Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เวไนยสัตว์, เวไนย, สัตว์ , then เพไนย, วนย, เวไนย, เวไนยสัตว์, สัตว์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เวไนยสัตว์, 680 found, display 451-500
  1. มูล ๓ : [มูน] น. อุจจาระสัตว์, ขี้หรือเศษของสิ่งต่าง ๆ เช่น มูลไถ = ขี้ไถ.
  2. มูลฝอย : น. เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว, หยากเยื่อ, กุมฝอย หรือ คุมฝอย ก็ว่า; (กฎ) เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น.
  3. เม่น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hystricidae มีฟันแทะขนาดใหญ่ ลําตัวมีขนแหลมแข็ง ขนครึ่งท้ายลำตัวยาวกว่าด้านหน้า ขาสั้น ขาหน้ามีเล็บ แข็งแรงใช้ขุดดิน กินพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) เม่นใหญ่แผงคอสั้น (H. hodgsoni) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus).
  4. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  5. แมง : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีร่างกายแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนหัวกับอกรวมเป็นส่วนเดียวกันส่วนหนึ่ง และส่วนท้องอีกส่วนหนึ่ง มีขา ๘ หรือ ๑๐ ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงดาทะเล แมงป่อง มักเรียกสับกับคําว่า แมลง.
  6. แมงกะพรุน : น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลัง ใสคล้ายวุ้น ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทําหน้าที่กินและย่อยอาหาร มีหลายชนิด เช่น แมงกะพรุนจาน หรือ แมงกะพรุนหนัง ซึ่งกินได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลาย มีพิษ.
  7. แมงดา : น. ชื่อสัตว์ทะเลในวงศ์ Xiphosuridae รูปร่างคล้ายจานควํ่า หางยาวเป็นแท่ง ในน่านนํ้าไทยพบ ๒ ชนิด คือ แมงดาจาน (Tachypleus gigas) ความยาวลําตัว ถึงปลายหางยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร มีสันหางเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย หน้าตัด ของหางมีรูปคล้ายสามเหลี่ยม และ แมงดาทะเลหางกลม แมงดาถ้วย เหรา หรือ แมงดาไฟ (Carcinoscorpius rotundicauda) ความยาวลําตัวถึงปลายหางยาว ได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร สันหางเรียบมน หน้าตัดของหางค่อนข้างกลม ในบางท้องถิ่น และบางฤดูกาล ถ้านํามากินอาจเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ทั้ง ๒ ชนิด, แมงดาทะเล ก็เรียก; ชื่อตะเกียงอย่างโบราณ รูปคล้ายแมงดาทะเล ใช้แขวนจุดตามโรงหนัง โรงโขน; ชื่อนาฬิกาแขวนมีรูปเป็น ๒ ตอนคล้ายกับรูปแมงดาทะเล; (ปาก) ชายที่อาศัยนํ้าพักนํ้าแรงของผู้หญิงโสเภณีดํารงชีวิต.
  8. แมงมุม : น. ชื่อสัตว์พวกแมง ที่ปากมีเขี้ยวรูปร่างคล้ายปากคีบและมีอวัยวะ รูปทรงคล้ายขายื่นออกมา ๑ คู่ ไม่มีหนวด มีหลายชนิด ทุกชนิดที่ขามีโครงสร้าง พิเศษซึ่งสามารถถักใยที่ออกมาจากรูเปิดตรงส่วนท้องได้ มีทั้งชนิดถักใยดักสัตว์ เช่นแมงมุมขี้เถ้า (Pholcus spp.) ในวงศ์ Pholcidae และชนิดกระโดดจับสัตว์กิน เช่น บึ้ง.
  9. แมลง : [มะแลง] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มี ๖ ขา เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเดียวที่มีปีก ซึ่งอาจมี ๑ หรือ ๒ คู่ แต่อาจพบพวกที่ไม่มีปีกก็ได้ เป็นสัตว์ที่มีมากชนิดที่สุดในโลก มักเรียกสับ กับคําว่า แมง.
  10. แมลงช้าง : น. ชื่อตัวอ่อนของแมลงหลายชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Myrmeleontidae รูปร่างอ้วน ป้อม มีขนเป็นกระจุกตามลําตัว ขากรรไกรหน้ายาวยื่นและโค้งเหมือน งาช้าง ฝังตัวอยู่ในหลุมทรายซึ่งขุดเป็นรูปกรวย เพื่อล่อให้มดหรือสัตว์เล็ก ๆ ตกลง ไปในหลุมแล้วขึ้นไม่ได้ จะได้จับกินเป็นอาหาร, ตุ้ม ตุ๊ดตู่ หรือ แมงช้าง ก็เรียก.
  11. แมว ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis catus ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์ เดียวกับเสือ ขนยาวนุ่ม มีหลายสี เช่น ดํา ขาว นํ้าตาล ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ เพื่อความสวยงามและใช้จับหนู แมววิเชียรมาศ และแมวสีสวาด เป็นแมวไทยที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มูลา มี ๙ ดวง, ดาวช้างน้อย ดาวมูล หรือ ดาวมูละ ก็เรียก.
  12. แมวดาว : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis bengalensis ในวงศ์ Felidae ขนาด โตกว่าแมวบ้านเล็กน้อย ขนสั้นสีเหลือง มีจุดดําทั่วตัว ใต้ท้องสีขาว.
  13. แมวน้ำ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในวงศ์ Phocidae ซึ่งไม่มีใบหู และวงศ์ Otaliidae ซึ่งมีใบหู รูปร่างอ้วนใหญ่ มีหนวดคล้ายแมว ขาคล้ายพาย คู่หน้าสั้น คู่หลังลู่ไปตามลําตัว อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง หากินในนํ้าเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Phoca vitulina.
  14. แมวป่า : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis chaus ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่ กว่าแมวบ้าน สีนํ้าตาลอมเทาหรือนํ้าตาลอมเหลือง หูตั้งชัน มีพู่ขนสีดําที่ปลายหู, เสือกระต่าย หรือ เสือบอง ก็เรียก.
  15. ยอง ๒ : (กลอน) น. สัตว์ในจําพวกอีเก้ง.
  16. ยอด : น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วน ปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน; เรียกคนหรือสัตว์ที่มีคุณสมบัติยิ่งยวดเหนือผู้อื่น เช่น ยอดคน ยอดหญิง ยอดสุนัข; จํานวนรวม เช่น ยอดเงิน; ฝี (ใช้ในราชาศัพท์ว่า พระยอด). (ปาก) ว. ที่สุด เช่น ยอดเยี่ยม ยอดรัก.
  17. ย่อม ๑ : คําช่วยกริยา แสดงว่าเป็นไปตามปรกติ ตามธรรมดา หรือ เป็นสามัญทั่ว ๆ ไป เช่น สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วย่อมตาย.
  18. ยักษ์ : น. อมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดํา อํามหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้จําแลงตัวได้, บางทีใช้ปะปนกับคําว่า อสูร รากษส และมาร ก็มี; เทวดาพวกหนึ่งใน สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกและชั้นปรนิมมิตวสวัตดี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวสตะภิสชะ ก็เรียก. ว. โดย ปริยายหมายความว่า มีลักษณะหรืออาการอย่างยักษ์ เช่น ใจยักษ์ หน้า ยักษ์, มีลักษณะใหญ่เป็นพิเศษในพวก เช่น ปลาหมึกยักษ์. (ส. ยกฺษ ว่า อมนุษย์พวกหนึ่ง บริวารท้าวเวสวัณ; ป. ยกฺข).
  19. ยัญ, ยัญ, ยัญญะ : [ยันยะ] น. การเซ่น, การบูชา, การเซ่นสรวงโดยมีการฆ่าสัตว์หรือคน เป็นเครื่องบูชา เรียกว่า บูชายัญ. (ป. ย?ฺ?; ส. ยชฺ?).
  20. ยั้ว, ยั้วเยี้ย : ว. อาการที่คนหรือสัตว์จํานวนมากเคลื่อนไหวขวักไขว่ไปมา เช่น ลูกเต้า ยั้วเยี้ยไปหมด หนอนไต่กันยั้วเยี้ย ฝูงลิงไต่ยั้วเยี้ยอยู่บนยอดไม้.
  21. ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
  22. ยาง ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Ardeidae ปากแหลม ขายาว ตัวสีขาว บางชนิดตัวสีดํา นํ้าตาล หรือเขียว หากินตามชายนํ้าและทุ่งนา กินปลา แมลง และสัตว์นํ้า ขนาดเล็ก มีหลายชนิด เช่น ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) ยาง ควาย (Bubulcus ibis) ยางโทน ซึ่งมี ๒ ชนิด คือ ยางโทนน้อย (Egretta intermedia) และ ยางโทนใหญ่ (E. alba) ยางเปีย (E. garzetta) ซึ่งในฤดู ผสมพันธุ์จะมีขนฟูยาวขึ้นที่ท้ายทอยเป็นเปียสีขาว๒๓ เส้น, กระยาง ก็เรียก.
  23. ยางนอก : น. ยางชั้นนอกที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีดอก หล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน ข้างในกลวงสำหรับใส่ยางใน. ยางน่อง น. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ ยิงสัตว์.
  24. ยาแผนโบราณ : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรค ศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ.
  25. ยาแผนปัจจุบัน : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์.
  26. ยาวัส : น. ฟ่อนหญ้า, หญ้าหรืออาหารสําหรับสัตว์. (ส.).
  27. ยาหม้อ : น. ยาไทยที่ประกอบด้วยสมุนไพร กระดูกสัตว์ และเครื่องยา อื่น ๆ ใส่หม้อต้มแล้วกินน้ำที่เคี่ยวจนงวดเพื่อบำบัดโรค.
  28. ยำ ๑ : ก. เคล้าคละ, ปะปน. น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่งที่ปรุงโดยเอาผักและเนื้อ สัตว์เป็นต้นมาเคล้าเข้าด้วยกัน เช่น ยำเนื้อ ยำเล็บมือนาง ยำปลากรอบ.
  29. ยำสลัด : น. ยำชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ประกอบด้วยผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมี เนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด.
  30. ยีราฟ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง คอยาว มาก มีเขา ๑ คู่ ตัวสีน้ำตาลอมเหลืองมีลายสีน้ำตาลเข้มลักษณะเป็นดอก หรือเป็นตาราง อยู่รวมกันเป็นฝูง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด Giraffa camelopardalis.
  31. ยืนโรง : น. เรียกผู้แสดงเป็นตัวละครหรือลิเกเป็นต้นตัวใดตัวหนึ่งประจํา เช่น พระเอกยืนโรง ตัวตลกยืนโรง, เรียกผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาเป็นตัวยืนโรงในการประชุม; เรียกช้าง หรือสัตว์เลี้ยงที่ปรนปรือเป็นพิเศษอยู่ประจําโรง เช่น ช้างยืนโรง ม้ายืนโรง. ก. ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาต้องยืนโรงตอบปัญหาตลอด รายการ; (โบ) ออกซํ้า ๆ เช่น ถั่วออก ๓ ยืนโรง (มักใช้แก่การพนันบางอย่าง).
  32. ยุทธปัจจัย : น. สิ่งของทั้งปวงที่มิใช่ยุทธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งเกื้อกูลต่อ การรบ เช่น อาหาร ยา เคมีภัณฑ์ รวมถึงสัตว์พาหนะด้วย.
  33. ยุ่บ, ยุ่บยั่บ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวกระดุบกระดิบของสัตว์เล็ก ๆ อย่างหนอน มด ปลวก จำนวนมาก ๆ เช่น มดขึ้นยุ่บ หนอนไต่ยุ่บยั่บ, โดยปริยายใช้แก่ คนจำนวนมาก ๆ เช่น ที่สนามหลวงคนเดินขวักไขว่ยุ่บยั่บไปหมด.
  34. ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
  35. ยูปะ : น. เสาที่ปักอยู่กลางโรงพิธีสําหรับผูกสัตว์ที่จะบูชายัญ. (ส.).
  36. แย้ ๑ : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Agamidae ลําตัวแบนราบ ข้างตัวมีสีสวย ไม่มีหนามสันหลัง อาศัยขุดรูอยู่ในดิน หากินตามพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ แย้เส้น (Leiolepis belliana belliana) และ แย้จุด (L. b. rubritaeniata).
  37. รงกุ์ : น. ชื่อสัตว์ในพวกเนื้อชนิดหนึ่ง. (ป., ส. รงฺกุ ว่า กวางชนิดหนึ่ง).
  38. ร่วม : ก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้านร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะ เดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติมีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ, เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทํามาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี.
  39. ร่องมด : น. สีขาวหรือดําเป็นขีดยาวตามท้องสัตว์แต่คางตลอดก้น, รอยเป็นทางยาวบนเขาสัตว์จำพวกกวาง.
  40. รัง ๒ : น. สิ่งซึ่งสัตว์พวกนก หนู และแมลงเป็นต้นทําขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย กําบังและฟักไข่เลี้ยงลูก,โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น รังโจร รังรัก.
  41. รังไข่ : น. อวัยวะภายในร่างกายของผู้หญิงและสัตว์ตัวเมีย เป็นที่เกิดไข่.
  42. รา ๒ : น. ชื่อเรียกพืชชั้นตํ่าที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ และลําต้น ใบ ราก ที่แท้จริง ส่วนมากเจริญเป็นเส้นใย แบ่งเป็น ๒ พวก คือ ราเมือก และ ราแท้ สืบพันธุ์โดยสปอร์อาศัยอยู่บนซากของพืชหรือสัตว์ ขึ้นเบียนหรืออยู่ ร่วมกับพืชอื่นก็มี.
  43. ราช ๑, ราช– : [ราด, ราดชะ–] น. พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คํานี้มักใช้ประกอบกับคําอื่น, ถ้า คําเดียวมักใช้ว่า ราชา. (ป., ส.).
  44. ราชสีห์ : น. พญาสิงโต, สิงหราช หรือ สีหราช ก็เรียก; สัตว์ในนิยาย ถือว่ามีความ ดุร้ายและมีกําลังมาก, สิงห์ ก็เรียก. (ป. ราช + สีห; ส. ราช + สึห).
  45. รื้อ : ก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็น กลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย; เอาขึ้นมาใหม่ เช่น รื้อเรื่องราวที่ระงับไว้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ รื้อเรื่องเดิม ขึ้นมาเขียนใหม่; ขนออก เช่น รื้อสัตว์จากวัฏสงสาร.
  46. รุต : น. เสียง, เสียงร้อง, เสียงสัตว์. (ป., ส.).
  47. รุม ๑ : ก. อาการที่คนหลายคนหรือสัตว์หลายตัวรวมกันเข้ามาทําอย่างใดอย่างหนึ่ง แก่ผู้หนึ่งหรือสิ่งหนึ่งอย่างไม่มีระเบียบ เช่น รุมตี รุมด่า แมลงวันรุมตอม เมล็ดทุเรียน, ประดังห้อมล้อมเข้ามา เช่น กลุ้มรุม รุมกันเข้าไปซื้อของ, ประดังกันเข้ามา เช่น โดนโรครุมเสียแย่; กรุ่นอยู่ภายในเพราะพิษไข้ เป็นต้น เช่น เป็นไข้ร้อนรุมอยู่หลายวัน.
  48. รุรุ : น. สัตว์จําพวกเนื้อชนิดหนึ่ง. (ป.).
  49. รูปภาพ : น. รูปที่วาดหรือเขียนขึ้นเป็นต้น เช่น เขาเปิดร้านขายรูปภาพ มีทั้งภาพสีน้ำมันและสีน้ำ; (ศิลปะ) สิ่งที่ปรากฏบนพื้น กระดาษ ผนัง ผ้าใบ เป็นต้น เกิดขึ้นจากการวาดหรือระบายสีเป็นภาพคน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ เป็นต้น.
  50. รูป, รูป– : [รูบ, รูบปะ–] น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ร่าง เช่น โครงรูป, ร่างกาย เช่น รูปตัวคน รูปตัวสัตว์, เค้าโครง เช่น ขึ้นรูป, แบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปรี รูปไข่; ลักษณนามใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น พระรูปหนึ่ง สามเณร ๒ รูป. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-680

(0.1013 sec)