Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปา , then บา, , ปะ, ปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปา, 5436 found, display 1351-1400
  1. ทานาธิบดี : น. เจ้าของทาน. (ป., ส. ทาน + อธิปติ).
  2. ทาม ๑ : น. สายที่ผูกปลายตะโกกหรือแอกด้านหนึ่งอ้อมใต้คอวัวหรือควาย ไปยังอีกด้านหนึ่ง, เชือกหนังทําเป็นปลอกสวมใส่คอช้างที่จับใหม่, สายเชือกหรือหนังที่รั้งโกกหรือพวงมาลัยสวมคอม้าไปผูกกับรถ หรือไถ. (เทียบ ป. ทาม ว่า เชือก).
  3. ทาย ๓ : น. ป่า. (ป.; ส. ทาว).
  4. ทายก : [-ยก] น. ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า ทายิกา. (ป., ส.).
  5. ทายัช : (แบบ) น. ทรัพย์มรดก. (ป. ทายชฺช; ส. ทายาทฺย).
  6. ทายาท : ฐานะที่จะรับตําแหน่งหน้าที่ต่อจากบุคคลอื่น เช่น ทายาททาง การเมือง; (กฎ) บุคคลรวมทั้งทารกในครรภ์มารดาซึ่งมีสิทธิได้ รับมรดกของผู้ตาย ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามกฎหมาย เรียกว่า ทายาทโดยธรรม ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามพินัยกรรม เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม. (ป., ส.).
  7. ทารก : น. เด็กที่ยังไม่เดียงสา, เด็กเล็ก ๆ, เด็กแบเบาะ. (ป., ส.).
  8. ทาริกา : น. เด็กหญิง. (ป., ส.).
  9. ทารุ : (แบบ) น. ท่อนไม้, ฟืน, ชิ้นไม้. (ป., ส.).
  10. ทารุณ, ทารุณ- : [ทารุนนะ-] ว. ดุร้าย, โหดร้าย, ร้ายกาจ. (ป., ส.).
  11. ทาสทาน : [ทาดสะ-] น. ทานอย่างเลว คือ อาการที่โยนให้หรือให้ โดยไม่เต็มใจ. (ป., ส.).
  12. ทาส, ทาส- : [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่ เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความ ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
  13. ทาสปัญญา : [ทาดสะ-] น. ความคิดตํ่า. ว. โง่เขลาเบาปัญญา, มีสติปัญญาน้อย, เช่น คนทาสปัญญา. (ป.).
  14. ทาสี : น. ทาสผู้หญิง. (ป., ส.).
  15. ทิคัมพร : [-พอน] น. ชื่อนิกายในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งประพฤติตน เป็นคนเปลือย, คู่กับ นิกายเศวตัมพร. (ป., ส. ทิคฺ (ทิศ, ฟ้า) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม) = ผู้มีฟ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมายความว่า ไม่นุ่งผ้า).
  16. ทิฆัมพร : [-พอน] น. ท้องฟ้า. (ป. ทีฆ + อมฺพร).
  17. ทิช-, ทิชะ : [ทิชะ-] (แบบ) น. ผู้เกิด ๒ ครั้ง คือ นก และพราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช).
  18. ทิชากร : น. ''ผู้เกิด ๒ ครั้ง'', นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป.).
  19. ทิชาชาติ : น. ''ผู้เกิด ๒ ครั้ง'', นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป.).
  20. ทิฏฐะ, ทิฐ- : [ทิดถะ-] (แบบ) ว. อันบุคคลเห็นแล้ว, ทันตาเห็น. (ป. ทิฏฺ?; ส. ทฺฤษฺฏ).
  21. ทิฏฐานุคติ : (แบบ) น. แบบอย่าง. (ป. ทิฏฺ?านุคติ ว่า ดําเนินตามสิ่งที่ปรากฏ).
  22. ทิฏฐุชุกรรม : (แบบ) น. การทําความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).
  23. ทิฐธรรม : (แบบ) น. ภพนี้, ชาตินี้. (ป. ทิฏฺ?ธมฺม).
  24. ทิฐิ : [ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺ??; ส. ทฺฤษฺฏิ).
  25. ทิต : (แบบ) ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป. ทิตฺต).
  26. ทิน ๑ : (แบบ) ก. ให้แล้ว. (ป. ทินฺน).
  27. ทิน ๒, ทิน- : [ทินนะ-] (แบบ) น. วัน. (ป., ส.).
  28. ทินกร : [ทินนะกอน] น. พระอาทิตย์. (ป., ส.).
  29. ทิพจักขุ : [ทิบพะจักขุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพจกฺขุ; ส. ทิพฺยจกฺษุ).
  30. ทิพ, ทิพ- : [ทิบ, ทิบพะ-] น. สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก; วัน. (ป., ส. ทิว). ว. เป็นของเทวดา เช่น ทิพสมบัติ. (ป. ทิพฺพ; ส. ทิวฺย).
  31. ทิพยจักษุ : [ทิบพะยะจักสุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยจกฺษุ; ป. ทิพฺพจกฺขุ).
  32. ทิพยจักษุญาณ : น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, จุตูปปาตญาณ ก็เรียก. (ส. ทิพฺยจกฺษุ + ป. ?าณ; ป. ทิพฺพจกฺขุ?าณ).
  33. ทิพย-, ทิพย์ : [ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่าง เทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
  34. ทิพยเนตร : น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด. (ส.; ป. ทิพฺพเนตฺต).
  35. ทิพยโศรตร : [ทิบพะโสด, ทิบพะยะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไร ได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยโศฺรตฺร; ป. ทิพฺพโสต).
  36. ทิพโสต : [ทิบพะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพโสต; ส. ทิพฺยโศฺรตฺร).
  37. ทิว- ๓, ทิวะ : [ทิวะ-] น. วัน; สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก, เช่น ทิวงคต คือ ไปสู่ เทวโลก หมายถึง ตาย. (ป., ส.).
  38. ทิวส-, ทิวสะ : [ทิวะสะ] (แบบ) น. วัน. (ป., ส.).
  39. ทิวสภาค : น. ส่วนของวัน. (ป.).
  40. ทิวา : (แบบ) น. วัน. (ป., ส.).
  41. ทิวากร : น. พระอาทิตย์; (กลอน) กลางวัน เช่น ราตรีปักษีเข้า แนบนอน ทิวากรเราแนบประจํานาง. (กากี). (ป.).
  42. ทิศ, ทิศา : น. ด้าน, ข้าง, ทาง, เบื้อง, (หมายเอา เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก เป็นต้น). (ส.; ป. ทิส).
  43. ทีฆ- : [ทีคะ-] (แบบ) ว. ยาว, นาน, ยั่งยืน. (ป.; ส. ทีรฺฆ).
  44. ทีฆชาติ : น. งู. (ป.).
  45. ทีฆายุ : (แบบ) ว. อายุยืน. (ป.).
  46. ทีรฆ- : [ทีระคะ-] (แบบ) ว. ยาว, นาน, ยั่งยืน. (ส.; ป. ทีฆ).
  47. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  48. ทุ ๒ : (แบบ) ว. สอง, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุวิธ ว่า ๒ อย่าง. (ป.).
  49. ทุก- ๓, ทุกะ : [ทุกะ-] (แบบ) น. หมวด ๒. (ป.).
  50. ทุกข-, ทุกข์ : [ทุกขะ-, ทุก] น. ความยากลําบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ. (ป.; ส. ทุะข).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5436

(0.1533 sec)