Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงทุ้ม, เสียง, ทุ้ม , then ทม, ทุ้ม, สยง, เสียง, เสียงทุ้ม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงทุ้ม, 985 found, display 201-250
  1. กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน : น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง โดยมีก้ามข้างหนึ่งโตกว่า สามารถงับก้ามทําให้เกิดเสียงดังโดยเฉพาะ เมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัย หลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus ที่พบอยู่ในน้ำจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก.
  2. กุญแจ : น. เครื่องสําหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือ สลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุ?ฺจิกา ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).
  3. กุญแจเสียง : น. เครื่องหมายอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบันทึกเสียง ดนตรีสากล เขียนไว้ตอนหน้าของบรรทัด ๕ เส้น เพื่อกําหนด ระดับเสียงของตัวโน้ต, กุญแจประจําหลัก ก็เรียก. (รูปภาพ กุญแจเสียง)
  4. กุบกับ : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  5. กุ๋ย, กุ๋ย ๆ : ว. เสียงร้องเยาะเย้ย, บางทีทำอาการกระดิกนิ้วชี้ตรงไป ที่หน้าผู้ที่ถูกเย้ย, กิ๋ว หรือ กิ๋ว ๆ ก็ว่า.
  6. กู่ ๒ : ก. ส่งเสียงเป็นสัญญาณให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน โดยปรกติเปล่งเสียง วู้.
  7. กู้หน้า : (ปาก) ก. ช่วยทําให้ชื่อเสียงคงดีอยู่.
  8. เก็บ ๒ : น. เรียกวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองทั่วไป ที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นมากกว่าทำนอง เนื้อเพลงธรรมดาว่า ทางเก็บ.
  9. เกรียด : [เกฺรียด] ว. เสียงเขียดร้อง เช่น เสียงกรอดเกรียดเขียดกบเข้าขบเคี้ยว. (นิ. เพชร).
  10. เกรียวกราว : ว. เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, โดยปริยายหมายความว่า ที่รู้และพูดกันทั่วไป เช่น เป็นข่าวเกรียวกราว.
  11. เกาะ ๓ : ว. เสียงเคาะ.
  12. เกียรติ, เกียรติ-, เกียรติ์ : [เกียด, เกียดติ-, เกียน] น. ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ).
  13. เกียรติคุณ : [เกียดติคุน] น. คุณที่เลื่องลือ, ชื่อเสียงโดยคุณงามความดี.
  14. แกรก : [แกฺรก] ว. เสียงดังเหมือนเล็บขูดพื้น, เสียงอย่างเสียงที่เกิดจากการ ย่องหรือเล็ดลอด.
  15. แก้วหู : น. เยื่อในหูสําหรับรับเสียง.
  16. โกก ๑ : น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัว หรือคอควายสําหรับลากเลื่อนเป็นต้น, คอม ตะโกก หรือ ตะโหงก ก็เรียก. ว. เสียงดังอย่างเคาะไม้ด้วยกะลา.
  17. โกญจนะ : [โกนจะนะ] (กลอน) ย่อมาจาก โกญจนาท เช่น เสียงช้างก้องโกญจนสำเนียง. (สมุทรโฆษ).
  18. โกญจนาท : น. การบันลือเสียงเหมือนนกกระเรียน, ความกึกก้อง, (โดยมากใช้แก่เสียงช้าง). (ป.).
  19. โกรง : [โกฺรง] ว. เสียงกระแทกดังโครม ๆ เช่น กระทุ้งเส้ากราวโกรง. (สุบิน).
  20. โกรศ : [โกฺรด] น. เสียงร้อง; มาตราวัด เท่ากับ ๕๐๐ คันธนู. (ส.).
  21. โกลาหล : [-หน] น. เสียงกึกก้อง. ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, วุ่นวาย, (โบ; กลอน) ใช้เป็น โกลา โกลี ก็มี เช่น เสียงโห่โกลาเกรียงไกร. (คําพากย์), พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี. (ไชยเชฐ). (ป., ส.).
  22. ไกรศร, ไกรสร : [ไกฺรสอน] (กลอน) น. สิงโต เช่น เสือคร่งเสือแผ้วเอน กาไลยไกรสรสีหส่งเสียงแขง. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (แผลงมาจาก เกสรี).
  23. ขบเผาะ : ว. เรียกผลมะม่วงอ่อน ๆ ขนาดหัวแม่มือว่า มะม่วงขบเผาะ หมายเอาเสียงเวลาเอาฟันขบดังเผาะ; โดยปริยายเรียกวัยของเด็กหญิง ที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาวว่า วัยขบเผาะ.
  24. ขมุบขมิบ : [ขะหฺมุบขะหฺมิบ] ก. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากขมุบขมิบ สวดมนต์ ขมุบขมิบ, หมุบหมิบ ก็ว่า.
  25. ขรม : [ขะหฺรม] ว. เอ็ดอึง, แซ่, (ใช้แก่เสียง).
  26. ขลุก ๒, ขลุก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงไอ, ขุก หรือ ขุก ๆ ก็ว่า, เสียงดังอย่าง ก้อนดินกลิ้งอย่างเร็ว ในคำว่า กลิ้งขลุก ๆ.
  27. ขลุกขลัก : ว. ติดกุกกักอยู่ในที่แคบ, ติดขัด, ไม่สะดวก, เสียงดังอย่าง ก้อนดินกลิ้งอยู่ในหม้อหรือในไห.
  28. ขวับ ๑, ขวับเขวียว : [ขฺวับ, ขฺวับเขฺวียว] ว. เสียงหวดไม้เรียว.
  29. ขับไม้ : น. การเล่นดนตรีอย่างหนึ่ง มีคนเล่น ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่ง ขับร้องลํานํา คนหนึ่งสีซอ ๓ สายประสานเสียง คนหนึ่งไกวบัณเฑาะว์ ให้จังหวะ; ชื่อคําประพันธ์ชนิดหนึ่ง ใช้โคลงกับกาพย์สุรางคนางค์สลับกัน.
  30. ขาก ๑ : ก. อาการที่ทําให้เสมหะเป็นต้นในลําคอหลุดออก มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
  31. ขายชื่อ : ก. เอาชื่อเข้าแลกในทํานองขาย, ไม่รักชื่อ, ทําให้เสียชื่อเสียง, ถ้าเอาชื่อผู้อื่นไปแอบอ้างหาผลประโยชน์ เรียกว่า เอาชื่อไปขาย.
  32. ขายตัว : ก. เอาตัวแลกเงิน, เอาชื่อเสียงแลกเงิน.
  33. ขายผ้าเอาหน้ารอด : (สํา) ก. ยอมเสียสละแม้แต่ของจําเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทําให้สําเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียง ของตนไว้.
  34. ข้าวตอกแตก : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวตอก; โดยปริยายหมายถึงเสียงดัง อย่างเสียงแตกของข้าวตอกที่ดังรัว เช่น เสียงพิมพ์ดีดดังอย่างข้าวตอกแตก.
  35. ขิก ๆ : ว. หัวเราะเสียงอย่างนั้น. (โบ) ก. หัวเราะเบา ๆ เช่น พระลออดบ่ได้ ขิกหัว. (ลอ).
  36. ขิปสัทโท : [ขิปะ-] (ราชา) ก. กระแอม. (จินดามณี). (ป. ขิปิตสทฺท ว่า เสียงจาม).
  37. ขึ้นสาย : ก. เทียบเสียงเครื่องดนตรีที่มีสาย.
  38. ขึ้นหน้าขึ้นตา : ก. มีชื่อเสียง, เด่น.
  39. ขุก ๒, ขุก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงไอ, ขลุก หรือ ขลุก ๆ ก็ว่า.
  40. ขุนทอง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดําเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลือง ติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียน เสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคํา.
  41. ขู่เข็ญ : ก. ทําให้กลัวโดยบังคับ; (กฎ) แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่น ต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือ ทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.
  42. เขบ็ต : [ขะเบ็ด] น. ชื่อตัวหมายเสียงอย่างหนึ่งที่ใช้บันทึกเสียงดนตรีสากลมี ๔ ชนิด คือ เขบ็ตชั้นเดียว เขบ็ต ๒ ชั้น เขบ็ต ๓ ชั้น และเขบ็ต ๔ ชั้น.
  43. เขย้อแขย่ง : [ขะเย่อขะแหฺย่ง] ก. ตะเกียกตะกายจะให้ตัวสูงขึ้น, ออกเสียงว่า ขะเย้อขะแหย่ง ก็มี.
  44. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  45. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  46. โขลก, โขลก ๆ : [โขฺลก] ก. ตําให้เข้ากัน หรือให้เหนียว หรือให้แหลก. ว. เสียงดังเช่น นั้น เช่น เสียงไอโขลก ๆ.
  47. ครรชิต : [คันชิด] (แบบ) ก. คํารน, บันลือเสียง, เอิกเกริก, กึกก้อง, กระหึม, เช่น ครรชิตฤทธิ์ราวี. (ลอ). (ส. ครฺชิต; ป. คชฺชิต).
  48. ครอก ๓ : [คฺรอก] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงกรนของคนที่หลับ.
  49. คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
  50. ครึ้ม : [คฺรึ้ม] ว. มืดมัว เช่น อากาศครึ้ม; ร่มและเย็น เช่น ป่าครึ้ม; ดกและงาม (ใช้แก่หนวด); ทําให้เพลิดเพลิน เช่น เสียงมโหรีครึ้ม. ก. กริ่ม, กระหยิ่ม, ร่าเริงในใจ, เช่น ครึ้มใจ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-985

(0.1086 sec)