Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นพิเศษ, พิเศษ, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นพิเศษ, พิเศษ, วิเศษ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นพิเศษ, 8139 found, display 1701-1750
  1. ขอช้าง : น. ขอเหล็กมีด้าม สําหรับสับช้าง, ขอช้างที่มีปลายโค้งใช้ใน พิธีช้าง เรียกว่า ขอเกราะ, ขอช้างที่ปลายเป็นยอดปิ่น เรียกว่า ขอปิ่น.
  2. ขอด ๑ : ก. ขมวดเป็นปม เช่น ขอดเชือก ขอดผ้า ขอดชายพก. ว. ที่ขมวด เป็นปมหรือม้วนเข้ามา เช่น หมาหางขอด.
  3. ขอทอง : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนขมิ้น แต่หัวเล็กสอดกันเป็นข้อ ๆ ต้นและใบเขียว เนื้อเหลือง ใช้แก้เบื่อเมา, ขอคําน้อย ก็เรียก. (กบิลว่าน).
  4. ข้อเท็จจริง : น. ข้อความหรือเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริง; (กฎ) ข้อความหรือเหตุการณ์ที่วินิจฉัยแล้วว่าเป็นจริง (แตกต่างกับ ข้อกฎหมาย).
  5. ขอโทษ, ขอประทานโทษ : ก. ขอให้ยกเว้นโทษ, ใช้เป็นคำสุภาพเมื่อ รู้สึกว่าจะเป็นการล่วงเกินผู้อื่น.
  6. ขอน : น. ท่อนไม้ใหญ่ที่ยังไม่ได้ถากกล่อมให้เป็นรูปที่ต้องการ; ลักษณนาม เรียกข้างหนึ่งของกำไลที่เป็นคู่ว่า กำไลขอนหนึ่ง; ลักษณนามของสังข์ เช่น สังข์ขอนหนึ่ง สังข์ ๒ ขอน, ลักษณนามของไพ่ตองว่า สำรับหนึ่ง หรือชุดหนึ่งมี ๒ ขอน.
  7. ข่อน : ว. ปั่นป่วน, ไม่สบายใจ, โดยมากใช้เป็นคําคู่ เช่น อกใจมันให้ข่อน ๆ จะนั่งนอนก็ไม่หลับสนิท. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  8. ขอนดอก : น. ท่อนไม้ของต้นตะแบก พิกุล และบุนนาค ที่ผุราขึ้นเป็น จุดขาว ๆ มีกลิ่นหอม ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
  9. ขอนสัก : น. ซุงไม้สัก, ลำต้นไม้สักที่ตัดเป็นท่อนยาวก่อนแปรรูป.
  10. ขอบคุณ, ขอบพระคุณ : คํากล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ (เป็นคําที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกัน หรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่).
  11. ขอบใจ : คํากล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคํา ที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย).
  12. ขอเฝ้า : น. ข้าพึ่งบุญเจ้า เป็นผู้ชายสำหรับเจ้านายฝ่ายในใช้สอย; เครื่องแบบสำหรับผู้ที่มีตำแหน่งเฝ้า แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะแต่ง เครื่องแบบราชการ.
  13. ข้อมูล : น. ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สําหรับ ใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคํานวณ.
  14. ข้อย : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์. (ม. คําหลวง กุมาร).
  15. ข่อยหนาม : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Streblus ilicifolius (Vidal) Corner ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นบนเขาหินปูนในป่าดิบ ลําต้นตรง ใบแข็งหนา ด้านบนเขียวแก่เป็นมัน ขอบใบเป็นหนามแหลมคม, ปักษ์ใต้เรียก กระชิด.
  16. ขอยืม : ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้นมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้ หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษา บาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการ ลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจาก หลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ใน ที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.
  17. ขอรับ ๑ : น. โลหะทําเป็นห่วงสําหรับรับขอสับ มักติดที่ประตูหน้าต่าง.
  18. ขอสับ : น. โลหะที่ปลายงอเป็นตาขอสําหรับเกี่ยวที่ขอรับ.
  19. ขะข่ำ : (โบ; กลอน) ว. คลํ้า, มืดมัว, เขียนเป็น ขข่ำ ก็มี เช่น ฟ้าแมลบมล่นนร้อง ท้องฟ้าเขียวขขํ่า ยงงฝนพพร่ำพรอยพรำ อื้ออึงอัมพรระงม ด้วยกำลงง ลมพายุพัดน้นน. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
  20. ขะแข่น, ขะแข้น : (โบ; กลอน) ว. แข้น, แข็ง, เขียนเป็น ขแข่น ก็มี เช่น สองอ่อน โอ้อาดูร ร้อนแสงสูรย์ขแข่น. (ม. คําหลวง กุมาร), (ม. คําหลวง กุมาร), ร้อนขะแข้น. (ม. คําหลวง กุมาร).
  21. ขะเย้อแขย่ง : [-ขะแหฺย่ง] ก. กระเย้อกระแหย่ง, เขียนเป็น เขย้อแขย่ง ก็มี.
  22. ขังปล้อง : ว. ลักษณะกระบอกที่ตัดให้มีข้อติดอยู่ทั้ง ๒ ข้าง โดยฝาน ข้าง ๆ ทั้ง ๒ ข้างให้เป็นขาแล้วผ่าตลอดด้านหนึ่งเพื่อทําเป็นตะขาบเป็นต้น.
  23. ขัด ๓ : ก. ไม่ใคร่จะมี, ฝืดเคือง, ไม่คล่อง, ไม่เป็นปรกติ.
  24. ขัด ๔ : (โบ; กลอน) ก. คาด เช่น มีพิกัดขัดค่าเป็นราคาน้อยมาก. (ม. ร่ายยาว มหาราช).
  25. ขัดตำนาน : ก. สวดบทนําเป็นทํานองก่อนสวดมนต์.
  26. ขัดบท : ก. แทรกเข้ามาเมื่อเขาพูดยังไม่จบเรื่อง, ใช้เลือนมาเป็น ขัดคอ ก็มี.
  27. ขัตติยมานะ : น. การถือตัวว่าเป็นกษัตริย์หรือเชื้อสายกษัตริย์.
  28. ขั้น : น. ชั้นที่ทําลดหลั่นกันเป็นลําดับ เช่น ขั้นบันได; ลําดับ, ตอน, เช่น ในขั้นนี้.
  29. ขัน ๓ : ก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภทเดียวกัน จะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะเช่นเช้าตรู่.
  30. ขันต่อ : ก. กล้าต่อ. (กฎ) น. การต่อรองซึ่งได้เสียกันโดยอาศัย เหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะ.
  31. ขันติ, ขันตี : น. ความอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ, ความอดทน. (ป. ขนฺติ = ความอดทน เป็นบารมี ๑ ในบารมี ๑๐.
  32. ขันโตก : (ถิ่น-พายัพ) น. ภาชนะทําด้วยไม้กลึง ไม้ไผ่สาน หวาย หรืออย่าง เครื่องเขิน ส่วนบนลักษณะคล้ายถาด ส่วนล่างเป็นตีนลักษณะเป็น วงแหวนมีขนาดเล็กกว่าถาดส่วนบน โดยมีซี่ไม้ลูกมะหวดประมาณ ๖ ซี่ปักที่ตีนค้ำถาดไว้ ใช้สำหรับใส่อาหารเป็นต้น, โตก หรือ สะโตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
  33. ขันทองพยาบาท : [-พะยาบาด] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Suregada multiflorum (A. Juss.) Baill. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๕-๘ เมตร ใบรี หนา ด้านบนสีเขียวแก่เป็นมัน ผลกลมมี ๓ พู ขนาดกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ใช้ทํายาได้.
  34. ขันธ์ : น. ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด, ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยก ออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ทั้ง ๕. (ป.; ส. สกนฺธ).
  35. ขันลงหิน : น. ขันที่ทำด้วยโลหะผสมทองแดงกับดีบุก แล้วขัดให้เป็นมัน.
  36. ขันสาคร : น. ขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปาก คาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์หรือสำหรับ ผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ. (รูปภาพ ขันสาคร)
  37. ขันหมาก ๑ : น. ขันใส่หมากพลูเป็นต้นซึ่งเชิญไปพร้อมกับของอื่น ๆ ในพิธีหมั้น หรือแต่งงาน เป็นเครื่องคํานับผู้ปกครองฝ่ายหญิง.
  38. ขันหมาก ๒ : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนจําปา รากเป็น ๓ แง่ ดอกเหมือนบอน ลูกเหมือนแตงกวา. (กบิลว่าน).
  39. ขับ ๒ : ก. ร้องเป็นทํานอง เช่น ขับกล่อม ขับเสภา. ขับซอ (ถิ่น) ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).
  40. ข่า ๑ : น. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษา ในตระกูลมอญ-เขมร เช่น ข่า อัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวก หนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย.
  41. ขา ๒ : น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะ ราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปด สองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา
  42. ข่า ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alpinia galanga (L.) Sw. ในวงศ์ Zingiberaceae มีเหง้า ลําต้นเป็นกอ สูง ๑-๓ เมตร ดอกขาว ออกเป็นช่อที่ยอด เหง้ามี กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหารและทํายาได้.
  43. ข้า ๒ : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันอย่างเป็นกันเองหรือผู้ใหญ่ พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  44. ขา ๔ : (โบ) ส. เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนคำว่า เขาสองคน เช่น สองขาพ่อลูก หมายถึง เขาสองคนพ่อลูก.
  45. ข่า ๔ : น. ไม้ที่ทําเป็นร้านขึ้นคร่อมกองไฟสําหรับปิ้งปลา, ไม้ไผ่ขัดเป็น ตารางเล็ก ๆ สำหรับวางหรือห้อยอาหารแห้งให้อยู่เหนือเตาไฟในครัว.
  46. ขาก ๑ : ก. อาการที่ทําให้เสมหะเป็นต้นในลําคอหลุดออก มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
  47. ขาไก่ ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Strobilanthes dolicophylla R. Ben. ในวงศ์ Acanthaceae ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร ปลูกเป็นรั้ว. (๒) ชื่อเห็ด ชนิดหนึ่งในพวกเห็ดโคน แต่ใหญ่และแข็งกว่า. (๓) เรียกอ้อย ชนิดลําเล็กสีเหลืองว่าอ้อยขาไก่.
  48. ข่าง ๑ : น. ของเล่นอย่างหนึ่งเป็นลูกกลม ๆ มีเดือยใช้ปั่นให้หมุนด้วยมือ หรือด้วยเชือก เรียกว่า ลูกข่าง; ชื่อดาวหมู่หนึ่งมี ๔ ดวงคล้ายรูปลูกข่าง.
  49. ข้างเงิน : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Allanetta และ Stenatherina วงศ์ Atherinidae ลําตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก.
  50. ข้างจัน : น. วิธีเหลาไม้ให้เป็นผิวนูนมีลักษณะอย่างข้างของลูกจัน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | [1701-1750] | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8139

(0.2149 sec)