Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปา , then บา, , ปะ, ปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปา, 5436 found, display 4951-5000
  1. อากังขา : น. ความจํานง, ความหวัง. (ป.; ส. อากางฺกฺษา).
  2. อากัป : [อากับ] น. การแต่งตัวดี. (ป. อากปฺป; ส. อากลฺป).
  3. อากัปกิริยา : [อากับ] น. กิริยาท่าทาง. (ป.).
  4. อาการ, อาการ : [อากาน, อาการะ] น. ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, เช่น อาการไข้; กิริยาท่าทาง เช่น อาการพิรุธ; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายซึ่งนิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น. (ป., ส.).
  5. อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
  6. อากูล : [กูน] ว. คั่งค้าง เช่น การงานไม่อากูลเป็นมงคลอันสูงสุด. (ป., ส. อากุล).
  7. อาเกียรณ์ : [เกียน] ว. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด. (ส. อากีรฺณ; ป. อากิณฺณ).
  8. อาขยาต : [ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์ บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัยเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
  9. อาขยาน : [ขะหฺยาน, ขะยาน] น. บทท่องจํา; การเล่า, การบอก; การสวด; เรื่อง, นิทาน. (ส.; ป. อกฺขาน).
  10. อาคม : [คม] น. เวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็น คาถาอาคม; การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน. (ป., ส.).
  11. อาคันตุกภัต : น. อาหารที่เตรียมถวายภิกษุที่จรมา. (ป. อาคนฺตุกภตฺต).
  12. อาคันตุกวัตร : น. มรรยาทที่จะต้องประพฤติต่อแขกผู้มาหา. (ส.; ป. อาคนฺตุกวตฺต).
  13. อาคันตุก, อาคันตุกะ : [อาคันตุกะ] น. แขกผู้มาหา. (ป., ส.).
  14. อาคาร : [คาน] น. เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น; (กฎ) ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกําหนด เช่น อัฒจันทร์ เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ป้าย อู่เรือ. (ป., ส. อาคาร, อคาร).
  15. อาฆาต : [คาด] ก. ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น, พยาบาท. (ป., ส.).
  16. อาฆาตนะ : [ตะนะ] น. การฆ่า, การตี; สถานที่ฆ่าคน. (ป., ส.).
  17. อาจม : น. ขี้ (ของคน). (ป., ส. อาจม ว่า สิ่งที่ควรล้าง, สิ่งที่ควรชําระ).
  18. อาจมนะ : [จะมะนะ] น. การล้าง, การชําระ. (ป., ส.).
  19. อาจริย : [จะริยะ] (แบบ) น. อาจารย์. (ป., ส. อาจารฺย).
  20. อาจริยวัตร : น. กิจที่ควรประพฤติต่ออาจารย์. (ป. อาจริยวตฺต).
  21. อาจารย์ : น. ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดง ความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง. (ส.; ป. อาจริย).
  22. อาจาร, อาจาร : [จาน, จาระ] น. ความประพฤติ, ความประพฤติดี; จรรยา, มรรยาท; ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก. (ป., ส.).
  23. อาจิณสมาจาร : [อาจินนะสะมาจาน] น. มรรยาทที่เคยประพฤติมา จนติดเป็นนิสัย. (ป. อาจิณฺณสมาจาร).
  24. อาจิณ, อาจิณ : [จิน, จินนะ] ว. เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอ ๆ, เนือง ๆ. (ป. อาจิณฺณ; ส. อาจิรฺณ).
  25. อาชญัปติ, อาชญัปติ์ : [อาดยับติ, อาดยับ] น. ข้อบังคับ, คําสั่ง, กฎ, ใช้ว่า อาญัปติ์ ก็มี เช่น รัตนาญัปติ์. (ส. อาชฺ?ปฺติ; ป. อาณตฺติ).
  26. อาชญา : [อาดยา, อาดชะยา] น. อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา); (กฎ; โบ; เลิก) คดีที่เกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า คดีอาชญา หรือ ความอาชญา, คู่กับ ความแพ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยโทษหลวง เช่นความมรดก; ศาลที่ชําระความเกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า ศาลอาชญา คู่กับ ศาลแพ่ง ซึ่งชําระความแพ่ง; คํา อาชญา นี้ปัจจุบันนิยมใช้คํา อาญา เป็นพื้น.
  27. อาชวะ : [อาดชะวะ] น. ความซื่อตรง, ความตรงไปตรงมา, ความมีสัตย์, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. อาชฺชว, ส. อารฺชว).
  28. อาชาไนย : ว. กําเนิดดี, พันธุ์หรือตระกูลดี; รู้รวดเร็ว, ฝึกหัดมาดีแล้ว, ถ้าเป็น ม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียก ม้าอาชาไนย, ถ้าเป็นคนที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกว่า บุรุษอาชาไนย. (ป. อาชาเนยฺย; ส. อาชาเนย).
  29. อาชีพ, อาชีว, อาชีวะ : น. การเลี้ยงชีวิต, การทํามาหากิน; งานที่ทําเป็นประจําเพื่อเลี้ยงชีพ. (ป., ส.).
  30. อาชีวก : [วก] น. นักบวชนิกายหนึ่งนอกพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาล. (ป., ส.).
  31. อาญา : น. อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาญา. (ป. อาณา; ส. อาชฺ?า); (กฎ) คดีที่เกี่ยวกับการ กระทําความผิดตามกฎหมายอาญา เรียกว่า คดีอาญา แตกต่างกับ คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน ซึ่งเรียกว่า คดีแพ่ง.
  32. อาณัติ : [อานัด] น. ข้อบังคับ, คําสั่ง, กฎ, เครื่องหมาย; การมอบหมายให้ดูแล ปกครอง เช่น อาณาเขตในอาณัติ ดินแดนในอาณัติ. (ป. อาณตฺติ).
  33. อาณา : น. อํานาจปกครอง เช่น อาณาบริเวณ. (ป.; ส. อาชฺ?า).
  34. อาดุระ, อาดูร : [ดูน] ว. เดือดร้อน, ทนทุกขเวทนาทั้งกายและใจ, ในบทกลอนตัดใช้ว่า ดุร ก็มี. (ป., ส. อาตุร).
  35. อาดุลย์, อาดูลย์ : น. ความชั่งไม่ได้, ความไม่มีที่เทียบ, ความไม่มีที่เปรียบ. (ป., ส. อตุลฺย).
  36. อาตม : [อาดตะมะ] น. ตน, ตัวตน. (ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา ว่า ตน, วิญญาณ, ร่างกาย; ป. อตฺต, อตฺตา).
  37. อาตุระ : ว. อาดุระ, อาดูร. (ป., ส. อาตุร).
  38. อาถรรพ์, อาถรรพณ์, อาถรรพณะ : [ถัน, ถัน, ถับพะนะ] น. สิ่งสืบเนื่องจากคัมภีร์อถรรพเวท, การทํา พิธีตามตำราไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันภยันตราย หรือ ทำอันตรายผู้อื่น เช่น ทําพิธีฝังเสาหินหรือฝังบัตรพลี ซึ่งเรียกว่า ฝังอาถรรพ์; อํานาจลึกลับที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้มีอันเป็นไป เช่น ต้องอาถรรพ์ เสานี้มีอาถรรพ์. (ส. อาถรฺวณ; ป. อาถพฺพณ).
  39. อาทร : [ทอน] น. ความเอื้อเฟื้อ, ความเอาใจใส่, ความห่วงใย. (ป., ส.).
  40. อาทาตา : น. ผู้ถือเอา, ผู้รับ. (ป.; ส. อาทาตฺฤ).
  41. อาทาน : น. การถือเอา, การรับ, การยึดถือ, มักใช้เป็นส่วนท้ายศัพท์ เช่น อุปาทาน สมาทาน. (ป., ส.).
  42. อาทิ : น. ต้น ในคําว่า เป็นอาทิ, เป็นเบื้องต้น, ทีแรก, ข้อต้น. (ป., ส.).
  43. อาทิตย, อาทิตย์ : [ทิดตะยะ, ทิด] น. ''เชื้ออทิติ'' คือ เทวดาพวกหนึ่งซึ่งเป็นลูกนาง อทิติผู้เป็นชายาพระกัศยปประชาบดี เทวดาพวกนี้มีจํานวนกล่าวไว้ ต่างกัน บ้างว่ามี ๕ องค์ บ้างว่ามี ๗ องค์ บ้างว่ามี ๑๒ องค์ ได้แก่ อินทราทิตย์ (พระอินทร์) วรุณาทิตย์ (พระพิรุณ) ฯลฯ สูรยาทิตย์ (พระอาทิตย์ที่ส่องโลก); ชื่อเทวดาพระเคราะห์ คือ สูรยาทิตย์; ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตํารานพเคราะห์นับ เอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑; ชื่อวันที่ ๑ ของสัปดาห์; รอบ ๗ วัน เช่น ไม่ว่างตลอดอาทิตย์. (ส.; ป. อาทิจฺจ).
  44. อาทีนพ, อาทีนวะ : [นบ, นะวะ] น. โทษ (บางทีใช้ควบกันว่า อาทีนพโทษ หรือ อาทีนวโทษ); ผลร้าย, บางทีใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น กามาทีนพ = โทษของกาม. (ป., ส.).
  45. อาทึก : ว. เป็นที่ต้น, ก่อน, แรก, เบื้องต้น. (ป. อาทิก).
  46. อาเทศ ๑ : [เทด] น. การแนะนํา, คําชี้แจง, คําบอกเล่า, คําสั่ง, กฎ. (ส.; ป. อาเทส).
  47. อาเทศ ๒ : [เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่ง ไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศ สระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).
  48. อาธรรม, อาธรรม์, อาธรรมิก, อาธรรมึก : [ทํา, ทัน, ทันมิก, ทันมึก] ว. ชั่ว, ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. (ส. อาธรฺมิก; ป. อธมฺมิก).
  49. อาธาร : [ทาน] น. เครื่องคํ้าจุน, ฐานที่รองรับ, เช่น ปัตตาธาร = เชิงบาตร, ตีนบาตร คุณาธาร = ฐานที่รองรับคุณความดี; การอุปถัมภ์; อ่าง, หม้อนํ้า, ที่ขังนํ้า, สระ. (ป., ส.).
  50. อาน ๖ : [อานะ] น. ลมหายใจเข้า, นิยมใช้เข้าคู่กับ อปานะ คือ ลมหายใจ ออก เป็น อานาปานะ = ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ในคําว่า อานาปานัสสติ = สติที่กําหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | [4951-5000] | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5436

(0.1613 sec)