Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปา , then บา, , ปะ, ปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปา, 5436 found, display 5201-5250
  1. อุปัฏฐานะ : [อุปัด, อุบปัด] น. การบํารุง, การรับใช้. (ป.).
  2. อุปัทรพ : [อุปัดทะรบ, อุบปัดทะรบ] ว. อุปัทวะ. (ส. อุปทฺรว; ป. อุปทฺทว).
  3. อุปัทว, อุปัทวะ : [อุปัดทะวะ, อุบปัดทะวะ] ว. อุบาทว์, อัปรีย์, จัญไร, ไม่เป็น มงคล, นิยมใช้คู่กับคำ อันตราย เป็น อุปัทวันตราย. (ป. อุปทฺทว; ส. อุปทฺรว).
  4. อุปัทวันตราย : [อุปัดทะวันตะราย, อุบปัดทะวันตะราย] น. สิ่ง อุบาทว์และอันตราย. (ป. อุปทฺทว + อนฺตราย).
  5. อุปาทาน : [อุปาทาน, อุบปาทาน] น. การยึดมั่นถือมั่น, การนึกเอาเองแล้ว ยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น ๆ. (ป.).
  6. อุปาธยาย : [อุปาดทะยาย, อุบปาดทะยาย] น. อุปัชฌาย์. (ส.; ป. อุปชฺฌาย).
  7. อุภัย : ว. ทั้งสอง, ทั้งคู่. (ป., ส.).
  8. อุมงค์, อุโมงค์ : น. ทางใต้ดิน, ช่องหรือทางที่ขุดลงไปใต้ดินหรือในภูเขา. (ป. อุมฺมงฺค).
  9. อุยยาน : น. อุทยาน, สวนเป็นที่รื่นรมย์. (ป.; ส. อุทฺยาน).
  10. อุยยาม : น. ความหมั่น, ความบากบั่น, ความขยันขันแข็ง. (ป.; ส. อุทฺยาม).
  11. อุยโยค : น. การจากไป, ความเสื่อมสิ้น; ความตาย. (ป.).
  12. อุรคะ : น. ''ผู้ที่ไปด้วยอก'' คือ งู, นาค. (ป. อุรค ว่า ไปด้วยอก).
  13. อุรเคนทร์ : น. พญานาค. (ป. อุรค + ส. อินฺทร)
  14. อุรณะ : [อุระนะ] น. แกะตัวผู้. (ป., ส.).
  15. อุร, อุระ, อุรา ๑ : น. อก. (ป.; ส. อุรสฺ).
  16. อุรัจฉทะ, อุรัจฉัท : [อุรัดฉะทะ, อุรัดฉัด] น. เครื่องกําบังอก, เกราะ; เครื่องประดับอก. (ป.; ส. อุรศฺฉท).
  17. อุรุ : ว. ใหญ่, ยิ่งใหญ่, เลิศ, ประเสริฐ. น. ทราย. (ป., ส.).
  18. อุลโลจ : [อุนโลด] น. เครื่องกั้นข้างบน, เพดาน. (ป., ส.).
  19. อุลโลละ : [อุน] น. คลื่น; ความปั่นป่วน, ความไม่ราบคาบ. (ป., ส.).
  20. อุลูกะ : น. นกเค้าแมว. (ป., ส.).
  21. อุษณ : [อุดสะนะ] น. ความร้อน; ฤดูร้อน; ของร้อน. ว. ร้อน, อบอุ่น. (ส., ป. อุณฺห).
  22. อุษณาการ : [อุดสะนา] น. อาการเร่าร้อน. (ส. อุษฺณาการ; ป. อุณฺหาการ).
  23. อุษณีษ์ : น. มงกุฎ; กรอบหน้า. (ส.; ป. อุณฺหีส).
  24. อุษมะ, อุษมัน : [อุดสะมะ, อุดสะมัน] น. ไอ, ไออุ่น. (ส.; ป. อุสุม, อุสุมา).
  25. อุสภ ๑ : [อุสบ] น. วัวผู้ (เป็นเครื่องหมายแสดงความสามารถของบุรุษ ผู้นักรบ), เขียนเป็น อุสุภ ก็มี. (ป.; ส. ฤษภ, วฺฤษฺภ).
  26. อุสภ ๒ : [อุสบ] น. ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณเท่ากับ ๑ เส้น ๕ วา, ๘๐ อุสภ เป็น ๑ คาวุต. (ป.).
  27. อุสวะ : [อุดสะวะ] น. การฉลอง, การรื่นเริง, การเล่นสนุก, มหรสพ. (ป. อุสฺสว; ส. อุตฺสว).
  28. อุสส่าห์, อุสสาหะ : [อุด] น. อุตสาหะ. ก. อุตส่าห์. (ป.; ส. อุตฺสาห).
  29. อุสุ : น. ธนู, หน้าไม้, เครื่องยิง. (ป.; ส. อิษ).
  30. อุสุภ, อุสุภ : [อุสุบ, อุสุพะ, อุสุบพะ] น. วัวผู้, อุสภ ก็ว่า. (ป. อุสภ; ส. ฤษภ, วฺฤษฺภ).
  31. อุสุม : น. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กําลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มี ลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่ เสียง ศ ษ ส. '' (ป.; ส. อุษฺมนฺ).
  32. อุฬาร : [ลาน] ว. ใหญ่โต, โอ่โถง, กว้างขวาง; ยิ่งใหญ่, เลิศล้น; ประเสริฐ, ดี; แผลงเป็น โอฬาร หรือ เอาฬาร ก็ได้. (ป.).
  33. อูฐ : [อูด] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Camelidae หัว คอ และขา ทั้ง ๔ ยาว มีนิ้วตีนข้างละ ๒ นิ้ว กระเพาะมี ๓ ส่วน ไม่มีถุงนํ้าดี มี ๒ ชนิด คือ ชนิด ๒ หนอก (Camelus bactrianus) มีในประเทศจีน ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน, ชนิดหนอกเดียว (C. dromedarius) มีในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ. (ป. โอฏฺ?; ส. อุษฺฏฺร).
  34. อูรุ : น. โคนขา, ขาอ่อน. (ป., ส.).
  35. เอกจิต : [เอกะ] น. ความคิดจําเพาะถึงสิ่งอย่างเดียว, ความคิด อันหนึ่งอันเดียว, ความคิดต้องกัน, ความเห็นพ้องกัน. (ป., ส. เอกจิตฺต).
  36. เอกรส : [เอกกะ] น. รสอันเอก ได้แก่ วิมุตติรส คือ รสที่เกิดจาก การหลุดพ้นจากกิเลส. (ป.).
  37. เอก, เอก : [เอกะ, เอกกะ] ว. หนึ่ง (จํานวน); ชั้นที่ ๑ (ใช้เกี่ยวกับลําดับชั้น หรือขั้นของยศ ตําแหน่ง คุณภาพ หรือวิทยฐานะ สูงกว่า โท) เช่น ร้อยเอก ข้าราชการชั้นเอก ปริญญาเอก; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ? ว่า ไม้เอก; ดีเลิศ เช่น กวีเอก, สําคัญ เช่น ตัวเอก; เรียก ระนาดที่มีเสียงแกร่งกร้าวกว่าระนาดทุ้ม มีไม้แข็ง ๒ อันสําหรับตี ว่า ระนาดเอก. (โบ) น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด. (กฎ.). (ป., ส.).
  38. เอกัคตา : [เอกักคะ] น. ''ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว'' หมายถึง ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว. (ป. เอกคฺคตา).
  39. เอตทัคคะ : [เอตะ] น. ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ. (ป.).
  40. เอราวัณ : น. ช้าง ๓๓ เศียรเป็นพาหนะของพระอินทร์. (ป. เอราวณ; ส. ไอราวณ).
  41. เอลาฬุก : [ลาลุก] น. ฟักทอง, ฟักเหลือง. (ป.).
  42. เอฬกะ : [เอละกะ] น. แกะ, แพะ. (ป.; ส. เอฑก).
  43. เอฬา : น. นํ้าลาย. (ป.; ส. ลาลา).
  44. โอกะ : น. นํ้า; ที่อยู่. (ป.).
  45. โอกาส : [กาด] น. ช่อง, ทาง; เวลาที่เหมาะ, จังหวะ. (ป.; ส. อวกาศ).
  46. โอฆชล : [ชน] น. นํ้าในห้วงลึก. (ป.).
  47. โอฆสงสาร : น. การเวียนเกิดเวียนตายในห้วงของกิเลส. (ป.).
  48. โอฆ, โอฆะ : [โอคะ] น. ห้วงนํ้า; ในพระพุทธศาสนาหมายถึงกิเลสที่ท่วมทับ จิตใจของหมู่สัตว์ มี ๔ อย่าง คือ ๑. กาโมฆะ = โอฆะ คือ กาม ๒. ภโวฆะ = โอฆะ คือ ภพ ๓. ทิฏโฐฆะ = โอฆะ คือ ทิฐิ ๔. อวิชโชฆะ = โอฆะ คือ อวิชชา. (ป., ส.).
  49. โองการ : น. คําศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำ, ถ้าเป็นคําศักดิ์สิทธิ์มาจาก พระดํารัสสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. (ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม หมายถึง พระเป็นเจ้าทั้ง ๓ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ).
  50. โอชะ, โอชา : ว. มีรสดี, อร่อย. น. รสที่ซึมซาบ, เครื่องหรือสิ่งบํารุงเลี้ยงให้เกิด ความเจริญงอกงาม. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | [5201-5250] | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5436

(0.1558 sec)