Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ฝ่ายบุคคล, บุคคล, ฝ่าย , then บุคคล, ปุคคล, ฝาย, ฝ่าย, ฝายบคคล, ฝ่ายบุคคล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ฝ่ายบุคคล, 694 found, display 651-694
  1. หินยาน : [หินนะ-] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และ ไทยเป็นต้น, หีนยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า. (ป., ส. หีนยาน).
  2. หีนยาน : [หีนะยาน, หีนนะยาน, ฮีนะยาน] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนา ฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า.
  3. หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
  4. เห็นแก่หน้า : ก. ลําเอียงในบุคคล, มุ่งเฉพาะคน.
  5. เห็นช้างเท่าหมู : (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจ มากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
  6. โหยหา : ก. คร่ำครวญถึงบุคคลผู้เป็นที่รักซึ่งพลัดพรากจากไปเป็นต้น.
  7. ให้ : ก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว; เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับหรืออวยชัยให้พร เป็นต้น เช่น แม่บอกให้ลูกไปนอน ขอให้เจริญรุ่งเรือง ขอให้เดินทางโดย สวัสดิภาพ แต่งตัวให้สวย ๆ นะ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น.
  8. ให้โดยเสน่หา : (กฎ) ก. โอนทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งโดยไม่มีค่า ตอบแทน.
  9. อง : น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกาย ชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).
  10. องค์การ : น. ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็น หน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในกฎหมายหรือในตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ. (อ. organization).
  11. อนุญาโตตุลาการ : น. บุคคลที่คู่กรณีพร้อมใจกันตั้งขึ้นเพื่อให้ชำระตัดสินในข้อพิพาท; (กฎ) บุคคลคนเดียวหรือหลายคนที่คู่กรณีในสัญญาอนุญาโตตุลาการ ตกลงเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ชี้ขาด.
  12. อนุโมทนาบัตร : น. บัตรที่แสดงความพลอยยินดีหรืออนุโมทนาต่อ บุญกุศลที่บุคคลนั้น ๆ ได้ทําแล้ว.
  13. อนุสาวรีย์ : [อะนุสาวะรี] น. สิ่งที่สร้างไว้เป็นที่ระลึกถึงบุคคลหรือเหตุการณ์ สําคัญเป็นต้น เช่น อาคาร หลุมฝังศพ รูปปั้น.
  14. อรหันต, อรหันต์ : [อะระหันตะ, ออระหันตะ, อะระหัน, ออระหัน] น. ชื่อพระอริย บุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระ อนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหา หรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคําวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้ อรหันต). (ป.; ส. อรฺหนฺต).
  15. อรัญวาสี : น. ผู้อยู่ในป่า, ใช้สำหรับเรียกคณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ คู่กับ คามวาสี คณะสงฆ์ฝ่ายคันถธุระ. (ป. อร?ฺ?วาสี).
  16. อรินทร์ : น. ผู้เป็นใหญ่ฝ่ายข้าศึกหรือฝ่ายศัตรู มักหมายถึงพระราชา หรือเจ้าเมืองใหญ่ของฝ่ายตรงกันข้าม. (ส.).
  17. อริยบุคคล : น. บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. (ป. อริยปุคฺคล).
  18. อริย, อริยะ : [อะริยะ] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.
  19. อักษะ : น. เพลา, แกน. (ส.); เรียกกลุ่มประเทศอันประกอบด้วยเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ที่รวมเป็นแกนร่วมรบกับกลุ่มประเทศฝ่าย สัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่า ฝ่ายอักษะ.
  20. อั้งยี่ : น. สมาคมลับของคนจีน; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานเป็นสมาชิก ของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดําเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อ การอันมิชอบด้วยกฎหมาย เรียกว่า ความผิดฐานเป็นอั้งยี่. (จ.).
  21. อัจฉริยบุคคล : น. บุคคลผู้มีปัญญาความสามารถเยี่ยมยอดมาแต่ กําเนิด.
  22. อัตภาพ : น. ตน, ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล. (ป. อตฺตภาว).
  23. อาคาร : [คาน] น. เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น; (กฎ) ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกําหนด เช่น อัฒจันทร์ เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ป้าย อู่เรือ. (ป., ส. อาคาร, อคาร).
  24. อาคารชุด : (กฎ) น. อาคารที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ ส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง. (อ. condominium).
  25. อาจารย์ : น. ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดง ความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง. (ส.; ป. อาจริย).
  26. อาวาห, อาวาหะ : [อาวาหะ] น. ''การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน'' หมายถึง การ แต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนําหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ ที่บ้านของตน เรียกว่า อาวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยม ปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ. (ป., ส.).
  27. อาสาสมัคร : ว. ที่เสนอตัวเข้าทำงานด้วยความสมัครใจ เช่น ทหารอาสาสมัคร. น. บุคคลที่เสนอตัวเข้าทำงานด้วยความ สมัครใจ เช่น เขาเป็นอาสาสมัคร.
  28. อำนาจ : น. สิทธิ เช่น มอบอํานาจ; อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอม ทําตามไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือความที่สามารถ บันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อํานาจบังคับของ กฎหมาย อํานาจบังคับบัญชา; ความสามารถหรือสิ่งที่สามารถ ทําหรือบันดาลให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น อํานาจคุณพระ ศรีรัตนตรัย อํานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์; กําลัง, พลัง เช่น อำนาจจิต อำนาจฝ่ายสูง อำนาจฝ่ายต่ำ; ความรุนแรง เช่น ชอบใช้อํานาจ; การบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อํานาจ; การบังคับ เช่น ขออํานาจศาล.
  29. อิทธิพล : น. กําลังที่ยังผลให้สําเร็จ, อํานาจซึ่งแฝงอยู่ในบุคคล หรือรัฐ ซึ่งสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์, อํานาจ ที่สามารถบันดาลให้ผู้อื่นต้องคล้อยตามหรือทําตาม, อํานาจที่ สามารถบันดาลให้เป็นไปได้ต่าง ๆ เช่น อิทธิพลของดวงดาว, อํานาจนอกเหนือหน้าที่ เช่น ใช้อิทธิพลบังคับให้ยอม.
  30. อุตรนิกาย : [อุดตะระ] น. ชื่อนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา คือ นิกายฝ่ายเหนือ ซึ่งเรียกว่า มหายาน. (ป., ส. อุตฺตรนิกาย).
  31. อุปสรรค : [อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่อง ขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้า คำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมาย แผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิม เป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตาม ปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
  32. เอกชน : [เอกกะ] น. บุคคลคนหนึ่ง ๆ. ว. ส่วนบุคคล, ไม่ใช่ ของรัฐ, เช่น โรงพยาบาลเอกชน.
  33. เอกเทศ : [เอกกะเทด] น. ส่วนหนึ่งต่างหาก, เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เขาแยกตัวไปทำงานเป็นเอกเทศ.
  34. เอกภาคี : [เอกะ, เอกกะ] น. ฝ่ายเดียว หมายถึง ประเทศที่ปลีกตัว ปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลําพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วม หรือรับรู้ด้วย.
  35. เอกสิทธิ์ : [เอกกะ] น. สิทธิพิเศษที่ให้แก่บุคคลโดยเฉพาะ. (อ. privilege).
  36. เอาชนะ : ก. ทําให้อีกฝ่ายหนึ่งแพ้.
  37. เอาชัย : ว. มุ่งให้ได้ชัยชนะฝ่ายตรงข้าม, มุ่งความเจริญ.
  38. เอาเชิง : ก. สงวนท่าทีหรือชั้นเชิงของตนไว้เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เกรงขาม.
  39. เอาฤกษ์เอาชัย : ว. ที่มุ่งให้เกิดความสุขความเจริญหรือได้ชัยชนะ ฝ่ายตรงข้าม เช่น โห่เอาฤกษ์เอาชัย.
  40. โอน : ก. น้อมลง, โน้ม; ยกไปไว้อีกที่หนึ่ง เช่น โอนบัญชี; ยอมมอบให้; ย้ายสังกัด; (กฎ) ทําให้สิทธิตกไปเป็นของบุคคลอื่น เช่น โอนกรรมสิทธิ์.
  41. โอนกรรมสิทธิ์ : (กฎ) ก. โอนสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ให้แก่บุคคลอื่น.
  42. โอม : น. คำที่ประกอบด้วยเสียง ๓ เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามา ใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือ เป็นคําศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. ก. กล่าวคํา ขึ้นต้นของมนตร์. (ส.).
  43. เหมืองฝาย : น. คลองส่งนํ้าที่มีทํานบกั้น.
  44. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-694]

(0.1041 sec)