Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปา , then บา, , ปะ, ปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปา, 5436 found, display 3851-3900
  1. วิษาณ : น. เขาสัตว์, งาช้าง. (ส.; ป. วิสาณ).
  2. วิสม : [สะมะ] ว. ไม่เรียบ, ไม่เสมอ, ขรุขระ, ไม่เท่ากัน. (ป., ส.).
  3. วิสย, วิสัย : [วิสะยะ, วิไส] น. ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตร ภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).
  4. วิสัชนา : [วิสัดชะนา] ก. ตอบ, ชี้แจง, เช่น ขอวิสัชนาดังนี้. (ป. วิสชฺชนา).
  5. วิสัญญี : ว. หมดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ, เช่น นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้า ฉานปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาด (ม. ร่ายยาว มัทรี). (ป.).
  6. วิสัยทัศน์ : น. การมองการณ์ไกล, วิทัศน์. (อ. vision). วิสาข, วิสาขะ ๒, วิสาขา [วิสาขะ] น. ชื่อเดือนที่ ๖ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนพฤษภาคม, ถ้าในปีอธิกมาสจะตกราวเดือนมิถุนายน. (ป.).
  7. วิสาขบูชา : น. การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า, โบราณใช้ว่า วิศาขบูชา ก็มี. (ป.).
  8. วิสารทะ : [ระ] ว. แกล้วกล้า, ชํานาญ, ฉลาด. (ป.).
  9. วิสาล : ว. ไพศาล, กว้างขวาง. (ป.; ส. วิศาล).
  10. วิสาสะ : น. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม; การถือว่าเป็นกันเอง เช่น หยิบของไปโดยถือวิสาสะ. ก. พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. (ป. วิสฺสาส; ส. วิศฺวาส).
  11. วิสิฐ : ว. วิศิษฏ์. (ป. วิสิฏฺ?; ส. วิศิษฺฏ).
  12. วิสุทธ์, วิสุทธิ์ : ว. สะอาด, ใส, ขาว, หมดจด, บริสุทธิ์, หมดมลทิน. (ป.; ส. วิศุทฺธ, วิศุทฺธิ).
  13. วิหค, วิหงค์ : น. นก. (ป. วิหค, วิหงฺค; ส. วิหค, วิหํค).
  14. วิหายสะ : [หายะสะ] น. ฟ้า, อากาศ. (ป., ส.).
  15. วิหาร, วิหาร : [วิหาน, วิหาระ] น. วัด, ที่อยู่ของพระสงฆ์; ที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป, คู่กับ โบสถ์; การพักผ่อน เช่น ทิวาวิหาร ว่า การพักผ่อน ในเวลากลางวัน. (ป., ส.).
  16. วิหิงสะ, วิหิงสา, วิเหสา : น. ความเบียดเบียน; การทําร้าย. (ป. วิหึสา, วิเหสา; ส. วิหึส).
  17. วิฬังค์ : น. ผักดอง. (ป.; ส. วิฑงฺค ว่า ยาสําหรับฆ่าตัวพยาธิในท้อง).
  18. วิฬาร, วิฬาร์ : น. แมว. (ป.).
  19. วีจิ : น. คลื่น, ลูกคลื่น. (ป., ส.).
  20. วีชนี : [วีชะนี] น. วิชนี, พัด. (ป.; ส. วีชน).
  21. วีณา : น. พิณ. (ป., ส.).
  22. วีต : [วีตะ] ว. ไปแล้ว, หมดแล้ว, ปราศจาก, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น เช่น วีตราคะ ว่า หมดราคะ วีตโลภะ ว่า หมดความโลภ. (ป., ส.).
  23. วีร : [วีระ] ว. กล้าหาญ. (ป., ส.).
  24. วีสะ : ว. ยี่สิบ. (ป.; ส. วีศ).
  25. วุฐิ : [วุดถิ] น. ฝน. (ป. วุฏฺ??; ส. วฺฤษฺฏิ).
  26. วุฒ : [วุด] ว. เจริญแล้ว; สูงอายุ. (ป. วุฑฺฒ; ส. วฺฤทฺธ).
  27. เวค : น. ความเร็ว. (ป., ส.).
  28. เวคิน, เวคี : น. ผู้มีความเร็ว, ผู้เดินเร็ว. (ส. เวคินฺ; ป. เวคี).
  29. เวจกุฎี : น. ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), วัจกุฎี ก็เรียก. (ป. วจฺจกุฏิ).
  30. เวจมรรค : น. ทวารหนัก, วัจมรรค ก็เรียก. (ป. วจฺจมคฺค).
  31. เวจ, เวจ : [เว็ด, เว็ดจะ] น. ที่ถ่ายอุจจาระ. (ป. วจฺจ).
  32. เวชยันต์ : [เวดชะ] น. ชื่อวิมานหรือรถของพระอินทร์. (ป.; ส. ไวชยนฺต).
  33. เวช, เวช : [เวด, เวดชะ] น. หมอรักษาโรค. (ป. เวชฺช; ส. ไวทฺย).
  34. เวฐน์ : น. ผ้าโพก, ผ้าพันศีรษะ. (ป. เว?น; ส. เวษฺฏน).
  35. เวณะ : น. ช่างจักสาน. (ป.; ส. ไวณ).
  36. เวณิ : น. ผมซึ่งถักปล่อยไว้. (ป., ส.).
  37. เวณิก : น. คนดีดพิณ. (ป.; ส. ไวณิก).
  38. เวณุ : น. ไม้ไผ่. (ส.; ป. เวณุ, เวฬุ).
  39. เวณุวัน : น. ป่าไผ่. (ส. เวณุวน; ป. เวฬุวน).
  40. เวตน์ : น. สินจ้าง. (ป., ส.).
  41. เวตร : [เวด] น. หวาย. (ส. เวตฺร; ป. เวตฺต).
  42. เวทคู : [เวทะคู] น. ผู้บรรลุถึงซึ่งความรู้ คือ พระอรหันต์. (ป.).
  43. เวทนา ๑ : [เวทะ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกทุกข์สุข, (เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ); ความเจ็บปวด, ทุกข์ทรมาน. (ป., ส.).
  44. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  45. เวทัลละ : น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).
  46. เวทิ, เวที ๑ : น. ที่ที่ยกขึ้นให้สูงใช้เป็นที่ทําการสักการบูชา, แท่นบูชา; ยกพื้น สําหรับเล่นละครและอื่น ๆ เช่น เวทีละคร เวทีมวย. (ป., ส.).
  47. เวที ๒ : น. ผู้รู้, นักปราชญ์. (ป.; ส. เวทินฺ).
  48. เวธะ : น. การเจาะ, การแทง. (ป., ส.).
  49. เวนไตย : น. ครุฑ. (ป. เวนเตยฺย; ส. ไวนเตย).
  50. เวไนย : น. ผู้ควรแนะนําสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้. (นันโท). (ป. เวเนยฺย).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | [3851-3900] | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5436

(0.1427 sec)