Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตื่นกลัว, ตื่น, กลัว , then กลว, กลัว, ตน, ตนกลว, ตื่น, ตื่นกลัว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตื่นกลัว, 608 found, display 201-250
  1. หลาบ ๑ : ก. เข็ด, ขยาดกลัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข็ด เป็น เข็ดหลาบ.
  2. หลู่หลี่ : ว. โลเล; ไม่ใคร่กลัวใคร.
  3. หวั่นหวาด : ก. พรั่นกลัว, สะดุ้งกลัว, หวาดหวั่น ก็ว่า.
  4. หวาด : ก. สะดุ้งกลัว, กริ่งเกรง, เสียว, หวั่น.
  5. หวาดผวา : ก. หวาดสะดุ้งเพราะตกใจกลัว.
  6. หวาดวิตก : ก. มีความกังวลใจด้วยความหวาดกลัว.
  7. หวาดเสียว : ก. รู้สึกวาบในหัวใจด้วยความกลัว, หวาดกลัวจนขนลุกขนชัน. ว. ที่น่าหวาดกลัวจนขนลุกขนชัน เช่น เรื่องหวาดเสียว.
  8. หวาดหวั่น : ก. พรั่นกลัว, สะดุ้งกลัว, หวั่นหวาด ก็ว่า.
  9. ห่อไหล่ : ก. ทำไหล่ทั้ง ๒ ให้คู้เข้าเพราะหนาวหรือเกรงกลัวเป็นต้น.
  10. ห้าว : ว. แก่จัด ในคำว่า มะพร้าวห้าว; กล้าทางมุทะลุ เช่น คนห้าวมักไม่กลัวตาย; มีเสียงใหญ่.
  11. หิริโอตตัปปะ : [หิหฺริโอดตับปะ] น. ความละอายบาปและความเกรงกลัว บาป, ความละอายใจ. (ป.).
  12. หุ่นไล่กา : น. หุ่นที่มักทำเป็นรูปคนสวมเสื้อผ้าสําหรับลวงนกกาให้กลัว ทำให้ไม่กล้าลงมากินพืชผลในไร่นา.
  13. หูลี่ : ว. อาการที่หูของหมาลู่เอนไปข้างหลังแสดงอาการประจบหรือกลัว เป็นต้น.
  14. หูไว : ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มี ประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.
  15. เหงื่อกาฬ : น. เหงื่อของคนใกล้จะตาย; โดยปริยายหมายถึงเหงื่อแตกด้วย ความตกใจกลัวเป็นต้น.
  16. เห่อ ๒ : ก. แสดงอาการตื่นเต้นยินดีมากจนออกนอกหน้า เช่น เห่อรถ เห่อเสื้อผ้า ใหม่, ลำพองใจ เช่น เห่อยศ เห่ออำนาจ.
  17. เหี้ยม : ว. แข็งกระด้างปราศจากเมตตากรุณา, ไม่ปรานี; ดุร้ายหมดความกลัว. (แบบ) น. เหตุ เช่น เหี้ยมนั้นจึงหากให้ ฉัตรหัก เหนแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  18. แหม่ : [แหฺม่] ว. เสียงขู่เด็กเล็ก ๆ ให้กลัว.
  19. ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
  20. ไหล่ห่อ : น. ไหล่ที่คู้เข้าเพราะหนาวหรือเกรงกลัวเป็นต้น.
  21. อกสั่นขวัญแขวน, อกสั่นขวัญหนี, อกสั่นขวัญหาย : ก. ตกใจสุดขีด, ตกใจกลัวอย่างยิ่ง.
  22. อคติ : [อะคะ] น. ความลําเอียง มี ๔ อย่าง คือ ฉันทาคติ = ความลําเอียง เพราะรัก โทสาคติ = ความลําเอียงเพราะโกรธ ภยาคติ = ความลําเอียง เพราะกลัว โมหาคติ = ความลําเอียงเพราะเขลา. (ป.).
  23. อภัย, อภัย : [อะไพ, อะไพยะ] น. ความไม่มีภัย, ความไม่ต้องกลัว. (ป., ส.), นิยมใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ขออภัย หมายความว่า ขอให้ยกโทษ ให้ขออย่าได้ถือโทษ, ให้อภัย หมายความว่า ยกโทษให้. ก. ยกโทษ เช่น ฉันอภัยให้เธอ.
  24. อยู่มือ : ก. เกรงกลัวไม่กล้าฝ่าฝืน, อยู่ในบังคับไม่กล้าฝ่าฝืน.
  25. อยู่หมัด : ก. เกรงกลัวฝีปากหรือฝีมือ, ยอมอยู่ในอํานาจ.
  26. อลหม่าน : [อนละ] ว. ชุลมุน, วุ่นวาย, แตกตื่น.
  27. อัม, อัม : [อำ, อำมะ] น. ไข้เจ็บ, โรค; ชีวิต; ภัย, ความกลัว. (ส. อมฺ).
  28. อึกอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่า เป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า; เสียงอย่างเสียง ทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.
  29. อึก ๆ อัก ๆ : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่า เป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึกอัก ก็ว่า.
  30. อุกอาจ : ก. กล้าทําความผิดโดยไม่เกรงกลัว, กล้าละเมิดโดยไม่กลัว ความผิด, บังอาจล่วงละเมิด.
  31. เอกระ : [เอกกะหฺระ] (ปาก) ก. ถือตัวไม่กลัวใคร, ไม่ขึ้นแก่ใคร.
  32. เอื้อนวาจา, เอื้อนโอฐ ๑ : (ปาก) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้ในความหมายเชิงประชดประชัน เช่น กว่าจะเอื้อนโอฐออกมา ได้เหมือนกลัวดอกพิกุลจะร่วง.
  33. โอตตัปปะ : [โอด] น. ความเกรงกลัวบาป, มักใช้เข้าคู่กับคำ หิริ เป็น หิริโอตตัปปะ. (ป.).
  34. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  35. ประมาณตน, ประมาณตัว : ก. สํานึกในฐานะของตน. ว. เจียมตัว, ไม่ทําอะไรเกินฐานะของตน.
  36. เป็นตัวเป็นตน : ว. จริงจัง, แน่นอน, ปรากฏชัด, เช่น มีผัว เป็นตัวเป็นตน, เป็นหลักฐาน.
  37. ฝากตน, ฝากตัว, ฝากเนื้อฝากตัว : ก. มอบตัวให้อยู่ในความดูแลหรือ อุปการะของผู้อื่น, ฝากกาย ก็ว่า.
  38. ยกตนข่มท่าน : (สํา) ก. ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดง ให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า.
  39. ขลวน : [ขฺลวน] น. ตัว. (ข. ขฺลวน ว่า ตัว, ตน).
  40. ตนุ ๑ : [ตะนุ] (แบบ) น. ตัว, ตน. ส. ฉัน, ข้าพเจ้า. (ป., ส.).
  41. เทพชุมนุม : [เทบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (จารึกวัดโพธิ์); ชื่อ ภาพเขียนรูปเทวดานั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวตั้งแต่ ๕ ตน ขึ้นไปตามฝาผนังในพระอุโบสถหรือหอพระ จะมีหน้าเดียว หรือ ๔ หน้าอย่างหน้าพรหมก็ได้.
  42. นักสิทธิ์ : น. ผู้สําเร็จ, ฤษี, ลักษณนามว่า ตน.
  43. สถาบัน : [สะ] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิตของ ตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. (ส.).
  44. อัตตา : น. ตน. (ป.; ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา).
  45. กงเกวียนกำเกวียน : (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวร สนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือ ลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกัน อย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน.
  46. กดขี่ : ก. ข่มให้อยู่ในอํานาจตน, ใช้บังคับเอา, ทําอํานาจเอา, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ข่มเหง เป็น กดขี่ข่มเหง.
  47. กบในกะลาครอบ : (สำ) น. ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยแต่ สำคัญตนว่ามีความรู้มาก.
  48. กรรมสิทธิ์ : [กํามะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิ ทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
  49. กรอบ ๒ : ว. แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย, เปราะ; (ปาก) แทบดํารงตน ไปไม่รอด เช่น จนกรอบ.
  50. กระตรกกระตรำ : (โบ; กลอน) ก. ตรากตรํา เช่น หาเลี้ยงและโดยสฤษฎิตน กระตรกกระตรำก็นําพา. (กล่อมพญาช้าง).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-608

(0.0945 sec)