Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นหลัก, เป็น, หลัก , then ปน, เป็น, เป็นหลัก, หลก, หลัก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นหลัก, 8229 found, display 901-950
  1. หินชาติ : [หินนะชาด] ว. มีกําเนิดตํ่า, เมื่อใช้เข้าคู่กับคํา ทมิฬ เป็น ทมิฬ หินชาติ หมายความว่า โหดเหี้ยม เช่น ใจทมิฬหินชาติ.
  2. หึง ๑ : ก. หวงแหนทางชู้สาว, มักใช้เข้าคู่กับคำ หวง เป็น หึงหวง หรือ หวงหึง.
  3. หึงส-, หึงสา : [หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสา พยาบาท. (ป., ส. หึสา).
  4. เหง : [เหงฺ] ก. ข่ม, มักใช้เข้าคู่กับคํา ข่ม เป็น ข่มเหง.
  5. เห็นจะ : ก. คงจะ เช่น เห็นจะจริง, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เป็น ไม่เห็นจะ.
  6. เหน้า : [เน่า] ว. รุ่น, หนุ่ม, สาว, ใช้เข้าคู่กับคำ หนุ่ม เป็น หนุ่มเหน้า หมายถึง กำลังสาว, กำลังหนุ่ม.
  7. เหมือด ๑ : [เหฺมือด] น. เครื่องกินกับขนมจีนนํ้าพริก มีหัวปลีซอยเป็นต้น. ว. ใช้ ประกอบกับคำ สลบ เป็น สลบเหมือด หมายความว่า สลบไสล, แน่นิ่งไม่ติงกาย.
  8. เหย้า : [เย่า] น. เรือน, บ้านเรือน, ครอบครัว, มักใช้เข้าคู่กับคํา เรือน เป็น เหย้าเรือน, เขียนเป็น หย้าว ก็มี.
  9. เหยิง : [เหฺยิง] ว. ยุ่ง, รุงรัง, มักใช้เข้าคู่กับคํา ยุ่ง เป็น ยุ่งเหยิง.
  10. เหล้าแห้ง : (ปาก) น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็น ยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียม เซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็น ยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น.
  11. เหวง : [เหฺวง] ว. มาก, เป็นคําใช้ประกอบคํา เบา เป็น เบาเหวง หมายความว่า เบามาก.
  12. เหียน ๒, เหียน ๆ : ก. มีอาการพะอืดพะอมคล้ายจะคลื่นไส้ เช่น รู้สึกเหียน ๆ, มักใช้เข้าคู่กับคำ คลื่น เป็น คลื่นเหียน.
  13. แห ๓ : (วรรณ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ ห่าง เป็น ห่างแห หรือแหห่าง เช่น กระแหแห ห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม. (เห่เรือ).
  14. โหวง : [โหฺวง] ว. มาก เป็นคําใช้ประกอบคํา เบา เป็น เบาโหวง หมายความว่า เบามาก.
  15. โหวงเหวง : [-เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาโหวงเหวง หมายความว่า เบามาก; มีความรู้สึกเหมือนจะว่าง ๆ ในจิตใจ เช่น เมื่ออยู่ ในที่เงียบสงัดรู้สึกโหวงเหวง, มีความรู้สึกคล้าย ๆ ว่าขาดอะไรบางสิ่ง บางอย่างไป เช่น พอเข้าไปในบ้าน บรรยากาศเงียบผิดปรกติ รู้สึก โหวงเหวง.
  16. ไห้ : (วรรณ) ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่น ไห้รํ่า รักลูกไท้ ไห้บ่รู้กี่ไห้ ลูกแก้วกับตน แม่เอย. (ลอ), มักใช้เข้าคู่กับคํา ร้อง เป็น ร้องไห้.
  17. อกกรม : ว. มีความระทมใจ มักใช้เข้าคู่กับคำ หน้าชื่น เป็น หน้าชื่น อกกรม, หน้าชื่นอกตรม ก็ว่า.
  18. องศา : น. หน่วยในการวัดขนาดของมุม โดยกําหนดให้มุมที่รองรับโค้ง ๑ ใน ๓๖๐ ส่วนของเส้นรอบวง มีขนาด ๑ องศา และ ๙๐ องศา เป็น ๑ มุมฉาก; หน่วยในการวัดอุณหภูมิตามชนิดของเครื่องวัด; (โหร) น. ส่วนหนึ่งของจักรราศี คือ วงกลมในท้องฟ้า แบ่งจักรราศีออกเป็น ๑๒ ราศี และแบ่ง ๑ ราศีออกเป็น ๓๐ องศา ฉะนั้นวงกลมจึงเท่ากับ ๓๖๐ องศา. (ส. อํศ).
  19. อณุ, อณู ๑ : น. มาตราวัดโบราณ ๓๖ ปรมาณู เป็น ๑ อณู. ว. เล็ก, น้อย; ละเอียด. (ป., ส. อณุ).
  20. อธิกสุรทิน : [สุระทิน] น. วันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ คือ ในปีนั้น เพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีก ๑ วัน เป็น ๒๙ วัน.
  21. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ : น. การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอน อันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็น ปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
  22. อบรม : ก. แนะนําพรํ่าสอนให้ซึมซาบเข้าไปจนติดเป็นนิสัย, แนะนํา ชี้แจงให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการ, ขัดเกลานิสัย, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ บ่มนิสัย เป็น อบรมบ่มนิสัย.
  23. อปภาคย์, อัปภาคย์ : [อะปะพาก, อับปะพาก] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนา น้อย, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์. (ส.).
  24. อรชร : [ออระชอน] ว. งามอย่างเอวบางร่างน้อย, มักใช้เข้าคู่กับคำ อ้อนแอ้น เป็น อรชรอ้อนแอ้น.
  25. อวล : [อวน] ก. ฟุ้งด้วยกลิ่นหอม, มักใช้เข้าคู่กับคํา อบ เป็น อบอวล. (ข. ว่า เต็ม, แน่น, อึดอัด).
  26. ออกโขน : ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่า และออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ออกยักษ์ เป็น ออกยักษ์ ออกโขน.
  27. ออกดอก : ก. เกิดเป็นเม็ดตามผิวหนังเนื่องจากกามโรคเรื้อรัง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ เข้าข้อ เป็น เข้าข้อออกดอก; (ปาก) เอาเงิน ให้กู้เพื่อเก็บดอกเบี้ย.
  28. อ่อง : ว. ใช้เข้าคู่กับคำ เอี่ยม เป็น เอี่ยมอ่อง หมายความว่า ใหม่, สดใส, ผุดผ่อง, เปล่งปลั่ง, ไม่หมองมัว.
  29. อ่อนเปลี้ย : ว. เพลียมาก, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ เพลียแรง เป็น อ่อนเปลี้ยเพลียแรง.
  30. อังกา : น. ตัวอักษรที่จารไว้หัวลานสําหรับบอกจํานวนใบลานที่จารแล้ว ๑๒ ตัวเป็น ๑ อังกา และ ๒ อังกา เป็น ๑ ผูก.
  31. อังกุระ, อังกูร : [กูน] น. หน่อ, หน่อเนื้อเชื้อไข, เชื้อสาย; มักใช้ อังกูร เป็นส่วน ท้ายของสมาส เป็น อางกูร เช่น พุทธางกูร นรางกูร. (ป., ส.).
  32. อัตตโนบท : น. ''บทเพื่อตน'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็น เครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็น กริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.
  33. อัตหิต : [หิตะ] น. ประโยชน์ตน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ประโยชน์ เป็น อัตหิตประโยชน์ ว่า ประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน. (ป. อตฺตหิต).
  34. อั้น : ก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้ เช่น อั้นไว้ในใจ; กําหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กําหนดจํานวนสูงสุด เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้น ทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่ กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.
  35. อั๋น : ว. มีเนื้อแน่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อวบ เป็น อวบอั๋น.
  36. อันนะ : น. ของกินโดยเฉพาะข้าว, มักใช้เข้าคู่กับ ปานะ เป็น อันนะปานะ แปลว่า ข้าวและนํ้า. (ป., ส.).
  37. อัปภาคย์ : [อับปะ] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย; ไม่มีดี เช่น จะดูดินฟ้าพนาวัน สารพันอัปภาคย์หลากลาง. (อิเหนา), นิยมใช้ เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์, อปภาคย์ ก็ว่า. (ส.).
  38. อัพพุท : น. ชื่อสังขยาจํานวนหนึ่ง คือ ร้อยแสนพินทุ เป็น ๑ อัพพุท หรือ โกฏิยกกําลัง ๘ หรือเลข ๑ มีศูนย์ตามหลัง ๕๖ ตัว. (ป.).
  39. อัพภันดร, อัพภันตร : [อับพันดอน, ตะระ] น. ส่วนใน, ภายใน, ท่ามกลาง; ชื่อมาตราวัด ในบาลี ราว ๗ วา เป็น ๑ อัพภันดร. (ป.; ส. อภฺยนฺตร).
  40. อัพภาส : [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ใน ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
  41. อาคม : [คม] น. เวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็น คาถาอาคม; การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน. (ป., ส.).
  42. อาจาร, อาจาร : [จาน, จาระ] น. ความประพฤติ, ความประพฤติดี; จรรยา, มรรยาท; ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก. (ป., ส.).
  43. อาเทศ ๒ : [เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่ง ไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศ สระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).
  44. อาน ๖ : [อานะ] น. ลมหายใจเข้า, นิยมใช้เข้าคู่กับ อปานะ คือ ลมหายใจ ออก เป็น อานาปานะ = ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ในคําว่า อานาปานัสสติ = สติที่กําหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก. (ป., ส.).
  45. อาย ๒ : น. กลิ่น, มักใช้เข้าคู่กับคํา กลิ่น เป็น กลิ่นอาย.
  46. อายุ : น. เวลาที่ดํารงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมา จนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กําหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. (ป.; ส. อายุสฺ หรือ อายุษฺ เมื่อนําหน้าบางคํา, แต่เมื่อนําหน้าอักษรตํ่ากับตัว ห เปลี่ยน สฺ เป็น รฺ เช่น อายุรเวท, แต่ถ้าใช้อย่างบาลีก็ไม่ต้องมี ส หรือ ร).
  47. อ้าว ๑ : ว. ร้อนระงม, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ อบ เป็น อบอ้าว.
  48. อาวรณ์ : [วอน] ก. ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาลัย เป็น อาลัยอาวรณ์. น. เครื่องกั้น, เครื่องกําบัง. (ป., ส.).
  49. อาศิร ๑, อาเศียร : [อาสิระ, เสียนระ] น. การอวยพร. (ส. อาศิสฺ คํานี้เมื่อนําหน้า อักษรตํ่าและตัว ห ต้องเปลี่ยน ส เป็นเป็น อาศิร และแผลงเป็น อาเศียร ก็มี; ป. อาสิ ว่า ความหวังดี).
  50. อาฬหก : [อาละหก] น. ชื่อมาตราตวงในบาลี คือ ๔ นาฬี เป็น ๑ อาฬหก; เสาตะลุง. (ป.; ส. อาฒก).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | [901-950] | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8229

(0.3096 sec)