Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, สำนัก, แห่ง, ชาติ, ข่าว, กรอง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, 773 found, display 451-500
  1. แปลงสัญชาติ : (กฎ) ก. เปลี่ยนจากสัญชาติเดิมไปเป็นสัญชาติอื่น, โบราณใช้ว่า แปลงชาติ.
  2. โปง ๑ : น. เรียกลักษณะแห่งสิ่งของที่ข้างในเป็นโพรงโป่งออก.
  3. โปรตอน : [โปฺร-] น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ นิวเคลียสแห่งอะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้า บวก มีมวล ๑.๖๗๒๕๒ x ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. (อ. proton).
  4. ผล : น. ลูกไม้ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง; สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว; ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนา ได้ผล เรียนได้ผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค; ลักษณนามเรียกผลไม้ เช่น มะม่วง ๒ ผล มะปราง ๓ ผล; จำนวนที่ได้จากการคำนวณ เช่น ๕ กับ ๗ บวกกัน ได้ผล เท่ากับ ๑๒, ผลลัพธ์ ก็ว่า. (ป., ส.).
  5. ผลานิสงส์ : [ผะ] น. ความไหลออกแห่งผล (ความดี), ผลแห่ง บุญกุศล. (ป.).
  6. ผสาย : [ผะ] ก. กระจาย, เรียงราย, เช่น ตรีมุขสิงหาสน์แก้ว กรองผสาย. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ข. ผฺสายร).
  7. ผัสสาหาร : น. อาหารคือผัสสะ หมายเอาการประจวบกันแห่ง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยแห่ง เจตสิกอันจะพึงเกิดโดยวิถีมีเวทนาเป็นต้น เป็นประการหนึ่ง ในอาหารทั้ง ๔ (อีก ๓ อย่าง คือ กวลิงการาหาร อาหารคือ คําข้าว ๑ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ๑ และ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ ๑). (ป.).
  8. ผ้าเหลือง : (ปาก) น. จีวร เช่น เกาะชายผ้าเหลือง, เครื่องหมายแห่ง พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ในความว่า ไม่เห็นแก่พระ ก็เห็นแก่ผ้าเหลืองเถิด.
  9. ผูกกระได : ก. ทอดสะพานเข้าไปสืบข่าว เช่น ก็ให้ผูกกระไดข่าวคอย. (ลอ).
  10. ผู้จัดการมรดก : (กฎ) น. บุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมหรือโดย คำสั่งศาลให้มีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การ เป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และ เพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก.
  11. ผู้เชี่ยวชาญ : (กฎ) น. ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในทางศิลปะ วิทยาศาสตร์ การฝีมือ การค้าหรือการงานที่ทํา หรือในกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งความเห็นของผู้นั้นอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาด ข้อความในประเด็นแห่งคดีแพ่ง ไม่ว่าผู้นั้นจะมีอาชีพในการนั้น หรือไม่ก็ตาม.
  12. เผ่า : น. เหล่ากอ, กลุ่มชนเชื้อชาติเดียวกัน (มักใช้แก่ชนกลุ่มน้อยของ ประเทศ) เช่น ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ.
  13. แผลงศร : ก. ยิงลูกธนูออกไปด้วยแรงแห่งฤทธิ์.
  14. ฝากทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ฝาก ส่ง มอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับฝากและผู้รับฝาก ตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้.
  15. พงศา : (กลอน) น. ผู้มีชาติสกุล.
  16. พงศาวดาร : [วะดาน] น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติ หรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์.
  17. พยาธิ ๑ : [พะยาทิ] น. ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ ชาติชราพยาธิ. (ป. พฺยาธิ, วฺยาธิ; ส. วฺยาธิ).
  18. พรต : [พฺรด] น. กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจําศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภค อาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง); ข้อกําหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บําเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บําเพ็ญพรตว่า นักพรต. (ส. วฺรต; ป. วตฺต).
  19. พรรษวุฒิ : [พันสะวุดทิ] น. การเจริญแห่งปี; วันเกิด.
  20. พรหมทัณฑ์ : น. ตามศาสนาพราหมณ์หมายความว่า ''ไม้พระพรหม'' ชื่อศัสตรากายสิทธิ์ชนิดหนึ่ง; การสาปแห่งพราหมณ์; โทษอย่างสูง คือห้ามไม่ให้ใคร ๆ พูดด้วยในหมู่สงฆ์ด้วยกัน. (ส., ป.).
  21. พระครู : น. ฐานันดรประเภทหนึ่งแห่งพระภิกษุ ตํ่ากว่าพระราชาคณะ เช่น พระครูสรวุฒิพิศาล พระครูสรภาณพิสุทธิ; บรรดาศักดิ์พราหมณ์ เช่น พระครูวามเทพมุนี.
  22. พระเจ้า : น. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง. (กําสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่; คํานําหน้า พระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายเช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าลูกเธอ; พระเศียรหรือพระเกศาพระเจ้าแผ่นดิน.
  23. พระพุทธเจ้า : น. คําเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา, ใช้ เป็นคํานําหน้าชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระพุทธเจ้าเสือ.
  24. พระราชกฤษฎีกา : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน.
  25. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  26. พระราชบัญญัติ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย คําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา.
  27. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่ รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบท บัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวน การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการ ตราพระราชบัญญัติทั่วไป.
  28. พระองค์ : (ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนาม ใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.
  29. พรายย้ำ : น. รอยดํา ๆ คล้ายถูกอะไรกัดเป็นรอยชํ้า ปรากฏตาม ร่างกายเป็นแห่ง ๆ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดอย่างไร โบราณถือว่า ถูกผีพรายกัดยํ้าเอา แต่ไม่ถึงกับเข้าเป็นแผล.
  30. พราหมณ์ ๑ : [พฺราม] น. คนในวรรณะที่ ๑ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี๔วรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร, ผู้ที่ถือเพศไว้ผม นุ่งขาวห่มขาว เช่น พราหมณ์ปุโรหิต พราหมณ์พฤฒิบาศ. (ป., ส.).
  31. พลี ๒ : [พฺลี] ก. เสียสละ เช่น พลีชีพเพื่อชาติ, บวงสรวงเชิญเอามา (ใช้แก่ ยาสมุนไพร) เช่นไปพลียาที่ต้นเทียน คือ ไปบวงสรวงเก็บต้นเทียน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นเทียนมาทำยารักษาโรค.
  32. พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ : น. พัดยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ มีลักษณะอย่างทรงพุ่ม ข้าวบิณฑ์ ปลายแหลม และมีแฉกโดยรอบ พื้นตาดโหมด หรือ กำมะหยี่ ปักลวดลายด้วยดิ้นเลื่อมหรือดิ้นด้าน มีสีและลวดลาย ต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์ ด้ามงาเกลี้ยง, ถ้าเป็นพัดยศสมเด็จ พระสังฆราช ยอดทำด้วยงาสลักเป็นฉัตร ๓ ชั้น.
  33. พัดพุดตาน : น. พัดยศของพระครู สัญญาบัตรหรือพระครูฐานานุกรม บางชั้น มีลักษณะกลม แต่มีแฉกโดยรอบ พื้นทำด้วยกำมะหยี่ สักหลาด แพร หรือเยียรบับ ปักทองแล่งดิ้นมัน ดิ้นเลื่อม หรือดิ้น ธรรมดา มีสีและลวดลายต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์.
  34. พัดยศ : น. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อ พระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยค ขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถในการศึกษา การ บริหารหรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดง ลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.
  35. พัดหน้านาง : น. พัดยศเปรียญหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้นที่ต่ำ กว่าพระครูวินัยธรและพระครูธรรมธร มีลักษณะกลมอย่างหน้า นางด้านบนกลมมนโตกว่าด้านล่าง พื้นทำด้วยสักหลาด กำมะหยี่ อัตลัดสีต่าง ๆ ปักลวดลายต่างกันตามชั้นแห่งสมณศักดิ์, ถ้าเป็น พัดเปรียญ ๙ ประโยค พื้นทำด้วยตาดทอง.
  36. พัสดุภัณฑ์ : น. สิ่งของที่บรรจุหีบห่อสําหรับส่งจากแห่งหนึ่งไปยัง อีกแห่งหนึ่ง.
  37. พาณี : น. เสียง, ถ้อยคํา, ภาษา; เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ป., ส. วาณี).
  38. พาน ๓ : น. ฐานของนมหรือเต้านมเกิดเป็นไตแข็งขึ้นเริ่มอาการแห่งความ เป็นหนุ่มสาว, เรียกอาการของนมหรือเต้านมที่มีลักษณะเช่นนั้น ว่า นมขึ้นพาน หรือ นมแตกพาน.
  39. พิฆเนศ, พิฆเนศวร : [พิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพ แห่งศิลปะ ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ วิฆเนศ หรือ วิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศฺวร).
  40. พิบาก : น. ผล (ผลแห่งกรรม). ว. ยากเย็น. (ป., ส. วิปาก).
  41. พิรุณ : น. ฝน; ชื่อเทวดาแห่งนํ้า เทวดาแห่งฝน เรียกว่า พระพิรุณ. (ป., ส. วรุณ).
  42. พืด : น. แผ่นหรือแนวแห่งสิ่งที่ติดเนื่องกันไปยาวยืด เช่น พืดเขา, โดย ปริยายหมายถึงอาการของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รถติดกันเป็นพืด; เรียกเหล็กเหนียวชนิดหนึ่งที่เป็นแผ่นยาวอย่าง เหล็กทําปลอกถังว่า แถบเหล็กพืด.
  43. พุทธ, พุทธ, พุทธะ : [พุด, พุดทะ] น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็น พระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญ ว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).
  44. พุธ : น. ชื่อดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในระบบสุริยะ มองเห็น ด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้น ผ่าศูนย์กลาง ๔,๘๗๕ กิโลเมตร เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีบรรยากาศ และมีพื้นผิวคล้ายดวงจันทร์ของโลก; ชื่อวันที่ ๔ แห่งสัปดาห์.
  45. พุ่มดอกไม้ : น. ดอกไม้ที่จัดบนพานให้มีลักษณะเป็นพุ่มยอดแหลม สำหรับบูชาพระเป็นต้น นิยมใช้ดอกไม้สด เช่น ดอกบานไม่รู้โรย ดอกผกากรอง.
  46. เพลงออกภาษา : น. เพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกันหรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา.
  47. เพลงออกสิบสองภาษา : น. เพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บท โดย นำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้าเป็น ชุด มี ๑๒ ภาษา.
  48. เพศยันดร : [เพดสะยันดอน] น. นามพระบรมโพธิสัตว์ชาติที่ ๑๐ ในทศชาติ, พระเวสสันดร. (ป. เวสฺสนฺตร; ส. ไวศฺยานฺตร).
  49. เพื่อ : บ. เหตุด้วย, เพราะด้วย, เพราะ, เพราะว่า, ด้วย, เช่น ทำงานเพื่อจะ ได้เงิน, ด้วยว่า, เกี่ยวกับ, เนื่องด้วย, สําหรับ, เช่น สละชีวิตเพื่อ ประเทศชาติ ทำงานเพื่อลูก.
  50. แพร่ : ก. กระจายออกไป, แผ่ออกไป, เช่น แพร่ข่าว แพร่เชื้อโรค.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-773

(0.0706 sec)