Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชุม , then ชม, ชุม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชุม, 76 found, display 51-76
  1. แฟน : (ปาก) น. ผู้นิยมชมชอบ เช่น แฟนเพลง แฟนภาพยนตร์ แฟนมวย, ผู้เป็นที่ชอบพอรักใคร่, คู่รัก, สามีหรือภรรยา.
  2. มอญ ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า มอญ เช่น มอญรำดาบ มอญชมจันทร์ มอญครวญ.
  3. มืออ่อน : ว. นอบน้อม, ไหว้คนง่าย (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ชมผู้น้อย); มีความสามารถน้อย เช่น เขายังมืออ่อนในการทำงาน, ตรงข้ามกับ มือแข็ง.
  4. รสนิยม : [รดสะนิยม, รดนิยม] น. ความนิยมชมชอบ, ความพอใจ, เช่น เขามีรสนิยมในการแต่งตัวดี.
  5. ราชาโชค : (โหร) น. ชื่อตําแหน่งดาว ถือว่าให้คุณสูงในทางเกียรติยศ ชื่อเสียงการงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทำให้ผู้เกิด หรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปรานของ ขุนนาง เจ้าพระยา พระมหากษัตริย์.
  6. ราชาฤกษ์ : (โหร) น. ชื่อฤกษ์กําเนิด ถือว่าเป็นมงคลสูง ให้เกียรติยศ ชื่อเสียง และผลดีทางการงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทําให้ ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปราน ของขุนนางเจ้าพระยา พระมหากษัตริย์.
  7. เล่นสวน : ก. ลงชมสวน (ใช้แก่เจ้านาย).
  8. วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
  9. วา ๒ : น. เพลงปี่พาทย์ทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงก่อนตัวแสดงออกแสดง เพื่อให้ผู้ชมรู้ว่าการแสดงจะเริ่มแล้ว.
  10. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  11. วิทยากล : น. การแสดงที่อาศัยกลวิธีและความไวทำให้ผู้ชม สนเท่ห์.
  12. วิพากษ์วิจารณ์ : ก. วิจารณ์, ติชม, เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  13. ศรวณีย์ : [สะระวะนี] ว. พึงได้ยิน, ควรได้ยิน; น่าฟัง, น่าชม. (ส.; ป. สวนีย).
  14. สรรเสริญ : [สันเสิน, สันระเสิน] ก. กล่าวคํายกย่อง เชิดชู หรือ เทิดทูน เช่น สรรเสริญพระพุทธคุณ, กล่าวคําชมด้วยความนิยมพอใจ หรือเยินยอ คุณความดี เช่น สรรเสริญคนที่มีความกตัญญูรู้คุณ, สรเสริญ ก็ใช้.
  15. สะเทิ้น, สะเทิ้นอาย : ก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย (มักใช้แก่ หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาว พอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย.
  16. สันถว, สันถวะ : [สันถะวะ] น. การนิยมชมชอบกัน, การสรรเสริญซึ่งกันและกัน; ความคุ้นเคย, ความสนิทสนมกัน. (ป.; ส. สํสฺตว).
  17. หนาตา : ว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชม มหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.
  18. หยอด : ก. ใส่ลงหรือเทลงคราวละน้อย ๆ; แถมคําชมหรือคําพูดคมคาย.
  19. หวานเป็นลม ขมเป็นยา : (สำ) น. คำชมมักไร้สาระทำให้ลืมตัวขาดสติ แต่คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด.
  20. ห่อน : ว. เคย เช่น ไป่ห่อนเหลือคิดข้า คิดผิด แม่นา. (ลอ), ในคําประพันธ์บาง คราวใช้แทน ไม่ เช่น สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ. (เห่ชมนก).
  21. หอมหื่น : (วรรณ) ก. หอมยวนใจ เช่น หอมหื่นรื่นรสเพี้ยง กลิ่นเนื้อนวลนางฯ. (เห่ชมไม้).
  22. หะหาย, หะห้าย : ว. เสียงเยาะ เช่น หะหายกระต่ายเต้น ชมแข. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์).
  23. เหลิง : [เหฺลิง] ก. ลืมตัว เช่น พ่อแม่ตามใจเสียจนเหลิง มีคนชมมาก ๆ เลยชักเหลิง.
  24. อวด : ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ เช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  25. อารุม : น. ต้นชมพู่นํ้าดอกไม้. (ช.).
  26. 1-50 | [51-76]

(0.0354 sec)