  48. หง่อง ๆ : ว. อาการที่เดินขย่มตัวหัวสั่นหัวคลอนไปตามลำพัง, โดยปริยายหมายถึง เดินอยู่ตามลำพัง; เสียงดังเช่นเสียงฆ้องกระแต.
  49. หง่าง : ว. เสียงอย่างเสียงระฆังดัง, มักใช้ว่า หง่างเหง่ง หรือ เหง่งหง่าง.
  50. หง่าว : ว. เสียงอย่างเสียงแมวตัวผู้ร้องหาแมวตัวเมีย, โดยปริยายหมายความว่า โดดเดี่ยว, เหงาอยู่ตามลำพัง, เช่น ปล่อยให้นั่งหง่าวอยู่คนเดียว. น. เรียก ว่าวชนิดหนึ่งที่มีเสียงดังเช่นนั้นว่า ว่าวหง่าว.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-475

(0.0393 sec)